ประมวลภาพกิจกรรม

SPUC

   
 กิจกรรม วันยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
 รายละเอียด วันยุทธหัตถี ถือเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ สงครามยุทธหัตถี ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2135 เมื่อพระเจ้านันทบุเรง ได้ให้พระมหาอุปราชายกทัพใหญ่มาตีกรุงศรีอยุธยา หวังจะเอาชนะให้ได้โดยเด็ดขาด สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทราบข่าว จึงยกทัพหลวงไปตั้งรับที่หนองสาหร่าย ซึ่งในการต่อสู้กันครั้งนั้น ระหว่างที่การรบกำลังติดพัน ช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระเอกาทศรถ ก็พากันไล่ล่าศัตรูอย่างเมามัน จนพาทั้งสองพระองค์ตกไปอยู่ในวงล้อมของข้าศึกโดยไม่รู้ตัว มีเพียงจตุลังคบาท (ผู้รักษาเท้าทั้งสี่ของช้างทรง)และทหารรักษาพระองค์เท่านั้นที่ติดตามไปทัน แม้จะอยู่ในสภาวะเสียเปรียบ แต่พระองค์ก็มีพระสติมั่น ไม่หวั่นไหว ทรงมีพระปฏิภาณว่องไวเกิดขึ้น โดยพระอุปนิสัยว่า พระองค์จะรอดได้มีเพียงทางเดียวคือ เชิญพระมหาอุปราชาเสด็จมาทำ ยุทธหัตถี ซึ่งพระองค์ก็สามารถกระทำยุทธหัตถีจนได้ชัยชนะอย่างสมพระเกียรติ และนับแต่นั้นมา ก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกเลย มีแต่ฝ่ายไทยยกไปปราบปรามข้าศึก และทำสงครามขยายอาณาเขตให้กว้างขวางขึ้นกว่าแต่ก่อน


สำหรับช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่มีชัยแก่ข้าศึกในสงครามยุทธหัตถี แต่เดิมมีชื่อว่า “พลายภูเขาทอง” เมื่อขึ้นระวางได้เป็น “เจ้าพระยาไชยานุภาพ” และเมื่อมีชัยก็ได้รับพระราชทานชื่อว่า “เจ้าพระยาปราบหงสา” ส่วนพระแสงของ้าวที่ทรงฟันพระมหาอุปราชา มีชื่อว่า “เจ้าพระยาแสนพลพ่าย” และพระมาลาที่ถูกฟันขาดลงไป ตอนทรงเบี่ยงหลบ มีชื่อว่า “พระมาลาเบี่ยง” สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเชี่ยวชาญการรบยิ่ง ทรงฉลาดในการวางแผนยุทธวิธี และอุบายกระบวนศึกที่ไม่เหมือนผู้ใดในสมัยเดียวกัน ทรงเป็นผู้ริเริ่มการรบแบบกองโจร คือ ใช้คนน้อยแต่สามารถต่อสู้กับคนจำนวนมากได้ พระองค์มีความสามารถในการใช้อาวุธ ที่ทำการรบแทบทุกชนิดอย่างเชี่ยวชาญยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือน อาวุธที่พระองค์ได้แสดงความสามารถให้ประจักษ์มาแล้ว ได้แก่

ปืน เช่น เหตุการณ์ที่แม่น้ำสะโตง ที่ทรงยิงพระแสงปืนกระบอกหนึ่งยาว 9 คืบถูกสุรกรรมา ผู้บังคับกองฯของพม่าตายอยู่กับช้าง แสดงว่าทรงปืนแม่นมาก
ดาบ เป็นอาวุธที่พระองค์ทรงชำนาญในการรบประชิด เช่น เมื่อครั้งปีนค่ายพม่า จนมี “พระแสงดาบคาบค่าย”
ทวน ในกรณีสังหารลักไวทำมู ทหารพม่าที่จะมาจับพระองค์
ง้าว เช่นในคราวสงครามยุทธหัตถี ที่ทรงใช้พระแสงของ้าวฟันถูกพระอังสะ(ไหล่) พระมหาอุปราชาจนขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์บนคอช้าง
จากเหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงมีความสามารถในการใช้อาวุธทั้งสี่ประเภท ได้อย่างดีเยี่ยม ฝีมือการรบของพระองค์นั้นเรียกได้ว่าเก่งกาจจนเป็นที่ครั่นคร้ามแก่ข้าศึกศัตรู ดังปรากฏในพงศาวดารพม่าพอสรุปได้ว่า วันหนึ่งพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง ทรงตัดพ้อว่า ไม่มีใครที่จะอาสามาสู้รบกับกรุงศรีอยุธยาเลย ทั้งๆ ที่พระนเรศวรมีรี้พลแค่หยิบมือเดียว แต่ก็ไม่มีใครกล้าไปรบพุ่ง พระยาลอ ขุนนางคนหนึ่ง จึงทูลว่า กรุงศรีอยุธยานั้น สำคัญที่พระนเรศวรองค์เดียว เพราะกำลังหนุ่ม รบพุ่งเข้มแข็งทั้งบังคับบัญชา ผู้คนก็สิทธิ์ขาดรี้พลทั้งนายไพร่กลัวพระนเรศวรยิ่งกว่ากลัวความตาย เจ้าให้รบพุ่งอย่างไรก็ไม่คิดแก่ชีวิตด้วยกันทั้งนั้น คนน้อยจึงเหมือนคนมาก ข้อความดังกล่าว เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงพระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้อย่างชัดเจน


ตลอดระยะเวลาที่เสด็จขึ้นครองราชย์ 15 ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2133 จนเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2148 ทรงอุทิศเวลาเกือบตลอดรัชสมัย ให้กับการศึกสงคราม เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความยิ่งใหญ่ให้กรุงศรีอยุธยาตลอดมา กล่าวกันว่าทรงนำทหารเข้ารบและทำศึกสงคราม มากกว่า 15 ครั้ง แต่การรบที่สำคัญและเด่นๆ มี 3 ครั้ง คือ เมื่อ พ.ศ. 2126 ที่ไปตีเมืองคัง ได้แสดงออกถึงพระปรีชาสามารถในการดำเนินกลศึก จนสามารถจับเจ้าเมืองคังถวายพระเจ้าหงสาวดีได้ ครั้นปี พ.ศ. 2129 คราวพม่ายกล้อมกรุง ซึ่งพระเจ้าหงสาวดีเสด็จมาเอง โดยมีกำลังพลถึง 250,000 คน และเป็นทัพกษัตริย์ถึง 3 ทัพคือ ทัพพระเจ้าหงสาวดี, ทัพพระมหาอุปราชา และทัพพระเจ้าตองอู ครานั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ใช้ยุทธศาสตร์การเดินทหารด้วยทางเส้นในจนได้รับชัยชนะ โดยพม่าไม่มีโอกาสเข้ามาประชิดกำแพงเมืองเลย และอีกครั้งคือ คราวสงครามยุทธหัตถี ตามที่กล่าวมาแล้ว และแม้แต่วาระสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ ก็ยังทรงอยู่ในระหว่างการรบ คือทรงยกทัพไปตีเมืองอังวะ แต่เกิดประชวรเป็นหัวระลอก (ฝี) ขึ้นที่พระพักตร์ และเป็นพิษจนสวรรคตไปเสียก่อน
 สถานที่ ณ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (ร.21 รอ.)
 วันที่ 18/01/2554
 
 
ประมวลภาพกิจกรรม วันยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
จำนวน : 7 รูป

ลบ

ลบ

ลบ

ลบ

ลบ

ลบ

ลบ