Untitled Document
 
 ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนตุลาคม-เดือนธันวาคม 2565 อ่าน
1.  ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนกับผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ
Author : รองเอก วรรณพฤกษ์, เพชรา บุญห่อ และปรารถนา วงศ์กันยา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างเงินทุน ผลการดำเนินงาน และความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนกับผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ตัวแปรอิสระคือ โครงสร้างเงินทุนที่วัดจาก 1) อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อสินทรัพย์ 2) อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ 3) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ตัวแปรตามคือ ผลการดำเนินงาน ได้แก่1) อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ 2) อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2560-2563 จำนวน 170 บริษัท ที่มีข้อมูลครบ 4 ปี และมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 119 บริษัท การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่าโครงสร้างเงินทุนวัดด้วยอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์มีความสัมพันธ์เชิงลบกับผลการดำเนินงานวัดด้วยอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ แต่โครงสร้างเงินทุนที่วัดด้วยอัตราหนี้สินระยาวต่อสินทรัพย์ และอัตราหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไม่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานที่วัดด้วยอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ และโครงสร้างเงินทุนวัดด้วยอัตราหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นมีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น แต่โครงสร้างเงินทุนวัดด้วยอัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อสินทรัพย์และอัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น คำสำคัญ: โครงสร้างเงินทุน, อัตราส่วนทางการเงิน, ผลการดำเนินงาน
19
2.  การประเมินโครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม ระหว่างโรงเรียนสาธิต ?พิบูลบำเพ็ญ? มหาวิทยาลัยบูรพา และโรงเรียนภาษาต่างประเทศคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
Author : ภัทราวุธ รักกลิ่น และสิริยุพิน ศุภ์ธนัชภัคชนา
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมโรงเรียนสาธิต ?พิบูลบำเพ็ญ? มหาวิทยาลัยบูรพา และโรงเรียนภาษาต่างประเทศคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหาร อาจารย์ ผู้ปกครอง และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามการประเมินโครงการด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต จำนวน 4 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (?) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (?) ผลการวิจัยพบว่าผลการประเมินโครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมโดยความเห็นของผู้บริหารมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (?=4.48, ?=0.39) ส่วนอาจารย์ (?=4.66, ?=0.41) ผู้ปกครอง (?=4.60, ?=0.40) และนักเรียน (?=4.62, ?=0.33) อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน (?=4.62, ?=0.33) โดยผู้บริหารมีความเห็นในระดับมาก ดังนั้นสรุป ได้ว่าโครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้ มีความคุ้มค่า และมีประโยชน์ต่อการพัฒนาโรงเรียน อาจารย์ และนักเรียน คำสำคัญ: การประเมินโครงการ, ความร่วมการศึกษาต่างประเทศ, การแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม
22
3.  การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรมด้วยสื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะของตลาดน้ำบางขาม อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
Author : ปรีดา สามงามยา, สุพัตรา ศรีสุวรรณ และสุภาภรณ์ เลิศศิริ
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และวัฒนธรรมของตลาดน้ำบางขาม อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี 2) เพื่อศึกษาคุณภาพของสื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะที่ใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรมของตลาดน้ำบางขาม อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรมด้วยสื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะ เป็นวิธีการวิจัยแบบผสมผสานโดยเน้นไปที่การวิจัยและพัฒนากลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยว จำนวน 385 คน ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะ 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรมด้วยสื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะ ประกอบด้วย สิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ สังคมออนไลน์ วีดิทัศน์ และเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม โดยนักท่องเที่ยวสามารถใช้อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือในการเข้าถึงข้อมูลและสื่อต่างๆที่ได้จัดทำไว้เชื่อมโยงถึงกันได้ 2) คุณภาพของสื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ?=4.75, SD=0.46) 3)นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรมด้วยสื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะ ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวมีความพึงพอใจอยู่ระดับมาก (X ?=4.16, SD=0.66) และด้านการใช้งานสื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะมีความพึงพอใจอยู่ระดับมาก (X ?=4.14, SD=0.65) จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรมของตลาดน้ำบางขามมีการบูรณาการใช้สื่อต่าง ๆร่วมกันโดยออกแบบพัฒนาอย่างเป็นระบบและประสานการทำงานร่วมกันเป็นสื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อใช้ในการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ในการสร้างการรับรู้ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มอายุเข้าถึงข้อมูลได้ทุกช่องทาง ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ คำสำคัญ: ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม, สื่อเทคโนโลยีอัจฉริยะ, ตลาดน้ำบางขาม
16
4.  รูปแบบการจัดการแนวใหม่ที่มีความสัมพันธ์ต่อการพัฒนาองค์กรในประเทศไทยในยุค NEW NORMAL
Author : สุปราณี วรรณรุณ และภัทศา ภารัตนวงศ์
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการแนวใหม่ขององค์กรในประเทศไทยในยุค New Normal และเพื่อศึกษารูปแบบการใช้ชีวิต รูปแบบการทำงาน รูปแบบธุรกิจ และรูปแบบการลงทุนที่มีอิทธิพลในการพัฒนาองค์กรในประเทศไทยในยุค New Normal เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งการวิจัย เชิงปริมาณ ผู้วิจัยเลือกใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ที่เป็นหัวหน้าส่วน/ผู้จัดการแผนก จำนวน 95 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบสอบถาม 5 ระดับ มีค่าความสอดคล้องระหว่างแบบสอบถามกับเนื้อหามีค่าเท่ากับ .95 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .82 และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์กับผู้บริหาร ได้แก่ ผู้จัดการฝ่ายขึ้นไป โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 13 คน ผลวิจัยดังนี้ ผลจากการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ปัจจัยทั้ง 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) รูปแบบการใช้ชีวิต 2) รูปแบบการทำงาน 3) รูปแบบธุรกิจ และ 4) รูปแบบการลงทุน มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการจัดการแนวใหม่ในการพัฒนาองค์กรในประเทศไทยในยุค New Normal ในภาพรวม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเป็น 0.260 และสามารถร่วมพยากรณ์รูปแบบการจัดการแนวใหม่ในยุค New Normal ในภาพรวม ได้ร้อยละ 0.068 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์เท่ากับ 0.412 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อรูปแบบการจัดการแนวใหม่ที่ในการพัฒนาองค์กรในประเทศไทยในยุค New Normal ในมุมมองของผู้บริหาร มี 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) ด้านรูปแบบการ ใช้ชีวิต และ 2) ด้านรูปแบบการทำงาน โดยทั้ง 2 ปัจจัยนี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบการจัดการแนวใหม่ ในการพัฒนาองค์กรในประเทศไทยในยุค New Normal คำสำคัญ: รูปแบบการจัดการแนวใหม่, การพัฒนาองค์กรในประเทศไทย, ยุคนิวนอร์มอล
21
5.  การพัฒนาชุดการฝึกอบรมออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความสุขในการปฏิบัติหน้าที่ครูระดับประถมศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
Author : สรรเสริญ หุ่นแสน
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาชุดการฝึกอบรมออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความสุขในการปฏิบัติหน้าที่ครูระดับประถมศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และเพื่อเสริมสร้างความสุขในการปฏิบัติหน้าที่ครูระดับประถมศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในระดับประถมศึกษาในเครือข่ายคุ้มบางกระเจ้าได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสุขในการปฏิบัติหน้าที่ครูระดับประถมศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และชุดการฝึกอบรมแบบออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความสุขในการปฏิบัติหน้าที่ครูระดับประถมศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน คือ การทดสอบค่าที (t test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดการฝึกอบรมออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความสุขในการปฏิบัติหน้าที่ครูระดับประถมศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) มีคุณภาพตามเกณฑ์ ประกอบด้วย 8 กิจกรรม ได้แก่ 1) สัมพันธภาพเพื่อส่งเสริมความสุข 2) การสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสุข 3) ความรักเพื่อส่งเสริมความสุข 4) การปฏิบัติหน้าที่ครูเพื่อส่งเสริมความสุข 5) การต่อยอดความสำเร็จเพื่อส่งเสริมความสุข 6) ความพึงพอใจในชีวิตการทำงานเพื่อเสริมสร้างความสุข 7) การเป็นที่ยอมรับเพื่อความสุข 8) โมเดลแห่งความสุข 2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ชุดการฝึกอบรมออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความสุขในการปฏิบัติหน้าที่ครูระดับประถมศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่พัฒนาขึ้นมามีระดับความสุขสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: ชุดฝึกอบรมออนไลน์, ความสุข, ครูระดับประถมศึกษา, โควิด-19
5
6.  ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับผลตอบแทนผู้บริหารและกรรมการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี
Author : กิตติยา จิตต์อาจหาญ
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับผลตอบแทนผู้บริหารและกรรมการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี เก็บข้อมูลจากจากแบบแสดงรายงานงบการเงินประจำปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558-ปี พ.ศ.2562 รวมจำนวนข้อมูลทั้งสิ้น 560 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณระหว่างกำไรต่อหุ้นกับผลตอบแทนของผู้บริหารและกรรมการ ค่า R Square เท่ากับ 0.46 และค่า Adjusted R Square เท่ากับ 0.46 แสดงว่ากำไรต่อหุ้น ขนาดของกิจการ และอายุของกิจการ สามารถอธิบายถึงผลตอบแทนของผู้บริหารและกรรมการได้ร้อยละ 46.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าหน่วยงานกำกับดูแลควรกำหนดมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลให้เป็นรูปแบบเดียวกันเพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบข้อมูลของนักลงทุน และผู้ที่สนใจศึกษา คำสำคัญ: ความสามารถในการทำกำไร, ผลตอบแทนผู้บริหารและกรรมการ
17
7.  ความพึงพอใจในการทำงาน ความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน และความตั้งใจในการลาออกจากงาน: กรณีศึกษาพนักงานที่ทำงานที่บ้านในจังหวัดนครปฐม
Author : จุรีวรรณ จันพลา, โสภณ สระทองมา และพชร ใจอารีย์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานที่บ้านของพนักงาน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงาน ความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน และความตั้งใจในการลาออกจากงานของพนักงานที่ทำงานที่บ้านในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานในจังหวัดนครปฐม จำนวน 413 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบลำดับขั้นและการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยลักษณะงานและปัจจัยความสามารถในการปรับตัวในการทำงานเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความความ พึงพอใจในการทำงานที่บ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยทั้ง 2 ตัวแปร สามารถร่วมกันพยากรณ์ความความพึงพอใจในการทำงานที่บ้านได้ร้อยละ 47.70 (R2=0.477) และ 2) ปัจจัยความพึงพอใจในการทำงานที่บ้านมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเหนื่อยหน่ายในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=-0.273) และปัจจัยความเหนื่อยหน่ายในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจในการลาออกจากงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=0.860) คำสำคัญ: ความพึงพอใจในการทำงาน, ความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน, ความตั้งใจในการลาออกจากงาน, การทำงานที่บ้าน
32
8.  การออกแบบประสบการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
Author : สุวดี บุญมาจรินนท์, จันทร์จิตต์ ฐนะศิริ และมนรัตน์ ใจเอื้อ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกแบบประสบการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นการศึกษาตามวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้นำชุมชน คณะกรรมการการท่องเที่ยวชุมชน และสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของชุมชน จำนวน 30 คน จาก 10 ชุมชนการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) เป็นเครื่องมือการวิจัย ซึ่งมีการตรวจสอบความเที่ยงตรง (Validity) ของเครื่องมือการวิจัยโดยการให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาข้อคำถาม วิธีการ และภาษา และใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่าการออกแบบประสบการณ์ผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่มาจากพื้นฐานทุนของท้องถิ่น การมีนักสื่อความหมายท้องถิ่นเป็นผู้ถ่ายทอดและการผสานประสาทสัมผัสทั้งห้า เป็นการสร้างประสบการณ์ให้ก่อเกิดแก่นักท่องเที่ยวที่มีคุณค่า น่าจดจำ และยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอันนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน คำสำคัญ: การออกแบบประสบการณ์, กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
15
9.  การพัฒนากิจกรรมทดสอบหน้าที่บริหารจัดการสมองสำหรับเด็กปฐมวัย
Author : อนุรักษ์ ทองขาว, พีร วงศ์อุปราช และสิริกรานต์ จันทเปรมจิตต์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมทดสอบหน้าที่บริหารจัดการสมองสำหรับเด็กปฐมวัยและศึกษาประสิทธิภาพของกิจกรรมทดสอบหน้าที่บริหารจัดการสมองสำหรับเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยที่มีช่วงอายุระหว่าง 5-6 ปี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบคัดกรองกลุ่มตัวอย่าง แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ กิจกรรมทดสอบ หน้าที่บริหารจัดการสมองมาตรฐาน (PEBL-64) และกิจกรรมทดสอบหน้าที่บริหารจัดการสมองสำหรับเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย การวิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหา การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (ความตรงเชิงสภาพ) และการวิเคราะห์ค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน KR-20 ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมทดสอบหน้าที่บริหารจัดการสมองสำหรับเด็กปฐมวัย มีลักษณะเป็นกิจกรรมจับคู่ไพ่รูปสัตว์ที่มีสีสันสวยงาม มีการใช้อิโมจิ และเครื่องหมายถูกหรือผิดในการแสดงผลการทำกิจกรรมทดสอบ แต่ละข้อ เมื่อทำกิจกรรมทดสอบเรียบร้อยแล้วจะสามารถรู้ผลการประเมินทันที กิจกรรมทดสอบหน้าที่บริหารจัดการสมองสำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้นี้ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา คือ S-CVI/Ave = .95 และมีความตรงเชิงสภาพเมื่อเทียบกับกิจกรรมทดสอบหน้าที่บริหารจัดการสมองแบบมาตรฐาน (PBCST-64) รวมทั้งค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน KR-20 คือ .72 คำสำคัญ: หน้าที่บริหารจัดการสมอง, กิจกรรมทดสอบ, เด็กปฐมวัย
17
10.  ประสบการณ์ลูกค้าที่มีผลต่อความรู้สึกต่อตราสินค้าแฟรนไชส์ร้านชานมไข่มุกของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี
Author : จันทรัสม์ ศรีบุญณะ, ชลธิศ ดาราวงษ์ และรมิดา วงษ์เวชวณิชย์
Abstract
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้สึกต่อตราสินค้าแฟรนไชส์ร้านชานมไข่มุกของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้สึกต่อตราสินค้าแฟรนไชส์ร้านชานมไข่มุกของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของประสบการณ์ลูกค้าที่มีต่อความรู้สึกต่อตราสินค้าแฟรนไชส์ร้านชานมไข่มุกของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นลูกค้าร้านแฟรนไชส์ ชานมไข่มุกในจังหวัดชลบุรี จำนวน 403 คน เลือกตัวอย่างแบบสะดวก และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) สำหรับเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรการเปรียบเทียบรายคู่ (LSD) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้สึกต่อตราสินค้าแฟรนไชส์ร้านชานมไข่มุกของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี ได้แก่ ด้านความรักในตราสินค้า และด้านความภักดีในตราสินค้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ที่แตกต่างกันจะมีผลต่อความรู้สึกต่อตราสินค้าแฟรนไชส์ร้านชานมไข่มุกของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรีโดยรวมที่แตกต่างกัน 3) ปัจจัยประสบการณ์ลูกค้าที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกต่อความรักในตราสินค้า ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านความคุ้มค่า ด้านการบริการ และด้านผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยประสบการณ์ลูกค้าที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในตราสินค้า ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านความคุ้มค่า ด้านการบริการ และด้านการเข้าถึง ตามลำดับ คำสำคัญ: ร้านแฟรนไชส์ชานมไข่มุก, ประสบการณ์ลูกค้า, ความรู้สึกต่อตราสินค้า
20
11.  ปัจจัยการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ
Author : จุติพร แสงสวัสดิ์ และพีรยุทธ โอรพันธ์
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยทางประชากรศาสตร์และการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของพนักงานต้อนรับ บนเครื่องบินสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยรวบรวมข้อมูลจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 26-33 ปี อายุงาน 4-6 ปี อาศัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์ โดยอาศัยอยู่ในต่างประเทศเป็นระยะเวลา 1-3 ปี ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในระดับปานกลาง เมื่อพิจารรารายด้าน พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมมากที่สุดในด้านการสื่อสารภายใต้สังคมของชาติพันธุ์ตนเองในระดับมาก รองลงมา ด้านสิ่งแวดล้อมในระดับมาก ด้านความสามารถในการสื่อสารภายใต้วัฒนธรรมเจ้าบ้านในระดับมาก ด้านสิ่งติดตัวผู้แปลกหน้าในระดับปานกลาง และด้านการสื่อสารภายใต้สังคมของเจ้าบ้านในระดับปานกลาง ตามลำดับ นอกจากนี้ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมมากที่สุดด้าน ความคิดในระดับมาก รองลงมา ด้านความรู้สึกในระดับมาก และด้านพฤติกรรมในระดับมาก ตามลำดับ สำหรับข้อค้นพบในการวิจัยครั้งนี้ คือ ปัจจัยการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คำสำคัญ: การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม, การปรับตัวข้ามวัฒนธรรม, พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
27
12.  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา บริษัทผลิตชั้นวางสินค้า
Author : ณัฐปภัสร์ จารุจิตร และพชร กิจจาเจริญชัย
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังของบริษัทกรณีศึกษาและนำเทคโนโลยีในการจัดการสินค้าคงคลังมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังและประเมินผลการดำเนินงาน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยคือ การสังเกตการณ์กระบวนการทำงานเพื่อศึกษากระบวนการทำงานในปัจจุบัน รวมถึงการศึกษาข้อมูลแนวทางจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมไปประยุกต์ใช้ในการจัดการสินค้าคงคลังในกระบวนการเบิกจ่ายสินค้ารูปแบบใหม่ ผลการวิจัยพบว่า ระบบ Barcode เป็นเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของบริษัทกรณีศึกษาที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ซึ่งยังมีข้อจำกัดในด้านความสามารถในการลงทุนและการปรับตัวเข้าสู่การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการทำงาน เมื่อนำระบบ Barcode และโปรแกรม Excel VBA มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเบิกจ่ายสินค้า พบว่าช่วยอำนวยความสะดวกในการลดภาระงานของเจ้าหน้าที่คลังสินค้าและพนักงานในขั้นตอนการเบิกจ่ายสินค้าคงคลังได้ โดยสามารถลดระยะเวลาเฉลี่ยในกระบวนการเบิกจ่ายสินค้าต่อครั้งลงได้ร้อยละ 46 และลดระยะทางเฉลี่ยที่ใช้ในกระบวนการเบิกจ่ายสินค้าต่อครั้งลงได้ร้อยละ 21 อีกทั้งยังสามารถเพิ่มความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลปริมาณสินค้า แสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้ระบบ Barcode ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง ในขั้นตอนการเบิกจ่ายสินค้าคงคลังได้ ดังนั้นผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญต่อการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการจัดการสินค้าคงคลังเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ คำสำคัญ: ระบบ Barcode, การจัดการสินค้าคงคลัง
20
13.  ประสบการณ์ต่อแบรนด์ที่มีผลต่อการรับรู้คุณค่าแบรนด์ร้านอาหารอิตาเลียน
Author : ณัฐวดี สุขุมาลวัฒน์ และชื่นจิตต์ แจ้งเจนกิจ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ต่อแบรนด์ที่มีผลต่อการรับรู้คุณค่าแบรนด์ร้านอาหารอิตาเลียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้เป็นผู้บริโภคที่เคยใช้บริการร้านอาหารอิตาเลียน จำนวน 400 ราย ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่าผู้บริโภคที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกันมีการรับรู้คุณค่าแบรนด์ร้านอาหารอิตาเลียนแตกต่างกัน ส่วนตัวแปรเพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษาต่างกัน มีการรับรู้คุณค่าแบรนด์ร้านอาหารอิตาเลียนไม่แตกต่างกัน ส่วนประสบการณ์ต่อแบรนด์ คือ ด้านความสัมพันธ์ ด้านประสาทสัมผัส ด้านอารมณ์ ด้านพฤติกรรม และด้านความสัมพันธ์ มีอิทธิพลต่อการรับรู้คุณค่าแบรนด์ร้านอาหารอิตาเลียน ส่วนตัวแปรด้านสติปัญญาไม่มีอิทธิพลต่อการรับรู้คุณค่าแบรนด์ร้านอาหารอิตาเลียน คำสำคัญ: ประสบการณ์ต่อแบรนด์, การรับรู้คุณค่าแบรนด์, ร้านอาหารอิตาเลียน
41
14.  การศึกษาการดำเนินงานของบริษัทนำเที่ยวตามหลักการทรัพยากรในการบริหาร 4M ระหว่างการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
Author : ธวัลรัตน์ เกื้อสุวรรณ, อภิรดา นามแสง และวราภรณ์ เต็มแก้ว
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานของบริษัทนำเที่ยวตามหลักทรัพยากรในการบริหาร 4M เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการศึกษา โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน คือ ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทนำเที่ยวในประเทศที่มีการขายโปรแกรมการเดินทางและจัดการการเดินทาง โดยมีการจัดตั้งบริษัทไม่น้อยกว่า พ.ศ.2532 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจัดระบบข้อมูลเป็นกลุ่มและนำเสนอแบบเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าการดำเนินงานของบริษัทนำเที่ยวตามหลักทรัพยากรในการบริหาร 4M ที่สรุปได้แต่ละด้าน ดังนี้ ด้านบุคลากร พนักงานจะได้รับการพัฒนาศักยภาพ ความรู้ โดยผ่านการฝึกอบรมตามที่ได้ถูกจัดขึ้นตามหลักสูตรที่เหมาะสม มีการปรับลดจำนวนพนักงาน ปรับโครงสร้างในการการทำงานให้สามารถทำงานที่บ้านได้ ด้านงบประมาณ บริษัทจะมีการควบคุมค่าใชจ่ายอย่างเคร่งครัด ส่วนหนึ่งของการลดค่าใช้จ่ายมาจากการลดจำนวนพนักงาน มีการจัดแบ่งสัดส่วนเพื่อจัดการฝึกอบรมให้กับพนักงานและจัดซื้ออุปกรณ์ที่รองรับการทำงานจากที่บ้าน ด้านวัสดุอุปกรณ์ เมื่อมีอุปกรณ์ที่สามารถรองรับการทำงานจากที่บ้านจึงจะต้องมีการพึ่งพาระบบเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถทำงานดียิ่งขึ้น ด้านการบริหารจัดการ บริษัทนำเที่ยว จะต้องมีการจัดสรรการบริหารงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จัดลำดับความสำคัญของแต่ละองค์ประกอบของทรัพยากรในการบริหาร 4M มีการวางยุทธศาสตร์และกลยุทธ์เพิ่มเติมเพื่อให้บริษัทสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตื่นตัวต่อสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น คำสำคัญ: ทรัพยากรในการบริหาร 4M, บริษัทนำเที่ยว, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
28
15.  การศึกษาปรับปรุงรูปแบบการจัดวางสินค้าก๊าซท่อ กรณีศึกษาคลังสินค้าก๊าซอุตสาหกรรม
Author : ไพบูลย์ ทองลา และไพโรจน์ เร้าธนชลกุล
Abstract
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการจัดวางท่อบรรจุก๊าซภายในคลังสินค้า และเพื่อลดระยะทางในการเคลื่อนย้ายสินค้าภายในคลังสินค้าก่อนการส่งมอบ ในอดีตเป็นการออกแบบการจัดวางอย่างไร้รูปแบบ จึงทำการประยุกต์ใช้เทคนิคการจัดกลุ่มสินค้าแบบ ABC Classification ร่วมกับ Microsoft Excel Solver (กำหนดการเชิงเส้น Linear Programming ) ในการหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการจัดวางสินค้า เพื่อให้ได้ระยะทางในการเคลื่อนย้ายสินค้าที่สั้นลงผลการศึกษาพบว่า สินค้าประเภทท่อเดี่ยว (Cylinder) จากทั้งสิ้น 91 รายการ เมื่อทำการวิเคราะห์หาลำดับความสำคัญของสินค้าตามอัตราการเคลื่อนไหว ด้วยวิธี ABC Classification เพื่อรวบรวมรายการที่เคลื่อนไหวน้อยและไม่เคลื่อนไหวเลยให้อยู่ในล็อคจัดเก็บเดียวกัน เนื่องจากเป็นสินค้าสั่งผลิตไม่ใช่สินค้าหลัก ซึ่งผลิตตามคำสั่งซื้อเท่านั้น การปรับปรุงการจัดวางสินค้าด้วยการใช้ Microsoft Excel Solver Linear Programming นั้น พบว่าระยะทางรวมของรูปแบบการจัดวางแบบเก่าเท่ากับ 806.60 เมตร เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับระยะทางรวมของแบบจำลองการจัดวางด้วย Microsoft Excel Solver Linear Programming จะได้ระยะทางรวมเท่ากับ 412.18 เมตร ดังนั้นการออกแบบการจัดวางด้วย Microsoft Excel Solver Linear Programming สามารถลดระยะทางในการจัดเตรียมสินค้าประเภทท่อเดี่ยวได้ทั้งสิ้น 394.43 เมตร คิดเป็นระยะทางที่ลดลงร้อยละ 48.90 สินค้าประเภท Cylinder Pack จากทั้งสิ้น 39 รายการ การปรับปรุงการจัดวางสินค้าประเภท Cylinder Pack ด้วยการใช้ Microsoft Excel Solver Linear Programming นั้นพบว่า ระยะทางรวมของรูปแบบการจัดวางแบบเก่าเท่ากับ 5,192.08 เมตร เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับระยะทางรวมของแบบจำลองการจัดวางด้วย Microsoft Excel Solver ฟังชั่น Linear Programming จะได้ระยะทางรวมเท่ากับ 4,327.33 เมตร ดังนั้นการออกแบบการจัดวางด้วย Microsoft Excel Solver Linear Programming สามารถ ลดระยะทางในการจัดเตรียมสินค้าได้ทั้งสิ้น 864.75 เมตร คิดเป็นระยะทางลดลงร้อยละ 16.66 คำสำคัญ: การลดระยะทาง, การจัดการคลังสินค้า, การปรับปรุงการจัดวาง
3
16.  การตลาดเชิงอารมณ์และประสบการณ์ออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อความไว้วางใจและความภักดีต่อตราสินค้าของกลุ่มแฟนคลับชาวไทยผ่านตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ศิลปินเกาหลีใต้
Author : ภารวี พล้าโน๊ต, สิริชัย ดีเลิศ และชลธิศ ดาราวงษ์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตลาดเชิงอารมณ์และประสบการณ์ออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อความไว้วางใจและความภักดีของตราสินค้าของกลุ่มแฟนคลับชาวไทยที่เกี่ยวกับศิลปินเกาหลีใต้ผ่านตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มแฟนคลับชาวไทยที่ชื่นชอบศิลปินเกาหลีใต้ในประเทศไทย จํานวน 459 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบปัจจัยด้วยการวิเคราะห์ตัวแปรสมการเชิงโครงสร้างแบบกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน ด้วยโปรแกรม SmartPLS ในการหาปัจจัยเชิงยืนยัน และปัจจัยเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20-24 ปี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ระหว่าง 20,001-30,000 บาท และมีระดับความคิดเห็นต่อการตลาดเชิงอารมณ์และประสบการณ์ออนไลน์ ความไว้วางใจและความภักดีของตราสินค้าโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านปัจจัยการตลาดเชิงอารมณ์และประสบการณ์ออนไลน์มีผลต่อความไว้วางใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ด้านความไว้วางใจมีผลต่อความภักดีของตราสินค้าที่เกี่ยวกับศิลปินเกาหลีใต้ผ่านตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: การตลาดเชิงอารมณ์, ประสบการณ์ออนไลน์, ความไว้วางใจ, ความภักดีต่อสินค้า
10
17.  คุณสมบัติของพนักงานขายเครื่องมือแพทย์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีของพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร
Author : วรัตถ์นันท์ ศรีเจริญ, ชลธิศ ดาราวงษ์ และรมิดา วงษ์เวทวณิชย์
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจและความจงรักภักดีของพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณสมบัติของพนักงานขายเครื่องมือแพทย์ที่มีต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีของพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครที่มีประสบกาณ์การใช้หรือซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์จากพนักงานขาย จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมานได้แก่ t test ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์สมการเส้นถดถอยพหุคูณผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ได้แก่ ด้านเพศ ด้านอายุ ด้านตำแหน่งงาน และด้านอายุงานมีความพึงพอใจและความจงรักภักดีของพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครที่แตกต่างกัน 2) คุณสมบัติของพนักงานขายเครื่องมือแพทย์ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีของพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ความรู้ในด้านผลิตภัณฑ์และความเข้าใจ ความสามารถตอบสนองลูกค้า ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะในการนำเสนอ และการสร้างความสัมพันธ์ คำสำคัญ: คุณสมบัติของพนักงานขาย, ความพึงพอใจ, ความจงรักภักดีของลูกค้า
1
18.  การจัดการสินค้าคงคลังประเภทอะไหล่สำรอง กรณีศึกษาของบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์
Author : ศรันย์พร เส็งพานิช และไพโรจน์ เร้าธนชลกุล
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หลักเกณฑ์ที่มีผลต่อการจัดเก็บคลังอะไหล่สำรอง 2) เพื่อส่งมอบอะไหล่สำรองให้กับผู้ใช้งานที่ 98% และ 3) เพื่อปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานการจัดการชิ้นส่วนอะไหล่สำรองให้มีประสิทธิภาพ โดยทำการศึกษาข้อมูลปริมาณการใช้ชิ้นส่วนอะไหล่สำรองเดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 55 รายการ งานวิจัยนี้ใช้การจัดกลุ่มแบบ เอ บี ซี โดยนำสินค้ากลุ่ม เอ มาหาปริมาณการสั่งซื้อแบบประหยัด และทำการศึกษาการกำหนดจุดสั่งซื้อใหม่ในทั้งสามกลุ่มเอบีซี ผลจากการจัดลำดับความสำคัญข้อมูลด้วยวิธีเอบีซี พบว่ากลุ่มเอมีจำนวน 7 รายการ มูลค่า 33,753,450.68 บาท เท่ากับ 80.94% ของมูลค่าชิ้นส่วนอะไหล่สำรอง ควรได้รับการตรวจสอบแบบรายวัน กลุ่มบีมีจำนวน 15 รายการ มูลค่า 7,020,110.00 บาท เท่ากับ 16.83% ควรได้รับการตรวจสอบแบบรายสัปดาห์ และกลุ่มซีจำนวน 19 รายการ มูลค่า 927,735.15 บาท เท่ากับ 2.22% ควรได้รับการตรวจสอบแบบรายเดือน การหาค่าปริมาณการสั่งซื้อต่อครั้งแบบประหยัดของรายการชิ้นส่วนอะไหล่สำรองกลุ่มเอสามารถนำค่าที่ได้ไปกำหนดปริมาณการสั่งซื้อสินค้า เพื่อความเหมาะสมในการสั่งซื้อชิ้นส่วนอะไหล่สำรอง ค่าปริมาณชิ้นส่วนอะไหล่สำรองของจุดสั่งซื้อใหม่ลดลงเท่ากับ 20,361 ชิ้น คิดเป็น 49.32% และมูลค่าการจัดเก็บชิ้นอะไหล่สำรองของจุดสั่งซื้อใหม่ลดลงเท่ากับ 6,626,720.97 บาทคิดเป็น 12.09% มีการแสดงขั้นตอนการตรวจสอบและทบทวนการจัดเก็บชิ้นส่วนอะไหล่สำรองไว้ เพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ คำสำคัญ: การจัดการสินค้าคงคลัง, การแบ่งกลุ่มสินค้าแบบเอบีซี, ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด
1
19.  คุณสมบัติของระบบสารสนเทศที่ส่งผลต่อทัศนคติของพนักงานบริษัท กรณีศึกษาบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี
Author : เสรี จำนงค์ธรรม, ชลธิศ ดาราวงษ์ และอนุรักษ์ เรืองรอบ
Abstract
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับทัศนคติของพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับทัศนคติของพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรีจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาระดับคุณสมบัติระบบสารสนเทศที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติของพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้เป็นกลุ่มพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี จำนวน 300 คน ด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t test และค่า F test สำหรับเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร การเปรียบเทียบรายคู่ (LSD) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ทัศนคติของผู้ใช้ ได้แก่ ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้ ด้านความตั้งใจในการใช้งาน และด้านผลประโยชน์ที่ผู้ใช้ได้รับ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้ที่มีอายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง อายุงาน รายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีผลต่อทัศนคติต่อคุณสมบัติระบบสารสนเทศโดยรวมที่แตกต่างกัน 3) คุณสมบัติของระบบสารสนเทศด้านความพึงพอใจมีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้ ได้แก่ ด้านความสามารถส่วนบุคคล ด้านอิทธิพลต่อสังคม ด้านประโยชน์ของผู้ใช้งาน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านความง่ายต่อการใช้งาน ตามลำดับ คุณสมบัติของระบบสารสนเทศด้านความตั้งใจในการใช้งานมีผลต่อความตั้งใจในการใช้งานของผู้ใช้ ได้แก่ ด้านความสามารถส่วนบุคคล ด้านประโยชน์ของผู้ใช้งาน ด้านอิทธิพลต่อสังคม ด้านความง่ายต่อการใช้งาน และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ ส่วนคุณสมบัติของระบบสารสนเทศด้านผลประโยชน์ที่ผู้ใช้ได้รับมีผลต่อผลประโยชน์ที่ผู้ใช้ได้รับ ได้แก่ ด้านประโยชน์ของผู้ใช้งาน ด้านความสามารถส่วนบุคคล ด้านอิทธิพลต่อสังคม ด้านความง่ายต่อการใช้งาน และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ตามลำดับ คำสำคัญ: คุณสมบัติ, ระบบสารสนเทศ, ทัศนคติ
30
20.  การส่งเสริมการสื่อสารข้อกฎหมายและข้อบังคับการขึ้นทะเบียนอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินสำหรับบุคคลธรรมดาในประเทศไทย
Author : อริสรา พิลาอ่อน, ธัญญรัตน์ คำเพราะ และอภิรดา นามแสง
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้ใช้อากาศยานซึ่งไม่มีนักบินเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายและข้อบังคับในการขึ้นทะเบียนอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินสำหรับบุคคลธรรมดาในประเทศไทย และ เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการสื่อสารข้อกฎหมายและข้อบังคับการขึ้นทะเบียนอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินสำหรับบุคคลธรรมดาในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่มีอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินที่มีน้ำหนักไม่เกิน 25 กิโลกรัมในครอบครองซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาในประเทศไทย จำนวน 400 คน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ความแตกต่างระหว่างตัวแปรปัจจัยด้านส่วนบุคคลและระดับการรับรู้ข้อกฎหมาย และข้อบังคับการขึ้นทะเบียนอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินสำหรับบุคคลธรรมดาในประเทศไทย จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่มีอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินที่มีน้ำหนักไม่เกิน 25 กิโลกรัมในครอบครองเป็นบุคคลธรรมดาในประเทศไทย พบว่าประเภทของอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินที่ครอบครอง วัตถุประสงค์ของการใช้งาน เพศ อายุ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีระดับการรับรู้ข้อกฎหมายและข้อบังคับการขึ้นทะเบียนอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินสำหรับบุคคลธรรมดาในประเทศไทยแตกต่างกัน ในส่วนของการติดตั้งกล้อง รายได้เฉลี่ย และอาชีพที่แตกต่างกัน มีระดับการรับรู้ข้อกฎหมายและข้อบังคับการขึ้นทะเบียนอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินสำหรับบุคคลธรรมดาในประเทศไทยไม่แตกต่างกัน การส่งเสริมการสื่อสารข้อกฎหมายและข้อบังคับการขึ้นทะเบียนอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินสำหรับบุคคลธรรมดาในประเทศไทยมีแนวทาง ดังนี้ 1) ผ่านสื่อบุคคล ควรมีการส่งเสริมผ่านการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ หรือโทรสอบถามข้อมูลกับสำนักงาน กสทช. และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ผ่านการเข้าร่วมการประชุม อภิปราย สัมมนา และผ่านพนักงานขายอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (โดรน) 2) ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ควรมีการส่งเสริมผ่านคู่มือการใช้งานที่แนบมากับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (โดรน) 3) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ควรมีการส่งเสริมผ่านวิทยุ เสียงตามสาย ผ่านแอปพลิเคชัน เช่น Line, Facebook, Youtube, TikTok, Search-Engine เป็นต้น และผ่านการเข้าไปสืบค้นข้อมูลผ่านเว็บไซต์ทางการของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) และสำนักงาน กสทช. ซึ่งการสื่อสารผ่านช่องทาง ที่กล่าวมานั้นจะส่งเสริมให้ผู้ครอบครองอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน มีการรับรู้มากยิ่งขึ้น และควรมีการรวบรวมข้อมูลของทั้ง 2 หน่วยงานไว้ด้วยกันเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูล โดยข้อมูลเหล่านั้นต้องครบถ้วนและชัดเจน นอกจากนี้ควรใช้คำศัพท์หรือภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจของผู้อ่านหรือผู้ฟังเพื่อนำไปปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้น คำสำคัญ: อากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน, การสื่อสาร, ข้อกฎหมายและข้อบังคับการขึ้นทะเบียน
17