ม.ศรีปทุม ชลบุรีร่วมต้อนรับคณะผู้บริหารจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมร่วมมือทางด้านวิชาการร่วมกัน
ทั้งนี้มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา จึงมุ่งเน้นที่จะผลิตบัณฑิต ให้มีคุณภาพ สร้างความเป็นมืออาชีพและมีศักยภาพ เพื่อรองรับการขยายตัวของโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ตั้งอยู่ในพื้นที่การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ถือว่านโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายที่สำคัญของทั้งสองประเทศที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปพร้อมกัน ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง การปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย และการเป็นผู้นำในด้านองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการต่อยอดและผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสังคมในทางที่ดีขึ้น และมหาวิทยาลัยศรีปทุมได้ร่วมมือทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ความร่วมมือกันในครั้งนี้จะเป็นการสร้างเสริมพลังในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้ตรงความต้องการของตลาด และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทั้งสองประเทศต่อไปในอนาคต โดยตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 และการเติบโตของประชาคมอาเซียน และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งและยาวนาน ระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาชนจีนนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน
"/>
สมัครเรียน 038-146-123

ม.ศรีปทุม ชลบุรีร่วมต้อนรับคณะผู้บริหารจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมร่วมมือทางด้านวิชาการร่วมกัน


A37433IMG_2558_resize.jpg

มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี นำโดย ดร.บุษบา ชัยจินดา รองอธิการบดี ร่วมต้อนรับคณะผู้บริหารจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน Mr. Wang Guiyi ประธาน Hunan Railway and Aviation Education Development Group และ Mr. Yuan Qingwu รองอธิการบดี Hunan Vocational College of Railway Technology จากนั้นร่วมประชุมหารือด้านการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) โดย ผศ.ดร.จิราพร ระโหฐาน ผู้ช่วยอธิการบดี วันอังคารที่ 19 ธันวาคม 2560 ณ อาคาร ดร.สุข-มาลินี พุคยาภรณ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี เป็นมหาวิทยาลัยซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor -EEC) เป็นประตูตะวันออกสู่เอเชีย หรือ Eastern Sea Gateway โดยเฉพาะ 3 ท่าเรือหลัก แหลมฉบัง มาบตาพุด สัตหีบและเป็นศูนย์กลางการพัฒนาการศึกษาและพัฒนาบุคลากรในพื้น EEC โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นแผนยุทธศาสตร์ ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 มีเป้าหมายยกระดับพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก 3 จังหวัด ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ให้กลายเป็น World-Class Economic Zone รองรับการลงทุนอุตสาหกรรม Super Cluster และอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอีก 20 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบาย One Belt One Road ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ต้องการพัฒนา "เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21" ซึ่งประกอบด้วย 2 เส้นทางคมนาคม คือ Silk Road Economic Belt ซึ่งเชื่อมโยงทางบกระหว่างเอเชียกลาง ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก และ Maritime Silk Road ซึ่งเชื่อมโยงทางทะเลระหว่างเอเชียใต้ แอฟริกาตะวันออก และเมดิเตอร์เรเนียน ที่สอดคล้องกับนโยบายในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC ของประเทศไทย อาทิ โครงการเมืองการบินภาคตะวันออก (Eastern Airport City) ณ สนามบินอู่ตะเภา เพื่อรองรับประชากร 60 ล้านคนในอนาคต รวมทั้งการก่อสร้างทางวิ่งที่ 2 และระบบสาธารณูปโภค รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมต่อได้ทั้ง 3 สนามบิน คือ สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง และสนามบินอู่ตะเภา เพื่อให้เป็นส่วนขยายของกรุงเทพฯ และภาคตะวันออกเป็นผู้นำอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยมีบริษัทชั้นนำลงทุนในพื้นที่

ทั้งนี้มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา จึงมุ่งเน้นที่จะผลิตบัณฑิต ให้มีคุณภาพ สร้างความเป็นมืออาชีพและมีศักยภาพ เพื่อรองรับการขยายตัวของโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ตั้งอยู่ในพื้นที่การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ถือว่านโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายที่สำคัญของทั้งสองประเทศที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปพร้อมกัน ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง การปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย และการเป็นผู้นำในด้านองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการต่อยอดและผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสังคมในทางที่ดีขึ้น และมหาวิทยาลัยศรีปทุมได้ร่วมมือทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ความร่วมมือกันในครั้งนี้จะเป็นการสร้างเสริมพลังในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้ตรงความต้องการของตลาด และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทั้งสองประเทศต่อไปในอนาคต โดยตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 และการเติบโตของประชาคมอาเซียน และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งและยาวนาน ระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาชนจีนนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน