|
|
|
ปีที่ 14ฉบับที่ 1 ประจำเดือนกรกฎาคม-เดือนกันยายน 2560 ISSN 1686-5715 |
อ่าน |
1. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพและแบ่งกลุ่มสินค้าคงคลัง: กรณีศึกษาบริษัทตัวแทนจำหน่ายสินค้าประเภทอะไหล่EFFICIENCY ANALYSIS AND INVENTORY CLASSIFICATION:
A CASE STUDY OF SPARE PART DISTRIBUTOR
 Author : บุษยา โกษาจันทร์
 Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการบริหารสินค้าคงคลังของกรณีศึกษา
เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพและลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ โดยใช้แบบประเมินชี้วัด
ประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (Industrial Logistic Performance Index หรือ ILPI) พร้อมทั้งแบ่งกลุ่ม
สินค้าโดยทฤษฎี ABC Analysis จากเกณฑ์ที่แตกต่างกัน เพื่อหากลุ่มสินค้าที่มีความสำคัญและส่งผล
กระทบต่อประสิทธิภาพการบริหารสินค้าคงคลัง โดยใช้ข้อมูลจากรายงานต่าง ๆ และการสัมภาษณ์
ผู้บริหารฝ่ายคลังสินค้าของกรณีศึกษา ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพการบริหารคลังของกรณีศึกษา
ในมิติด้านต้นทุนอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างด้อย คือมีสัดส่วนต้นทุนการถือครองสินค้าต่อยอดขาย ร้อยละ 3
มิติด้านเวลาและมิติด้านความน่าเชื่อถืออยู่ในเกณฑ์ด้อย ซึ่งพบการเก็บรักษาสินค้าเฉลี่ยนานถึง
208.5 วัน และมีอัตราส่วนของสินค้าขาดมือ ร้อยละ 4.26 ซึ่งมีความผิดปกติและสวนทางกัน และ
จากการหากลมุ่ สินคา้ ที่มีความสำคัญและสง่ ผลตอ่ ประสิทธิภาพดว้ ยทฤษฎี ABC Analysis โดยใชเ้ กณฑ์
แบ่งกลุ่ม 2 เกณฑ์คือ มูลค่ายอดขายสินค้าและปริมาณการขาย ได้กลุ่มสินค้า A ที่ไม่มีความแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญ ผลการวิจัยสามารถนำเสนอแนวทางการลดต้นทุนได้ 4 วิธีคือ พิจารณาปริมาณสินค้า
คงคลังให้สมดุลกับยอดขาย จัดการลดสินค้ากลุ่มที่ไม่เคลื่อนไหว กำหนดนโยบายปริมาณการสั่งซื้อ
และสำรองคลังสินค้ากลุ่ม A ใหม่ และจัดการพื้นที่จัดเก็บใหม่ตามกลุ่มสินค้าด้วย
คำสำคัญ: การวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์, ABC Analysis, การจัดการสินค้าคงคลัง
|
14 |
2. ความเชื่อทางศาสนาที่มีผลต่อการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับ
การลักทรัพย์: กรณีศึกษา เด็กและเยาวชนที่นับถือศาสนาคริสต์
ในโรงเรียนสายสามัญแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม
RELIGIOUS BELIEFS AFFECTING JUVENILE DELINQUENCY OF
LARCENY: A CASE STUDY OF CHRISTIAN JUVENILE IN
GENERAL SCHOOL IN NAKHONPATHOM
 Author : กีรติกา มนสิชาวรกุล
 Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการกระทำผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์ของเด็ก
และเยาวชนที่นับถือศาสนาคริสต์ 2) เพื่อศึกษาความเชื่อทางศาสนาที่มีผลต่อการกระทำผิดเกี่ยวกับ
การลักทรัพย์ของเด็กและเยาวชนที่นับถือศาสนาคริสต์ 3) เพื่อศึกษาทัศนคติของเด็กและเยาวชนที่มีต่อ
การกระทำผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์ ประชากรคือ เด็กและเยาวชนชายที่นับถือศาสนาคริสต์ในโรงเรียน
สายสามัญแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม จำนวน 328 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม
สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าตํ่าสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า
เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่มีอายุตํ่าสุด 10 ปี สูงสุด 17 ปี โดยมีอายุเฉลี่ย 14.81 ปี และศึกษา
อยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่วนใหญ่มีจำนวนพี่น้อง (รวมผู้ตอบแบบสอบถาม) 2 คน
มีทรัพย์สินเป็นโทรศัพท์มือถือ บิดา-มารดาอยู่ด้วยกัน สัมพันธภาพในครอบครัวมีลักษณะรักใคร่
กลมเกลียวกัน มีที่อยู่อาศัยเป็นบ้านเดี่ยว อยู่ในสภาพแวดล้อมเขตชานเมือง ส่วนใหญ่ไม่มีเพื่อนที่เคย
กระทำผิดในคดีต่าง ๆ และมีเพื่อนที่เคยกระทำความผิดในคดีต่าง ๆ จำนวน 2 คน การที่ส่วนใหญ่
ไม่มีเพื่อนที่เคยกระทำความผิดจึงไม่มีการคบหาสมาคมหรือพบปะเพื่อนที่เคยกระทำความผิด
การทดสอบสมมติฐานพบว่า ความเชื่อทางศาสนามีผลต่อการกระทำผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์
โดยเด็กและเยาวชนที่มีความเชื่อสูงจะมีการกระทำผิดตํ่า เด็กและเยาวชนที่มีความกลัวต่อบาปและ
กลัวการทำผิดต่อคำสอนของศาสนาจะไม่กล้ากระทำผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์
คำสำคัญ: ความเชื่อทางศาสนา, การลักทรัพย์, เด็กและเยาวชนที่นับถือศาสนาคริสต์
|
13 |
3. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว
กับการท่องเที่ยวแบบไม่รีบเร่ง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี*
A STUDY OF RELATIONSHIP BETWEEN FIVE As OF
TOURISM, SUSTAINABLE TOURISM AND TRAVEL
DECISION-MAKING WITH SLOW TOURISM AT PHANAT
NIKHOM, CHONBURI PROVINCE
 Author : ณัฏฐพัชร มณีโรจน์
 Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับองค์ประกอบการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
การตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวแบบไม่รีบเร่งของอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และการตัดสินใจ
เดินทางท่องเที่ยวแบบไม่รีบเร่งกับการท่องเที่ยวแบบไม่รีบเร่งของอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
ใช้แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า มี 5 ระดับ เรียงจากน้อยไปหามาก เป็นเครื่องมือในการวิจัย
มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .959 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวอำเภอพนัสนิคม
จังหวัดชลบุรี จำนวน 397 ตัวอย่าง ได้รับแบบสอบถามคืน จำนวน 358 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 90.17
วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพื่อทดสอบความ
สัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่าระดับคะแนนเฉลี่ยองค์ประกอบการท่องเที่ยวในภาพรวมอยู่ในระดับ
มาก การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก การตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวในภาพรวม
อยู่ในระดับมาก และการท่องเที่ยวแบบไม่รีบเร่งในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ตัวแปรองค์ประกอบการ
ท่องเที่ยว การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และตัวแปรการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว มีความสัมพันธ์ในทาง
|
31 |
4. การจัดนิทรรศการศิลปะกับสื่อสังคมออนไลน์ ในปี ค.ศ. 2000 - 2013
ART EXHIBITION ON SOCIAL NETWORK IN 2000 - 2013
 Author : ณัฐพัชร วรรณภูริพัฒน์
 Abstract
การจัดนิทรรศการศิลปะถือได้ว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญกับวงการศิลปะเป็นอย่างมาก
เพราะเปรียบเสมือนสื่อกลางที่เชื่อมโยงศิลปินผู้สร้างผลงานให้พบกับผู้ชม ทั้งนี้การจัดนิทรรศการ
ศิลปะเองสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามยุคสมัย เพื่อยังคงไว้ซึ่งความเป็นจุดเชือ่ มตอ่ ระหวา่ งผชู้ มและศิลปนิ
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับการจัดนิทรรศการศิลปะนั้นมักจะเกิดขึ้นควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
อยู่เสมอ จนกระทั่งในปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารได้ก่อให้เกิดสังคมออนไลน์ ซึ่งกำลังเข้ามามีบทบาท
อย่างมากในสังคมปัจจุบัน (ในปี ค.ศ. 2000 - 2013) พฤติกรรมของคนในสังคมมีการปรับเปลี่ยน
ซึ่งส่งผลกระทบกันเป็นวงกว้างต่อส่วนอื่น ๆ ในสังคม รวมทั้งการจัดนิทรรศการศิลปะที่ต้องมีการปรับตัว
เพื่อให้สอดรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้
คำสำคัญ: นิทรรศการศิลปะ, เครือข่ายสังคมออนไลน์, เฟซบุ๊ก
|
14 |
5. การพัฒนาเลิร์นนิ่งออบเจ็กต์บนแท็บเล็ต เรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านคลองเคียน
DEVELOPMENT OF LEARNING OBJECT VIA TABLET ON
ENGLISH VOCABULARY FOR PRATHOMSUKSA 2 STUDENTS
OF CHUMCHON BAN KLONG KIAN SCHOOL
 Author : ณัฐวดี สิทธิรัตน์
 Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนและคะแนนทดสอบ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยเลิร์นนิ่งออบเจ็กต์บนแท็บเล็ต เรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 2) สำรวจความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อ
เลิร์นนิ่งออบเจ็กต์บนแท็บเล็ต เรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านคลองเคียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ที่ใช้แท็บเล็ต
ในการเรียน จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เลิร์นนิ่งออบเจ็กต์บนแท็บเล็ต เรื่องคำศัพท์
ภาษาอังกฤษ แบบประเมินคุณภาพสำหรับผู้เชี่ยวชาญ แบบทดสอบก่อนเรียนและผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังจากเรียนด้วยเลิร์นนิ่งออบเจ็กต์บนแท็บเล็ต เรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สูงกว่าคะแนนทดสอบ
ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจ
ต่อเลิร์นนิ่งออบเจ็กต์บนแท็บเล็ต เรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52
คำสำคัญ: เลิร์นนิ่งออบเจ็กต์ (LO), แท็บเล็ต, คำศัพท์ภาษาอังกฤษ, โรงเรียนชุมชนบ้านคลองเคียน
|
33 |
6. เกณฑ์การคัดเลือกผู้รับเหมาสำหรับงานก่อสร้าง
ในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี
CRITERIA FOR SELECTION OF CONTRACTORS FOR
CONSTRUCTION WORK ON THE INDUSTRIAL ESTATE
IN CHONBURI
 Author : ปาริชาติ เดชะคุ้ม
 Abstract
การสำรวจเกี่ยวกับเกณฑ์การคัดเลือกผู้รับเหมาสำหรับงานก่อสร้าง ในเขตนิคมอุตสาหกรรม
จังหวัดชลบุรี เพื่อศึกษาเกณฑ์การคัดเลือกผู้รับเหมาที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้ามาดำเนินงาน
ก่อสร้าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการตัดสินใจคัดเลือก
ผู้รับเหมาสำหรับงานก่อสร้าง จากการสำรวจด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเกณฑ์การคัดเลือกผู้รับเหมาและมีผลต่อเกณฑ์
การตัดสินใจในการคัดเลือกผู้รับเหมามีทั้งหมด 6 ด้านพบว่า ปัจจัยด้านผลงานที่ผ่านมาในอดีต
และปัจจุบันมีความสำคัญมากที่สุด ค่าความสำคัญเท่ากับ 0.223 รองลงมาได้แก่ ด้านความสามารถ
ด้านการเงิน ค่าความสำคัญเท่ากับ 0.220 ด้านการจัดการองค์การและการบริหารงาน ค่าความสำคัญ
เท่ากับ 0.176 ด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ค่าความสำคัญเท่ากับ 0.156 ด้านการนำเทคโนโลยี
และเครื่องจักรมาใช้ ค่าความสำคัญเท่ากับ 0.115 และลำดับสุดท้ายคือ ด้านบุคลากรและแรงงาน
ค่าความสำคัญเท่ากับ 0.110
คำสำคัญ: เกณฑ์การคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง, ปัจจัยในการคัดเลือกผู้รับเหมา
|
37 |
7. พฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
SELF-DISCIPLINE BEHAVIOR OF THE STUDENTS IN
FACULTY OF BUSINESS ADMINISTRATION OF
RAJAMANGALA UNIVERSITY OF TECHNOLOGY PHRA NAKHON
 Author : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภัทร์ทิพา เพรียวพาณิชย์
 Abstract
การวิจัยเรื่องพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาอำนาจในการ
ทำนายพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของนักศึกษาด้วยจิตลักษณะเดิม จิตลักษณะตามสถานการณ์
และลักษณะทางสังคม ทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อย 2) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตลักษณะเดิม
จิตลักษณะตามสถานการณ์ และลักษณะทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการมีวินัยในตนเอง
ทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อย
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 400 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น
ตัวแปรอิสระ 6 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรจิตลักษณะเดิม 2 ตัวแปรคือ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน
และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ตัวแปรจิตลักษณะตามสถานการณ์ 2 ตัวแปรคือ การรับรู้ความสามารถของ
ตน และเจตคติต่อพฤติกรรมการมีวินัยในตนเอง และตัวแปรลักษณะทางสังคม 2 ตัวแปรคือ การเห็น
แบบอย่างจากครอบครัว และการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน ตัวแปรตามคือ พฤติกรรมการมีวินัย
ในตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ความแปรปรวน
แบบสองทาง โดยการวิเคราะห์ทั้งหมดกระทำในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยตามลักษณะทางชีวสังคม
พบว่า 1) ตัวทำนายในกลุ่มจิตลักษณะเดิม จิตลักษณะตามสถานการณ์ และลักษณะทางสังคม
22 วารสารวชาการศรีปทุม ชลบุรี
รวม 6 ตัวแปร ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองในกลุ่มรวมได้ร้อยละ 59.5 กลุ่มย่อยทำนาย
ได้ระหว่างร้อยละ 32.1 ถึงร้อยละ 44.8 ทำนายได้สูงสุดในกลุ่มนักศึกษาชาย ตัวทำนายสำคัญ ได้แก่
เจตคติต่อพฤติกรรมการมีวินัยในตนเอง เป็นตัวทำนายที่ถูกคัดเลือกเข้าสมการทั้งในกลุ่มรวมและ
กลุ่มย่อยทุกกลุ่ม เป็นตัวทำนายสำคัญอันดับแรกในกลุ่มรวม กลุ่มเพศชาย และกลุ่มระดับชั้นปีที่ 1 - 2
2) นักศึกษาที่มีลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนมากและมีการเห็นแบบอย่างจากครอบครัวมาก
มีพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองสูง ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนและการ
เห็นแบบอย่างจากครอบครัวกับพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05 เมื่อวิเคราะห์ตัวแปรอิสระทีละตัวพบว่า พฤติกรรมการมีวินัยในตนเองแปรปรวนไปตาม
ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน พบในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเพศชาย กลุ่มเพศหญิง
กลุ่มระดับชั้นปีที่ 1 - 2 และกลุ่มระดับชั้นปีที่ 3 - 4 และพบพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองแปรปรวน
ไปตามการเห็นแบบอย่างจากครอบครัว พบในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเพศชาย
กลุ่มเพศหญิง กลุ่มระดับชั้นปีที่ 1 - 2 และกลุ่มระดับชั้นปีที่ 3 - 4 3) นักศึกษาที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
มากและมีการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมาก มีพฤติกรรมการมีวินัยในตนเองสูง ไม่พบปฏิสัมพันธ์
ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนกับพฤติกรรมการมีวินัยในตนเอง
ของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อวิเคราะห์ตัวแปรอิสระทีละตัวพบว่า พฤติกรรม
การมีวินัยในตนเองแปรปรวนไปตามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พบทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มเพศชาย กลุ่มเพศหญิง กลุ่มระดับชั้นปีที่ 1 - 2 และกลุ่มระดับชั้นปีที่ 3 - 4 และพบพฤติกรรม
การมีวินัยในตนเองแปรปรวนไปตามการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน พบในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยทั้ง
4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเพศชาย กลุ่มเพศหญิง กลุ่มระดับชั้นปีที่ 1 - 2 และกลุ่มระดับชั้นปีที่ 3 - 4
คำสำคัญ: พฤติกรรมการมีวินัย, นักศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
|
40 |
8. เศรษฐศาสตร์ความสุข
ECONOMICS OF HAPPINESS
 Author : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประภัสสร คำสวัสดิ์
 Abstract
การวัดรายได้ประชาชาติที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เป็นการวัดความเจริญเติบโตในลักษณะวัตถุนิยม
ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 แนวทางคือ วัดจากผลผลิตมวลรวม รายได้มวลรวม และรายจ่ายมวลรวม ความสุข
ของบุคคลหรือสังคม ในกรณีนี้จะเป็นผลกระทบโดยอ้อมอันเนื่องมาจากการสร้างรายได้และความมั่งคั่ง
ทางวัตถุส่วนบุคคลเป็นหลัก แต่จากการศึกษาพบว่า การเพิ่มขึ้นของความสุขตามระดับรายได้นั้น
มักสิ้นสุดลงเมื่อรายได้เพิ่มขึ้นไปในระดับหนึ่ง ซึ่งจะมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามามีบทบาทต่อการกำหนดความสุข
ได้แก่ สุขภาพ ครอบครัว การอยู่ร่วมกันและการเป็นส่วนหนึ่งในสังคม ความต้องการความปลอดภัย
ระบบนิเวศ การดูแลความสงบเรียบร้อยของภาครัฐ การใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ โดยบทความนี้
มีวัตถุประสงค์ 2 ประเด็นหลักคือ 1) เพื่อรวบรวมแนวคิดของการวัดความสุขในมุมมองด้านต่าง ๆ
โดยเฉพาะมุมมองด้านเศรษฐศาสตร์ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการวัดความเจริญเติบโตของประเทศ
ระหว่างการวัดโดยรายได้ประชาชาติกับการวัดความสุขของคนในประเทศ
คำสำคัญ: เศรษฐศาสตร์ความสุข, ความสุขมวลรวมประชาชาติ
|
26 |
9. การพัฒนาระบบแนะนำส่วนบุคคล
โดยใช้ขั้นตอนวิธีแบบคัดกรองผู้ใช้ร่วมกับแบบคัดกรองสิ่งของร่วม
A PERSONALIZED RECOMMENDER SYSTEM USING
USER-BASED AND ITEM-BASED COLLABORATIVE
FILTERING METHOD
 Author : พันตรีหญิง รัฐวรรณ พันธุนิล
 Abstract
คัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบแนะนำส่วนบุคคล โดยใช้ขั้นตอนวิธีแบบคัดกรองผู้ใช้
ร่วมกับแบบคัดกรองสิ่งของร่วม (user-based and item-based collaborative filtering method)
โดยนำจุดเด่นของแต่ละวิธีมาผสมผสานกันเพื่อแก้ปัญหาขนาดของข้อมูล (scalability problem)
และการให้ Rating ต่อชิ้นข้อมูล (sparsity problem) โดยข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิจัยระบบเป็นข้อมูล
จาก MovieLens Website จำนวน 1,000,000 Records ระบบเว็บเซิร์ฟเวอร์คือ Rapidminer
และ K Stodio พบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นเมื่อพิจารณาจากค่าพื้นที่ใต้เส้นกราฟ ค่าความแม่นยำ
ค่า Normalized Discounted Cumulative Gain และค่าเฉลี่ยของความแม่นยำ ให้ค่าสูงกว่าการใช้
User-based Collaborative Filtering หรือ Item-based Collaborative Filtering เพียงอยา่ งเดียว
จึงสรุปได้ว่าระบบแนะนำส่วนบุคคลโดยใช้ขั้นตอนวิธีแบบคัดกรองผู้ใช้ร่วมกับแบบคัดกรองสิ่งของ
ร่วมแก้ปัญหาดังกล่าวได้ และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง โดยในอนาคตเมื่อมีเทคโนโลยี
ที่ทันสมัยขึ้น อาจจะทำให้การประมวลผลใช้เวลาน้อยลงและมีความแม่นยำเพิ่มมากขึ้น
คำสำคัญ: ระบบแนะนำ, วิธีแบบคัดกรองผู้ใช้ร่วม, วิธีแบบคัดกรองสิ่งของร่วม
|
12 |
10. การสร้างวีดิทัศน์คำศัพท์ชีวิตประจำวันของผู้บกพร่องทางการได้ยิน
กับความสัมพันธ์ของครอบครัว
A VIDEO PRODUCTION OF EVERYDAY VOCABULARY
FOR FAMILY RELATIONSHIPS IN HEARING IMPAIRED
 Author : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สัมพันธุ์ จันทร์ดี
 Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างวีดิทัศน์คำศัพท์ในชีวิตประจำวันของผู้บกพร่องทางการ
ได้ยินกับความสัมพันธ์ของครอบครัว 2) ประเมินคุณภาพของวีดิทัศน์คำศัพท์ในชีวิตประจำวันของ
ผู้บกพร่องทางการได้ยินกับความสัมพันธ์ของครอบครัวโดยผู้เชี่ยวชาญ และ 3) ศึกษาความคิดเห็น
ของวีดิทัศน์คำศัพท์ในชีวิตประจำวันของผู้บกพร่องทางการได้ยินกับความสัมพันธ์ของครอบครัว
จากครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 60 ครอบครัว โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม
และวีดิทัศน์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม และการสังเกตการณ์
แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติอย่างง่ายคือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า 1) วีดิทัศน์มีการพัฒนาและดำเนินการ
อย่างมีคุณภาพตามหลักการและกระบวนการการพัฒนาสื่อนวัตกรรม และสามารถนำสื่อดังกล่าว
ไปใช้สร้างสายสัมพันธ์ให้กับครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ความพึงพอใจที่มีต่อวีดิทัศน์ของ
ผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดีเหมือนกัน และมีความพอใจในล่ามและเทคนิคการแปล
ความหมายอยู่ในระดับดีที่สุดเหมือนกัน ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีความ
คิดเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับความยาวของสื่อวีดิทัศน์ ภาพและการจัดวาง
คำสำคัญ: วีดิทัศน์คำศัพท์ภาษามือ, ผู้บกพร่องทางการได้ยิน, ความสัมพันธ์ของครอบครัว
|
10 |
11. การจัดการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดิน
ในพื้นที่อ่างเก็บนํ้าเขื่อนสิรินธรอย่างยั่งยืน
SUSTAINABLE SOLUTION MANAGEMENT
OF THE LAND ENCROACHMENT PROBLEMS
IN THE SIRINTHORN DAMS RESERVOIR AREA
 Author : ดร. เสาวนีย์ สมันต์ตรีพร
 Abstract
การวิจัยเรื่อง การจัดการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินในพื้นที่อ่างเก็บนํ้าเขื่อนสิรินธร
อย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การบุกรุกที่ดิน รูปแบบ วิธีการที่เกี่ยวข้องกับ
การจัดการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดิน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดิน
และแนวทางการจัดการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทย (กฟผ.) อย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์
ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญในชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและตัวแทนองค์กร ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุสำคัญ
ที่ทำให้เกิดปัญหาการบุกรุกพื้นที่อ่างเก็บนํ้าเขื่อนสิรินธรมาจากการสูญเสียที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย
และได้รับการเยียวยาไม่ทันท่วงที อีกทั้งแนวเขตที่ดินพื้นที่อ่างเก็บนํ้าเขื่อนสิรินธรไม่ชัดเจน ทำให้
เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ดูแลรักษา ขาดความมั่นใจในการตรวจสอบและโต้แย้งสิทธิกับประชาชนผู้บุกรุก
ส่งให้เกิดผลกระทบด้านสังคม เศรษฐกิจ และนโยบาย
ผู้วิจัยเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินในพื้นที่อ่างเก็บนํ้าเขื่อนสิรินธร โดย
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ต้องกำหนดเขตที่ดินพื้นที่อ่างเก็บนํ้าเขื่อนสิรินธรที่แท้จริง
ให้เห็นในเชิงประจักษ์ ศึกษาบริบทในแต่ละพื้นที่เพื่อนำมาประกอบเป็นนโยบายในการแก้ไขปัญหา
และพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) รวมทั้งโอนย้ายและเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์
จากหน่วยงานต่าง ๆ ภายในการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้มาอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
คำสำคัญ: การบุกรุกที่ดิน, พื้นที่อ่างเก็บนํ้าเขื่อนสิรินธร, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
|
8 |
12. การพัฒนาชุดฝึกอบรมด้วยตนเองเรื่อง การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
THE DEVELOPMENT OF A TRAINING PACKAGE
FOR DIABETES SELF-CARE PATIENTS
 Author : สิธยา บุญเรือง
 Abstract
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกอบรมด้วยตนเองเรื่อง การดูแลตนเองของผู้ป่วย
โรคเบาหวาน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนจากการ
ทดสอบก่อนและหลังฝึกอบรมด้วยชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วย
โรคเบาหวานที่มีต่อการใช้ชุดฝึกอบรมด้วยตนเองเรื่อง การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
กลุ่มตัวอย่างได้มาด้วยการเจาะจง (purposive sampling) จากผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สมัครใจเข้ารับ
การฝึกอบรม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดฝึกอบรมด้วยตนเองเรื่อง
การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน 2) แบบทดสอบก่อนและหลังฝึกอบรมด้วยชุดฝึกอบรม
ด้วยตนเอง และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีต่อชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง
วเิ คราะหข์ อ้ มูลดว้ ย คา่ รอ้ ยละ คา่ เฉลีย่ สว่ นเบีย่ งเบนมาตรฐาน และการทดสอบคา่ ทแี บบไมเ่ ปน็ อสิ ระ
ต่อกัน (dependent t-test) พบว่า 1) ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
90/90 2) คะแนนจากการทดสอบหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง
อยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ: ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง, การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
|
40 |
13. การพัฒนาชุดฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนแบบกระตือรือร้น
หลักสูตรนักจัดการสุขภาพตามกลุ่มวัย สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข
THE DEVELOPMENT OF A TRAINING PACKAGE BASED ON
THE CONCEPT OF ACTIVE LEARNING UNDER
THE HEALTH MANAGEMENT PROGRAM CLASSIFIED
BY AGE GROUP FOR VILLAGE HEALTH VOLUNTEERS (VHVs)
 Author : สุชาดา เทศดี
 Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนแบบกระตือรือร้น
หลักสูตรนักจัดการสุขภาพตามกลุ่มวัย สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข ที่มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อ
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความรู้ความสามารถและสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขก่อนและ
หลังการฝึกอบรมด้วยชุดฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนแบบกระตือรือร้น หลักสูตรนักจัดการสุขภาพ
ตามกลุ่มวัย สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข และ 3) เพื่อหาความพึงพอใจของอาสาสมัครสาธารณสุข
ต่อชุดฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนแบบกระตือรือร้น หลักสูตรนักจัดการสุขภาพตามกลุ่มวัย
กลุ่มตัวอย่างเป็นประธานอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลบางปรอก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
จำนวน 27 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดฝึกอบรมตามแนวคิดการ
เรียนแบบกระตือรือร้น แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้
ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่าง
ไมอิ่สระ (t-test for dependent sample) พบวา่ ชุดฝกึ อบรมตามแนวคิดการเรียนแบบกระตือรือรน้
หลักสูตรนักจัดการสุขภาพตามกลุ่มวัย สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
วารสารวชาการศรีปทุม ชลบุรี 215
โดยเฉลี่ยเท่ากับ 82.52/80.00 ผลสัมฤทธิ์ของอาสาสมัครสาธารณสุขหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อน
การฝกึ อบรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยกอ่ นการฝกึ อบรมเทา่ กับ 22.85 มีคา่ SD เทา่ กับ 2.09 คา่ คะแนนเฉลี่ย
หลังการฝึกอบรมเท่ากับ 26.26 มีค่า SD เท่ากับ 1.97 มีค่า t-test ระหว่างก่อนและหลังการฝึกอบรม
เท่ากับ 8.61 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของอาสาสมัคร
สาธารณสุขมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.87 และมีค่า SD เท่ากับ 0.06 อยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ: ชุดฝึกอบรม, การเรียนแบบกระตือรือร้น, หลักสูตรนักจัดการสุขภาพตามกลุ่มวัย,
อาสาสมัครสาธารณสุข
|
15 |
14. ทำเลที่ตั้งและความเป็นไปได้ในการลงทุนตั้งร้านจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
LOCATION AND THE FEASIBILITY TO INVEST ON ONE TAMBON
ONE PRODUCT SHOP, NONGMAIDANEG, MUANG, CHONBURI
 Author : สุดีพร ฉันท์เฉลิมพงศ์
 Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบประยุกต์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม
ในการตั้งร้านจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมือง
จังหวัดชลบุรี และ 2) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางการตลาด ทางเทคนิค และทางด้านการเงิน ในการ
ลงทุนเปิดร้านจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
โดยส่วนที่ 1 ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคจำนวน 400 ราย โดยรวบรวมข้อมูลจากลักษณะ
ของประชากร ด้านปัจจัยทำเลที่ตั้งร้านที่เหมาะสมในการตัดสินใจซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
(OTOP) ด้านพฤติกรรมการซื้อ และด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจ
เข้าซื้อสินค้าในร้านจำหน่ายสินค้า และส่วนที่ 2 ใช้แบบสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านจำหน่ายสินค้า
ของฝาก จำนวน 4 รา้ นคา้ ที่อยใู่ นตำบลหนองไมแ้ ดง เพื่อเก็บขอ้ มูลเกี่ยวกับตน้ ทุนในการดำเนินกิจการ
และการบริหารจัดการภายในร้าน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน ผลการวิจัยพบว่า
การดำเนินธุรกิจอยู่ในรูปแบบกิจการค้าปลีก ปัจจัยทำเลที่ตั้งเป็นเรื่องสำคัญต่อการวางรากฐาน
การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลต่อการเดินทางของผู้บริโภคเพื่อเข้ารับบริการ การกระจาย
สินค้า การจัดซื้อจัดหา เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะนำสินค้าให้เข้าถึง
ตลาดเป้าหมาย พื้นที่โครงการอยู่บนถนนเลี่ยงเมืองบายพาสชลบุรี ทำเลที่ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน มีผู้คน
และรถสัญจรผ่านไปมา ผู้บริโภคเข้าถึงง่าย มีที่จอดรถ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก มีรูปแบบการขนส่ง
หลากหลาย ถนนมีมาตรฐาน มีการแบ่งพื้นที่จัดวางสินค้า บริการลูกค้า เพื่อตอบสนองความต้องการ
ของลูกค้า มีพนักงานให้บริการข้อมูลสินค้าทั้งวัน ผลการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนด้าน
การเงิน เมื่อกำหนดอายุโครงการ 5 ปี อัตราคิดลดร้อยละ 8 โครงการมีมูลค่าปัจจุบันผลตอบแทนสุทธิ
จำนวน 2,822,247 บาท อัตราผลตอบแทนภายในมีค่ามากกว่าร้อยละ 30 อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน
เท่ากับ 1.12 ระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 2 ปี 195 วัน
คำสำคัญ: ทำเลที่ตั้ง, หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์, ความเป็นไปได้, หนองไม้แดง ชลบุรี
|
27 |
15. A CAUSAL MODEL OF FACTORS CONTRIBUTING TO ACADEMIC
ACHIEVEMENT OF INTERNATIONAL COLLEGE STUDENTS
IN THAILAND
 Author : Sukarna Chakma
 Abstract
The purposes of this research were to construct and analyze the factors
contributing to academic achievement of international colleges in Thailand. The
population of this research was 16, 090 students from Burapha University International
College (BUUIC), Assumption University (ABAC) and Asian University (AU). The sample
size was 495 international college students studying in 1st, 2nd, 3rd and 4th year at
these three universities. The research tool was a validated questionnaire having two
parts which was used to collect data. To analyze the data, SEM and LISREL program
were used. The research tool was validated by 5 experts.
The results of this research revealed that: 1) Majority students studying in the
three international colleges were Thai (96.4%) and only a small number (4.6%) were
foreign students, 2) The modified model fit satisfactorily with the empirical data, and
the causal model of factors had significant contribution to academic achievement of
international college students in Thailand, 3) Leadership characteristics and parental
support were found as exogenous factors on academic achievement of international
college students, and 4) Academic achievement of international college students
was derived from teaching strategy, which was directly influenced by parental
support, management, student characteristics and teacher behaviors, and indirectly
influenced by leadership characteristics, parental support and management.
Keywords: causal model of factors, academic achievement.
|
48 |
16. ปัจจัยที่ส่งผลให้เด็กและเยาวชนในโรงเรียนสตรีระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ในเขตกรุงเทพมหานคร ตกเป็นเหยื่อการถูกคุกคามทางเพศทางออนไลน์:
ศึกษาในแนวทางทฤษฎีภาวะปกติวิสัย
FACTORS AFFECTING ONLINE SEXUAL HARASSMENT OF
FEMALE JUVENILE VICTIMIZATION IN BANGKOK METROPOLIS:
USING ROUTINE ACTIVITY THEORY
 Author : สุนันทา วรรณยศ
 Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านภูมิหลังทางสังคม การใกล้ชิดกับผู้กระทำ
ผิดที่มีแรงจูงใจ การขาดการดูแลสอดส่องหรือให้คำแนะนำจากผู้ปกครอง ที่ส่งผลให้เด็กและเยาวชน
ในโรงเรียนสตรีระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร ตกเป็นเหยื่อการถูกคุกคามทางเพศ
ทางออนไลน์ โดยศึกษาในแนวทางทฤษฎีภาวะปกติวิสัย กลุ่มตัวอย่างคือเด็กและเยาวชนในโรงเรียน
สตรีระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 388 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ
พบว่าเด็กและเยาวชนสตรีที่ตกเป็นเหยื่อการถูกคุกคามทางเพศทางออนไลน์ มีลักษณะดังนี้ เพศหญิง
อายุน้อย กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นที่ไม่สูง ผลการเรียนไม่ดี สัมพันธภาพภายในครอบครัวไม่ดี มีการ
หาเพื่อนใหม่ที่ไม่รู้จักเรื่อย ๆ โพสต์ข้อความ รูปภาพ อารมณ์ สถานภาพ กิจวัตรประจำวันของตนเอง
บ่อยครั้งในหนึ่งวัน ใช้โปรแกรมสนทนาออนไลน์เป็นเวลานาน เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวให้เป็นสาธารณะ
พ่อ-แม่หรือผู้ปกครองขาดความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ขาดการดูแลสอดส่อง ละเลย
ไม่อบรมตักเตือนถึงภัยอันตรายจากคนที่รู้จักผ่านการใช้อินเทอร์เน็ตหรือโปรแกรมสนทนาออนไลน์
ดังนั้น พ่อ-แม่หรือผู้ปกครองควรเพิ่มความเอาใจใส่ สังเกตการใช้อินเทอร์เน็ตของบุตรหลาน ศึกษา
หรือหาข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสม พร้อมทั้งสนใจหาความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต และให้ทัศนคติที่ถูกต้องต่อการหาเพื่อนใหม่ที่ไม่เคยรู้จักผ่านโปรแกรม
สนทนาออนไลน์ ส่วนสถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน ควรให้ความรู้
แก่พ่อ-แม่หรือผู้ปกครองที่มีเด็กและเยาวชนในความดูแลถึงภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้
โปรแกรมสนทนาออนไลน์ รวมทั้งแนวทางในการป้องกันเด็กและเยาวชนจากการถูกคุกคามทางเพศ
* ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2559
184 วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี
ทางออนไลน์ ควรมีมาตรการในการดูและรักษาความปลอดภัยข้อมูลของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตหรือ
โปรแกรมสนทนาออนไลน์ รวมทั้งควรบังคับใช้กฎหมายและมีมาตรการลงโทษอย่างเด็ดขาดสำหรับ
ผู้ที่คุกคามผู้อื่นบนอินเทอร์เน็ต
คำสำคัญ: ทฤษฎีภาวะปกติวิสัย, การคุกคามทางเพศทางออนไลน์
|
19 |
17. การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสิงคโปร์แอร์ไลน์เฉลิมพระเกียรติฯ
THE DEVELOPMENT THE PROGRAMMED INSTRUCTION IN
SOCIAL STUDY RELIGION AND CULTURE STRAND ON THE
TOPIC OF BUDDHIST IMPORTANT DAY FOR PRATHOM SUKSA 5
IN SINGAPORE AIRLINES HONOR BORDER PATROL
POLICE SCHOOLS
 Author : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรีย์มาศ สุขกสิ
 Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป 2) เปรียบเทียบ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป และ 3) ประเมินความพึงพอใจ
ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสิงคโปร์
แอร์ไลน์เฉลิมพระเกียรติฯ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนตำรวจ
ตระเวนชายแดนสิงคโปร์แอร์ไลน์เฉลิมพระเกียรติฯ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 13 คน ได้มาโดย
วิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนสำเร็จรูป
แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทเรียนสำเร็จรูป และแบบสอบถาม
ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โรงเรียนตำรวจ
ตระเวนชายแดนสิงคโปร์แอร์ไลน์เฉลิมพระเกียรติฯ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การเปรียบเทียบ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายก่อนและหลังเรียนใช้ t-test การวัดความพึงพอใจ
ของนักเรียนใช้ค่าเฉลี่ย และ SD พบว่า 1) บทเรียนสำเร็จรูปที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ
85.76/84.63 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปมีผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) นักเรียนที่เรียน
โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสิงคโปร์แอร์ไลน์เฉลิม
พระเกียรติฯ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ: บทเรียนสำเร็จรูป, วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา, กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
|
12 |
18. ผลของกลุ่มพัฒนาตนที่ใช้รูปภาพเป็นสื่อต่อการพัฒนาความงอกงาม
หลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญและสุขภาวะทางจิต
ของสตรีภายหลังการรักษามะเร็งเต้านม*
EFFECT OF PERSONAL GROWTH GROUP WITH
PHOTO-ELICITATION ON POSTTRAUMATIC GROWTH AND
PSYCHOLOGICAL WELL-BEING AMONG WOMEN WITH
POST BREAST CANCER TREATMENT
 Author : ทศพร ประไพทอง
 Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มพัฒนาตนที่ใช้รูปภาพเป็นสื่อต่อการพัฒนา
ความงอกงามหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญและสุขภาวะทางจิตของสตรีภายหลังการรักษามะเร็ง
เต้านม กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีภายหลังการรักษามะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด
จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบ
มีการวัดซํ้า (repeated measures MANOVA) พบว่า 1) ภายหลังกลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรม
กลุ่มพัฒนาตนที่ใช้รูปภาพเป็นสื่อ มีคะแนนความงอกงามหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญและ
สุขภาวะทางจิตสูงกว่าก่อนการทดลอง 2) กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาความงอกงาม
โดยใช้รูปภาพเป็นสื่อ มีคะแนนความงอกงามหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญและสุขภาวะทางจิต
ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม
คำสำคัญ: กลุ่มพัฒนาตน, ความงอกงามหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ, สุขภาวะทางจิต, สตรี
ภายหลังการรักษามะเร็งเต้านม
|
16 |
19. อัตลักษณ์ของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตรีในประเทศไทย
CHARACTERS OF FEMALE CHIEF EXCECUTIVE OF
THAI PROVINCIAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATIONS
 Author : อุไรรัตน์ ศิริศุภดิลกภัทร์
 Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตรี
2) ศึกษาระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตลักษณ์ของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตรี 3) ศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับอัตลักษณ์ของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตรี และ 4) ศึกษาปัจจัย
ที่มีอิทธิพลต่ออัตลักษณ์ของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี
มีกลุ่มตัวอย่าง 117 คน พบว่า 1) อัตลักษณ์ของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตรีคือ ทำงานหนัก
แต่ไม่พึงพอใจในงาน 2) ระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตลักษณ์ของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สตรี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยกับอัตลักษณ์ของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตรี
มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตลักษณ์ของ
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตรี ได้แก่ การตอบสนองต่อสถานการณ์ ความรู้สึกเกี่ยวกับตนเอง
กลยุทธ์ในการปฏิบัติงาน ความสนใจต่องานที่รับผิดชอบ และอนาคตในงานอาชีพ
คำสำคัญ: อัตลักษณ์, นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตรี
|
21 |
20. คุณภาพชีวิตการทำงานของครูผู้สอน
ศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล
QUALITY OF WORK LIFE OF TEACHERS
IN CHRONIC CHILDREN CENTER IN HOSPITAL
 Author : วาสนา วิลัยเกษ
 Abstract
คัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูผู้สอนในศูนย์
การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล 2) ศึกษาระดับปัจจัยด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ
และปัจจัยด้านประสบการณ์จากการทำงานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูผู้สอน 3) ศึกษา
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูผู้สอน และ 4) สร้าง
สมการพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานของครูผู้สอนจากปัจจัยด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติและ
ปัจจัยด้านประสบการณ์จากการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในศูนย์การเรียนสำหรับเด็ก
เจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล จำนวน 128 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วน
ประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า
1. คุณภาพชีวิตการทำงานของครูผู้สอน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับดี ยกเว้น
ด้านสิทธิส่วนบุคคล ด้านการทำงานร่วมกันและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ด้านความก้าวหน้า
และความมั่นคงในงาน ด้านความสมดุลของชีวิต ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม อยู่ในระดับ
ปานกลาง
2. ปัจจัยด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติของครูผู้สอน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับดี ยกเว้น
ด้านความก้าวหน้าในงาน อยู่ในระดับปานกลาง
3. ปัจจัยด้านประสบการณ์จากการทำงานของครูผู้สอน โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้าน
อยู่ในระดับดี
4. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ประสบการณ์การทำงาน ตำแหน่งในการปฏิบัติงาน
ค่าตอบแทนที่ได้รับ (รายได้) ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูผู้สอน
154 วารสารวชาการศรปทุม ชลบุร
ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 เดือนกรกฎาคม - เดือนกันยายน 2560
5. ปัจจัยด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูผู้สอน
ได้แก่ ด้านผลป้อนกลับของงาน และด้านความก้าวหน้าในงาน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานของครูผู้สอนในภาพรวมได้ร้อยละ 47.20 สมการ คือ
tot = 1.70 + 0.36 (X4) + 0.14 (X2) และ tot = 0.51 (Zx4) + 0.25 (Zx2)
6. ปัจจัยด้านประสบการณ์จากการทำงานที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของ
ครูผู้สอน ได้แก่ ด้านเจตคติของกลุ่มทำงานที่มีผลต่อองค์กร และด้านความรู้สึกว่าตนเองมีความ
สำคัญ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานของครูผู้สอน
ในภาพรวมได้ร้อยละ 40.30 สมการ คือ
tot = 1.19 + 0.23 (X5) + 0.19 (X6) และ tot = 0.36 (Zx5) + 0.31 (Zx6)
คำสำคัญ: คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ครู, ศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล
|
15 |
21. การเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์
การฝึกงานในสถานประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยธนบุรี
กับนักเรียนวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู*
BEHAVIORAL LEARNING EXPERIENCE FROM TRAINING
IN WORKPLACE: A COMPARISON BETWEEN STUDENTS
FROM THONBURI UNIVERSITY AND MUBANKRU
TECHNOLOGY COLLEGE
 Author : วีรนุช แซ่ฉิน
 Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม
การเรียนรู้จากประสบการณ์การฝึกงานในสถานประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยธนบุรี
และ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์การฝึกงาน
ในสถานประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยธนบุรีและนักเรียนวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยธนบุรี 3 สาขาวิชา ได้แก่
สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ และสาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
ที่ผ่านการฝึกงานจากสถานประกอบการมาแล้ว จำนวน 84 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบเป็นอิสระต่อกัน (t-test
independent) พบว่า 1) นักศึกษามหาวิทยาลัยธนบุรี ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเรียนรู้
จากประสบการณ์การฝึกงานในสถานประกอบการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ
3.97 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 และ 2) พฤติกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์การฝึกงาน
ในสถานประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยธนบุรีและนักเรียนวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู
ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ยกเว้นด้านการสังเกตอย่างไตร่ตรอง
และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยทั้ง 4 ด้านของมหาวิทยาลัยธนบุรี พบว่าด้านการสร้างประสบการณ์
เชิงรูปธรรมมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มีค่าเท่ากับ 3.15 และมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการสังเกต
อย่างไตร่ตรอง มีค่าเท่ากับ 4.76 ดังนั้น เพื่อให้นักศึกษามีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น จึงต้องเร่งพัฒนาด้วย
การจัดอบรมหรือให้ความรู้กับนักศึกษาก่อนออกฝึกงาน โดยเน้นทักษะด้านการสร้างประสบการณ์
เชิงรูปธรรมก่อน และส่งเสริมทักษะการสังเกตอย่างไตร่ตรองให้มากขึ้น เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์
ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในสถานประกอบการ
คำสำคัญ: พฤติกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์, การฝึกงาน, มหาวิทยาลัยธนบุรี, วิทยาลัยเทคโนโลยี
หมู่บ้านครู
|
8 |
22. การจัดการความขัดแย้งด้านที่ดินอย่างยั่งยืน
พื้นที่แถบเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง
SUSTAINABLE LAND CONFLICTS MANAGEMENT
IN BANTHAT MOUNTAIN RANGE TRANG PROVINCE AREA
 Author : วิวัฒน์ ฤทธิมา
 Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของปัญหาความขัดแย้ง
ด้านที่ดินพื้นที่แถบเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง ระหว่างปีพุทธศักราช 2504 - 2558 2) วิเคราะห์กลไก
ของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านที่ดินและการบริหารจัดการที่ดินพื้นที่แถบเทือกเขาบรรทัด
จังหวัดตรัง ระหว่างปีพุทธศักราช 2504 - 2558 และ 3) เสนอตัวแบบในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
และการบริหารจัดการที่ดินพื้นที่แถบเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง อย่างยั่งยืน โดยศึกษาจากเอกสาร
ที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
ความขัดแย้งด้านที่ดิน จำนวน 216 คน รวมทั้งการจัดประชุมแบบมีส่วนร่วม จำนวน 23 ครั้ง
ตลอดจนเข้าร่วมประชุมและทำกิจกรรมในพื้นที่ พบว่าสภาพของปัญหาความขัดแย้งด้านที่ดิน
พื้นที่แถบเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง มีจุดเริ่มต้นมาจากการก่อตั้งชุมชนของประชาชนที่มีวิถีผูกพัน
และอยู่ร่วมกับป่าอย่างสมดุล ต่อมาภาครัฐได้เข้ามาดำเนินการบริหารจัดการที่ดินด้วยการหวงห้าม
ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และประกาศให้เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ หลังจากนั้นประกาศให้ป่าสงวน
แห่งชาติในบางพื้นที่เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด และบางพื้นที่เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ
เขาปู่-เขาย่า จึงก่อให้เกิดการทับซ้อนกับที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของประชาชน นำไปสู่การเกิดปัญหา
ความขัดแย้งด้านที่ดินระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชนและองค์กรชุมชน
จากการวิเคราะห์กลไกการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการบริหารจัดการที่ดินพื้นที่แถบ
เทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง พบว่ามีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการบริหารจัดการที่ดินของ
ภาครัฐ กล่าวคือ ส่วนกลางได้กำหนดโยบายการบริหารจัดการและการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
ด้านที่ดิน แล้วสั่งการให้ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นดำเนินงานตาม นำไปสู่การรวมตัวกันของ
ภาคประชาชนและจัดตั้งเป็นองค์กรชุมชนเพื่อต่อต้านอำนาจรัฐ เนื่องจากประชาชนไม่ยอมรับการ
ดำเนินงานของภาครัฐ และได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการบริหารจัดการที่ดิน
ตามหลักการแห่งวิถีของชุมชน
ตัวแบบที่เหมาะสมและก่อให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว จะต้อง
จัดทำแนวเขตที่ดินทำกินและอยู่อาศัยของประชาชนกับแนวเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์แบบมีส่วนร่วมโดยใช้
ข้อมูลเชิงประจักษ์ กำหนดพื้นที่ผ่อนปรนพิเศษอย่างมีส่วนร่วมและรับรองเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกิน
ให้กับประชาชนในพื้นที่ และตัวแบบสำหรับการบริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องปลูกต้นไม้
กันแนวระหว่างพื้นที่ป่าอนุรักษ์กับพื้นที่ทำกินของประชาชน การปลูกพืชตามระดับความลาดชันของ
พื้นที่และการปลูกพืชป่าสมรมตามวิถีหรือตามภูมิปัญญาชุมชน
คำสำคัญ: การจัดการความขัดแย้ง, การจัดการความขัดแย้งด้านที่ดินอย่างยั่งยืน, เทือกเขาบรรทัด,
จังหวัดตรัง
|
1 |
23. กรอบแนวคิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การ
CONCEPTUAL FRAMEWORK OF ORGANIZATIONAL CHANGES
 Author : ดร. วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ
 Abstract
การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ไม่เว้นแม้แต่องค์การ
ในยุคปัจจุบันหากองค์การปรารถนาที่จะอยู่รอดและแข่งขันกับองค์การอื่นได้ จำเป็นต้องมี
การเปลี่ยนแปลงเพื่อมุ่งไปสู่สภาพที่ดีกว่า ทว่าการเปลี่ยนแปลงมักนำมาซึ่งความรู้สึกต่อต้าน
การเปลี่ยนแปลงองค์การจึงต้องจัดการกับการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง เพื่อมุ่งไปสู่ความสำเร็จตาม
เป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง บทความนี้จึงมุ่งความสนใจไปที่การทำความเข้าใจองค์ประกอบของ
การเปลี่ยนแปลงในองค์การ ได้แก่ สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงองค์การ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงในองค์การ
กระบวนการเปลี่ยนแปลง การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง การจัดการกับการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
และปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำไปสู่บทสรุปในการสร้าง
กรอบแนวคิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การ
คำสำคัญ: การเปลี่ยนแปลง, การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง, องค์การ
ABSTRACT
|
9 |
|
|
|