Untitled Document
 
 ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนกรกฎาคม-เดือนกันยายน 2566 อ่าน
1.  การศึกษาพัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติราชการออนไลน์สำหรับการประเมินบุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Author : ทรงศักดิ์ มิ่มกระโทก และคณะ
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติราชการออนไลน์ สำหรับการประเมินบุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยนำมาใช้ในขั้นตอนการกรอกคะแนนลงในแบบฟอร์ม การคำนวณคะแนนประเมิน การอนุมัติผลคะแนนประเมิน และการจัดทำรายงานการประเมินผลการปฏิบัติราชการ รวมทั้งศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้และประสิทธิภาพในการใช้เว็บแอปพลิเคชั่นที่ได้พัฒนาขึ้น ในการศึกษาการพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการออนไลน์นี้ ได้แบ่งกระบวนการพัฒนาออกเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงที่ 1 การพัฒนาระบบต้นแบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรสายวิชาการด้วยโปรแกรม Microsoft Excel เพื่อเป็นต้นแบบในการคำนวณที่ถูกต้องตามตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ว่าด้วย มาตรฐานภาระงานทางวิชาการ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ.2566 และช่วงที่ 2 การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตามระบบต้นแบบด้วย Web Application เพื่อให้รองรับการทำงานแบบออนไลน์โดยใช้ภาษา HTML, CSS และ PHP ร่วมกับฐานข้อมูล MySQL การทดสอบระบบการประเมินผลการการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติราชการออนไลน์ สำหรับการประเมินบุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยนำมาใช้ในขั้นตอนการกรอกคะแนนลงในแบบฟอร์ม การคำนวณคะแนนประเมิน การอนุมัติผลคะแนนประเมิน และการจัดทำรายงานการประเมินผลการปฏิบัติราชการ รวมทั้งศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้และประสิทธิภาพในการใช้เว็บแอปพลิเคชั่นที่ได้พัฒนาขึ้น ในการศึกษาการพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการออนไลน์นี้ ได้แบ่งกระบวนการพัฒนาออกเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงที่ 1 การพัฒนาระบบต้นแบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรสายวิชาการด้วยโปรแกรม Microsoft Excel เพื่อเป็นต้นแบบในการคำนวณที่ถูกต้องตามตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ว่าด้วย มาตรฐานภาระงานทางวิชาการ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ.2566 และช่วงที่ 2 การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตามระบบต้นแบบด้วย Web Application เพื่อให้รองรับการทำงานแบบออนไลน์โดยใช้ภาษา HTML, CSS และ PHP ร่วมกับฐานข้อมูล MySQL การทดสอบระบบการประเมินผลการ
30
2.  ผลกระทบของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ต่อประสิทธิภาพในการทำงานของนักบัญชีในกรุงเทพมหานคร
Author : พชร ใจอารีย์ และสันติธร ภูริภักดี
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทดสอบผลกระทบของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมที่มีต่อประสิทธิภาพในการทำงาน 2) เพื่อทดสอบผลกระทบของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และ 3) เพื่อทดสอบผลกระทบของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่มีต่อประสิทธิภาพ ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักบัญชีในกรุงเทพมหานคร จำนวน 402 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า ตามการแบ่งพื้นที่เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วน 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมด้านการมีศีลธรรมและความยุติธรรม มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ องค์ประกอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ด้านการให้ความช่วยเหลือ ด้านการคำนึงถึงผู้อื่น ความอดทนอดกลั้น ความสำนึกในหน้าที่ การให้ความร่วมมือมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมด้านการแสดงบทบาทที่ชัดเจนที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คำสำคัญ: ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม, พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ, ประสิทธิภาพในการทำงาน
19
3.  พฤติกรรมการท่องเที่ยววิถีใหม่อย่างรับผิดชอบของนักท่องเที่ยวชาวไทยในแหล่งท่องเที่ยวชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี
Author : รัศมีพร พยุงพงษ์ และเจกิตาน์ ศรีสรวล
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวและพฤติกรรมการท่องเที่ยววิถีใหม่อย่างรับผิดชอบของนักท่องเที่ยวชาวไทยในแหล่งท่องเที่ยวชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี และเพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรศาสตร์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยววิถีใหม่อย่างรับผิดชอบของนักท่องเที่ยวชาวไทยในแหล่งท่องเที่ยวชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยว ชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน ด้วยการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจง ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที t test (Independent Sample) และการทดสอบค่าเอฟ F test (One way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 เมื่อพบความแตกต่างทำการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี Scheffe ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการท่องเที่ยววิถีใหม่อย่างรับผิดชอบของนักท่องเที่ยวชาวไทยในแหล่งท่องเที่ยวชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนหย่อนใจมากที่สุด รองลงมาเพื่อธุรกิจ/ประชุมสัมมนา และกีฬา/ความบันเทิง ผู้ร่วมเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นเพื่อนกับครอบครัวมากที่สุด รองลงมาคนรัก และเดินทางคนเดียว ช่วงวันที่เลือกเดินทางท่องเที่ยวคือ วันหยุดสุดสัปดาห์มากที่สุด รองลงมาวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันธรรมดา มีรูปแบบเดินทางท่องเที่ยวแบบไปเช้า-เย็นกลับมากที่สุด และพักค้างคืน แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจท่องเที่ยวคือ เพื่อน/ครอบครัวมากที่สุด รองลงมาอินเทอร์เน็ตและโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ ยานพาหนะที่ใช้เดินทางท่องเที่ยวในครั้งนี้คือ รถยนต์ส่วนบุคคลมากที่สุด รองลงมารถจักรยานยนต์และรถโดยสารประจำทาง กิจกรรมระหว่างท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมบนชายหาดมากที่สุดคือ พักผ่อนริมชายหาด และกิจกรรมทางน้ำมากที่สุดคือ เล่นน้ำทะเล นักท่องเที่ยวชาวไทยมีพฤติกรรมการท่องเที่ยววิถีใหม่อย่างรับผิดชอบในภาพรวมระดับปฏิบัติตนมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยมีพฤติกรรมการท่องเที่ยววิถีใหม่อย่างรับผิดชอบระดับปฏิบัติตนมากทุกด้านเรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านความปลอดภัย ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้านการวางแผนเพื่อใช้บริการ ด้านเทคโนโลยี และนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี มีพฤติกรรมการท่องเที่ยววิถีใหม่อย่างรับผิดชอบด้านเทคโนโลยีน้อยกว่าอายุ 21?30 ปี กับ 41?50 ปี อย่างมี นัยสำคัญ คำสำคัญ: พฤติกรรมการท่องเที่ยว, พฤติกรรมการท่องเที่ยววิถีใหม่อย่างรับผิดชอบ
2
4.  แนวทางส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ความเป็นเลิศของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดระยอง
Author : ปริยารัตน์ บัวแก้ว, วรวุฒิ เพ็งพันธ์ และสุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและแนวทางส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ความเป็นเลิศของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดระยอง โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 260 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 15 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคำนวณทางสถิติด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ความเป็นเลิศของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดระยอง พบว่า ในภาพรวมทั้ง 6 บทบาท อยู่ในระดับมากที่สุด บทบาทที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ บทบาทด้านส่งเสริมเครือข่าย การพัฒนาเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับมากที่สุด อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนบทบาทที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ บทบาทด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรอยู่ในระดับมาก 2. แนวทางส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ความเป็นเลิศของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดระยอง พบว่ามี 3 มิติ ประกอบด้วย มิติที่ 1 ภาครัฐที่เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน (Open and Connectedness Government) มีการส่งเสริมบทบาทคือ 1) ด้านงบประมาณ งานธุรการ การเงิน และพัสดุ ควรมีการจัดตั้งงบประมาณให้เพียงพอต่อการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และควรมีการจัดหาเจ้าหน้าที่โดยตรง 2) บทบาทด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร จัดโครงสร้างหลักสูตรและจัดส่งครูเข้าอบรม การใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยในการจัดการเรียนการสอนในยุคปัจจุบัน มิติที่ 2 การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Centric) มีการส่งเสริมบทบาทคือ บทบาทด้านอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ควรมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มิติที่ 3 มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย (Smart and High Performance) มีการส่งเสริมบทบาทคือ 1) บทบาทด้านบุคลากรและด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประชุมชี้แจงนโยบายของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างต่อเนื่องและมีการกำหนดกฎ ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ชัดเจน 2) บทบาทด้านการมีส่วนร่วม และส่งเสริมสนับสนุน ควรมีดำเนินการเพื่อให้ทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วมในการดูแลและพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3) บทบาทด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ควรมีการจัดตั้งเครือข่ายในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเริ่มตั้งแต่มีเครือข่ายระดับตำบล อำเภอ จังหวัด ไปถึงระดับภาคเพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการปฏิบัติงานด้านพัฒนาเด็กระหว่างหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อ เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กปฐมวัยต่อไป คำสำคัญ: แนวทางส่งเสริม, ความเป็นเลิศ, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
19
5.  บทบาทของครูในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี
Author : สุทธิรักษ์ สมอ่อน, สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์ และวรวุฒิ เพ็งพันธ์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับบทบาทของครูในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี 2) เปรียบเทียบบทบาทของครูในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน จำนวนนักเรียนที่รับผิดชอบต่อห้อง และที่ตั้งของโรงเรียน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาทของครูในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี สำหรับครูผู้สอนในระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี จำนวน 370 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนและทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับครูผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา IOC=.97 และมีค่าความเชื่อมั่น=.94 และ 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่ผ่านการพิจารณาความเหมาะสมของข้อคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของครูในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี โดยรวมและแยกรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่ครูมีบทบาทในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนมากเป็นลำดับแรกคือ ด้านการพัฒนาทักษะชีวิตบูรณาการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านบทบาทในการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะชีวิต ตามองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน และด้านบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะชีวิตนักเรียนโดยเทคนิคต่าง ๆ ตามลำดับ 2) ครูที่มีเพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน จำนวนนักเรียนที่รับผิดชอบต่อห้องต่างกัน ส่งผลต่อบทบาทของครูในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนไม่แตกต่างกัน ขณะที่ที่ตั้งของโรงเรียนส่งผลต่อบทบาทของครูในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียน โดยครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีที่ตั้งโรงเรียนในเขตเทศบาลมีบทบาทในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี มากกว่าครูที่มีที่ตั้งโรงเรียนอยู่นอกเขตเทศบาล 3) แนวทางการพัฒนาบทบาทของครูในการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดชลบุรี ได้แก่ การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมแบบ Active Learning โดยจัดให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมหรือมีการปฏิบัติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การสร้างบรรยากาศชั้นเรียนให้เหมาะแก่การเรียน การสอน ลดความตึงเครียดในห้องเรียน การสร้างสถานการณ์จำลองในรูปแบบต่าง ๆ ให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระโดยไม่ตัดสินว่าความคิดนั้นถูกหรือผิด คำสำคัญ: บทบาทของครู, การพัฒนาทักษะชีวิต, ประถมศึกษา
2
6.  การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้รูปแบบโครงงานเป็นฐานในรายวิชา GSC157 การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา
Author : อารีย์ ขันติธรรมกุล
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา GSC157 การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหาที่มีการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบโครงงานเป็นฐาน และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้รูปแบบโครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา GSC157 การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 306 คน ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้รูปแบบโครงงานเป็นฐาน 2) แบบทดสอบในรายวิชา GSC157 การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา GSC157 การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหาที่มีการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบโครงงานเป็นฐาน และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกโดยใช้รูปแบบโครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา GSC157 การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 306 คน ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้รูปแบบโครงงานเป็นฐาน 2) แบบทดสอบในรายวิชา GSC157 การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
19
7.  บทบาทที่คาดหวังของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์: การวิจัยแบบผสม
Author : วรรณภา ลือกิตินันท์
Abstract
การวิจัยเชิงผสมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทที่คาดหวังของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งใช้กระบวนการศึกษาแบบเป็นขั้นตอน ในการศึกษาเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาคอุตสาหกรรม จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่าบทบาทที่คาดหวังของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ความเชี่ยวชาญในงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ ความเชี่ยวชาญด้านพนักงาน การวางแผนเชิงกลยุทธ์ และผู้นำความเปลี่ยนแปลง สำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นการสนทนากลุ่มของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 20 คน ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่าบทบาทที่คาดหวังของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์คือ 1) จริยธรรม จรรยาบรรณในการทำงาน 2) ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจและการดำเนินงานขององค์กร เพื่อใช้ในการวางแผนงานและแก้ไขปัญหาในภาวะวิกฤต 3) ความรู้เกี่ยวกับงานบริหารทรัพยากรมนุษย์และกฎหมายแรงงาน 4) ความสามารถในการให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้บริหาร และ 5) ผู้ประสานงานระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง และหน่วยงานรัฐ โดย ผลการศึกษาทั้งสองส่วนมีความสอดคล้องกัน ยกเว้นประเด็นด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณในการทำงานเป็น ข้อค้นพบเพิ่มเติมที่ได้จากการศึกษาเชิงคุณภาพ คำสำคัญ: บทบาทนักบริหารทรัพยากรมนุษย์, การบริหารทรัพยากรมนุษย์, การวิจัยแบบผสม
5
8.  ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการล้างแอร์รถยนต์เคลื่อนที่
Author : ชนิตา อสุนีย์ และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจจา
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการล้างแอร์รถยนต์แบบเคลื่อนที่ 2) เพื่อศึกษาการตัดสินใจในการใช้บริการล้างแอร์รถยนต์แบบเคลื่อนที่ 3) เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจใช้บริการล้างแอร์รถยนต์แบบเคลื่อนที่ จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการล้างแอร์รถยนต์แบบเคลื่อนที่ กลุ่มตัวอย่างผู้ที่เคยใช้บริการล้างแอร์รถยนต์แบบเคลื่อนที่ อาศัยอยู่ในเขตดอนเมือง จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยมีระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่าที (t test) และการทดสอบค่าเอฟ F test (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 21-30 ปี สถานภาพสมรส อาชีพรับจ้าง/พนักงานบริษัท รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท การศึกษาปริญญาตรี ความถี่ในการใช้บริการ 1 ครั้งต่อปี เหตุผลที่ใช้บริการต้องการทำความสะอาด วันที่ใช้บริการเสาร์-อาทิตย์ เวลาที่ใช้บริการ 10.00-12.00 น. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการล้างแอร์รถยนต์แบบเคลื่อนที่และการตัดสินใจใช้บริการล้างแอร์รถยนต์แบบเคลื่อนที่ในภาพรวมอยู่ในระดับสำคัญมาก ข้อมูลส่วนบุคคล ด้านอายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับการศึกษา ความถี่ในการใช้บริการ เหตุผลที่ใช้บริการที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการล้างแอร์รถยนต์แบบเคลื่อนที่ที่แตกต่างกันปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านบุคคล ด้านกระบวนการ และด้านลักษณะทางกายภาพ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการล้างแอร์รถยนต์แบบเคลื่อนที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจ, ล้างแอร์รถยนต์แบบเคลื่อนที่
13
9.  การบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Author : ปาริชาติ คุณปลื้ม
Abstract
ประเทศไทยมีหน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 7,850 แห่ง ประกอบด้วย 1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด 76 แห่ง 2) เทศบาล 2,472 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลนคร 30 แห่ง เทศบาลเมือง 195 แห่ง เทศบาลตำบล 2,247 แห่ง 3) องค์การบริหารส่วนตำบล 5,300 แห่ง 4) องค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา) 2 แห่ง มีการค้นหารูปแบบพัฒนาองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นกันอย่างต่อเนื่อง รูปแบบหนึ่งที่เคยได้รับความนิยมคือการบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นการปกครองที่เป็นธรรมมีองค์ประกอบคือหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบและหลักความคุ้มค่า ต่อมาเมื่อโลกเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น แนวทางที่จะใช้พัฒนา ก็ต้องปรับเปลี่ยน แนวทางหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในการพัฒนาองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น คือการพัฒนาให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) เพราะสามารถใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างระบบและการสื่อสาร มีการสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนช่วยให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการเรียนรู้และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนและมีการเชื่อมต่อระบบการขนส่ง การสื่อสาร และการเชื่อมต่อสังคม เพื่อสร้างความสะดวกสบายและประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตของประชาชน โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการโดยเริ่มจากการวิเคราะห์และสำรวจสภาพเดิมของเมืองแล้วนำมากำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ในการพัฒนาเมือง มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเป็นเมืองอัจฉริยะ สร้างระบบสารสนเทศที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลจากหลายแหล่งเข้าด้วยกัน เก็บรวบรวมและจัดการข้อมูลเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนการพัฒนาเมืองได้อย่างต่อเนื่อง คำสำคัญ: การบริหารจัดการ, เมืองอัจฉริยะ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7