เจ้าของ
    มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
    79 หมู่ 1 ถนนบางนา-ตราด ตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000
    โทรศัพท์ 0 3814 6123
    โทรสาร 0 3814 6011

ที่ปรึกษา
    รองอธิการบดี วิทยาเขตชลบุรี

บรรณาธิการบริหาร
    ดร.บุษบา ชัยจินดา

หัวหน้ากองบรรณาธิการ
    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรวิชญ์ เลิศไทยตระกูล มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี

กองบรรณาธิการ
    รองศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาติ วิสุทธิสมาจาร
     มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    รองศาสตราจารย์ ดร.พนิตสุภา ธรรมประมวล
     มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนวัต ลิมป์พาณิชย์กุล
     มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ดร.ณัฏฐพัชร มณีโรจน์
     มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายตรวจบทคัดย่อภาษาอังกฤษ
    นางสาวประพาฬพรรณ ประพาฬเลิศสิน

พิสูจน์อักษร
    อาจารย์นพวรรณ ยุติธรรม และนางสาวรัตนา เอมสถิตย์

อิเล็กทรอนิกส์
    อาจารย์อดิศักดิ์ ภิญญาคง และนายสิทธิพงษ์ พุทธวงษ์

ฝ่ายจัดหน้า
    นางสาวจันทร์จิรา นกงาม

ฝ่ายเลขานุการ
    รองศาสตราจารย์ ประภัสสร คำสวัสดิ์

วัตถุประสงค์
    1.เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่บทความทางวิชาการและบทความวิจัยที่มีคุณภาพ ที่แสดงถึงประโยชน์ในเชิง
   ทฤษฏี เพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำไปพัฒนาหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่และแสดงถึงประโยชน์ในเชิงปฏิบัติ
   ที่ผู้ประกอบการในภาครัฐ ภาคธุรกิจ และผู้สนใจสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างมูลค่า ส่งเสริมพัฒนา
   องค์กรและธุรกิจ โดยมีขอบเขตของวารสารครอบคลุมเนื้อหาในด้านบริหารธุรกิจ การบริหารการศึกษา
   การท่องเที่ยว การบัญชี นิเทศศาสตร์และการสื่อสาร และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มุ่งเน้น
   การประยุกต์ศาสตร์ในแขนงต่างๆ เพื่อการพัฒนา หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่
    2.เพื่อเป็นช่องทางการให้บริการวิชาการแก่สังคมในฐานะสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
   ประสบการณ์ ระหว่างอาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไป รวมถึงการเป็นเวที
   แลกเปลี่ยนผลงานทางวิชาการกับเครือข่ายสถาบันการศึกษา

กำหนดออก
    วารสารตีพิมพ์เผยแพร่ราย 4 เดือน (ปีละ 3 ฉบับ)
    ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน)
    ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม)
    ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม)


สำนักงาน
    สำนักวิจัยและพัฒนานวัตกรรม
    มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
    โทรศัพท์ 0 3814 6123 ต่อ 2506
    โทรสาร 0 3814 6011
    e-mail: iscjournal@chonburi.spu.ac.th

พิมพ์ที่
    บางแสนการพิมพ์
    62 ถนนบางแสนสายล่าง ตำบลแสนสุข
    อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000


ขอบเขตเนื้อหา
    บทความวิชาการและบทความวิจัยครอบคลุมเนื้อหาด้านบริหารธุรกิจ ด้านการบริหารปฏิบัติการ
   ด้านการบริหารการศึกษา ด้านการท่องเที่ยว ด้านการบัญชี ด้านนิเทศศาสตร์และการสื่อสาร
   และด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มุ่งเน้นการประยุกต์ศาสตร์ในแขนงต่าง ๆ

การประเมินคุณภาพเพื่อตีพิมพ์
    บทความที่ตีพิมพ์ทุกบทความผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ๆ
   จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน เป็นการประเมินแบบ double-blinded review

จริยธรรมการตีพิมพ์ (publication ethics)
    วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี จัดทำขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ในการเผยแพร่บทความวิชาการ
   และบทความวิจัย เพื่อให้การเผยแพร่เป็นไปอย่างถูกต้อง มีคุณภาพ โปร่งใส และสอดคล้องกับมาตรฐาน
   การตีพิมพ์ที่เป็นที่ยอมรับระดับสากล จึงกำหนดแนวทาง วิธีปฏิบัติ และจริยธรรมการตีพิมพ์เผยแพร่
   บทความวิชาการและบทความวิจัย โดยได้กำหนดบทบาทของผู้นิพนธ์ (author)
   บรรณาธิการวารสาร (editor) และผู้ประเมินบทความ (reviewer) จึงใคร่ขอให้บุคคลทั้ง 3 กลุ่ม
   ได้ศึกษาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ต่อผู้อ่านและแวดวงวิชาการต่อไป
    บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์บทความ
    1.ผู้นิพนธ์ต้องซื่อสัตย์ มีคุณธรรม และมีจรรยาบรรณในการวิจัย การดำเนินงาน และรายงานผลการวิจัย
    2.ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่เขียนขึ้นนั้น ได้มาจากข้อเท็จจริงจากการศึกษาไม่บิดเบือนข้อมูลและ
   ไม่มีข้อมูลที่เป็นเท็จ
    3.ผู้นิพนธ์ต้องมีความรับผิดชอบต่อผลงานของตนและรับรองว่าผลงานไม่เคยถูกตีพิมพ์ หรือกำลังอยู่ใน
   ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาตีพิมพ์ที่ใด
    4.ผู้นิพนธ์ต้องระบุชื่อผู้เป็นเจ้าของผลงานร่วมทุกคนอย่างชัดเจนในกรณีที่ไม่ได้เขียนคนเดียว
    5.ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานผู้อื่นที่ปรากฏอยู่ในงานของตน รวมทั้งการเขียนบทความให้ถูกต้อง
   ตามรูปแบบที่กำหนดไว้
    6.ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ และระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)
    7.ในกรณีที่ผู้นิพนธ์ทำผิดข้อตกลง วารสารจะตัดสิทธิการตีพิมพ์ และวารสารจะแจ้งหน่วยงานที่
   ผู้นิพนธ์สังกัดหรือผู้นิพนธ์แล้วแต่กรณี
    บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ
    1.บรรณาธิการมีหน้าที่ดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของวารสาร ปรับปรุง และพัฒนาให้ได้ตาม
   มาตรฐานสากล
    2. บรรณาธิการมีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ ผู้อ่าน และผู้เกี่ยวข้อง
    3. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคัดเลือกบทความเพื่อเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพเพื่อตีพิมพ์เผย
   แพร่ โดยพิจารณาจากความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ
    4. ระหว่างการประเมินบทความ บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความแก่
   บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องทราบ
    5. บรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบการคัดลอกผลงานผู้อื่น (plagiarism) และการนำบทความที่
   เคยตีพิมพ์ที่อื่นแล้วมาเสนอเพื่อขอรับการตีพิมพ์ซ้ำ เพื่อให้บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอก
   ผลงานผู้อื่นและไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว
    6.หากตรวจพบการคัดลอกผลงานผู้อื่น หรือการนำบทความที่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมานำเสนอ
   ขอรับการตีพิมพ์ บรรณาธิการจะหยุด กระบวนการประเมินบทความและหากบทความได้รับการเผยแพร่
   ไปแล้ว บรรณาธิการจะใช้สิทธิในการถอดถอนบทความและแจ้งหน่วยงาน
   ที่ผู้นิพนธ์สังกัดหรือผู้นิพนธ์แล้วแต่กรณี
    7. บรรณาธิการไม่ตีพิมพ์บทความในวารสารเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน
    8. บรรณาธิการจะปกป้องมาตรฐานของทรัพย์สินทางปัญญาจากการแสวงหาผลประโยชน์และความ
   ต้องการทางธุรกิจ
    บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
    1. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับของบทความที่ถูกนำส่งมาเพื่อขอรับการประเมิน
   จากบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง (confidentiality)
    2. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้
   ข้อคิดเห็นอย่างอิสระได้ โดยผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธ
   การประเมินบทความนั้น
    3. ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาจากคุณภาพ
   ของบทความเป็นสำคัญ ไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบท
    4. หากผู้ประเมินบทความพบว่า บทความที่ประเมินมีส่วนหนึ่งส่วนใดที่มีความเหมือนหรือความซ้ำซ้อน
   กับผลงานของบุคคลอื่น ต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบในทันที

ข้อเขียนที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะส่วนตัวของผู้นิพนธ์
ซึ่งต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่มีผลต่อกองบรรณาธิการ