โครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ (Non-Degree) และพัฒนากำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิต ตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย สาขาอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
สมัครเรียน 038-146-123

โครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ (Non-Degree) และพัฒนากำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิต ตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย สาขาอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์


15610933471.png

หลักสูตร “ตัวแทนออกของ (Customs broker) เพื่อการส่งออกและนำเข้าตามนโยบายพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)”

เน้นปฏิบัติการเพิ่มขีดความสามารถนำเข้า-ส่งออกเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
Workshop project: enhancing Import –Export Competitiveness for Support Eastern Economic Corridor (EEC)
Re Skill, Up Skill สู่การเป็นตัวแทนออกของมืออาชีพ Smart Customs broker

ดำเนินงานโดย
คณะโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
ร่วมกับสมาคมตัวแทนออกของรับอนุญาตไทย

- รับสมัคร ผู้สนใจทำงานแล้ว หรือสถานประกอบการที่ต้องการเพิ่มศักยภาพพนักงานและพัฒนางานในสถานประกอบการ
ด้านการนำเข้า-ส่งออก และพิธีการศุลกากรรวมถึงการปฏิบัติงานตัวแทนออกของ (Customs broker)
- จัดอบรมวันเสาร์และวันอาทิตย์ หลักสูตร 3 เดือน กรกฎาคม- กันยายน 2562 (เทียบเท่า 9 หน่วยกิต)
- พร้อมจัดทีมผู้เชี่ยวชาญ Coaching ณ สถานประกอบการของผู้สมัคร
- ศึกษาดูงานในด้านพิธีการศุลกากร ปฏิบัติงานตัวแทนออกของ

สิ่งที่ได้รับหลังการเข้าร่วมโครงการ
- โครงการพร้อมจัดสอบประเมินสมรรถนะคุณวุฒิวิชาชีพโลจิสติกส์ สายงานจัดการส่งออกและนำเข้า อาชีพผู้ผ่านพิธีการศุลกากรรับอนุญาต
- มีสิทธิ์ได้รับใบประกาศนียบัตรของสมาคมตัวแทนออกของรับอนุญาตไทยเพื่อสอบผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางกรมศุลกากร (ตัวแทนออกของที่ได้รับอนุญาต)
- ผู้ผ่านการอบรมรับใบประกาศนียบัตร สามารถเทียบโอนรายวิชาได้ 9 หน่วยกิตเมื่อเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยศรีปทุม

หลักสูตรนี้เหมาะกับ
- หลักสูตร workshop นี้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานนำเข้า-ส่งออก ผู้ที่ทำงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก ตลอดจนผู้ที่สนใจประกอบอาชีพตัวแทนออกของ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
- หลักสูตร workshop นี้เหมาะสำหรับสถานประกอบการที่ต้องการพัฒนาพนักงานด้านนำเข้า-ส่งออก ประสานงานธุรกิจระหว่างประเทศให้มีความรู้และประสานงานตัวแทนออกได้อย่างมืออาชีพ

รายละเอียดหลักสูตร
ระยะเวลา 285 ชั่วโมง (ทฤษฎี 60 ชั่วโมง ภาคปฏิบัติ 225 ชั่วโมง)
ภาคปฏิบัติฝึกปฏิบัติ ณ สถานประกอบการตนเอง โดยมีผู้เชี่ยวชาญเข้าไปให้คำแนะนำ

Module 1 ด้านสมรรถนะในโลกสมัยใหม่ (General Competencies)
พัฒนาทักษะสู่ความเป็นผู้นำในโลกสมัยใหม่ มีทักษะการคิดสร้างสรรค์ ออกแบบนวัตกรรม แก้ไขปัญหา ตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
โดยใช้เครื่องมือในยุคดิจิทัล และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม (ทฤษฎี 15 ชั่วโมง ปฏิบัติ 50 ชั่งโมง)
• ทักษะทางสังคมและชีวิต (Social and Life Balance)
• ความสามารถที่เป็นสากล (Globally Talented)
• กลไกในการขับเคลื่อนธุรกิจสมัยใหม่
• มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Socially Engaged)

Module 2 ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะทางด้านตัวแทนออกของ (Customs Broker) และทักษะการจัดการด้านโลจิสติกส์
เพื่อการค้าส่งออกและนำเข้า (Professional และ Experiential Skill) (ทฤษฎี 45 ชั่วโมง ปฏิบัติ 175 ชั่งโมง) ภาคปฏิบัติฝึกปฏิบัติ
ณ สถานประกอบการตนเอง โดยมีผู้เชี่ยวชาญเข้าไปให้คำแนะนำ เนื้อหาด้านตัวแทนออกของเพื่อการส่งออกและนำเข้าเพื่อเป็น
ผู้ผ่านพิธีการศุลกากร
-จรรยาบรรณตัวแทนออกของ
-กฎหมายศุลกากรที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออก
-หลักการเสียภาษีสำหรับการนำเข้าส่งออก
-ความรู้เกี่ยวกับพิกัดอัตราศุลกากร และหลักเกณฑ์การตีความพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ 2017
-การจำแนกประเภทพิกัดอัตราขาเข้าตอนที่ 1-97
-พิกัดภาคฯภาค 4 และฝึกทักษะเชิงปฏิบัติการ ระบบฮาร์โมไนซ์ 2017
-การกำหนดราคาศุลกากรตามความตกลงแกตต์ (GATT Valuation)
- การวางประกัน อุทธรณ์ การประเมินอากรและการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย
-กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of origin) และหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (CO)
-การสำแดงรายการในใบขนสินค้าขาออกและชาเข้า
-พิธีการศุลกากรว่าด้วยการส่งออก และนำเข้าแบบไร้เอกสาร (Paperless) การเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ NSW
-การตรวจปล่อยสินค้าขาเข้า-ขาออก
- พิธีการฯเฉพาะเรื่อง และการดำเนินงานอื่นส่วนบุคคลและเอกสิทธิ์
-สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร-การคืนอากรตามมาตรา 29 การชดเชยอากร คลังสินค้าทัณฑ์บน และเขตปลอดอากร (FreeZone)
-เขตประกอบการเสรี(IEAT) และการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
-พิธีการศุลกากร และการตรวจปล่อยทางอากาศยาน
-การฝึกปฏิบัติคีย์ใบขน ผ่านระบบออนไลน์ของศุลกากร

ด้านการจัดการด้านโลจิสติกส์การค้าเพื่อการนำเข้าส่งออก
- การจัดการโลจิสติกส์ปฏิบัติการ
-การจัดการโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์
-การจัดการสินค้าคงคลัง
-เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อโลจิสติกส์
-การจัดการคลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้า
-การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อโลจิสติกส์และอุปกรณ์ยกขน เคลื่อนย้าย
-เอกสารทางการค้าระหว่างประเทศและโลจิสติกส์
-การวินิจฉัยปัญหาทางโลจิสติกส์ตามแนวคิด Shindan
- แนวคิดเรื่องต้นทุนโลจิสติกส์
-แนวคิดการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานด้านโลจิสติกส์และการปรับปรุงกระบวนการทำงาน
- หลักการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
- การพัฒนาโครงงานเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน

กิจกรรมการศึกษาดูงานพิธีการนำเข้าส่งออก และการปฏิบัติงานตัวแทนออกของ 1 วัน

จำนวนการรับสมัครและเงื่อนไข
- รับจำนวนจำกัดเพียง 70 ท่าน
- เรียนที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
- ไม่มีค่าใช้จ่าย มีค่าประกันการเข้าอบรม 5,000 บาท (คืนเมื่ออบรมเสร็จ)
หรือสถานประกอบการที่สังกัดรับรองการเข้าร่วมอบรมตลอดโครงการ

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
- เป็นพนักงานประจำในสถานประกอบการ
- ไม่จำกัดอายุ เพศ
- วุฒิการศึกษา ระดับ ปวส. ปริญญาตรี ขึ้นไป ไม่จำกัดสาขาวิชาที่จบ


เอกสารประกอบการเข้าพิจารณาอบรม
- ใบสมัครเข้าร่วมโครงการ (กรอกฉบับจริงในวันที่เข้าร่วมโครงการ)
- รูปถ่าย หน้าตรง
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาวุฒิการศึกษา
- หนังสือรับรองการทำงานจากสถานประกอบการ


ติดต่อสอบถามรายละเอียดและสมัครได้ที่
คณะโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
038 146 123 ต่อ 2811
www.east.spu.ac.th/logistics

กรอกสมัครออนไลน์เบื้องต้น
https://bit.ly/2WTbl6C

เน้นฝึกปฏิบัติ เพื่อทำได้จริงในการดำเนินงานพิธีการ
ยินดีรับผู้เข้าอบรมเป็นกลุ่มจากบริษัทที่สนใจ เพื่อพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ด้านพิธีการศุลกากรและการออกของ เพื่อไปต่อยอดงาน Export – Import ของบริษัท เพราะจะมีวันที่ไป ให้คำแนะนำที่สถานประกอบการด้วย หากมีผู้อบรมเป็นกลุ่มจะมีประสิทธิภาพในการสอนงาน (โปรดติดต่อทางคณะโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ศรีปทุม ชลบุรี)

** ตารางหัวข้ออบรมที่แน่นอนจะแจ้งให้ทราบภายหลังจากการผ่านคัดเลือกแล้ว **