please wait loading...
Untitled Document
 



 ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมกราคม-เดือนมีนาคม 2561 ISSN 1686-5715 อ่าน
1.  ปัจจัยที่นำไปสู่การเป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
Author : รองศาสตราจารย์ ดร. ปิยากร หวังมหาพร
Abstract
การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่นำไปสู่การเป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการให้ความหมายคำว่า อาสาสมัคร ของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน และ 2) ศึกษาปัจจัย ที่นำไปสู่การเป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน กลุ่มเป้าหมายคือ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน จาก 5 จังหวัดในภาคตะวันตกของประเทศไทย ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และตาก รวมทั้งสิ้น 15 ราย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกกลุ่มเป้าหมายโดยการ บอกต่อ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์โดยการตีความ ผลการวิจัยพบว่า อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านให้ความหมายของคำว่า อาสาสมัครดูแล ผู้สูงอายุที่บ้าน หมายถึง เป็นการทำงานที่เสียสละ ทำให้เป็นที่ยอมรับ และเป็นการทำความดี ปัจจัยที่นำไปสู่การเป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ 1) ช่วงที่ครอบครัว วัด โรงเรียน ปลูกฝังการเป็นอาสาสมัคร และ 2) ช่วงการใช้ชีวิตและการทำงานอาสาสมัคร ในช่วงแรก ครอบครัว โรงเรียน วัด และเพื่อนของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านมีบทบาทอย่าง สำคัญที่หล่อหลอมให้บุคคลนั้น ๆ มีคุณสมบัติหรือมีอัตลักษณ์การเป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน สำหรับในช่วงการใช้ชีวิตและการทำงาน ปัจจัยที่นำไปสู่การเป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านคือ การชักจูงจากเพื่อน ลักษณะครอบครัว และเป็นอาสาสมัครประเภทอื่นอยู่แล้ว คำสำคัญ: อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน, ปัจจัยที่นำไปสู่การเป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
75
2.  MOBILE APPLICATION DEVELOPMENT FOR CULTURAL TOURISM ATTRACTIONS IN THAILAND’S LOWER CENTRAL PROVINCES
Author : Assoc. Prof. Dr. Panornuang Sudasna Na Ayudhya
Abstract
The development of English mobile application for cultural tourism attractions in Thailand’s lower central provinces was aimed: 1) to collect the information concerning cultural tourist attractive places in Thailand’s 9 lower central provinces, and 2) to develop the mobile application promoting cultural tourist attractive places in Thailand’s 9 lower central provinces. The research methodology consisted of consisted of 7 procedures as: 1) Research design, 2) Literature review, 3) Focus group interview of 5 related experts, 4) Focus group interview results analysis using content analysis method, 5) Mobile application development, 6) Try out & Evaluation of satisfaction of 200 Bansomdejchaopraya Rajabhat University students including Thai and ASEAN exchange students with statistics analysis of mean and SD, and 7) Conclusion & Discussion. The developed mobile application consisted of two types of interface pages as Map Interface and Tourist Attraction Interface pages of each lower central provinces. The results revealed that the satisfaction level of overall was on the highest level (mean = 4.55) as compared to the other aspects, followed by the satisfaction of installation and usage guideline (mean = 4.51), interface design (mean = 4.32), and functioning (mean = 4.21).
14
3.  การพัฒนาเครื่องมือเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อเป็นแนวทางการเรียนการสอน วิชาภาษาและวัฒนธรรมไทยเพื่อการเป็นครู
Author : ดร. พรทิพย์ ครามจันทึก
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเครื่องมือเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อเป็น แนวทางการเรียนการสอนวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทยเพื่อการเป็นครู ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการใช้เครื่องมือเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อเป็น แนวทางการเรียนการสอนวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทยเพื่อการเป็นครู ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยชุดการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อเป็น แนวทางการเรียนการสอนวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทยเพื่อการเป็นครู กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขา วิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 1 จำนวน 60 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) ค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) พบว่า 1) เครื่องมือเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อเป็นแนวทางการเรียนการสอนวิชาภาษา และวัฒนธรรมไทยเพื่อการเป็นครู มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.43/87.5 ตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 2) ความสามารถในการใช้ภาษาและวัฒนธรรมไทยเพื่อการเป็นครู ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
42
4.  WHAT ARE THE NEED AND PROBLEMS OF ENGLISH READING FOR THAI GRADUATE STUDENTS?
Author : Asst. Prof. Chongrak Liangpanit, PhD
Abstract
The purposes of this study were: 1) to investigate the needs of graduate students in reading, and 2) to investigate the problems of graduate students in reading. The participants of the study include 50 graduate students who were studying in the master’s degree program at the Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University. The research instruments included two open-ended questionnaires and a semi-structured interview. The data were analyzed statistically by using arithmetic means, standard deviation and content analysis. The results of the study revealed that the graduate students most need English reading for the purposes of searching for information for reports/research (4.71). The results also show what the graduate students need to achieve learning outcomes for reading focusing on understanding the meaning of words (4.61); understanding main idea (4.51) and the supporting details of the text (4.45), and understanding the topic of the text (4.34) respectively. For the reading problems, the graduate students scraped with three main problems in reading: vocabulary (4.45), grammatical rules (4.03) and low motivation (3.92) respectively. In the interview results, the graduate students revealed that vocabulary causes the most difficulty in their reading. They also stated that background knowledge and knowing technical words are significant factors in facilitating them understand reading text.
9
5.  คุณภาพการใช้งานแอปพลิเคชันร้านอาหารจากมุมมองของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร
Author : ธนสิทธิ์ สุขสุทธิ์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการใช้งานแอปพลิเคชันร้านอาหารของลูกค้าใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความง่ายในการใช้งาน ด้านความมีประสิทธิภาพ ด้านการ บรรลุเป้าหมาย ด้านความสามารถของระบบ และด้านความเป็นส่วนตัว และเพื่อเปรียบเทียบมุมมอง ด้านความพึงพอใจของลูกค้าต่อการใช้แอปพลิเคชันของร้านอาหารจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้บริการร้านอาหารที่มีการใช้ แอปพลิเคชันของร้านอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 385 คน พบว่าความพึงพอใจต่อการใช้งาน แอปพลิเคชันของร้านอาหารในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านการรับรู้ว่ามีประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันของร้านอาหารที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ เฉลี่ยต่อเดือน จำนวนแอปพลิเคชัน และสื่อที่ได้รับข้อมูลข่าวสารต่างกัน มีความพึงพอใจในการใช้งาน แอปพลิเคชันของร้านอาหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: แอปพลิเคชันของร้านอาหาร, การรับรู้ประโยชน์, การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน, ความพึงพอใจ
42
6.  การศึกษาความฉลาดทางจิตวิญญาณของนักศึกษาพยาบาล
Author : ธนพล บรรดาศักดิ์
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความฉลาดทางจิตวิญญาณของ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 - 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท โดยศึกษา จากประชากรทั้งหมด เครื่องมือวิจัยประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและ แบบวัดความฉลาดทางจิตวิญญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 - 4 มีความฉลาดทางจิตวิญญาณอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกรายชั้นปี พบว่านักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มีความฉลาดทางจิตวิญญาณสูงที่สุด รองลงมาเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 ชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 1 ตามลำดับ คำสำคัญ: ความฉลาดทางจิตวิญญาณ, นักศึกษาพยาบาล, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
87
7.  การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง: การประยุกต์ใช้โมเดล “ประเทศไทย 4.0” และแนวคิดของ การศึกษาเพื่อการพัฒนาพลเมืองทั่วโลกได้อย่างยั่งยืน (ESDGC) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา ระบบศึกษาของไทยให้มีความพร้อมและรองรับกับความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ
Author : สุปราณี วรรณรุณ
Abstract
ระบบการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองโลกถูกนำมาใช้เป็นรูปแบบและวิธีการพัฒนาในมิติของ การศึกษาทั่วโลกร่วมกัน ซึ่งการพัฒนาระบบการศึกษาของไทยให้มีประสิทธิภาพนั้นไม่ใช่เป็นแค่เพียง การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเท่านั้น แต่จะต้องมาจากนโยบายของรัฐบาลที่จะร่วมกันผลักดันและ ส่งเสริมให้เกิดการศึกษาวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมที่ทันสมัย มาสู่สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาของพลเมืองไทยให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน โดย ประยุกต์ใช้รูปแบบของ Education for Sustainable Development and Global Citizenship (ESDGC) และโมเดล “ประเทศไทย 4.0” นำมาผสมผสานกันแล้วนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนา ระบบการศึกษาของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมกับการศึกษาของต่างประเทศ โดยผู้ที่จะ นำไปใช้จะต้องวิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย รวมทั้งโอกาสและอุปสรรค 14 รูปแบบ ดังนี้ 1) ด้านนวัตกรรม2) ด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย 3) ด้านสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ 4) ด้านการบริโภคและการสิ้นเปลือง 5) ด้านสภาพภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลง 6) ด้านความรํ่ารวยและความยากจน 7) ด้านเอกลักษณ์ และวัฒนธรรม 8) ด้านทางเลือกและการตัดสินใจ 9) ด้านสุขภาพ 10) ด้านความมุ่งมั่นและความเป็น ผู้นำ 11) ด้านการเรียนการสอนและการเรียนรู้ 12) ด้านการบริหารจัดการสถาบัน 13) ด้านชุมชนและ การเป็นหุ้นส่วน และ 14) ด้านการวิจัยและการตรวจสอบ การศึกษาที่มีคุณภาพสามารถสร้างความเป็นพลเมืองของไทยให้มีประสิทธิภาพ เพราะ พลเมืองนั้นเป็นพลังและแรงขับเคลื่อนหลักที่ทำให้ระบบการศึกษาของประเทศสามารถแข่งขันกับระบบ การศึกษาของต่างประเทศได้ อีกทั้งยังสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลให้ประเทศไทยเดินหน้า และขับเคลื่อนประเทศได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนสืบไป คำสำคัญ: โมเดลอุตสาหกรรม 4.0, การศึกษาเพื่อการพัฒนาพลเมืองทั่วโลกได้อย่างยั่งยืน
21
8.  ภาวะเศรษฐกิจของประเทศเมียนมาและการค้าชายแดนไทยเมียนมา
Author : พลกฤษณ์ ไพรสานฑ์วณิชกุล
Abstract
การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมานั้นถือได้ว่าเป็นการเติบโต อย่างไม่สมดุล กล่าวคือ มีการพึ่งพารายได้จากพลังงานและเกษตรกรรมเป็นหลัก ในส่วนของพลังงานนั้น เพิ่มขึ้นจากการเปิดประเทศ แต่เป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ประชาชนน้อยคนมีส่วนร่วมและ ผลพวงไม่กระจายออกไปโดยทั่ว เว้นแต่การเพิ่มขึ้นของรายได้ของภาครัฐที่ต้องจัดสรรให้เหมาะสม สำหรับภาคการเกษตรนั้น เกษตรกรไม่สามารถเป็นเจ้าของที่ดินทำให้ขาดหลักทรัพย์เพื่อนำไป คํ้าประกันเข้าสู่สินเชื่อ ขณะที่ระบบธนาคารยังจะต้องพัฒนาอีกมาก นอกจากนั้น ยังมีปัญหาด้าน การขนส่งและการขาดแคลนปัจจัยการผลิต ตลอดจนเทคโนโลยีและความรู้ ในส่วนของภาค อุตสาหกรรมก็เผชิญปัญหาที่คล้ายคลึงกับภาคการเกษตรและยังต้องเผชิญกับความซับซ้อนของ กฎระเบียบราชการอีกด้วย หลังจากเมียนมาใช้นโยบายเปิดประเทศมากขึ้น ปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองมาสู่ระบอบ ประชาธิปไตย นำไปสู่การขยายโอกาสทางธุรกิจอย่างหลากหลาย และยังเชื่อว่าความต้องการลงทุน ในเมียนมาจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปอีกหลายปีต่อจากนี้ โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานซึ่งถือ เป็นสิ่งแรกที่จะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราการขยายตัวการ ลงทุนจากเอเชียไปสู่เมียนมาที่มีอัตราสูงขึ้นด้วย เมียนมายังมีทรัพยากรธรรมชาติมหาศาลและยังไม่ได้ ถูกนำไปใช้ อีกทั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญไม่แพ้ไทยที่เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างจีน อินเดีย ไทย สามารถเป็นทางออกสู่ทะเลอันดามันให้กับจีนตะวันตกได้ คำสำคัญ: การค้าชายแดน, การขยายตัวทางเศรษฐกิจ, การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ, ไทย-เมียนมา
54
9.  การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
Author : จิราภรณ์ เกตุแก้ว
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 2) เปรียบเทียบจิตสาธารณะของ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ก่อนและหลังใช้หลักสูตรฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ที่มีต่อหลักสูตร ฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ โดยมีขั้นตอนดำเนินการ 4 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 การกำหนด เป้าหมาย จุดหมาย และขอบเขต ขั้นที่ 2 การออกแบบหลักสูตร ขั้นที่ 3 การนำหลักสูตรไปใช้ และขั้นที่ 4 การประเมินหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2558 โดยการคัดกรองนักศึกษา ที่มีจิตสาธารณะตํ่าหรือน้อยที่สุด จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ แบบวัดจิตสาธารณะ แบบวัดความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตร ฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที t-test (one sample group) พบว่า 1. ผลการพัฒนาหลักสูตร ได้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มี 6 องค์ประกอบคือ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร กิจกรรมในหลักสูตร สื่อประกอบการฝึกอบรม และการวัดและการประเมินผล ซึ่งทุกองค์ประกอบมีความสอดคล้องกัน 2. ผลการเปรียบเทียบจิตสาธารณะของนักศึกษากลุ่มเป้าหมายก่อนการทดลองและหลังการ ทดลองใช้หลักสูตร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3. ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อหลักสูตรในระดับมาก คำสำคัญ: หลักสูตรฝึกอบรม, จิตสาธารณะ, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
44
10.  การสังเคราะห์รูปแบบการบูรณาการสหศิลป์แบบไทยสู่แอนิเมชัน 3 มิติ เรื่องรามเกียรติ์
Author : ชินวัฒน์ ประยูรรัตน์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการบูรณาการสหศิลป์แบบไทยสู่แอนิเมชัน 3 มิติ เรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 ท่าน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านศิลปวัฒนธรรมไทย 3 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านแอนิเมชัน 3 ท่าน โดยมีผลการสังเคราะห์ รูปแบบประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วรรณลักษณ์ไทย คือ อัตลักษณ์ของเนื้อเรื่องแบบไทย 2) รูปลักษณ์ไทย คือ อัตลักษณ์ของตัวละคร และฉากแบบไทย 3) นาฏลักษณ์ไทย คือ อัตลักษณ์ ของการเคลื่อนไหวแบบไทย และ 4) คีตลักษณ์ไทย คือ อัตลักษณ์ของเสียงแบบไทย ผลการประเมิน ความเหมาะสมของรูปแบบการบูรณาการสหศิลป์แบบไทยสู่แอนิเมชัน 3 มิติ เรื่องรามเกียรติ์ (The integration of Thai multi arts into 3D animation Ramakien: ITMA3DAR) พบว่าผู้เชี่ยวชาญ ให้การยอมรับรูปแบบที่นำเสนอในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48 สรุปได้ว่า สามารถนำรูปแบบดังกล่าวไปใช้ในการสร้างสรรค์ต้นแบบแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง รามเกียรติ์ ต่อไป คำสำคัญ: บูรณาการ, สหศิลป์, แอนิเมชัน 3 มิติ, รามเกียรติ์
31
11.  RELATIONSHIP BETWEEN CORPORATE SUSTAINABILITY DISCLOSURE AND FINANCIAL PERFORMACE IN THAILAND AND SINGAPORE
Author : Promporn Poowadin
Abstract
This research investigates of corporate sustainability disclosure and relationship on financial performance Thailand and Singapore. This research examines the sustainability reporting that encompasses reporting on economic, environmental and social issues. Sustainability reporting begins to develop from the year 2000, as an infancy stage. Companies engage in sustainability reporting do soon a voluntary basis. This is not mandatory in most countries; the most widely used corporate sustainability reporting guidelines are the Global Reporting Initiative’s G3 and G4 guidelines. This research study to determine the levels of disclosure of corporate sustainability reports published in 2010 - 2014, these are preparing using these guidelines. This research investigates the relationship between corporate sustainability disclosure level and financial performance. The result of the statistic shows that the positive relationship between GRI disclosure, ROE and NET, while the negative relationship is ROA. The findings have implications for policy maker in Thailand and Singapore as the trend towards companies is likely to increase pressure on firms to comply with GRI standard and guideline. Keywords: corporate sustainability disclosure, global reporting initiative, financial performance.
30
12.  ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานตามสัญญาจ้างเหมาค่าแรง ในกรณีที่เป็นบุคคลในหน่วยงานของรัฐและผู้ประกอบการเอกชน
Author : เกวรี สงวนสุข
Abstract
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการบังคับใช้กฎหมายอันเกี่ยวเนื่องกับสิทธิประโยชน์หรือสวัสดิการ พื้นฐานที่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างเหมาค่าแรงในหน่วยงานของรัฐและผู้ประกอบการเอกชนควรได้รับ ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐและผู้ประกอบการเอกชนได้มอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหา คนมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้นเป็นการทำงานในลักษณะเดียวกัน กับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง หรือเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในภารกิจหลักของหน่วยงานหรือผู้ประกอบ การนั้น ๆ ซึ่งพบว่าลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานอย่างเดียวกับลูกจ้างตามสัญญาโดยตรงกลับไม่ได้รับ สิทธิประโยชน์หรือสวัสดิการพื้นฐานอื่นใดนอกเหนือไปจากค่าจ้าง เนื่องจากหน่วยงานของรัฐหรือ ผู้ประกอบการเอกชนไม่ได้ให้สถานะใด ๆ แก่บุคคลเหล่านี้ ปฏิบัติเสมือนเป็นบุคคลภายนอก และอาจ นำไปสู่การกระทำอันไม่เป็นธรรมในการเลิกจ้าง จึงได้แบ่งการพิจารณาออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนของลูกจ้างรับเหมาค่าแรงในหน่วยงานของรัฐ กระทรวงการคลังกำหนดว่า ผู้รับจ้าง เหมาบริการมีฐานะเป็นผู้รับจ้างทำของ ไม่ถือเป็นบุคลากรของรัฐที่จะมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์และ สวัสดิการที่พึงได้รับจากทางราชการ ไม่มีนิติสัมพันธ์กับรัฐในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง ส่วนราชการจึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องนำส่งเงินสมทบในส่วนของผู้ว่าจ้างเข้ากองทุนประกันสังคม ส่งผลให้ลูกจ้าง รับเหมาค่าแรงในหน่วยงานของรัฐไม่ได้รับสิทธิประโยชน์หรือสวัสดิการพื้นฐานอื่นใดนอกเหนือไปจาก ค่าจ้าง จึงเห็นควรให้กำหนดสถานะของลูกจ้างรับเหมาค่าแรงให้มีลักษณะของการเป็นลูกจ้างชั่วคราว ของหน่วยงานของรัฐ ส่วนลูกจ้างรับเหมาค่าแรงในผู้ประกอบการเอกชน แม้ว่ากฎหมายคุ้มครองแรงงานของไทย จะวางหลักไว้ตามมาตรา 11/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยให้ถือว่า ผู้ประกอบ กิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาทำงานและให้ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการในลักษณะเดียวกันกับ ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานก็ตาม ทั้งมีคำพิพากษาฎีกาที่ 22326-22404/2555 รับรองสถานะของ บุคคลเหล่านี้ไว้ แต่ไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนในเรื่องของการเลิกจ้าง ดังนั้นจึงเห็นควร ให้แก้ไขบทบัญญัติตามมาตรา 11/1 โดยเพิ่มเติมในส่วนของการพิจารณาต่อสัญญาจ้าง การเลิกจ้าง อย่างเป็นธรรม โดยใช้วิธีปฏิบัติเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ซึ่งลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ควรได้รับการปฏิบัติและการคุ้มครองอย่างเดียวกัน รวมถึงการกำหนดบทลงโทษในกรณีการฝ่าฝืน ตามมาตรา 11/1 โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติตามมาตรา 144/1 โดยเพิ่มบทลงโทษจำคุกและกำหนด โทษปรับที่มีอัตราสูงขึ้นตามสภาพการณ์ในปัจจุบัน เพื่อเป็นการป้องกันและยับยั้งการกระทำความผิด ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป คำสำคัญ: การคุ้มครองแรงงาน, สัญญาจ้างเหมาค่าแรง, บุคคลในหน่วยงานของรัฐ, ผู้ประกอบการ เอกชน
32
13.  ชุดการสอนเสริมทักษะด้านการอ่าน เรื่องตัวสะกดในภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
Author : พัชรียา อินทร์พรหม
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของชุดการสอนเสริมทักษะด้านการอ่าน เรื่องตัวสะกดในภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอนเสริมทักษะด้านการอ่าน เรื่องตัวสะกดในภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อชุดการสอนเสริมทักษะด้านการอ่านสำหรับเด็กที่มีความบกพร่อง ทางสติปัญญา กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาด้านการอ่าน ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนเต็มรักศึกษา ปีการศึกษา 2559 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุด การสอนเสริมทักษะด้านการอ่าน เรื่องตัวสะกดในภาษาไทย 2) แบบประเมินทักษะการอ่าน 3) แบบ วัดความพึงพอใจของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่มีต่อชุดการสอนเสริมทักษะด้านการอ่าน เรื่องตัวสะกดในภาษาไทย และ 4) แบบวัดทักษะก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ (t-test for dependent sample) พบว่าชุดการสอนเสริมทักษะด้านการอ่าน เรื่องตัวสะกดในภาษาไทย ระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 76.10/75.43 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนน เฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 8.36 (SD = 1.62) หลังเรียนเท่ากับ 18.86 (SD = 1.70) มีค่า t-test หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของเด็กบกพร่อง ทางสติปัญญาที่มีต่อชุดการสอนเสริมทักษะด้านการอ่าน เรื่องตัวสะกดในภาษาไทย ระดับชั้นประถม ศึกษาปีที่ 2 สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา อยู่ในระดับมากที่สุด คำสำคัญ: ชุดการสอน, ทักษะการอ่าน, ตัวสะกดในภาษาไทย, เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
15
14.  ลักษณะของบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อความพึงพอใจตราสินค้านํ้าผลไม้บรรจุกล่อง ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยในจังหวัดชลบุรี
Author : จารวี กระแสร์ชล
Abstract
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย ในจังหวัดชลบุรีที่มีต่อบรรจุภัณฑ์นํ้าผลไม้ และ 2) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของคุณสมบัติและ ความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อความพึงพอใจของกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยทั้งชายและหญิง อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามเพศชายและหญิงมีระดับ ความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์นํ้าผลไม้ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผู้ตอบแบบสอบถาม ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี ขึ้นไป จะมีความพึงพอใจมากกว่ากลุ่มอายุอื่น และ 2) ลักษณะของบรรจุภัณฑ์ นํ้าผลไม้ด้านคุณสมบัติและความสวยงามมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อความพึงพอใจของนักศึกษา มหาวิทยาลัย คำสำคัญ: ลักษณะของบรรจุภัณฑ์, ความพึงพอใจต่อบรรจุภัณฑ์, ผลไม้บรรจุกล่อง
29
15.  การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการวางระบบบาร์โค้ดในคลังสินค้า: กรณีศึกษาตัวแทนจำหน่ายสินค้า วิศวกรรม
Author : เพชรัตน์ วิถีสุวรรณ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิคและการเงินในการ วางระบบบาร์โค้ดในคลังสินค้าของสินค้าวิศวกรรม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานและ วิเคราะห์ต้นทุนผลประโยชน์ รวมทั้งวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนระบบเครื่องพิมพ์รหัสบาร์โค้ด แบบอัตโนมัติ ระยะเวลาคืนทุน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ และอัตราผลตอบแทนภายใน เก็บข้อมูลด้วยการ สัมภาษณ์ผู้บริหารของบริษัทกรณีศึกษา และสอบถามข้อมูลจากบริษัทที่เป็นผู้จำหน่ายเครื่องพิมพ์ รหัสบาร์โค้ด พบว่าหากบริษัทลงทุนนำเครื่องพิมพ์รหัสบาร์โค้ดแบบอัตโนมัติมาใช้งาน จะมีต้นทุน 203,705 บาท และจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ดังนี้ 1) ลดระยะเวลาในการพิมพ์รหัส Serial ลงบนสินค้าและเครื่องมือที่เป็นชิ้นส่วนโลหะได้ 7 นาทีต่อชิ้น 2) ลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานของ พนักงานในการพิมพ์รหัส Serial สินค้าได้ 86,450 นาทีต่อปี 3) ลดค่าแรงของพนักงานในการพิมพ์ รหัส Serial สินค้าได้ 72,012.85 บาทต่อปี 4) ลดมูลค่าการสูญหายของเครื่องมือที่ใช้ในการซ่อม บำรุงได้ 10,000 บาทต่อปี และ 5) ลดความผิดพลาดที่เกิดจากการนับเครื่องมือได้ 4,000บาทต่อปี ผลจากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้พบว่า โครงการมีความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิคและด้านการเงิน มีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 2.4 ปี มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นบวกเท่ากับ 17,918.47 บาท และมีอัตรา ผลตอบแทนภายในเท่ากับอัตราร้อยละ 12.82 ซึ่งมีค่ามากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ MRR ที่ นำมาคำนวณเป็นอัตราคิดลด สามารถสรุปได้ว่าโครงการมีความเป็นไปได้ในการตัดสินใจลงทุนและมี ความคุ้มค่าในการลงทุน คำสำคัญ: บาร์โค้ด, คลังสินค้า, สินค้าวิศวกรรม
22
16.  ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง วิชาทัศนศิลป์ เรื่องศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านไทย สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Author : พัชรี ปู่สีทา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง วิชาทัศนศิลป์ เรื่องศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ 2) หาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง วิชาทัศนศิลป์ เรื่องศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านไทย และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ เรียนด้วยชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง วิชาทัศนศิลป์ เรื่องศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านไทย กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสามโคก สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนจากชุดการ เรียนรู้ด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ ค่าทีของกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ (t-test for dependent sample) พบว่าชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง วิชาทัศนศิลป์ เรื่องศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 83.48/81.33 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 24.40 (SD = 3.05) สูงกว่าก่อนเรียนซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.63 (SD = 3.11) แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อยู่ใน ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 (SD = 0.17) คำสำคัญ: ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง, ทัศนศิลป์, ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านไทย
13
17.  ผลของการปรึกษากลุ่มตามแนวคิดพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมต่อความมีวินัยในตนเอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Author : จิตรา เสริมศรี
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มตามแนวคิดพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม ต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ วิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ ปีการศึกษา 2558 ที่มีคะแนน ความมีวินัยในตนเองตํ่ากว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 25 จำนวน 20 คน และสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดความ มีวินัยในตนเองและโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม นักเรียน กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ รวมเป็น 12 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที ส่วนนักเรียนกลุ่มควบคุมดำเนินกิจกรรม ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันตามที่โรงเรียนกำหนด การเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะก่อน การทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํ้าประเภทหนึ่ง ตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่แบบนิวแมน-คูลส์ พบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 นักเรียนที่ได้รับการปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม มีคะแนนเฉลี่ย ความมีวินัยในตนเองในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคะแนนเฉลี่ยความมีวินัยในตนเองของนักเรียนที่ได้รับการ ปรึกษากลุ่มแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตาม ผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: ความมีวินัยในตนเอง, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, การปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม, การปรึกษากลุ่ม
31
18.  ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา
Author : กรณิการ์ ภูริจิตศิลป
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างคือ อาจารย์ผู้สอนฝ่ายประถมศึกษาและฝ่าย มัธยมศึกษาของโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 118 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัย ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แบบเป็นขั้นตอน พบว่า 1. ปัจจัยด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยด้านประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัย บูรพา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. ปัจจัยด้านการจัดการความรู้ของอาจารย์โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 4. ประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 5. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน มีจำนวน 6 ด้าน คือ การเรียนรู้ การบริหาร หลักสูตรและการสอน การส่งเสริมบรรยากาศการเรียนการสอน การรู้จักผู้เรียน การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การวางแผนการสอน ตัวแปรทั้ง 6 ตัว สามารถทำนายประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ร้อยละ 98.20 คำสำคัญ: ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผล, โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา
17
19.  ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการทำงบประมาณกับผลการดำเนินงานองค์การโดยผ่านส่วนเผื่อ งบประมาณ
Author : สุพรรณี หอมแช่ม
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการทำงบประมาณกับ ส่วนเผื่องบประมาณ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการทำงบประมาณกับผลการดำเนินงาน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนเผื่องบประมาณกับผลการดำเนินงาน และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยด้านการทำงบประมาณกับผลการดำเนินงานโดยผ่านส่วนเผื่องบประมาณ เก็บรวบรวม ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (http://www.mua.go.th/) ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 โดยใช้แบบสอบถามจัดส่งไปยังหัวหน้าส่วนงานในระดับคณะที่อยู่ภายใต้การบริหารงาน ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐทั้งหมด จำนวน 370 ส่วนงาน มีอัตราการตอบกลับ 36.49% การวิจัยนี้ ทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ Multiple Regression Analysis ที่ระดับนัยสำคัญที่ .05 โดยผู้ตอบ แบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในส่วนงานของมหาวิทยาลัยของรัฐ ผลการวิจัยพบว่า การให้ความสำคัญ กับการใช้งบประมาณ (BEMP) และระบบการให้ผลตอบแทนขององค์การที่ผูกติดกับความสำเร็จของ งบประมาณ (RS) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการดำเนินงาน (PERF) ซึ่งวัดค่าโดยระดับการบรรลุ เป้าหมายของงบประมาณโดยผ่านส่วนเผื่องบประมาณ (SLACK) ทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างมี นัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่า การให้ความสำคัญกับการใช้งบประมาณจะก่อให้เกิดการสร้างส่วนเผื่อ งบประมาณ แต่อย่างไรก็ตามก็สามารถเพิ่มระดับผลการดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมาย ระบบการให้ผลตอบแทนขององค์การที่ผูกติดกับความสำเร็จของงบประมาณอาจก่อให้เกิดส่วนเผื่องบประมาณ แต่จะสามารถเป็นแรงจูงใจในการทำให้องค์การดำเนินงานงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คำสำคัญ: ปัจจัยด้านการจัดทำงบประมาณ, ผลการดำเนินงาน, ส่วนเผื่องบประมาณ
7
20.  ปัญหาทางกฎหมายในการซื้อขายห้องชุด
Author : วารุณี เอลคะอิม
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ซื้อในการซื้อขายห้องชุดกับ ผู้ประกอบการโครงการ แม้ว่าจะมีการเข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ต้องสูญเสีย เงินที่นำมาวางมัดจำและค่าผ่อนชำระเป็นงวด ๆ ผู้ซื้อบางรายต้องตกอยู่ในภาวะจำต้องยอมรับโอน กรรมสิทธิ์ห้องชุดที่มีสภาพชำรุดบกพร่อง อีกทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องยังมีข้อจำกัดบางประการที่ทำให้ ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ พบว่าในการซื้อขายห้องชุดยังคงมีช่องว่างของกฎหมาย ทำให้ผู้ประกอบการ แสวงหาผลประโยชน์จากผู้ซื้อโดยไม่เป็นธรรม และเมื่อเกิดปัญหาข้อพิพาทแล้วนำคดีขึ้นสู่ศาล ในการ พิจารณาตัดสินคดีผู้บริโภคศาลมักจะถือหลักความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนาและเสรีภาพในการ ทำสัญญาเป็นสำคัญ แต่ศาลก็สามารถตัดสินให้เป็นธรรมได้ภายในขอบเขตอำนาจของกฎหมายเท่านั้น ดังนั้น ควรกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบร่างสัญญาจะซื้อจะขายที่จะนำไปใช้ในการ ขายห้องชุดแก่ผู้ซื้อ ส่วนเงินที่ผู้ซื้อนำมาวางมัดจำและเงินชำระค่างวดไว้ล่วงหน้าต้องจัดให้หน่วยงาน กลางเป็นผู้ดูแลหรือที่เรียกว่า “ระบบคนกลาง (escrow)” คำสำคัญ: ปัญหาทางกฎหมาย, ห้องชุด
5
21.  การพัฒนาแอปพลิเคชันบนแท็บเล็ต ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เรื่อง ประชาคมอาเซียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Author : อภิณัฐ สัตยจรรยาวงศ์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันบนแท็บเล็ต ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เรื่อง ประชาคมอาเซียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนเรียนกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการเรียนด้วยแอปพลิเคชันบนแท็บเล็ต 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของผู้เรียนที่เรียนด้วย แอปพลิเคชันบนแท็บเล็ต และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อแอปพลิเคชันบนแท็บเล็ต ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน มงคลกุลวิทยา ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 43 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่ม แบบง่าย โดยวิธีจับสลากมา 1 ห้องเรียน จากทั้งหมด 5 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แอปพลิเคชันบนแท็บเล็ต ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เรื่อง ประชาคมอาเซียน 2) แบบประเมิน คุณภาพของแอปพลิเคชันบนแท็บเล็ต 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถาม ความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) แอปพลิเคชันบนแท็บเล็ต ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เรื่อง ประชาคม อาเซียน มีคุณภาพเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.29/87.10 ซึ่งเป็นไปตาม เกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.76 และ 4) ผู้เรียนมีความ พึงพอใจต่อแอปพลิเคชันบนแท็บเล็ต ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ อยู่ในระดับมากที่สุด คำสำคัญ: แอปพลิเคชัน, แท็บเล็ต, ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์, ประชาคมอาเซียน
26
22.  ผลการปรึกษากลุ่มแบบอัตถิภาวะนิยมต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Author : นาถยา คงขาว
Abstract
การวิจัยนี้ศึกษาผลการปรึกษากลุ่มแบบอัตถิภาวะนิยมต่อการตระหนักรู้ในตนเองของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรึกษากลุ่มแบบอัตถิภาวะนิยม ต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น นักเรียนกลุ่มทดลองได้รับการปรึกษา กลุ่มแบบอัตถิภาวะนิยม ส่วนนักเรียนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการปรึกษากลุ่มแบบอัตถิภาวะนิยม โดยได้รับการปรึกษาจากครูแนะแนวของโรงเรียนตามปกติ วัดผลก่อนทดลอง หลังทดลอง และ ติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํ้าประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่ม และหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่แบบนิวแมน-คูลส์ (Newman-Keuls procedure) พบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองและระยะทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนการตระหนักรู้ในตนเองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม ในระยะหลังทดลองและระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนกลุ่มทดลอง มีคะแนนการตระหนักรู้ในตนเองในระยะหลังทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: การตระหนักรู้ในตนเอง, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, การปรึกษากลุ่มแบบอัตถิ ภาวะนิยม
11