|
|
|
ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-เดือนมีนาคม 2568 |
อ่าน |
1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา
 Author : ชัยภัทร พรพิพัฒน์, สรรเสริญ หุ่นแสน และลินดา นาคโปย
 Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร 2) เพื่อศึกษาระดับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ 4) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 302 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ด้วยการเลือกตัวแปรโดยวิธีเพิ่มตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน (Stepwise Regression)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโดยภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการคำนึงถึงการเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และด้านการกระตุ้นทางปัญญา ตามลำดับ 2) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการเป็นบุคคลรอบรู้ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ด้านการเรียนรู้เป็นทีม และด้านการคิดเชิงระบบ ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และด้านการกระตุ้นทางปัญญาส่งผลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา ร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 64.30 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z\'Y=.261 Z3+.339 Z4+.274 Z1
คำสำคัญ: ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง; องค์กรแห่งการเรียนรู้
|
8 |
2. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภค
 Author : สุธิตรา จวงพลงาม และสุธรรม พงศ์สำราญ
 Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อกระเป๋าแบรนด์เนม 2) เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภค 3) เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคโดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และ 4) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมผ่านช่องทางออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมในการซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมผ่านช่องทางออนไลน์ จำนวน 400 คน ด้วยการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่าที (t test) แบบการสุ่มตัวอย่างจากแต่ละประชากรเป็นอิสระกัน (Independent Samples) การทดสอบค่าเอฟ (F test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) เมื่อพบค่าเฉลี่ยของกลุ่มมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทำการเปรียบเทียบพหุคูณ แบบ Least-Significant Different (LSD) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ด้วยการเลือกตัวแปรโดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด (Enter Regression)
ผลการวิจัยพบว่าความคิดเห็นปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของร้านจำหน่ายกระเป๋าแบรนด์เนมผ่านช่องทางออนไลน์โดยภาพรวม และการตัดสินใจซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคโดยภาพอยู่ในระดับมาก การเปรียบเทียบเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมผ่านช่องทางออนไลน์แตกต่างกัน และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่ และด้านการส่งเสริมการจำหน่ายส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ: ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด; การตัดสินใจผ่านช่องทางออนไลน์; กระเป๋าแบรนด์เนม
|
22 |
3. การพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับบทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558
 Author : อภิชญา อันปัญญา
 Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการกำหนดให้ความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีสามารถเปรียบเทียบปรับได้ ปัญหาการไม่แจ้งเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ต่อเครื่องสำอางที่เป็นอันตราย และปัญหาการกำหนดหลักเกณฑ์การเรียกคืนเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยหรือเครื่องสำอางปลอมตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 ใช้วิธีการวิจัยเอกสาร โดยศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูลจากหนังสือ บทความ งานวิจัยและบทบัญญัติทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และหลักกฎหมายไทย แล้วนำมาวิเคราะห์สรุปผลและเสนอแนะแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ผลการศึกษาพบว่าการที่พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 มาตรา 90 กำหนดให้ความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีสามารถเปรียบเทียบปรับได้นั้นก่อให้เกิดปัญหาผู้กระทำความผิดไม่เกรงกลัวต่อโทษที่กฎหมายกำหนด เพราะความผิดเหล่านี้สามารถเปรียบเทียบปรับได้ ดังกรณีความผิดฐานผลิตเพื่อขาย นำเข้าเพื่อขาย รับจ้างผลิตหรือขายเครื่องสำอางไม่ปลอดภัยในการใช้หรือเครื่องสำอางปลอมตาม มาตรา 72 และมาตรา 75 ซึ่งกำหนดอัตราโทษจำคุกไว้ไม่เกินหนึ่งปีย่อมสามารถเปรียบเทียบปรับได้ นอกจากนั้นปัญหาการไม่แจ้งเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ต่อเครื่องสำอางที่เป็นอันตราย และการกำหนดหลักเกณฑ์การเรียกคืนเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยหรือเครื่องสำอางปลอมพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 ไม่ได้บัญญัติฐานความผิดไว้ จึงต้องอาศัยบทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2562) มาตรา 56/3 กำหนดไว้ว่าต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับซึ่งเป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบปรับได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2562) มาตรา 62 และตามมาตรา 29/7 กำหนดให้ในกรณีผู้ประกอบธุรกิจพบหรือได้รับแจ้งตามมาตรา 29/6 วรรคสอง มีหน้าที่ปัดป้องอันตรายหรือทำให้อันตรายของสินค้าหมดสิ้นไป ได้แก่ การแก้ไข เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงสินค้า หรือเปลี่ยนสินค้า เรียกคืนสินค้าและชดใช้ราคาสินค้า เก็บสินค้าออกจากตลาด กรณีดังกล่าวจึงพบว่าไม่สอดคล้องกับความมุ่งหมายที่กำหนดเพื่อคุ้มครองและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย ซึ่งจะนำไปรวมไว้กับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2562) เช่นเดียวกับสินค้าอื่น ๆ ไม่ได้
จากการศึกษาขอเสนอแนะว่าควรกำหนดบทลงโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 มาตรา 90 ไม่ให้รวมถึงความผิดที่มีโทษจำคุกหรือโทษจำคุกและปรับด้วย เพื่อไม่ให้เปรียบเทียบปรับได้ และกำหนดนิยามความหมายของคำว่า ?เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรง? และ ?เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ไม่ร้ายแรง? และกำหนดระยะเวลากรณีผู้ประกอบการแจ้งเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ล่าช้า และกำหนดหลักเกณฑ์การเรียกคืนเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยหรือเครื่องสำอางปลอม โดยแบ่งประเภทตามระดับความเสี่ยงของสุขภาพ และกำหนดระยะเวลาการแจ้งการเรียกคืนและระยะเวลาในการดำเนินการเรียกคืน และเพิ่มเติมบทบัญญัติความผิดเกี่ยวกับโทษทางแพ่งและค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้เพื่อเยียวยาความเสียหายแก่ผู้ใช้หรือผู้บริโภคเครื่องสำอางไว้เป็นการเฉพาะก็จะทำให้พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 มีประสิทธิภาพมากขึ้น
คำสำคัญ: บทกำหนดโทษ; เครื่องสำอาง
|
10 |
4. ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดบทลงโทษเปรียบเทียบปรับของผู้กระทำความผิดสื่อโฆษณา
 Author : สาริน น้อยเปียง
 Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดบทลงโทษเปรียบเทียบปรับของผู้กระทำความผิดสื่อโฆษณาของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 และพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 เพราะถือว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเป็นสื่อกลางในการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคมากที่สุด และเป็นผู้ที่จะต้องศึกษาข้อดีข้อเสียของสินค้าที่จะรับทำการโฆษณา ใช้วิธีการวิจัยเอกสาร ด้วยการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากแหล่ง ต่าง ๆ โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และการวิเคราะห์คำพิพากษา ศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องรวมถึงกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงในสังคม เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในการนำไปพัฒนา ต่อยอดเกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย
ผลการศึกษาพบว่าบทกำหนดโทษที่มีต่อเจ้าของสื่อโฆษณาหรือผู้ประกอบกิจการโฆษณาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 50 กำหนดให้รับโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น และมาตรา 62 ยังกำหนดให้เป็นความผิดที่สามารถเปรียบเทียบปรับได้ย่อมเห็นได้ว่าไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิด และทำให้ผู้ประกอบการสื่อโฆษณาไม่เกรงกลัวต่อโทษที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งการเสียค่าปรับเป็นจำนวนที่ไม่ได้สัดส่วนกับผลกำไรที่ได้รับ ซึ่งความผิดของผู้จัดสรรที่ดินในฐานะเป็นเจ้าของสื่อโฆษณาตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 และความรับผิดของผู้ประกอบการสื่อโฆษณาตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 ก็ต้องอาศัยบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 สำหรับการกระทำความผิดของเจ้าของสื่อโฆษณาหรือผู้ประกอบกิจการโฆษณาเช่นกัน จึงก่อให้เกิดปัญหาว่าไม่สามารถนำเจ้าของสื่อโฆษณาหรือผู้ประกอบกิจการโฆษณามาลงโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้
จากการศึกษาขอเสนอแนะว่าพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 และพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 ควรบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้เป็นการเฉพาะ จะเหมาะสมกว่าที่จะอาศัยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ที่เป็นบทบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคในสินค้าทั่ว ๆ ไป ซึ่งถ้าเปรียบเทียบภาระผูกพันและมูลค่าที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจะต้องแบกรับภาระ ไม่อาจจะเอาไปรวมไว้กับการคุ้มครองผู้บริโภคในสินค้าประเภทอื่น ๆ ได้
คำสำคัญ: บทลงโทษ; การเปรียบเทียบปรับ; ผู้กระทำความผิดสื่อโฆษณา
|
7 |
5. ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงต่อความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ โรงพยาบาลรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
 Author : ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ และกนกกาญ ทีปานุเคราะห์
 Abstract
การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงต่อความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ คลินิกความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลรัตภูมิ จังหวัดสงขลา จำนวน 70 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการดูแลสุขภาพตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และแบบสอบถามความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการดูแลตนเองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ตรวจค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้านเจตคติและพฤติกรรม โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 และ .81 ตามลำดับ ส่วนด้านความรู้ใช้สูตร Kuder-Richardson (KR-20) ได้เท่ากับ .71 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t test ผลการวิจัยพบว่า
1. กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงหลังเข้าโปรแกรม (ค่าเฉลี่ย=10.46, SD=1.47) สูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรม (ค่าเฉลี่ย=7.97, SD=2.32) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.00)
2. กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติต่อโรคความดันโลหิตสูง หลังเข้าโปรแกรม (ค่าเฉลี่ย=65.64, SD=3.81) สูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรม (ค่าเฉลี่ย=49.46, SD=6.72) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.00)
3. กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง หลังเข้าโปรแกรม (ค่าเฉลี่ย=47.98, SD=2.52) สูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรม (ค่าเฉลี่ย=39.57, SD=2.53) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.00)
ดังนั้นคลินิกโรคความดันโลหิตสูงควรนำโปรแกรมการดูแลสุขภาพตนเองนี้ไปใช้ในการให้บริการผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ เพื่อให้ควบคุมระดับความดันโลหิตและป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนได้
คำสำคัญ: ความรู้; เจตคติ; พฤติกรรมการดูแลตนเอง
|
5 |
6. คุณภาพการให้บริการโลจิสติกส์ในการขนถ่ายสินค้าหน้าท่าเรือของบริษัท บัลค์ โปรส์ จำกัด
 Author : ประกาศิต หวังเกษม และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา
 Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพการให้บริการ 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของลูกค้า 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้าจำแนกตามข้อมูลสถานประกอบการ 4) ศึกษาคุณภาพการให้บริการที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการโลจิสติกส์ในการขนถ่ายสินค้าหน้าท่าเรือของ บริษัท บัลค์ โปรส์ จำกัด เลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการของสถานประกอบการ จำนวน 20 สถานประกอบการ ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แบบจับฉลาก ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติอ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่าเอฟ (F test), การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ด้วยการเลือกตัวแปรโดยวิธีเพิ่มตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน (Stepwise Regression)
ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพการให้บริการในการให้บริการโลจิสติกส์ในการขนถ่ายสินค้าหน้าท่าเรือบริษัท บัลค์ โปรส์ จำกัด ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสำคัญมาก สถานประกอบการที่มีทุนจดทะเบียน ประเภทธุรกิจ ลักษณะ จำนวนพนักงานและระยะเวลาการดำเนินงานที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการใช้บริการโลจิสติกส์ ในการขนถ่ายสินค้าหน้าท่าเรือของบริษัท บัลค์ โปรส์ จำกัด ไม่แตกต่างกัน คุณภาพการให้บริการด้านการให้บริการอย่างทันเวลาและด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้ามีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าในการใช้บริการ โลจิสติกส์ในการขนถ่ายสินค้าหน้าท่าเรือของ บริษัท บัลค์ โปรส์ จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ: คุณภาพการให้บริการ; ความพึงพอใจในการใช้บริการ
|
11 |
7. ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการเสริมความงามด้านการสักคิ้วในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
 Author : สุกันยา ขวดสาลี่ และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจจา
 Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการใช้บริการเสริมความงามด้านการสักคิ้ว 2) การตัดสินใจใช้บริการเสริมความงามด้านการสักคิ้ว 3) เปรียบเทียบการตัดสินใจใช้บริการเสริมความงามด้านการสักคิ้วโดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และ 4) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเสริมความงามด้านการสักคิ้ว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ใช้บริการเสริมความงามด้านการสักคิ้วในกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 400 คน ด้วยการสุ่มแบบบังเอิญ มีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดทสอบค่าที (t test) แบบการทดสอบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Samples) การทดสอบค่าเอฟ (F test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ด้วยวิธีการเลือกตัวแปรโดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด (Enter Regression)
ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการเลือกใช้บริการเสริมความงามด้านการสักคิ้วอยู่ในระดับสำคัญมาก ระดับความคิดเห็นการตัดสินใจเลือกใช้บริการเสริมความงามด้านการสักคิ้วอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก เพศ อายุ ที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเสริมความงามด้านการสักคิ้วที่ไม่แตกต่างกัน ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเสริมความงามด้านการสักคิ้วที่แตกต่างกัน ปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านการส่งเสริมการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเสริมความงามด้านการสักคิ้วอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ: เสริมความงาม; สักคิ้ว
|
6 |
8. การบริหารจัดการธุรกิจในรูปแบบสมาร์ทฟาร์มให้ประสบความสำเร็จ
 Author : วิมลมาส มาสมบูรณ์ และจันทนา ฤทธิ์สมบูรณ์
 Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ที่ประสบความสำเร็จของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการในการบริหารจัดการธุรกิจรูปแบบสมาร์ทฟาร์ม จำนวน 3 คน เลือกแบบเจาะจง เพื่อทำการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจนกว่าข้อมูลจะอิ่มตัว การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร
ผลการวิจัยพบว่าการวางแผนควรใช้การตลาดนำการผลิต การจัดการองค์กรควรบริหารจัดการทุกอย่างตามมาตรฐาน มีแผนการผลิตที่ชัดเจน และติดตามผล ผู้นำควรมองทุกอย่างอย่างมีคุณค่านำมาสร้างมูลค่าได้ แสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ รู้สภาพดินฟ้าอากาศและปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพของตนเอง การควบคุมควรใช้ต้นทุนการผลิตให้น้อยที่สุดโดยประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการทำการเกษตรและคำนึงถึง BCG ในหลักการผลิต ผู้นำควรมีคุณสมบัติของสมาร์ทฟาร์มเมอร์ทั้งหมดและควรคำนึงถึงความยั่งยืนเป็นหลัก
คำสำคัญ: สมาร์ทฟาร์มเมอร์; เกษตรกร; ภูมิปัญญา
|
14 |
9. ความสัมพันธ์ของทักษะวิชาชีพบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง
 Author : เผ่าพันธ์ บุญมาลอง, รุ่งโรจน์ ทำเนียบ, อาทิตย์ โพธิมณี และปัทมา เกรัมย์
 Abstract
การศึกษาครั้งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะวิชาชีพบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง และ 2) เพื่อทดสอบทักษะทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง จำนวน 175 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ แบบการเลือกตัวแปรโดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด
ผลการวิจัยพบว่าทักษะวิชาชีพบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง ได้แก่ ทักษะวิชาชีพบัญชีด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสาร ทักษะวิชาชีพบัญชีด้านการจัดการตัวเอง และทักษะวิชาชีพบัญชีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทักษะดังกล่าวมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ: ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน; ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี; อุตสาหกรรมอมตะซิตี้
|
10 |
10. แนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1
 Author : ขวัญชนก เสริมสมบูรณ์, สรรเสริญ หุ่นแสน และกัญภร เอี่ยมพญา
 Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 และเพื่อศึกษาแนวการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการครูในสถานศึกษา จำนวน 286 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 10 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 ตามความคิดเห็นของครูอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง ด้านการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ด้านการติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษา ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษา ด้านการดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา และด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา
2. แนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 คือการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา การติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษา การกำหนดมาตรฐานการศึกษา การดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา
คำสำคัญ: การดำเนินงานประกัน; ประกันคุณภาพ; การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
|
9 |
11. แนวทางการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ
 Author : ดวงกมล บัวแจ่ม, สรรเสริญ หุ่นแสน และกัญภร เอี่ยมพญา
 Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับในการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ และเพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ การวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 335 คน ด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และการวิจัยเชิงคุณภาพมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับในการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการพัฒนาบุคคลมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาด้านการสรรหาบุคคล ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน และด้านการวางแผนงานบุคคล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการจัดสวัสดิการ
2. แนวทางการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ได้แก่ 1) ด้านการวางแผนงานบุคคล 2) ด้านการสรรหาบุคคล 3) ด้านการพัฒนาบุคคล 4) ด้านการจัดสวัสดิการ 5) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน
คำสำคัญ: แนวทางการบริหารงานบุคคล; สถานศึกษา
|
3 |
12. THE ROLE OF TECHNICAL COMMUNICATION BY THAI STAFF IN INFORMATION TECHNOLOGY EQUIPMENT RETAILERS IN BANGKOK ON CUSTOMER SATISFACTION AND BRAND TRUST: A CORRELATION ANALYSIS
 Author : Pimpisa Chanted
 Abstract
This study examined the role of technical communication by Thai staff in information technology equipment retailers in Bangkok in relation to customer satisfaction and brand trust. Data were collected through an online survey of 300 respondents who were customers of technology service centers in Bangkok, selected via a convenience sampling method. The study analyzed the relationships among customers? need for staff proficiency in English technical vocabulary, satisfaction with the staff?s use of technical terminology, and brand trust. Descriptive statistics, including mean and standard deviation, alongside Pearson?s correlation analysis, were employed. The results indicated a significant positive influence of customers? demand for staff?s technical English skills on their satisfaction with the staff?s technical communication. In turn, customer satisfaction was found to positively impact staff responsiveness, thereby enhancing brand trust. Furthermore, an indirect positive effect of customer demand for technical communication on brand trust was identified, mediated by customer satisfaction. The research underscores the critical role of effective technical communication in enhancing customer experience, aligning with customer expectations for clear technical explanations, increasing satisfaction, and fostering trust in the brand?s expertise and reliability.
Keywords: Technical Communication; Customer Satisfaction; Brand Trust
|
9 |
13. ความคาดหวังต่อคุณลักษณะและทักษะของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
 Author : ยุวดี ศิริยทรัพย์ และคณะ
 Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบความแตกต่างของความคาดหวังต่อคุณลักษณะและทักษะของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา โดยจำแนกตามสาขาวิชา และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2566 ประกอบด้วย 7 สาขาวิชา กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ไม่น้อยกว่า 376 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดำเนินการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี Least-Significant Difference method (LSD)
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความคาดหวังต่อคุณลักษณะและทักษะของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายด้าน พบว่าค่าเฉลี่ยของคุณลักษณะและทักษะที่จำเป็นในการทำงานของนักศึกษาในทุกด้าน และทุกสาขาอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 2) ความคาดหวังต่อคุณลักษณะของนักศึกษาด้านความมั่นคงทาง
อารมณ์มีความแตกต่างกันตามสาขาวิชาของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยค่าเฉลี่ยของความคาดหวังต่อคุณลักษณะด้านความมั่นคงทางอารมณ์ของนักศึกษาสาขาการจัดการโลจิสติกส์มากกว่าสาขาการจัดการ
และสาขาธุรกิจระหว่างประเทศ และพบความแตกต่างระหว่างสาขาธุรกิจระหว่างประเทศกับการบัญชีและสาขาธุรกิจระหว่างประเทศกับสาขาการตลาดดิจิทัลและการสร้างตราอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และค่าเฉลี่ยของความคาดหวังต่อคุณลักษณะด้านความมั่นคงทางอารมณ์ของนักศึกษาสาขาการบัญชีและสาขาการตลาดดิจิทัลและการสร้างตรามากกว่าสาขาธุรกิจระหว่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ: ความคาดหวัง; คุณลักษณะ; ทักษะ
|
8 |
14. การพัฒนาสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผสานเทคโนโลยีเออาร์ เรื่อง ระบบอวัยวะในร่างกาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
 Author : กนิษฐา บางภู่ภมร
 Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผสานเทคโนโลยีเออาร์เรื่อง ระบบอวัยวะในร่างกาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อหาคุณภาพของสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผสานเทคโนโลยีเออาร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เรียนด้วยการพัฒนาสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผสานเทคโนโลยีเออาร์ ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อหาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการพัฒนาสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผสานเทคโนโลยีเออาร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 36 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที แบบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน
ผลการวิจัยพบว่าสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ประกอบด้วย รูปภาพประกอบ วิดีโอ และแอปพลิเคชันที่มีการนำเทคโนโลยีเออาร์มาผสมผสาน โดยมีผลประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาในภาพรวมของสื่อส่งเสริมการเรียนรู้มีคุณภาพระดับดี (ค่าเฉลี่ย=4.45, SD=0.37) ผลประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านมัลติมีเดีย ในภาพรวมของสื่อส่งเสริมการเรียนรู้มีคุณภาพระดับดี (ค่าเฉลี่ย=4.47, SD=0.55) ประสิทธิภาพของสื่อส่งเสริมการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 89.05/81.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 ผลการเปรียบเทียบคะแนนสอบก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า คะแนนก่อนเรียน (ค่าเฉลี่ย=12.14) คิดเป็นร้อยละ 48.56 และคะแนนหลังเรียน (ค่าเฉลี่ย=21.19) คิดเป็นร้อยละ 81.78 เมื่อคํานวณค่าที พบว่าค่าทีคำนวณสูงกว่าค่าทีในตาราง แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .05 และการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.55, SD=0.67)
คำสำคัญ: เทคโนโลยีเออาร์; ระบบอวัยวะในร่างกาย; สื่อส่งเสริมการเรียนรู้
|
10 |
15. ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดบทลงโทษเปรียบเทียบปรับ
ตามพระราชบัญญัติขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543
 Author : สมปอง กันอบ
 Abstract
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาการกำหนดบทลงโทษเปรียบเทียบปรับตามพระราชบัญญัติขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 ได้กำหนดให้เป็นอำนาจของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจเปรียบเทียบปรับ และไม่ได้กำหนดฐานความผิดกรณีไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดเขตพื้นที่ห้ามขุดดินและถมดินตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 มาตรา 6(1) และศึกษาการกำหนดความผิดฐานไม่รายงานเจ้าพนักงานท้องถิ่นกรณีขุดพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษา ในด้านธรณีวิทยา ใช้วิธีการวิจัยเอกสาร โดยการศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูลจากหนังสือ บทความ งานวิจัยและบทบัญญัติทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และศึกษาเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และหลักกฎหมายไทย แล้วนำมาวิเคราะห์ สรุปผลและเสนอแนะแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
จากการศึกษาพบว่าเมื่อพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 กำหนดให้การลงโทษเปรียบเทียบปรับเป็นอำนาจของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ซึ่งถือว่าเป็นการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาการเรียกรับผลประโยชน์จากผู้กระทำความผิดได้ และจะทำให้ผู้กระทำความผิดไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยจะแตกต่างจากรูปแบบที่กำหนดไว้ในกฎหมายอื่น ๆ ที่ใช้รูปแบบของคณะกรรมการในการเปรียบเทียบปรับ ซึ่งจะป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์อันมิชอบด้วยกฎหมายได้ นอกจากนั้นการที่ไม่ได้กำหนดฐานความผิดกรณีไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดเขตพื้นที่ห้ามขุดดินและถมดินตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 มาตรา 6(1) ถือว่าเป็นช่องว่างของกฎหมายที่ทำให้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษ เพราะปัจจุบันมีการออกกฎกระทรวงในเขตพื้นที่บางพื้นที่เท่านั้น นอกจากนั้นความผิดกรณีไม่รายงานเจ้าพนักงานท้องถิ่นกรณีขุดพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยาเป็นความผิดสามารถเปรียบเทียบปรับได้นั้นจะก่อให้เกิดปัญหาทำให้ผู้กระทำความผิดไม่เกรงกลัวต่อบทลงโทษได้
จากการศึกษาขอเสนอแนะว่าควรให้การเปรียบเทียบปรับตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 สมควรใช้รูปแบบของคณะกรรมการในการเปรียบเทียบปรับ และกำหนดบทลงโทษกรณีไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงและข้อบัญญัติท้องถิ่นไว้ในพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 เพื่อเป็นการ อุดช่องว่างแห่งกฎหมาย นอกจากนั้นควรปรับปรุงโทษกรณีไม่รายงานเจ้าพนักงานท้องถิ่นกรณีขุดพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซากดึกดำบรรพ์ หรือแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหรือทางการศึกษาในด้านธรณีวิทยาเป็นความผิดที่ไม่สามารถเปรียบเทียบปรับได้
คำสำคัญ: บทลงโทษ; เปรียบเทียบปรับ; การขุดดินและถมดิน
|
5 |
16. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่ศาลจังหวัดระยอง
 Author : นวลฉวี คำผาย, ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา และอิงอร ตั้นพันธ์
 Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่ศาลจังหวัดระยอง 2) ระดับความพึงพอใจในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ศาลจังหวัดระยอง 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ศาลจังหวัดระยองจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล 4) คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ศาลจังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้รับบริการในศาลจังหวัดระยอง จำนวน 400 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่าที แบบสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน, การทดสอบค่าเอฟ, การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี LSD และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ แบบการเลือกตัวแปรโดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด
ผลการศึกษาพบว่าด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านความเชื่อถือไว้วางใจในการบริการ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ ด้านการเข้าใจและรู้จักผู้รับบริการ คุณภาพการให้บริการอยู่ในระดับความสำคัญมากที่สุด ส่วนการให้บริการอย่างเสมอภาค การให้บริการอย่างทันเวลา การให้บริการอย่างเพียงพอ การให้บริการอย่างต่อเนื่อง การให้บริการที่ก้าวหน้า ภาพรวมความพึงพอใจในการใช้บริการอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ข้อมูลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการรับบริการจากเจ้าหน้าที่ศาลจังหวัดระยองไม่แตกต่างกัน ส่วนสถานภาพที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการรับบริการจากเจ้าหน้าที่ศาลจังหวัดระยองที่แตกต่างกัน ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ และด้านการเข้าใจและรู้จักผู้รับบริการ ส่งผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการจากเจ้าหน้าที่ศาลจังหวัดระยองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ: คุณภาพการให้บริการ; เจ้าหน้าที่ศาล
|
7 |
17. AN ANALYSIS OF THE FEMALE PROTAGONIST IN DYSTOPIAN SOCIETY IN SHATTER ME SERIES
 Author : Aphiradi Suphap
 Abstract
This paper seeks to assess the character Juliette, the protagonist in the Shatter Me series which is post-apocalyptic. This work explores the effects of totalitarianism with special reference to the nature and development of Juliette. It examines the story of her transformation and personal growth during the period of enshrinement and struggle for survival under an oppressive regime. The sample includes Juliette and four other characters connected to her, as well as one organization: Apocalyptic warriors including: Aaron Warner, Anderson, Adam Kent, Kenji Kishimoto, James Kent, and The Reestablishment. In aggregate, the research focuses on five characters and one organization. Sample selection procedure was guided by the characters, which are pertinent to the study?s theme and examines the female protagonist and male characters who transform her. The sources of inquiry are the novels of Shatter Me series and the theoretical framework employed are post-feminist theory as articulated by H?l?ne Cixous and totalitarian theory by Hannah Arendt.
This paper shows how Juliette struggles with the loss of a stable identity in fascist regime that yokes the body and the mind. It is sad that The Reestablishment puts so much pressure on her and ultimately erases her self-worth, making her a weapon without her agency. However, Juliette continues to struggle for the rebirth of herself, she gets stronger and tries to change herself from an oppressed person to a worthy leader. Finally, she regains her individuality and turns into a benevolent boss.
Keywords: Dystopia; Totalitarianism; Shatter Me
|
11 |
18. การเลือกใช้บริการของธุรกิจท่องเที่ยวออนไลน์เพื่อการวางแผนท่องเที่ยวด้วยตนเอง
ของนักท่องเที่ยวชาวไทย
 Author : พูนทรัพย์ เศษศรี
 Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเลือกใช้บริการของธุรกิจท่องเที่ยวออนไลน์เพื่อการวางแผนท่องเที่ยวด้วยตนเองของนักท่องเที่ยวชาวไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม ที่เป็นอิสระต่อกัน และการทดสอบค่าเอฟ เพื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวชาวไทยเลือกใช้บริการของธุรกิจท่องเที่ยวออนไลน์ในการวางแผนการท่องเที่ยวในเรื่องการจองห้องพักหรือโรงแรมที่พักอยู่ในระดับมากที่สุด และนักท่องเที่ยวเลือกใช้บริการของธุรกิจท่องเที่ยวออนไลน์ในระดับมาก ได้แก่ การเลือกจองตั๋วเข้าแหล่งท่องเที่ยวหรือกิจกรรมท่องเที่ยว การเลือกจองตั๋วเครื่องบิน การเลือกจองโปรแกรมท่องเที่ยว การเลือกจองรถสาธารณะ และการเลือกจองร้านอาหารหรือภัตตาคารร้านอาหาร และจากการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลนักท่องเที่ยว ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และสถานภาพ ที่ต่างกันมีการเลือกใช้บริการของธุรกิจท่องเที่ยวออนไลน์ในการวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
คำสำคัญ: ธุรกิจท่องเที่ยวออนไลน์; การวางแผนท่องเที่ยวด้วยตนเอง
|
9 |
19. ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565
 Author : อนันต์ เพียรวัฒนะกุลชัย
 Abstract
บทความวิชาการนี้มุ่งศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 ในการกำหนดคำนิยามความหมายของการทรมาน การกระทำหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการกระทำให้บุคคลสูญหาย การกำหนดให้มีการบันทึกภาพและเสียงตลอดระยะเวลาการจับและการควบคุมตัวผู้ถูกจับ การรับฟังพยานหลักฐานในการจับกุม การส่งผู้ร้ายข้ามแดนและการกำหนดคุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิ จากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติการป้องกันปราบปรามการทรมานและบังคับให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 ไม่ได้กำหนดคำนิยามความหมายของการทรมาน การกระทำหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการกระทำให้บุคคลสูญหายจึงก่อให้เกิดปัญหาการตีความและขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายอาญากับพระราชบัญญัติการป้องกันปราบปรามการทรมานและบังคับให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 นอกจากนั้น การที่พระราชบัญญัติการป้องกันปราบปรามการทรมานและบังคับให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 กำหนดให้จะต้องมีการบันทึกภาพและเสียงตลอดระยะเวลาการจับและการควบคุมตัวโดยมิได้มีข้อยกเว้น ในการบันทึกในรูปแบบอื่น เช่น การจัดทำรายงานภายหลังการจับหรือการควบคุมตัว เป็นต้น และยังมีบทบัญญัติบางประการที่ยังขัดต่อหลักอำนาจอธิปไตยของรัฐในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนและหลักการรับฟังพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226, 226/1 จากการศึกษาขอเสนอแนะว่าควรกำหนดคำนิยามความหมายของการทรมาน การกระทำหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการกระทำให้บุคคลสูญหายเพื่อลดปัญหาการตีความ กำหนดให้มีการบันทึกภาพและเสียงในรูปแบบอื่น ๆ ได้ เช่น การจัดทำรายงาน เมื่อพ้นระยะเวลาการจับและการควบคุมตัว และกำหนดหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานในชั้นจับกุมและควบคุมตัว เพราะถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่ใกล้ชิดกับข้อเท็จจริงมากที่สุดที่จะสามารถนำไปใช้เป็นพยานหลักฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด และเห็นควรให้ยกเลิกมาตรา 13 และกำหนดคุณสมบัติของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้กว้างขวางเพื่อให้ได้ผู้ทรงคุณวุฒิที่หลากหลายไม่ได้จำกัดเฉพาะอาชีพใดอาชีพหนึ่ง
คำสำคัญ: การป้องกันและปราบปราม; การทรมาน; การกระทำให้บุคคลสูญหาย
|
2 |
|
|
|