please wait loading...
Untitled Document
 



 ปีที่ 20 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนเมษายน-เดือนธันวาคม 2567 อ่าน
1.  ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็งจากต่างประเทศของบริษัท ซี สกาย อินเตอร์เทรดดิ้ง จำกัด
Author : เอกสันติ แซ่ว่อง และชิณโสณ์วิสิฐนิธิกิจา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 2) การตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็ง บริษัท ซี สกาย อินเตอร์เทรดดิ้ง จำกัด 3) เปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อ อาหารแช่แข็ง บริษัท ซี สกาย อินเตอร์เทรดดิ้ง จำกัด จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และ 4) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็ง บริษัท ซีสกาย อินเตอร์เทรดดิ้ง จำกัด กลุ่มตัวอย่างเป็นลูกค้าที่ซื้ออาหารแช่แข็งของบริษัท จำนวน 180 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แบบคอมพิวเตอร์สุ่ม มีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที (t test), การทดสอบค่าเอฟ (F test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ด้วยวิธีการเลือกตัวแปรโดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด (Enter Regression) ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพธุรกิจส่วนตัว/เจ้าของกิจการ ความถี่ในการซื้อ 1-3 ครั้งต่อเดือน จำนวนเงินที่ใช้ต่อครั้งน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท ซื้อเพื่อนำไปแปรูป ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดอยู่ในระดับสำคัญมาก เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ความถี่ในการซื้อ จำนวนเงินที่ใช้ต่อครั้ง และวัตถุประสงค์ในการซื้อ ที่แตกต่างกันมีผลต่อการการตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็ง จากต่างประเทศของบริษัท ซี สกาย อินเตอร์เทรดดิ้ง จำกัด ที่แตกต่างกัน ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่แข็งจากต่างประเทศของบริษัท ซี สกาย อินเตอร์เทรดดิ้ง จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: ส่วนประสมทางการตลาด; การตัดสินใจซื้อ; บริษัท ซี สกาย อินเตอร์เทรดดิ้ง จำกัด
3
2.  คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจการบริการของบริษัทรับกำจัดสัตว์รบกวนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
Author : ปาริษา ภูศิริ และสุธรรม พงศ์สำราญ
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณภาพการให้บริการ 2) ระดับความพึงพอใจ 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจการบริการของบริษัทรับกำจัดสัตว์รบกวนในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และ 4) คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจการบริการของบริษัทรับกำจัดสัตว์รบกวนในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เคยใช้บริการของบริษัท จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แบบคอมพิวเตอรสุ่ม มีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, การทดสอบค่าที (t test) แบบ Independent Samples การทดสอบค่าเอฟ (F test), การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ด้วยวิธีการเลือกตัวแปรโดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด (Enter Regression) ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุต่ำกว่าหรือเท่ากับ 30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพรับจ้าง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-20,000 บาท และระยะเวลาในการรับบริการ 1 ปี คุณภาพการให้บริการอยู่ในระดับสำคัญมาก ความพึงพอใจอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาการรับบริการที่แตกต่างกันมีผลต่อความพึงพอใจการบริการของบริษัทรับกำจัดสัตว์รบกวนที่แตกต่างกัน ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ด้านความเชื่อถือหรือไว้วางใจได้ ด้านการให้ความมั่นใจและด้านการเข้าใจการรับรู้ความต้องการของผู้รับบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจการบริการของบริษัทรับกำจัดสัตว์รบกวนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: คุณภาพการให้บริการ; ความพึงพอใจ; บริษัทรับกำจัดสัตว์รบกวน
26
3.  การสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว และแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเขตปกครองตนเองทิเบตของนักท่องเที่ยวในเขตภาคเหนือของประเทศไทย
Author : จิง หญิง และนภาวรรณ เนตรประดิษฐ์
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว แรงจูงใจ และการตัดสินใจท่องเที่ยวเขตปกครองตนเองทิเบตของนักท่องเที่ยวในเขตภาคเหนือของประเทศไทย และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเขตปกครองตนเองทิเบตของนักท่องเที่ยวในเขตภาคเหนือของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปที่ตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวเขตปกครองตนเองทิเบต จำนวน 385 คน ด้วยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมาน คือการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ด้วยการเลือกตัวแปรโดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด (Enter Regression) ผลการศึกษาพบว่าระดับความคิดเห็นการสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว แรงจูงใจ และการตัดสินใจท่องเที่ยวเขตปกครองตนเองทิเบตของนักท่องเที่ยวในเขตภาคเหนือของประเทศไทยอยู่ในระดับมาก การสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ (?=.32) ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว (?=.28) และแรงจูงใจ (?=.22) มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเขตปกครองตนเองทิเบตของนักท่องเที่ยวในเขตภาคเหนือของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถทำนายการตัดสินใจท่องเที่ยวเขตปกครองตนเองทิเบตของนักท่องเที่ยวในเขตภาคเหนือของประเทศไทยได้ร้อยละ 53.90 คำสำคัญ: การสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์; ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว; แรงจูงใจ
5
4.  แนวทางการพัฒนาท่าเทียบเรือสินค้าภายในประเทศในเขตพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3
Author : ไกรวัฒน์ พิทักษ์กรณ์ และสราวุธ ลักษณะโต
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัญหา อุปสรรค และปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาท่าเรือสินค้าภายในประเทศ และ 2) แนวทางการพัฒนาท่าเรือสินค้าภายในประเทศ ซึ่งเป็นท่าเรือที่สนับสนุนการขนส่งสินค้าโดยเรือชายฝั่งและเรือลำเลียงในเขตพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 โดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก (SWOT Analysis) การใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ชนิดแบบปลายเปิดกับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการท่าเทียบเรือ จำนวน 3 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจง และชนิดมาตรวัดแบบให้คะแนน 5 ระดับ จำนวน 15 ราย โดยการวิเคราะห์ความคิดเห็นที่ได้จากแบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับสถานการณ์การขนส่งสินค้าภายในประเทศในปัจจุบัน การพัฒนาท่าเทียบเรือสินค้าภายในประเทศในเขตพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ผลการวิจัยพบว่าระดับคะแนนของผู้ใช้บริการทั้ง 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการให้บริการท่าเทียบเรือ ปัจจัยด้านการปฏิบัติการเครื่องมือยกขนสินค้า ปัจจัยด้านการปฏิบัติการสินค้า และปัจจัยด้านการเงินและอื่น ๆ อยู่ในระดับมาก 4.10, 4.00, 4.03 และ 3.71 ตามลำดับ โดยจุดแข็งและโอกาสคือ การมีโครงสร้างพื้นฐานและพื้นที่หลังท่าที่สามารถเชื่อมโยงกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเพื่อขนส่งสินค้าไปยังจุดหมายปลายทางต่าง ๆ ภายในประเทศ จุดอ่อนและอุปสรรคคือ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับของการท่าเรือแห่งประเทศไทยไม่เอื้อต่อสภาพแวดล้อมการแข่งขันทางธุรกิจ ทำให้ไม่สามารถสร้างพันธมิตรทางธุรกิจได้ รวมถึงอัตราค่าภาระ ในปัจจุบันที่ยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างอัตราค่าภาระที่คณะรัฐมนตรีประกาศใช้เมื่อปี 2534 และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไม่สามารถเชื่อมต่อกับผู้ประกอบการเอกชน ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการบริหารจัดการปัญหาด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำสำคัญ: ท่าเทียบเรือสินค้าภายในประเทศ; เขตพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3
11
5.  ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี
Author : จารุวัลย์ เจริญวุฒิวิทยา, สรรเสริญ หุ่นแสน และดาวประกาย ระโส
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูโรงเรียนเอกชนในระบบ อำเภอเมืองชลบุรี สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 306 คน จากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน กำหนดสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียนและทำการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง เชิงเนื้อหา (IOC)=.95 และมีค่าความเชื่อมั่น=.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t test) การทดสอบค่าเอฟ (F test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี พบว่ามีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี ด้านการใช้เทคโนโลยีในการวัดและประเมินผล ด้านการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ด้านการมีวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี และด้านการใช้เทคโนโลยีในการบริหาร 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี พบว่าภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี; ผู้บริหารโรงเรียนเอกชน
11
6.  แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1
Author : พุทธิดา ทับทอง, สรรเสริญ หุนแสน และดาวประกาย ระโส
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครู และเพื่อศึกษาแนวการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยใช้การวิจัยแบบวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 286 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 10 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคำนวณ ทางสถิติด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 ของผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ รองลงมาด้านการมี ส่วนร่วมในผลประโยชน์ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ตามลำดับ 2) แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 จำนวน 4 แนวทาง ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการ คือผู้บริหารเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการดำเนินการภายในสถานศึกษา ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ คือผู้บริหารเปิดโอกาสให้ครูและบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการปฏิบัติงานในสถานศึกษา ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์คือ ผู้บริหารมีการยกย่องและชมเชย ให้กำลังใจครูในการทำหน้าที่จัดการเรียนการสอน และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลคือ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษา คำสำคัญ: แนวทางการบริหารสถานศึกษา; การบริหารแบบมีส่วนร่วม
2
7.  การเปรียบเทียบปัจจัยประชากรศาสตร์ต่อโอกาสที่จะมาเที่ยวซ้ำ ชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
Author : รัมภาภัค ฤกษ์วีระวัฒนา และคณะ
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพด้านต่าง ๆ ของทรัพยากรการท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรมไทยพวนของชุมชนบ้านเชียง และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยประชากรศาสตร์ต่อโอกาสที่จะมาเที่ยวซ้ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยว จำนวน 446 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเป็นระบบ (Systematic Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่ออธิบายข้อมูลพื้นฐานปัจจัยประชากรศาสตร์ และสถิติการทดสอบค่าที (t test) การทดสอบค่าเอฟ (F test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 31-43 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 30,000 บาท สถานภาพสมรส มีลักษณะที่พักเป็นบ้านตัวเอง ส่วนใหญ่มาจากประเทศไทย และเดินทางมากับเพื่อน มีค่าใช้จ่ายต่อครั้งในการท่องเที่ยว 15,001-20,000 บาท ศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยววัฒนธรรมไทยพวน ชุมชนบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ด้านคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรม การจัดการด้านการท่องเที่ยว (ราคาผลิตภัณฑ์และบริการ) ศักยภาพในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวจากปัจจัยภายนอก อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยประชากรศาสตร์ด้านระดับการศึกษาที่แตกต่างกันต่อโอกาสที่จะมาเที่ยวซ้ำที่แตกต่างกัน คำสำคัญ: การเปรียบเทียบ; ปัจจัยประชากรศาสตร์; โอกาสที่จะมาเที่ยวซ้ำ
23
8.  การศึกษาประสิทธิภาพการจัดเรียนการสอนวิชาการวิเคราะห์สถิติทางธุรกิจวิทยาลัยดุสิตธานี ศูนย์การศึกษาเมืองพัทยา ปีการศึกษา 2566
Author : อนุรักษ์ ทองขาว
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน วิชาการวิเคราะห์สถิติทางธุรกิจ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยดุสิตธานี ศูนย์การศึกษาเมืองพัทยา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเก็บข้อมูลจากนักศึกษาทั้งหมดที่ลงทะเบียนเรียน จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน และผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากรกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่านักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพในมิติของการสอนอาจารย์ อุปกรณ์สื่อการสอน และการวัดและประเมินผล และนักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับที่เห็นด้วยว่าการจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพในมิติของการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ รวมทั้งผลการวิจัยชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนที่ได้คะแนนน้อยที่สุด คือการใช้ระบบ learn.dusit.com (Moodle) หรือ MS Teams ที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหามากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่วิทยัลยดุสิตธานี ศูนย์การศึกษาเมืองพัทยา ควรต้องเร่งพัฒนาต่อไป คำสำคัญ: นักศึกษา; สถิติ; วิทยาลัยดุสิตธานี
21
9.  การฟื้นตัวของร้านอาหารภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
Author : เกริกพล โพธิ์แสง และสมยศ อวเกียรติ
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีต่อการฟื้นตัวของผู้ประกอบการร้านอาหารภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี และเพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้ประกอบการร้านอาหารกับปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการฟื้นตัวของร้านอาหารภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการร้านอาหารที่มีหน้าร้านให้นั่ง รับประทาน ในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 135 ร้าน จากการคำนวณสูตรของเครจซี่และมอร์แกนทำให้ได้กลุ่มตัวอย่าง 100 ร้าน ผู้วิจัยเก็บตัวอย่างร้านอาหารที่มีหน้าร้านให้นั่งรับประทานและเปิดให้บริการในเวลากลางคืนในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เพราะได้รับผลกระทบมากที่สุด ด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t test) แบบกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Samples) การทดสอบค่าเอฟ (F test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Anova Analysis) ผลการวิจัยพบว่าผู้ประกอบการเป็นเพศหญิง จำนวน 57 คน มีอายุเฉลี่ยอยู่ในช่วงอายุ 46-55 ปี จำนวน 39 คน ระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 48 คน รายได้เฉลี่ยของร้านมากกว่า 45,001 บาท จำนวน 39 ร้าน จำนวนพนักงานของร้าน 8 คนขึ้นไป จำนวน 37 ร้าน และระยะเวลาประกอบกิจการ 3-6 ปี จำนวน 39 ร้าน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร้านอาหารมีการฟื้นตัวภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มากที่สุด ได้แก่ 1) ด้านการตกแต่งร้าน มีการจัดแสงไฟเพื่อสร้างบรรยากาศมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ 3.70 ระดับความสำคัญมาก 2) ด้านทำเลที่ตั้ง คือทำเลที่ตั้งใกล้แหล่งจัดจำหน่ายมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ 3.69 ระดับความสำคัญมาก 3) ด้านการบริหารจัดการพนักงาน หยิบยื่นเครื่องมือที่เขาต้องการเพื่อความสำเร็จมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ 3.61 ระดับความสำคัญมาก และด้านประเภทอาหารที่จำหน่ายคือ ร้านอาหารจานด่วน, ด้านราคาอาหาร 0-100 บาท, ด้านการจัดโปรโมชั่น จัดทุก 7 วัน เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยที่ทำให้ร้านอาหารมีการฟื้นตัวภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี อายุของผู้ประกอบการมีผลต่อการฟื้นตัวของร้านอาหาร มีผลทำให้ร้านอาหารมีการฟื้นตัว เพศหญิงมีผลต่อการฟื้นตัวของร้านอาหารมากกว่าเพศชาย ผู้ประกอบการที่มีการศึกษาสูงจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าผู้ประกอบการที่มีการศึกษาต่ำกว่า แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และระยะเวลาประกอบกิจการของผู้ประกอบการร้านอาหารด้วยที่จะทำให้ร้านอาหารมีการฟื้นตัว จำนวนพนักงานของผู้ประกอบการ ร้านอาหารจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลงและหันไปใช้บริการขนส่ง เดริเวรี่มากขึ้นจึงจะทำให้ร้านอาหารมีการฟื้นตัว คำสำคัญ: การฟื้นตัว; ร้านอาหาร; หลังโควิด-19
26
10.  การวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อร้านอาหารไทยรางวัลมิชลินสตาร์: แนวทางการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหาร
Author : ทิพย์อาภรณ์ สว่างผล และอัศวิน แสงพิกุล
Abstract
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) วิเคราะห์และจัดกลุ่มความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อร้านอาหารไทยที่ได้รับรางวัลมิชลินสตาร์ โดยจำแนกออกเป็นเชิงบวกและเชิงลบ และ 2) เพื่อวิเคราะห์ความคิดเห็นเชิงบวกและเชิงลบ โดยเชื่อมโยงกับประเด็นมิติคุณภาพบริการทั้ง 6 ด้านของธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการบริการของผู้ประกอบการ การวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จำนวน 177 คน ความคิดเห็นที่มีต่อร้านอาหารไทยที่ได้รับรางวัลมิชลินสตาร์ปี พ.ศ.2566 จากแหล่งข้อมูล Trip Advisor โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) และสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นเชิงบวกหรือคำชื่นชมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อร้านอาหารไทยที่ได้รับรางวัลมิชลินสตาร์ 3 อันดับแรก ได้แก่ รสชาติของอาหาร หน้าตาของอาหาร และการบริการของพนักงาน ในขณะที่ความคิดเห็นเชิงลบหรือข้อติเตียนจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อร้านอาหารไทยที่ได้รับรางวัลมิชลินสตาร์ 3 อันดับแรก ได้แก่ รสชาติของอาหารที่อาจไม่ถูกปากหรือไม่ได้มาตรฐาน การบริการของพนักงานที่ยังไม่ดีพอ และราคาสูง 2) สำหรับประเด็นด้านมิติคุณภาพบริการ พบว่าความคิดเห็นส่วนใหญ่ (ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ) เกี่ยวข้องกับมิติคุณภาพการบริการในเรื่องความเชื่อมั่นในรสชาติของอาหารมากที่สุด (Trust in Food Taste) รองลงมาจะเกี่ยวข้องกับมิติด้านอื่น ๆ เช่น การให้บริการที่รวดเร็ว ความอ่อนน้อม/ความเป็นกันเองของพนักงาน และความเอาใจใส่ของพนักงาน ทั้งนี้หน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการอาจนำความรู้จากงานวิจัยในครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อการพัฒนาคุณภาพการบริการของธุรกิจร้านอาหาร/ภัตตาคาร และเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของประเทศไทย คำสำคัญ: ร้านอาหารไทย; มิชลินสตาร์; การท่องเที่ยวเชิงอาหาร
3
11.  กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ ของผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก
Author : วรรณภา พงษ์วรวิจิตร, ปัทมา รูปสุวรรณกุล และสานิต ศิริวิศิษฐ์กุล
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศของผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก และเพื่อเปรียบเทียบกลยุทธ์ทางการตลาดที่ใช้เพื่อตัดสินใจด้านระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ ด้านรายได้ต่อเดือน ด้านรูปแบบธุรกิจ ด้านประเภทธุรกิจ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน จากผู้ประการนำเข้า-ส่งออก ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t test) แบบ Independent Samples การทดสอบค่าเอฟ (F test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในระดับมากทุกด้านตามลำดับ ดังนี้ ด้านระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ ด้านรายได้ต่อเดือน ด้านรูปแบบธุรกิจ และด้านประเภทธุรกิจ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยองค์กรของผู้ประกอบการที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศของผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกที่ไม่แตกต่างกัน คำสำคัญ: การขนส่งทางอากาศ; กลยุทธ์ทางการตลาด 5A; การตัดสินใจ
18
12.  แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการทำกิจกรรมของนักศึกษาคณะโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
Author : นวพล เกษมธารนันท์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของนักศึกษาและเพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างแรงจูงใจในการทำกิจกรรมของนักศึกษา มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อรวบรวมความคิดเห็นของนักศึกษา มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาคณะ โลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี จำนวน 200 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่ม กำหนดแนวคำถาม/ประเด็นการสนทนา โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Keys Informant) จำนวน 5 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) มาสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็นที่กำหนดโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษามี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการยอมรับจากสังคม ด้านความพึงพอใจ ด้านความภูมิใจในตนเอง และด้านประโยชน์ที่จะได้รับ และแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการทำกิจกรรมของนักศึกษา ได้แก่ การออกแบบกิจกรรมที่เสริมสร้างความสามัคคี การส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาตนเองเพิ่มขึ้น การเสริมสร้างความภาคภูมิใจให้แก่นักศึกษาและการประชาสัมพันธ์ หรือ สื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำกิจกรรม คำสำคัญ: กิจกรรมของนักศึกษา; แรงจูงใจ; คุณลักษณะของบัณฑิต
1
13.  การจัดการการขนส่งและการกระจายสินค้าเพื่อลดความสูญเสียของอาหาร กรณีศึกษา: โซ่อุปทานไข่ผำ
Author : ธรินี มณีศรี และชวลิต มณีศรี
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโซ่อุปทานไข่ผำ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสูญเสียตลอดโซ่อุปทาน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการการขนส่งและการกระจายสินค้า โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงไข่ผำ จำนวน 3 ราย ผู้ผลิต 1 ราย และลูกค้าจำนวน 28 ราย เกี่ยวกับกระบวนการเพาะเลี้ยง การจัดเก็บ การบรรจุ และการจัดส่ง รวมถึงกระบวนการแปรรูปเพื่อการวิเคราะห์ความสูญเสียตลอดโซ่อุปทาน ผลการศึกษาพบว่าขั้นตอนการขนส่งและการกระจายสินค้าทำให้เกิดการสูญเสียของไข่ผำสูงสุดถึงร้อยละ 20 สาเหตุมาจากการส่งไข่ผำจากต่างจังหวัดเข้าสู่ลูกค้าในเมืองใช้เวลาอย่างน้อย 4 ชั่วโมง บ่อยครั้งที่ผลิตภัณฑ์เสียหาย เนื่องจากปัญหาความล่าช้า และการควบคุมอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม ในงานวิจัยนี้ได้เสนอแนวทางการจัดการขนส่งและการกระจายสินค้าเพื่อลดเวลาจัดส่งให้สินค้าถึงมือลูกค้าโดยเร็วที่สุด โดยการเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าในกรุงเทพฯ ด้วยวิธีหาจุดศูนย์กลางในการหาทำเลที่ตั้ง และเปรียบเทียบกับทำเลที่ตั้งทางเลือกอื่นด้วยเทคนิคการหาระยะทางร่วมกับค่าขนส่ง ผลลัพธ์ที่ได้ทำเลที่ตั้ง 2 พื้นที่คือ ฝั่ง พระนคร (13.759923689101600, 100.564717795655000) และฝั่งธนบุรี(13.691066931265300, 100.472623747179000) ใช้เวลาส่งถึงลูกค้าภายใน 60 นาที สามารถแก้ปัญหาการสูญเสียไข่ผำในขั้นตอนนี้ลงได้ คำสำคัญ: การจัดการการขนส่งและการกระจายสินค้า; ความสูญเสียของอาหาร; ไข่ผำ
20
14.  ปัจจัยการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความผูกพันต่อองค์การที่มีต่อการมีส่วนร่วม ในกิจกรรมระบบการผลิตแบบลีนของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัทผลิตสีย้อมแห่งหนึ่ง จังหวัดชลบุรี
Author : อริสรา เกตุนาค และสมบูรณ์ สารพัด
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลการรับรู้การสนับสนุนขององค์การที่มีต่อการมี ส่วนร่วมในกิจกรรมระบบการผลิตแบบลีนของพนักงาน และ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลความผูกพันต่อองค์การที่มีต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมระบบการผลิตแบบลีนของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในบริษัทผลิตสีย้อมแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี จำนวน 189 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ด้วยวิธีการจับฉลาก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ด้วยการเลือกตัวแปรโดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด (Enter Regression) ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การด้านความรู้และโอกาสก้าวหน้า ด้านความมั่นคงในการทำงาน และด้านการสนับสนุนจิตอารมณ์มีอิทธิพลในเชิงบวกต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมระบบการผลิตแบบ ลีนของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ความผูกพันต่อองค์การด้านการคงอยู่และด้านบรรทัดฐานมีอิทธิพลในเชิงบวกต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมระบบการผลิตแบบลีนของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 คำสำคัญ: การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ; ความผูกพันต่อองค์การ; การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระบบการผลิตแบบลีน
13
15.  ผลกระทบของคุณภาพการบริการต่อความภักดีของลูกค้าที่ใช้บริการเช่าเครื่องจักรกล ของบริษัท พรแม่ คอนสตรัคชั่น แอนด์ เรนเทล จำกัด
Author : คุณานนต์ รัตนจินดาวงศ์ และสมบูรณ์ สารพัด
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ ระดับคุณภาพการบริการ ระดับความภักดีของลูกค้า และ ผลกระทบคุณภาพการบริการที่มีผลต่อความภักดีของลูกค้าที่ใช้บริการเช่าเครื่องจักรกลหนักของ บริษัท พรแม่คอนสตรัคชั่น แอนด์ เรนเทล จำกัด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้บริการบริษัท พรแม่ คอนสตรัคชั่น แอนด์ เรนเทล จำกัด ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกที่เข้ามาใช้บริการเช่าเครื่องจักรหนัก ในปี 2565 จำนวน 198 บริษัท เลือกตัวแทนบริษัทละ 1 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 198 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง โดยกำหนดคุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนของบริษัทที่ใช้บริการที่เข้ามาติดต่อกับบริษัทและเลือกใช้บริการกับบริษัทมากกว่า 1 ปี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ด้วยการเลือก ตัวแปรโดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด (Enter Regression) ผลการวิจัยพบว่าคุณภาพการบริการ ระดับความภักดีของลูกค้ามีค่าที่ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 และผลกระทบคุณภาพการบริการมีค่าที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบไปในทางบวกทำให้ระดับความภักดีของลูกค้าที่มาใช้บริการมีค่าที่เพิ่มขึ้นตามอยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ลูกค้าจึงกลับมาใช้บริการซ้ำ คำสำคัญ: คุณภาพการบริการ; ความภักดี
17
16.  การรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อความภักดีในการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำของผู้โดยสารชาวไทย
Author : ธนากร ศรีตนไชย, เกวลี กระสานติ์กุล, สุรพร มุลกุณี และกฤติกา คุณูปการ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อความภักดีในการตัดสินใจเลือกใช้บริการ สายการบินต้นทุนต่ำของผู้โดยสารชาวไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำเส้นทางบินภายในประเทศ จำนวน 400 คน ด้วยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ด้วยการเลือกตัวแปรโดยวิธีเพิ่มตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน (Stepwise Regression) ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้คุณค่าด้านคุณภาพ การรับรู้คุณค่าด้านตัวเงิน การรับรู้คุณค่าด้านพฤติกรรม การรับรู้คุณค่าด้านชื่อเสียงมีผลต่อความภักดีในการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำของผู้โดยสารชาวไทย ในขณะที่การรับรู้คุณค่าด้านอารมณ์ไม่มีผลต่อความภักดีในการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำของผู้โดยสารชาวไทย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 คำสำคัญ: การรับรู้คุณค่า; ความภักดี; สายการบินต้นทุนต่ำ
9
17.  A CAUSAL MODEL OF CHINESE CONSUMERS? DEMOGRAPHIC PROFILE VALUE-ATTITUDE ENHANCING NEW FIRST-TIER CITIES? GREEN FURNITURE CONSUMPTION MARKET
Author : Chen Ling and Prin Laksitamas
Abstract
This study examined the effects of Chinese consumers? crucial demographic attributes on consumption values and scrutinized the impact of these values on attitudes and their consumption choice behaviors toward green furniture products in the People\'s Republic of China (PRC)\'s new first-tier cities market. This quantitative research employed 36-factor questionnaires on research samples consisting of 832 Chinese consumers from China?s four major new first-tier cities (Chengdu, Hangzhou, Xi?an, and Wuhan) which were collected by stratified sampling technique. The data underwent analysis through several statistical methods, including one-way analysis of variance (ANOVA), independent t test, confirmatory factor analysis (CFA), path analysis, and structural equation modeling (SEM). The results indicated that demographic attributes of the residence city, income, and marital status significantly influenced Chinese consumers? values. Product value (?=0.61) and eco-friendly system value (?=0.06) positively affected Chinese consumers? attitudes. Product value (?= 0.82) and eco-friendly system value (?=0.52) also positively affected consumption behaviors. Chinese customers? consumption behavior on green furniture could also be predicted by attitude (?=0.65) in the PRC?s new first-tier cities market. The paper\'s final section proposed recommendations for diverse stakeholders, encompassing consumers, enterprises, and government organizations. Keywords: Green Furniture; Green Consumption Behavior; PRC New First-Tier Cities
1
18.  การเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล และการปรับตัวยุคใหม่ในธุรกิจการบิน
Author : ลลิตลักษณ์ ธารีเกษ
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมไร้สัมผัส ของธุรกิจการบินในปัจจุบัน และเพื่อศึกษาประโยชน์ ข้อจำกัด รวมถึงการปรับตัวเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในธุรกิจการบิน ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมการบินกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญโดยได้รับแรงหนุนจากพลังของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้โดยสารและปรับปรุงประสบการณ์ในการเดินทาง อีกทั้งยังเป็นการลดการสัมผัสระหว่างผู้คน ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ปัจจุบันธุรกิจการบินได้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการให้บริการในทุกขั้นตอนของการเดินทาง เช่น การจองตั๋วโดยสาร การชำระเงินแบบไร้สัมผัส การเช็คอินการเดินทางผ่านแอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซด์ หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ การโหลดกระเป๋าเดินทางอัตโนมัติ การตรวจคนเข้าเมืองอัตโนมัติ และประตูขึ้นเครื่องบินอัตโนมัติ เพื่อให้ผู้โดยสารเกิดประสบการณ์ในการเดินทางที่ราบรื่นและไร้รอยต่อ โดยเทคโนโลยีไร้สัมผัสสามารถช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานโดยการลดความจำเป็นในการมีปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ ซึ่งจะช่วยให้พนักงานมีอิสระในการมุ่งความสนใจไปที่งานอื่น ๆ เช่น การบริการลูกค้า และช่วยลดเวลาการรอคอย สายการบินจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงยุคใหม่ โดยควรมีการจัดสรรและวางแผนทรัพยากรด้านงบประมาณเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล รวมถึงเตรียมความพร้อมในการค้นหาและฝึกอบรมพนักงานให้มีทักษะในการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีดิจิทัลอาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาการบริการบางอย่างที่ซับซ้อนได้ ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีอยู่ให้ง่ายต่อการใช้งานของผู้คนมากขึ้นเพื่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ คำสำคัญ: ดิจิทัล; เทคโนโลยี; การบิน
14
19.  การนำสมรรถนะมาประยุกต์ใช้ในการบริหารองค์กร
Author : ปาริชาติ คุณปลื้ม
Abstract
สมรรถนะ (Competency) ก็เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการบริหารองค์กรอย่างแพร่หลาย องค์กรมีการนำรูปแบบต่าง ๆ ของสมรรถนะไปประยุกต์ใช้ ได้แก่สมถรรนะหลัก (Core Competency) สมถรรนะด้านการบริหาร (Managerial Competency) สมถรรนะตามตำแหน่งหน้าที่ (Functional Competency) และสมถรรนะที่มาจากคุณลักษณะส่วนบุคคล (Personal Attribute) การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นหลังจากที่องค์กรนำสมรรถนะไปประยุกต์ใช้บริหารองค์กรและเพื่อศึกษาแนวทางในการนำสมรรถนะมาประยุกต์ใช้ในการบริหารองค์กร เมื่อนำข้อมูลการประยุกต์ใช้ขององค์กรที่ได้มาโดยการศึกษาผลงานวิจัยพบว่า สมรรถนะหลักส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของพนักงาน ปัจจัยด้านระดับการศึกษามีผลต่อสมรรถนะหลักในการทำงานแตกต่างกัน งานที่ใช้สมรรถนะมากคือ งานด้านการจัดการทรัพยากรมนษุย์ กระบวนการที่จะใช้สมรรถนะให้ได้ผลดีคือ การสร้างการมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม และสร้างการสื่อสารทั่วทั้งองค์กร สำหรับแนวทางในการนำสมรรถนะมาประยุกต์ใช้ในการบริหารองค์กร คือการกำหนดสมรรถนะหลักที่ขับเคลื่อนองค์กร เปิดโอกาสให้บุคลากรได้แสดงความคิดเห็น แสดงศักยภาพ และความเสมอภาคในการพัฒนาองค์กร เพื่อให้พนักงานนั้นรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร สร้างทีมทำงาน สร้างระบบการสื่อสารที่มีคุณภาพ สร้างสภาพแวดล้อมทำงานที่สนับสนุนการใช้ สมรรถนะมีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนการเรียนรู้และการพัฒนาต่อเนื่อง และเริ่มการประยุกต์ใช้ในกลุ่มที่มีระดับการศึกษาสูงก่อน ปรับจนมีความเหมาะสมแล้วค่อยกระจายไปทั่วองค์กร จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจในผลที่เกิดขึ้นหลังจากการนำไปใช้ว่ามีข้อดี ข้อเสีย และข้อเสนอแนะอย่างไรบ้าง เพื่อนำผลลัพท์ที่ได้มาเป็นแนวทางในการนำสมรรถนะมาประยุกต์ใช้ในองค์กรให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไป คำสำคัญ: สมรรถนะ; การบริหารองค์กร
5
20.  ประสบการณ์การเดินทางทางการบินสำหรับสังคมผู้สูงอายุ
Author : โชติกา พันธ์ผูกบุญ
Abstract
บทความประสบการณ์การเดินทางทางการบินสำหรับสังคมผู้สูงอายุมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสำคัญของผู้โดยสารสูงอายุที่เดินทางทางอากาศ และ 2) เพื่อศึกษาบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทางสายการบินเตรียมให้ผู้โดยสารสูงอายุ จากการที่ประชากรกรส่วนใหญ่ของโลกเปลี่ยนมาเป็นประชากรผู้สูงวัยและมีแนวแนวโน้มที่จะมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการอัตราการเกิดที่ลดลง ความก้าวหน้าทางการแพทย์ การดูแลใส่ใจเรื่องสุขภาพของผู้คนล้วนทำให้อัตราการตายในผู้สูงวัยลดลง ทำให้กลุ่มลูกค้าผู้สูงวัยจึงกลายมาเป็นกลุ่มลูกค้าสำคัญทั้งในปัจจุบันและในอนาคตของทุกภาคธุรกิจรวมไปถึงธุรกิจการบิน ด้วยการสืบค้นข้อมูลจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (IATA) สายการบิน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องงานวิจัยและบทความต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่าอุตสาหกรรมการบินให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้โดยสารสูงอายุเป็นอย่างมากทั้งการจัดเตรียมรูปแบบการบริการ สิ่งอำนวยความสะดวกรวมไปถึงการวางแผนออกแบบเครื่องบินให้สะดวกสบายสำหรับการเดินทางของกลุ่มผู้โดยสารสูงอายุโดยแบ่งกลุ่มผู้โดยสารสูงอายุออกเป็นกลุ่มที่ไม่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ กับกลุ่มที่ต้องการการความช่วยเหลือพิเศษ ทั้งนี้ขึ้นกับช่วงอายุและเงื่อนไขด้านสุขภาพ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้การเดินทางโดยเครื่องบินสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่กลุ่มผู้โดยสารสูงอายุ จากผลสำรวจผู้โดยสารทั่วโลกปี 2023 พบว่า 80% ของผู้โดยสารที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษพอใจกับระดับการบริการที่พวกเขาได้รับ ซึ่งสะท้อนถึงความก้าวหน้าในการจัดหาทางเลือกการเดินทางที่เข้าถึงได้ นอกจากนี้สายการบินต่าง ๆ ยังพบว่าความต้องการความช่วยเหลือพิเศษเพิ่มขึ้นมากทั้งจากกลุ่มผู้โดยสารสูงอายุ และผู้โดยสารที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าสายการบินได้เตรียมบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกตรงกับความต้องการของผู้โดยสารสูงอายุและสามารถนำไปเป็นแนวทางให้แก่ IATA หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสายการบินในการจัดการ การพัฒนาการบริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้โดยสารสูงอายุ คำสำคัญ: ประสบการณ์การเดินทางทางการบิน; สังคมผู้สูงอายุ; บริการและสิ่งอำนวยความสะดวก
5