please wait loading...
Untitled Document
 
 ปีที่ 19 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมกราคม-เดือนมีนาคม 2566 อ่าน
1.  การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดผังคลังสินค้า กรณีศึกษาบริษัท ABC จำกัด
Author : ธนัชชา ขลุ่ยประเสริฐ และไพโรจน์ เร้าธนชลกุล
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุในการหยิบสินค้าล่าช้าในคลังสินค้าบริษัทกรณีศึกษา และเพื่อศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าด้วยเทคนิคของ Warehouse Optimization รูปแบบต่าง ๆ จากการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของการนำเข้าและขายของสินค้าแบบรายเดือนทั้งปี 2564 วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยแผนผังก้างปลา ทำการจัดกลุ่มสินค้าโดยใช้เทคนิคแบบเอบีซีและการปรับผังคลังสินค้า ผลการวิจัยพบว่า จากการวิเคราะห์ด้วยแผนผังก้างปลาได้พบปัญหาที่เกิดขึ้นคือ พนักงานใช้เวลามากในการเดินทางหยิบสินค้า ผู้วิจัยจึงปรับผังคลังสินค้าใหม่โดยเริ่มจากการวิเคราะห์สินค้าด้วยการแบ่งกลุ่มแบบเอบีซี พบว่ากลุ่มเอ มี 2 ชนิด กลุ่มบี มี 1 ชนิด และ กลุ่มซี มี 7 ชนิด จากการจัดผังคลังสินค้าใหม่พบว่า เมื่อขยายพื้นที่เพิ่ม 60 ตารางเมตร จากเดิมเป็นส่วนของพื้นที่ผลิตสินค้า โดยพื้นที่คลังจะเพิ่มขึ้นจากเดิม 1,015 ตารางเมตร เป็น 1,075 ตารางเมตร หรือ ขยายพื้นที่ได้ 5.9% และมีการเพิ่มประตูทางเข้าออกอีกด้านหนึ่งของคลังสินค้าสามารถลดระยะเวลาในแต่ละเที่ยวการหยิบลงได้ถึงครึ่งหนึ่งสำหรับการหยิบสินค้าจากอีกด้านหนึ่งของคลัง นอกจากนี้ ได้ทำการเพิ่มพื้นที่คลังสินค้า 1,125 ตารางเมตร และทำให้มีช่องเก็บพาเลทเป็น 2,480 พาเลท จากเดิมที่เก็บได้ 808 พาเลท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 3 เท่าตัว ในการปฏิบัติการจำเป็นต้องพิจารณาเลือกใช้รถโฟล์คลิฟท์ ขนาดไม่เกิน 1.3 เมตร นอกจากนี้ยังมีการใช้ระบบการควบคุมด้วยการมองเห็น โดยการเสนอให้จัดป้ายแสดงสถานะของสินค้าแต่ละชนิดในแต่ละพาเลท สีแดงใช้แทนสินค้ากลุ่มเอ สีเหลืองใช้แทนสินค้ากลุ่มบี สีชมพูใช้แทนสินค้ากลุ่มซี ในส่วนของการวิเคราะห์การปรับปรุงพื้นที่คลังสินค้า คำสำคัญ: แผนผังก้างปลา, การวิเคราะห์แบบเอบีซี, การควบคุมด้วยการมองเห็น
4
2.  กฎหมายต้นแบบเกี่ยวกับการนำรูปแบบการไต่สวนระดับชาติหรือการไต่สวนสาธารณะมาใช้กับคดีที่เป็นภัยต่อสาธารณชน
Author : อนันต์ เพียรวัฒนะกุลชัย
Abstract
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการไต่สวนสาธารณะหรือการไต่สวนระดับชาติเพื่อเป็นกระบวนการพิจารณาคดีที่ร้ายแรงและมีลักษณะเฉพาะ (Gross Violation and Characteristic) มีวิธีการดำเนินการวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสังเคราะห์ข้อมูลเอกสารทางกฎหมายแล้วนำผลการสังเคราะห์ไปตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือและงานวิจัยโดยการรับฟังความคิดเห็น (Hearing) กลุ่มตัวอย่างเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 1 คน ผู้พิพากษาศาลยุติธรรม จำนวน 1 คน ผู้พิพากษาศาลปกครอง จำนวน 1 คน รองอัยการสูงสุด จำนวน 1 คน ทนายความ จำนวน 5 คน เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ จำนวน 1 คน เจ้าหน้าที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จำนวน 1 คน และประชาชน, องค์กรเอกชนหรือองค์กร จำนวน 9 คน ได้แก่ มูลนิธิศุภนิมิต มูลนิธิกระจกเงา และสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ข้อค้นพบของงานวิจัยคือ การประกันสิทธิและเสรีภาพของจำเลยในกระบวนพิจารณาคดีและทำให้สังคมได้เรียนรู้พฤติกรรมการกระทำความผิดของจำเลยนั้น จะต้องมีกฎหมายการไต่สวนสาธารณะหรือการไต่สวนระดับชาติ โดยมีโครงสร้างกฎหมายประกอบด้วยเนื้อหา ส่วนที่ 1 คำจำกัดความของกฎหมายการไต่สวนสาธารณะ การศึกษาข้อเท็จจริงในการไต่สวน การบันทึกรายงาน ข้อกำหนดขอบเขตการไต่สวน คณะกรรมการไต่สวน กรรมการไต่สวน หน่วยงานไต่สวน สมาชิก ผู้มีส่วนร่วม คำวินิจฉัย และบุคคลผู้ช่วยเหลือการไต่สวน ส่วนที่ 2 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการไต่สวนและประเภทข้อหา ส่วนที่ 3 องค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการไต่สวนอำนาจหน้าที่ การแต่งตั้ง และบทบาทของคณะกรรมการ และส่วนที่ 4 การใช้อำนาจ กระบวนการไต่สวนและระเบียบการไต่สวน การวิจัยเสนอแนะให้มีการตรากฎหมายการไต่สวนสาธารณะหรือการไต่สวนระดับชาติตามรูปแบบวิจัยนี้ได้มาเพื่อให้เป็นรูปแบบกฎหมาย (Model Law) ว่าด้วยการไต่สวนสาธารณะหรือการไต่สวนระดับชาติ คำสำคัญ: การไต่สวนสาธารณะ, การไต่สวนระดับชาติ, ภัยต่อสาธารณะชน
14
3.  การพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพกำลังคนในภาคการศึกษา และภาคอุตสาหกรรม
Author : สุกัญญา บุญศรี, วัชราภรณ์ เขื่อนวัง, ประนอม พันธ์ไสว และรสริน เจิมไธสง
Abstract
การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือ ตัวชี้วัดและเกณฑ์ และทดลองใช้และนำเสนอสารสนเทศของระบบติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพกำลังคนในภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นครู ผู้บริหาร และนักเรียน ในสถาบันอาชีวศึกษาที่เข้าร่วมการพัฒนาศักยภาพกำลังคนในพื้นที่เป้าหมาย 5 แห่ง คือ ปทุมธานี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา และอื่น ๆ จำนวนทั้งสิ้น 517 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลออนไลน์ ด้วยแบบสอบถามที่มีค่า IOC อยู่ระหว่าง .80?1 และค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของครอนบาค อยู่ระหว่าง .95-.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ การแจงแจกความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวชี้วัดการติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพกำลังคนในภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 3 ด้าน 5 ตัวชี้วัดคือ (1) ด้านปัจจัยนำเข้า มี 1 ตัวชี้วัด (2) ด้านกระบวนการ มี 1 ตัวชี้วัด และ (3) ด้านผลลัพธ์ มี 3 ตัวชี้วัด 2. สารสนเทศของระบบติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพกำลังคนในภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมพบว่า (1) ด้านปัจจัยนำเข้าและด้านกระบวนการ โดยครูและผู้บริหารมีความเห็นสอดคล้องกัน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ (2) ด้านผลลัพธ์ โดยครูและผู้บริหารมีความเห็นสอดคล้องกันคือ ก่อนและหลังเข้าร่วมการพัฒนาศักยภาพกำลังคน ครูมีศักยภาพด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ อยู่ในระดับปานกลาง ถึงมากที่สุด ส่วนผู้เรียนหลังได้รับการถ่ายทอดจากครูที่เข้าร่วมการพัฒนาศักยภาพกำลังคน อยู่ในระดับมาก ทั้ง 3 ด้าน คำสำคัญ: ระบบติดตามและประเมินผล, การพัฒนาศักยภาพ, ภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม
17
4.  การยกระดับฐานเรียนรู้ชุมชนบ้านบางคูเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนในตำบลควนทอง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
Author : เสาวคนธ์ ชูบัว, นาถนลิน สีเขียว และจุฑามาศ พรมหมมา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวในชุมชนบ้านบางคู ตำบลควนทอง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนโดยเชื่อมโยงฐานเรียนรู้ชุมชนบ้านบางคู ตำบลควนทอง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) ประเมินเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนชุมชนบ้านบางคู ตำบลควนทอง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มอาสาสมัคร จำนวน 30 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบสมัครใจ และผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวชุมชน จำนวน 5 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กิจกรรมศึกษาศักยภาพฐานเรียนรู้ชุมชนของบ้านบางคู แบบบันทึกข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ การประชุมกลุ่มย่อย และประเด็นสัมภาษณ์ความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เป็นฐานเรียนรู้ชุมชนแบ่งได้เป็น 6 พื้นที่ ได้แก่ ป่าต้นลำภู ป่าต้นไข่ควาย ป่าต้นตะบูน ลานหอยกัน ศาลาจุดพักเรือของชาวประมง และป่าต้นโกงกาง 2) เส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนโดยเชื่อมโยงฐานเรียนรู้ชุมชนบ้านบางคู ประกอบด้วย รายการนำเที่ยวเป็นกิจกรรมแบบครึ่งวัน ใช้แนวคิด ?ล่องเรือหารักษ์? และเส้นทางท่องเที่ยวฐานเรียนรู้ชุมชนมี 6 จุด ได้แก่ มหรรศจรรย์รากลำพู ต้นไข่ควาย มหรรศจรรย์ลานตะบูน หาหอยกัน ศาลาพี่มาก และลัดเลาะป่าโกงกาง และ 3) ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่ากิจกรรมที่กำหนดมีความเหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบยั่งยืนของชุมชน คำสำคัญ: ท่องเที่ยวชุมชน, ท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน, ท่องเที่ยวสีเขียว
6
5.  การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ฝ่ายวิศวกรรมของสายการบินต้นทุนต่ำแห่งหนึ่งในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโรคระบาดไวรัสโคโรนา 2019
Author : พลอยตะวัน พลนาค, คงศักดิ์ ชมชุม และอภิรดา นามแสง
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ฝ่ายวิศวกรรมของสายการบินต้นทุนต่ำแห่งหนึ่งในช่วงการแพร่ข้อมูลผ่านการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและศึกษาผ่านการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 6 คน ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ให้กับสายการบินแห่งหนึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายวิศวกรรมด้วยวิธีการคัดเลือกตัวอย่างแบบมีเกณฑ์ โดยบทสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นมาจัดทำแบบประเมินความสอดคล้องของเครื่องมือการวิจัยจากอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญโดยตรงที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการค้นคว้าอิสระ จำนวน 3 คน จากนั้นนำบทสัมภาษณ์มาใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัยพบว่า สายการบินไม่ปลดพนักงานแต่มีการปรับลดอัตราเงินเดือน และระงับสวัสดิการบางส่วนลง รวมไปถึงจัดให้มีการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย ทั้งนี้ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาฝึกงานเข้ามาช่วยปฏิบัติหน้าที่ในบางกิจกรรมที่สำนักงานการบินพลเรือนอนุญาตให้สามารถทำได้พร้อมกับเพิ่มรูปแบบการฝึกอบรมแบบออนไลน์ นอกจากนี้ยังดำเนินการลดค่าใช้จ่ายบางส่วนลงเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายของสายการบิน คำสำคัญ: การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์, สายการบินต้นทุนต่ำ, การธำรงรักษา
29
6.  การศึกษาความสัมพันธ์ของบุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบกับการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาสายสุขภาพ ชั้นปีที่ 1 สถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง ปีการศึกษา 2564
Author : ฐปนัท อือตระกูล และคณะ
Abstract
การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อหาระดับบุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบกับการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษากายภาพบำบัด สายสุขภาพ ชั้นปีที่ 1 สถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง ปีการศึกษา 2564 และเพื่อหาความสัมพันธ์ของบุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบกับการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษากายภาพบำบัด สายสุขภาพ ชั้นปีที่ 1 สถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษากายภาพบำบัด สายสุขภาพ ชั้นปีที่ 1 สถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น 36 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือได้แก่ ลักษณะบุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบ คณะผู้วิจัยได้นำแบบวัด ลักษณะบุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบไปทดสอบกับนักศึกษากายภาพบำบัด สายสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานครที่คล้ายกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อหาค่าความเชื่อมั่นใหม่อีกครั้งได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 และแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองคณะผู้วิจัยได้หาความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยตรวจสอบความสอดคล้องของเนื้อหากับวัตถุประสงค์และนิยามปฏิบัติการณ์ และหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ ?-Coefficient ของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษากายภาพบำบัด สายสุขภาพชั้นปีที่ 1 สถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง ปีการศึกษา 2564 มีระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง บุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ บุคลิกภาพแบบมีสติ และมีบุคลิกภาพแบบยินยอมเห็นใจ ในระดับสูง และมีบุคลิกภาพแบบแสดงตัว กับบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวทางอารมณ์ ในระดับปานกลาง 2) ความสัมพันธ์พบว่าการ เห็นคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ลักษณะบุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ แบบมีสติ และแบบแสดงตัว (r=.52**, .72**. และ .50**) บุคลิกภาพแบบหวั่นไหวทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=-.37*) และไม่พบความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพแบบยินยอมเห็นใจ คำสำคัญ: ลักษณะบุคลิกภาพแบบ 5 องค์ประกอบ, การเห็นคุณค่าในตนเอง
4
7.  การศึกษาการอนุรักษ์ภาษาจีนและภาษาไทยจากการแปลคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
Author : ตงตง ฉิน และจตุวิทย์ แก้วสุวรรณ์
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การอนุรักษ์ภาษาจีนและภาษาไทยจาก 3 ด้าน คือ 1) วิธีการแปลคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ 2) การใช้คำที่มาจากภาษาต่างประเทศในปัจจุบัน (ในกรณีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019) และ 3) นโยบายการอนุรักษ์ภาษา ผลการวิจัย พบว่าเนื่องจากรูปแบบของภาษาจีนกับภาษาไทยที่แตกต่างกัน เมื่อรับเอาคำที่มาจากภาษาต่างประเทศมาใช้นั้น ภาษาจีนมีแนวโน้มที่จะแปลตามใจความ ส่วนภาษาไทยมักจะใช้วิธีการแปลทับศัพท์ ส่วนในระดับประเทศ รัฐบาลจีนได้ออกนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับภาษา โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างมาตรฐานการใช้ภาษาให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่ออนุรักษ์ภาษาให้พัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืน ส่วนรัฐบาลไทยนั้นออกนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภาษาค่อนข้างน้อย และไม่มีการส่งเสริมการใช้ภาษาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ส่งผลให้คำศัพท์ใหม่จำนวนมากใช้สื่อสารเฉพาะทางราชการ วงวิชาชีพ และวงวิชาการเท่านั้น ส่วนผู้คนทั่วไปเมื่อใช้คำเหล่านี้ก็มักจะใช้การทับศัพท์เป็นหลัก คำสำคัญ: การแปลคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ, ภาษาจีนและภาษาไทย, การอนุรักษ์ภาษา
13
8.  การวิเคราะห์คำวิจารณ์ของลูกค้าสู่การพัฒนาคุณภาพการบริการของโรงแรมสีเขียว
Author : อนันต์ เชี่ยวชาญกิจการ และอัศวิน แสงพิกุล
Abstract
งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อวิเคราะห์คำวิจารณ์ของลูกค้าเกี่ยวกับการให้บริการของโรงแรมสีเขียวในประเทศไทย และจัดหมวดหมู่คำวิจารณ์ดังกล่าวให้สอดคล้องกับมิติคุณภาพบริการทั้ง 5 ด้านของ SERVQUAL เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการบริการของโรงแรมสีเขียว การวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์คำวิจารณ์เชิงร้องเรียน (Customer Complaints) หรือคำวิจารณ์เชิงลบ (Negative Reviews) จากแหล่งข้อมูล Trip Advisor โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) เพื่อนำเสนอข้อมูลในลักษณะของค่าความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) คำวิจารณ์เชิงร้องเรียนหรือเชิงลบจำนวนมากที่สุดเป็นคำวิจารณ์เกี่ยวกับ ห้องพักมากที่สุด รองลงมาคือ แผนกต้อนรับส่วนหน้า และการบริการอาหารและเครื่องดื่ม ตามลำดับ 2) หากจัดหมวดหมู่คำวิจารณ์ดังกล่าวให้สอดคล้องกับมิติคุณภาพบริการ พบว่าคำวิจารณ์เกี่ยวกับด้านความเป็นรูปธรรม (Tangible) มีจำนวนมากที่สุด รองลงมาด้านความเชื่อมั่น (Assurance) และด้านการตอบสนองต่อลูกค้า (Responsiveness) ตามลำดับ ทั้งนี้ผู้ประกอบการอาจนำความรู้จากงานวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิด งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อวิเคราะห์คำวิจารณ์ของลูกค้าเกี่ยวกับการให้บริการของโรงแรมสีเขียวในประเทศไทย และจัดหมวดหมู่คำวิจารณ์ดังกล่าวให้สอดคล้องกับมิติคุณภาพบริการทั้ง 5 ด้านของ SERVQUAL เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการบริการของโรงแรมสีเขียว การวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์คำวิจารณ์เชิงร้องเรียน (Customer Complaints) หรือคำวิจารณ์เชิงลบ (Negative Reviews) จากแหล่งข้อมูล Trip Advisor โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) เพื่อนำเสนอข้อมูลในลักษณะของค่าความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) คำวิจารณ์เชิงร้องเรียนหรือเชิงลบจำนวนมากที่สุดเป็นคำวิจารณ์เกี่ยวกับ ห้องพักมากที่สุด รองลงมาคือ แผนกต้อนรับส่วนหน้า และการบริการอาหารและเครื่องดื่ม ตามลำดับ 2) หากจัดหมวดหมู่คำวิจารณ์ดังกล่าวให้สอดคล้องกับมิติคุณภาพบริการ พบว่าคำวิจารณ์เกี่ยวกับด้านความเป็นรูปธรรม (Tangible) มีจำนวนมากที่สุด รองลงมาด้านความเชื่อมั่น (Assurance) และด้านการตอบสนองต่อลูกค้า (Responsiveness) ตามลำดับ ทั้งนี้ผู้ประกอบการอาจนำความรู้จากงานวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิด งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อวิเคราะห์คำวิจารณ์ของลูกค้าเกี่ยวกับการให้บริการของโรงแรมสีเขียวในประเทศไทย และจัดหมวดหมู่คำวิจารณ์ดังกล่าวให้สอดคล้องกับมิติคุณภาพบริการทั้ง 5 ด้านของ SERVQUAL เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการบริการของโรงแรมสีเขียว การวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์คำวิจารณ์เชิงร้องเรียน (Customer Complaints) หรือคำวิจารณ์เชิงลบ (Negative Reviews) จากแหล่งข้อมูล Trip Advisor โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) เพื่อนำเสนอข้อมูลในลักษณะของค่าความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) คำวิจารณ์เชิงร้องเรียนหรือเชิงลบจำนวนมากที่สุดเป็นคำวิจารณ์เกี่ยวกับ ห้องพักมากที่สุด รองลงมาคือ แผนกต้อนรับส่วนหน้า และการบริการอาหารและเครื่องดื่ม ตามลำดับ 2) หากจัดหมวดหมู่คำวิจารณ์ดังกล่าวให้สอดคล้องกับมิติคุณภาพบริการ พบว่าคำวิจารณ์เกี่ยวกับด้านความเป็นรูปธรรม (Tangible) มีจำนวนมากที่สุด รองลงมาด้านความเชื่อมั่น (Assurance) และด้านการตอบสนองต่อลูกค้า (Responsiveness) ตามลำดับ ทั้งนี้ผู้ประกอบการอาจนำความรู้จากงานวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อการพัฒนาคุณภาพการบริการของธุรกิจโรงแรมสีเขียวให้มีความยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม คำสำคัญ: โรงแรมสีเขียว, คุณภาพการบริการ, คำวิจารณ์ของลูกค้า
2
9.  การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชาวชุมชนตลาดวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
Author : รุ่งภัสสรณ์ ศรัทธาธนพัฒน์
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวชุมชนตลาดวิเศษชัยชาญ 2) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชาวชุมชนตลาดวิเศษชัยชาญ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชาวชุมชนตลาดวิเศษชัยชาญ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยแบบกรณีศึกษา (Case Study Method) ซึ่งเน้นให้ความสำคัญกับการศึกษาเฉพาะกรณี (Unique Case Orientation) เพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึก จากนั้นนำเสนอผลการวิเคราะห์แบบพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) รวมจำนวน 23 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวชุมชนตลาดวิเศษชัยชาญ ได้แก่ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมด้านวิถีชีวิต อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมด้านการค้าขายและอัตลักษณ์ทางด้านพหุวัฒนธรรม 2) ศักยภาพการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชาวชุมชนตลาดวิเศษชัยชาญในภาพรวม มีศักยภาพ 3 ด้าน ได้แก่ ศักยภาพในการดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยว ศักยภาพในการรองรับด้านการท่องเที่ยวและศักยภาพในการบริหารจัดการ 3) รูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชาวชุมชนตลาดวิเศษชัยชาญที่ผู้วิจัยนำเสนอ คือ ?CODI MODEL? มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) 2) การจัดการตลาดเชิงรุก (Offensive Marketing) 3) การอนุรักษ์วัฒนธรรมเชิงพัฒนา (Developmental Conservation) และ 4) การเสริมสร้างเครือข่ายเชิงบูรณาการ (Integrated Networking) และผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชาวชุมชนตลาดวิเศษชัยชาญมีมาตรฐานการใช้ประโยชน์ทั่วไป มาตรฐานความเป็นไปได้ มาตรฐานความถูกต้อง และมาตรฐานความละเอียดครอบคลุมชัดเจน คำสำคัญ: การพัฒนา, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ชุมชนตลาดวิเศษชัยชาญ
7
10.  สื่อโมชันกราฟิก ชุด ของเล่นภูมิปัญญาพลับพลาบ้านฉัน ร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสตีม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ 4 ด้าน สำหรับเด็กปฐมวัย
Author : สุนิตย์ตา เย็นทั่ว, นที ยงยุทธ และญาณิศา บุญพิมพ์
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อโมชันกราฟิก ชุด ของเล่นภูมิปัญญาพลับพลาบ้านฉัน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ และเพื่อศึกษาพัฒนาการ 4 ด้าน ของเด็กปฐมวัย จังหวัดจันทบุรี ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อโมชันกราฟิก ชุด ของเล่นภูมิปัญญาพลับพลาบ้านฉัน ร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสตีม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 สังกัดเทศบาล ต.พลับพลา อ.เมือง จ.จันทบุรี จำนวน 30 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน และสื่อโมชันกราฟิกจำนวน 4 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 กะลากุบกั๊บ ตอนที่ 2 รถล้อเลื่อน ตอนที่ 3 ม้าก้านกล้วย และตอนที่ 4 ขายข้าวขายแกง เพื่อใช้ในการทดลอง 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อโมชันกราฟิก ชุด ของเล่นภูมิปัญญาพลับพลาบ้านฉัน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ และเพื่อศึกษาพัฒนาการ 4 ด้าน ของเด็กปฐมวัย จังหวัดจันทบุรี ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อโมชันกราฟิก ชุด ของเล่นภูมิปัญญาพลับพลาบ้านฉัน ร่วมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสตีม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 สังกัดเทศบาล ต.พลับพลา อ.เมือง จ.จันทบุรี จำนวน 30 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน และสื่อโมชันกราฟิกจำนวน 4 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 กะลากุบกั๊บ ตอนที่ 2 รถล้อเลื่อน ตอนที่ 3 ม้าก้านกล้วย และตอนที่ 4 ขายข้าวขายแกง เพื่อใช้ในการทดลอง 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
9
11.  การลงทุนในค่าใช้จ่ายที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Author : พรชนก เฉลิมพงษ์ และรุ่งรัศมี ดีปราศัย
Abstract
ความสามารถในการทำกำไรที่ส่งผลต่อมูลค่าหลักทรัพย์ในตลาดของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มหุ้นยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการทำกำไรที่ส่งผลต่อมูลค่าหลักทรัพย์ในตลาดของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มหุ้นยั่งยืน เก็บข้อมูลจากแบบแสดงรายงานงบการเงินประจำปี ระยะเวลา 3 ปี รวมจำนวนข้อมูลทั้งสิ้น 181 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณระหว่างความสามารถในการทำกำไรไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น 2) การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณระหว่างความสามารถในการทำกำไรไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชี คำสำคัญ: ความสามารถในการทำกำไร, มูลค่าหลักทรัพย์ในตลาด, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
3
12.  ความสามารถในการทำกำไรที่ส่งผลต่อมูลค่าหลักทรัพย์ในตลาดของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มหุ้นยั่งยืน
Author : รุ่งรัศมี ดีปราศัย และพรชนก เฉลิมพงษ์
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของค่าใช้จ่ายที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่มหุ้นยั่งยืน ระยะเวลา 3 ปี จำนวน 178 บริษัท โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานทางการเงินของบริษัท แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานความยั่งยืนของบริษัทในฐานข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ออนไลน์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณระหว่างการลงทุนในค่าใช้จ่ายไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) 2) การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณระหว่างการลงทุนในค่าใช้จ่ายไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) สอดคล้องกับงานวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศพบว่า ค่าใช้จ่ายไม่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานของบริษัทและค่าใช้จ่ายมีความสัมพันธ์เชิงลบหรือเชิงบวกกับผลการดำเนินงานของบริษัท คำสำคัญ: ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร, ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา, ประสิทธิภาพการดำเนินงาน
10
13.  โครงการพัฒนากิจกรรมการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนสำหรับโรงเรียนสาธิต ?พิบูลบำเพ็ญ? มหาวิทยาลัยบูรพา
Author : สิริยุพิน ศุภ์ธนัชภัคชนา และคณะ
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนสาธิต ?พิบูลบำเพ็ญ? มหาวิทยาลัยบูรพา และเพื่อประเมินคุณภาพกิจกรรมการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนสาธิต ?พิบูลบำเพ็ญ? มหาวิทยาลัยบูรพา ผู้วิจัยดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ 4 ระยะ คือ 1) ศึกษาข้อมูลและการสมัครเป็นสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 2) ศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบด้านการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 3) พัฒนากิจกรรมการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนสาธิต ?พิบูลบำเพ็ญ? และ 4) ประเมินและเผยแพร่กิจกรรมการดำเนินงานพฤกษศาสตร์โรงเรียน ที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบประเมินโครงการการพัฒนากิจกรรมการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 2) แบบประเมินข้อมูลพรรณไม้ 3) แบบงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนสาธิต ?พิบูลบำเพ็ญ? มหาวิทยาลัยบูรพา และเพื่อประเมินคุณภาพกิจกรรมการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนสาธิต ?พิบูลบำเพ็ญ? มหาวิทยาลัยบูรพา ผู้วิจัยดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ 4 ระยะ คือ 1) ศึกษาข้อมูลและการสมัครเป็นสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 2) ศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบด้านการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 3) พัฒนากิจกรรมการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนสาธิต ?พิบูลบำเพ็ญ? และ 4) ประเมินและเผยแพร่กิจกรรมการดำเนินงานพฤกษศาสตร์โรงเรียน ที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบประเมินโครงการการพัฒนากิจกรรมการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 2) แบบประเมินข้อมูลพรรณไม้ 3) แบบงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนสาธิต ?พิบูลบำเพ็ญ? มหาวิทยาลัยบูรพา และเพื่อประเมินคุณภาพกิจกรรมการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนสาธิต ?พิบูลบำเพ็ญ? มหาวิทยาลัยบูรพา ผู้วิจัยดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ 4 ระยะ คือ 1) ศึกษาข้อมูลและการสมัครเป็นสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 2) ศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบด้านการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 3) พัฒนากิจกรรมการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สำหรับโรงเรียนสาธิต ?พิบูลบำเพ็ญ? และ 4) ประเมินและเผยแพร่กิจกรรมการดำเนินงานพฤกษศาสตร์โรงเรียน ที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบประเมินโครงการการพัฒนากิจกรรมการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 2) แบบประเมินข้อมูลพรรณไม้ 3) แบบประเมินป้ายชื่อพรรณไม้ 4) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ตามกิจกรรมโครงการพฤกษศาสตร์โรงเรียนและ 5) แบบประเมินองค์ประกอบของสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนากิจกรรมโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 องค์ระกอบ คือองค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียนองค์ประกอบที่ 3 การศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ องค์ประกอบที่ 4 การรายงานผลการเรียนรู้และองค์ประกอบที่ 5 การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา 2) ผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับความเหมาะสม ของกิจกรรมการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์ องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ อยู่ในระดับใช้ได้ องค์ประกอบที่ 2 การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน อยู่ในระดับใช้ได้ องค์ประกอบที่ 3 การศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ อยู่ในระดับใช้ได้ องค์ประกอบที่ 4 การรายงานผลการเรียนรู้ อยู่ในระดับใช้ได้และ องค์ประกอบที่ 5 การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา อยู่ในระดับใช้ได้ คำสำคัญ: การพัฒนากิจกรรม, สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
4