นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี เดินทางไปเยี่ยมชมเขตปลอดอากร(Free Zone) และศึกษาดูงานด้านคลังสินค้า(warehouse)
สมัครเรียน 038-146-123

นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี เดินทางไปเยี่ยมชมเขตปลอดอากร(Free Zone) และศึกษาดูงานด้านคลังสินค้า(warehouse)


A18113A9076-18-IMG_1439.jpg

นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี เดินทางไปเยี่ยมชมเขตปลอดอากร(Free Zone) และศึกษาดูงานด้านคลังสินค้า(warehouse) เป็นการขนส่งทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2556 โดย อ.วีรวิชญ์ เลิศไทยตระกูล อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ เป็นผู้ดูแลนักศึกษาในการไปศึกษาดูงาน
ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก คุณฐานิตา กบิลสิงห์ หัวหน้างานแผนกงานบริการ หน่วยงานบริหารจัดการเขตปลอดอากร เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เรื่องเขตปลอดอากรเป็นพื้นที่เฉพาะเพื่อให้สิทธิพิเศษทางด้านศุลกากร กระบวนงานภายในเขตปลอดอากร ณ สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นทั้งเขตปลอดอากรและสถานที่ที่นำของเข้าและส่งออก และประเด็นเกี่ยวกับเขตปลอดอากรว่าสามารถสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจอย่างไร
1. ในเรื่องของการขอจัดตั้งเขตปลอดอากรจะจัดตั้งได้ง่าย โดยกรมศุลกากรหน่วยงานเดียว
2. การยกเว้นภาษี โดยยึดหลักในเรื่องของพื้นที่ ซึ่งมีการควบคุมทางกายภาพ (physical control) มีเจ้าหน้าที่ศุลกากรให้บริการพิธีการศุลกากรในการนำเข้า-ส่งออก และพิธีการอื่นๆ แบบเบ็ดเสร็จในหน่วยงานเดียว (one stop service) ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาหลายหน่วยงาน
3. ไม่มีกำหนดเงื่อนไขในจำนวนของที่ส่งออก และระยะเวลาในการส่งออก อย่างในเรื่อง 19 ทวิ หรือบีโอไอ ที่มีข้อกำหนดการนำเข้าของต้องผลิตและส่งออกภายในหนึ่งปี
4. วัสดุ เครื่องจักรที่ใช้ในกิจกรรมในเขตปลอดอากรที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ จะได้รับสิทธิยกเว้นอากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต ด้วย
5. ยกเว้นอากรขาออกแก่ของที่ปล่อยออกจากเขตปลอดอากร เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร และของในราชอาณาจักรที่นำเข้าไปในเขตปลอดอากร
6. การโอนย้ายของจากเขตปลอดอากรเข้าไปยังคลังสินค้าทัณฑ์บน หรือส่งไปยังผู้ประกอบการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 19 ทวิ หรือบีโอไอ โดยจะถือวันนำเข้าคือนับจากวันที่นำของออกจากเขตปลอดอากร ภาระภาษีต่างๆ จะนับจากวันที่ของออกจากเขตปลอดอากร
7. มาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งจะเห็นว่าประเทศมีการดูแลผู้บริโภคภายในประเทศมากขึ้น ของที่นำเข้ามาใช้บริโภคในประเทศ เขตปลอดอากรมีการยกเว้นเรื่องนี้ด้วย แต่ถ้านำออกไปบริโภคในประเทศ ณ วันออกจากเขตปลอดอากรจะต้องขอใบอนุญาตมาตรฐานอุตสาหกรรม
8. การได้รับสิทธิยกเว้นหรือคืนอากร กรณีส่งของไปต่างประเทศ หรือการนำเข้าไปในเขตปลอดอากรก็ถือว่าได้รับการยกเว้นอากรหรือคืนอากรโดยถือเสมือนว่าของนั้นได้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักรแล้ว
9. เขตปลอดอากรที่มีการผสม ประกอบ โดยมีวัตถุดิบทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมอยู่ด้วย นำของเข้ามาบริโภคภายในประเทศ ต้นทุนของในประเทศสามารถหักจากราคาของสินค้าที่นำเข้าบริโภคในประเทศ
10. เศษ หรือของเสียที่อยู่ในเขตปลอดอากร สามารถขออนุมัติทำลายโดยจะได้รับการยกเว้นภาษี
11. สามารถนำของออกจากเขตไปดำเนินการผลิตบางขั้นตอนต่อแล้วนำกลับเข้ามาในเขตปลอดอากร โดยไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งต้องยื่นเอกสารให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
12. การนำของเข้ามา ผลิต ผสม ประกอบในเขตปลอดอากรแล้วจำหน่ายหรือบริโภคภายในประเทศ จะได้รับสิทธิยกเว้นอากรหรือลดอัตราอากรในอัตราที่ต่ำเช่นเดียวกับของที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น สิทธิเอฟทีเออาเซียนหรืออาฟตา ของที่นำออกจากเขตปลอดอาการสามารถได้แหล่งกำเนิดอาเซียน หากเป็นไปตามภายใต้กฎ Local Content ก็จะได้สิทธิเขตการค้าเสรีตามนั้น