หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ได้ดำเนินการจัดการประชุมวิชาการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา กระทั่งในปี พ.ศ. 2568 นี้ นับเป็นครั้งที่ 14 จากภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ที่เห็นความสำคัญในการเป็นช่องทางหนึ่งในการนำเสนองานวิจัย และนวัตกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนนโยบายของประเทศ ทางมหาวิทยาลัยฯ จึงมีโครงการจัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ SPUC National and International Conference เรื่อง “นวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนา
อย่างยั่งยืน: การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมและสังคม” เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์ด้านวิชาการ และเผยแพร่ผลงานวิจัยอันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ จากอาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา นักประดิษฐ์ ในระดับอุดมศึกษา เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานวิจัย และนวัตกรรมที่ส่งเสริมสังคมภายใต้ยุคเทคโนโลยีนำการเปลี่ยนแปลง
2. เพื่อเป็นการเสนอผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ บริหารธุรกิจ นิติศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ในรูปบรรยาย (online via zoom) ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่ส่งเสริมสังคมภายใต้ยุคเทคโนโลยีนำการเปลี่ยนแปลง
3. เพื่อเป็นการดำเนินการตามตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษา (สกอ.)
สาขาที่เปิดให้นำเสนอผลงาน
เปิดรับบทความเข้าร่วมนำเสนอในการประชุมวิชาการ รูปแบบออนไลน์ ในลักษณะ VDO conference ด้วยระบบ Zoom meeting ที่เกี่ยวข้องกับสาขา ดังนี้
1. งานวิจัย ด้าน วิศวกรรม พลังงาน และเทคโนโลยี สาขาย่อย วิศวกรรมเครื่องกล, วิศวกรรมเหมืองแร่, วิศวกรรมเกษตร, วิศวกรรม คอมพิวเตอร์, วิศวกรรมไฟฟ้า, วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ, วิศวกรรมโยธา, วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม, วิศวกรรมอุตสาหการ, วิศวกรรมแม่พิมพ์, วิศวกรรมเครื่องกล,
วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. งานวิจัย ด้าน วิทยาศาสตร์ กายภาพ สุขภาพ และชีวภาพ สาขาย่อย เทคโนโลยีสารสนเทศ, วิทยาการคอมพิวเตอร์, วิทยาศาสตร์, วิทยาศาสตร์สุขภาพ, ฟิสิกส์, เคมี, วิทยาศาสตร์ชีวภาพ, เกษตรศาสตร์, คณิตศาสตร์, สถิติ, ชีววิทยา และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. งานวิจัย ด้าน เทคโนโลยีเกษตร และอาหาร สาขาย่อย เทคโนโลยีการอาหาร, เครื่องจักรกลเกษตร, ธุรกิจอาหารและโภชนาการ, การผลิตและนวัตกรรมอาหาร และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. งานวิจัย ด้าน บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และศิลปศาสตร์ สาขาย่อย ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ, การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ, บริหารธุรกิจ, การเงิน, การบัญชี, ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล, การท่องเที่ยว, สหวิทยาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
5. งานวิจัย ด้าน ศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาย่อย เซรามิก, เทคโนโลยีการพิมพ์, บรรจุภัณฑ์, ออกแบบสื่อสาร, สิ่งทอและออกแบบเครื่องประดับ, ทัศนศิลป์, สถาปัตยกรรม, สถาปัตยกรรมภายใน, เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
6. งานวิจัยรับใช้สังคม / งานวิจัยนวัตกรรมชุมชน สาขาย่อย งานบริการวิชาการ, งานวิจัยนำไปใช้ประโยชน์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
7. งานประจำสู่งานวิจัย สาขาย่อย งานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้, งานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์กร, งานวิจัยเพื่อพัฒนางาน และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผู้รับผิดชอบโครงการ
สำนักงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี