please wait loading...
Untitled Document
 



 ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนตุลาคม-เดือนธันวาคม 2560 ISSN 1686-5715 อ่าน
1.  ข้อตกลงระหว่างประเทศตามกฎหมายสหรัฐอเมริกาINTERNATION AGREEMENT OF THE DOMESTIC AMERICAN LAW
Author : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อนันต์ เพียรวัฒนะกุลชัย
Abstract
บทความนี้ศึกษาการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติในกิจการต่างประเทศ ตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา โดยแบ่งการใช้อำนาจออกเป็นการใช้อำนาจในลักษณะสนธิสัญญา (treaty) และข้อตกลงของฝ่ายบริหาร (Congressional executive agreements) ในการทำสนธิ สัญญาเป็นอำนาจของวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา (United States Senate) ที่จะตรวจสอบการใช้อำนาจ ของฝ่ายบริหาร แต่หากเป็นข้อตกลงของฝ่ายบริหารจะเป็นอำนาจของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา (United States House of Representatives) เป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาเห็นชอบโดยใช้เสียง 2 ใน 3 โดยเฉพาะข้อตกลงระหว่างประเทศประเภท Sole executive agreements ที่ให้อำนาจ ฝ่ายบริหารในกรณีการดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยแท้ ซึ่งฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายตุลาการจะเข้าไป ถ่วงดุลการใช้อำนาจไม่ได้ อันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาและหลักการแบ่งแยกอำนาจ ตลอดจนมีการแบ่งประเภทความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศ ให้กฎหมายระหว่างประเทศมีสถานะเทียบเท่ากฎหมายภายในลักษณะที่เป็น Non-self-executing Treaties และ Self-executing Treaties กรณีข้างต้นทำให้การดำเนินการในกิจการต่างประเทศ แบ่งอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติออกจากกัน ทำให้ฝ่ายบริหารสามารถเลือกช่องทาง ในการดำเนินกิจการต่างประเทศได้หลากหลายรูปแบบเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก และสร้างนิติสัมพันธ์กับต่างประเทศที่จะต้องอาศัยอำนาจของฝ่ายบริหารในการผลักดันให้ผลประโยชน์ ของประเทศชาติบรรลุวัตถุประสงค์ และเป็นการส่งเสริมให้ฝ่ายบริหารแสวงหาผลประโยชน์ระหว่าง ประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำสำคัญ: ข้อตกลงระหว่างประเทศ, กฎหมายสหรัฐอเมริกา
3
2.  ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความสุขในการทำงานของพนักงานในกลุ่ม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ในเขตอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี FACTORS AFFECTING THE HAPPY WORKPLACE OF EMPLOYEE IN ELECTRONICS AND HOME APPLIANCES INDUSTRIES IN LAEM CHABANG INDUSTRIAL ESTATE, CHONBURI PROVINCE
Author : ดร. ทักษญา สง่าโยธิน
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความสุขในการทำงานของพนักงาน ในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัด ชลบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยด้านบุคลิกภาพ ปัจจัยด้านเจตคติในการทำงาน ปัจจัยครอบครัว และ ปัจจัยองค์กรที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย พนักงานใน กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (mixed method) โดยในเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามแบบปิด (close question) และในเชิงคุณภาพใช้การสนทนากลุ่ม (focus group discussion) เพื่อยืนยันผลการวิจัย เชิงปริมาณ พบว่า 1. ปัจจัยบุคลิกภาพ พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 30 มีบุคลิกภาพแบบเปิดเผย 2. ระดับความสุขในการทำงานของพนักงานบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และ เครื่องใช้ไฟฟ้า ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดย ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยเจตคติในการทำงาน ด้านความรู้ ความรู้สึก และพฤติกรรม มีระดับ ความคิดเห็นมาก ปัจจัยครอบครัว ด้านสัมพันธภาพในครอบครัวและการสนับสนุนจากครอบครัว มีระดับความคิดเห็นมาก ปัจจัยองค์กร ด้านลักษณะงาน สัมพันธภาพในที่ทำงาน มีระดับความคิดเห็นมาก ในขณะที่ด้านนโยบายและการบริหารงาน/โครงสร้างการบริหาร ความก้าวหน้าในหน้าที่ การงาน การได้รับการยอมรับนับถือ ขวัญกำลังใจในการทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีระดับความคิดเห็นปานกลาง 3. ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านเจตคติในการทำงาน พบว่าด้านความรู้สึกและด้านพฤติกรรม มีผลต่อภาวะความสุขในการทำงานของพนักงาน ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านครอบครัวพบว่า ด้านสัมพันธภาพในครอบครัวและด้านการสนับสนุนจากครอบครัวมีผลต่อ ภาวะความสุขในการทำงาน ของพนักงาน ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านองค์กรพบว่า ปัจจัยองค์กรอย่างน้อย 4 ด้านคือ ด้านลักษณะ งาน สัมพันธภาพในที่ทำงาน การได้รับการยอมรับนับถือ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีผลต่อ ภาวะความสุขในการทำงานของพนักงาน คำสำคัญ: ความสุขในการทำงาน, เจตคติในการทำงาน, บุคลิกภาพ, องค์กร, ครอบครัว
33
3.  พฤติกรรมของผู้ซื้อสินค้า/บริการทางช่องทางออนไลน์ของประชากรในจังหวัดชลบุรี ONLINE SHOPPERS’ BEHAVIOUR IN CHONBURI
Author : กิติยา ทัศนะบรรจง
Abstract
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ซื้อสินค้า/บริการทางช่องทางออนไลน์ของ ประชากรในจังหวัดชลบุรี จากการใช้แบบจำลองพฤติกรรมผู้บริโภค (consumer behavior model) ในการศึกษา มุ่งวิเคราะห์ลักษณะประชากรศาสตร์และพฤติกรรมการซื้อสินค้า/บริการทางช่องทาง ออนไลน์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจประชากรในเขตจังหวัดชลบุรี จำนวน 450 ชุด ได้แบบสอบถามกลับคืนทั้งสิ้น 424 ชุด คิดเป็นอัตราการตอบกลับ (response rate) ร้อยละ 94.22 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ตารางไขว้ (crosstabs) การทดสอบไค-สแควร์ระหว่างตัวแปร พบว่า อาชีพ ระดับการศึกษา และอายุ กับประสบการณ์การซื้อ สินค้า/บริการทางช่องทางออนไลน์มีความสัมพันธ์กัน คำสำคัญ: พฤติกรรมผู้บริโภค, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, ผู้ซื้อสินค้า/บริการทางช่องทางออนไลน์
38
4.  องค์กรสมรรถนะสูงรูปแบบใหม่ของประเทศไทยยุค 4.0 THE NEW HIGH-PERFORMANCE ORGANIZATION FOR THAILAND 4.0
Author : ธันยนันธ์ สมบูรณ์รัตนโชค
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและค้นหารูปแบบขององค์กรที่มีสมรรถนะสูงที่เหมาะสม กับประเทศไทยยุค 4.0 จากการศึกษาทบทวนวรรณกรรม แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยจากนักวิชาการ ที่หลากหลาย ผู้เขียนสามารถสรุปรูปแบบขององค์กรสมรรถนะสูงที่เหมาะสมกับประเทศไทยยุค 4.0 ว่าจะต้องมีลักษณะสำคัญ 5 ประการ คือ 1) เน้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ 2) ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสมัยใหม่เพื่อขับเคลื่อนองค์กร 3) มีการกระจายอำนาจในองค์กร 4) รูปแบบองค์การเสมือนจริง หรือองค์กรไร้ผู้บริหาร และ 5) ใช้การบริหารองค์กรเป็นเครือข่าย เชื่อมโยงกับองค์กรอื่น คำสำคัญ: องค์กรสมรรถนะสูง, การบริหารธุรกิจสมัยใหม่, การกระจายอำนาจ, องค์การเสมือนจริง, องค์กรไร้ผู้บริหาร, ประเทศไทยยุค 4.0
5
5.  เจตคติที่มีต่อรายวิชาภาษาไทยกับการนำเสนอของนักศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี SRIPATUM UNIVERSITY-CHONBURI CAMPUS STUDENTS’ ATTITUDE TOWARDS THAI LANGUAGE FOR PRESENTATION COURSE
Author : สมภพ มีบุญ
Abstract
การวิจัยในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ที่มีต่อรายวิชาภาษาไทยกับการนำเสนอ (THI116) ประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ที่เรียนรายวิชาภาษาไทยกับการนำเสนอ (THI116) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 314 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ จำนวน 234 คน คณะนิเทศศาสตร์ จำนวน 50 คน และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 30 คน แบบสอบถาม ที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเพื่อวัดเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อรายวิชาภาษาไทยกับการนำเสนอ (THI116) จำนวน 42 ข้อ โดยใช้ข้อคำถามทั้ง 2 ประเภท คือประเภททางบวกและทางลบ และนำผล ของแต่ละข้อคำถามมาหาค่าเฉลี่ย นำข้อมูลมาวิเคราะห์และหาข้อสรุป พบว่านักศึกษามีเจตคติต่อ การเรียนรายวิชาภาษาไทยกับการนำเสนอ (THI116) ในระดับดี และนักศึกษาหญิงมีเจตคติที่ดีต่อ การเรียนรายวิชาภาษาไทยกับการนำเสนอ (THI116) มากกว่านักศึกษาชายอย่างมีนัยสำคัญ นักศึกษา ที่ไม่เคยเรียนวิชาภาษาไทยมาก่อนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรายวิชาภาษาไทยกับการนำเสนอ (THI116) มากกว่านักศึกษาที่เคยเรียนรายวิชาภาษาไทยมาก่อน อย่างมีนัยสำคัญ นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรายวิชาภาษาไทยกับการนำเสนอ (THI116) มากกว่านักศึกษาคณะเทคโนโลยี สารสนเทศและคณะนิเทศศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญ และนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการ จัดการทรัพยากรมนุษย์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สาขาวิชาการตลาด มีเจตคติ ที่ดีต่อการเรียนรายวิชาภาษาไทยกับการนำเสนอ (THI116) มากกว่านักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยี สารสนเทศ สาขาวิชาการโฆษณา สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และสื่อสารการตลาด และสาขาวิชา การออกแบบสื่อดิจิทัล อย่างมีนัยสำคัญ คำสำคัญ: เจตคติ, ภาษาไทย, มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
23
6.  การตลาดยุค 4.0 กับการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคในสังคมยุคดิจิทัล MARKETING 4.0 AND CONSUMERS LIFESTYLE IN DIGITAL SOCIETY
Author : ธัญพิชญ์ชา พรมเสถียร
Abstract
ในยุคของสังคมดิจิทัล การเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์กับผู้คนรอบข้างมีโอกาสเกิดขึ้นได้ ตลอดเวลา การดำเนินชีวิตของผู้บริโภคในสังคมยุคดิจิทัลและการตลาด 4.0 จึงเกี่ยวโยงกันอย่างมาก แบรนด์จะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ด้วยการทำความเข้าใจการเดินทางของผู้บริโภค ช่วงเวลาที่ผู้บริโภค กำลังตัดสินใจซื้อนั้นเป็นโอกาสของแบรนด์ที่จะสร้างการรับรู้ของผู้บริโภคตั้งแต่การออกแบบการบริการ (service design) ซึ่งจะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค นำไปสู่การสร้างแบรนด์ 4.0 บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อทำความเข้าใจการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคในสังคม ยุคดิจิทัลช่วงก่อนซื้อ 2) เพื่อทำความเข้าใจการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคในสังคมยุคดิจิทัลช่วงขณะซื้อ 3) เพื่อทำความเข้าใจการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคในสังคมยุคดิจิทัลช่วงหลังซื้อ คำสำคัญ: การตลาดยุค 4.0, ผู้บริโภค, สังคมยุคดิจิทัล
13
7.  การประเมินเอกสารประกอบการสอนรายวิชาภาษาไทยสำหรับครู โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP model EVALUATION OF INSTRUCTIONAL HANDOUTS IN THAI FOR TEACHERS COURSE USING CIPP MODEL
Author : พรทิพย์ ครามจันทึก
Abstract
รายวิชาภาษาไทยสำหรับครู เป็นวิชาชีพครูบังคับที่นักศึกษาคณะครุศาสตร์ทุกสาขาวิชา ต้องเรียน เนื่องจากเป็นรายวิชาที่เป็นทักษะพื้นฐานในการสื่อสารทางด้านภาษาไทย และมีความ จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพครูอย่างยิ่ง คณะผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญในวิชาดังกล่าว จึงได้นำ ระบบ CIPP model มาประยุกต์ใช้ในการประเมินเอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาไทยสำหรับครู เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนารายวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทยเพื่อความเป็นครู ในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย พุทธศักราช 2560 หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2555 พบว่าผลการใช้เอกสารการสอนวิชาภาษาไทยสำหรับครูที่มีต่อนักศึกษา ได้แก่ เกิดทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ องค์ความรู้ คุณธรรมและจริยธรรม ที่จะติดตัวนักศึกษาไปตลอดชีวิต อีกทั้งส่งผล ให้ผู้เรียนมีกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล สามารถตั้งคำถามและมีวิธีการหาคำตอบได้ด้วยตนเอง ผลการประเมินจึงอยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังนี้ 1) ด้านสภาพแวดล้อม (context: C) อยู่ในระดับ มาก เป็นมุมมองที่น่าสนใจในการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการ เขียนเอกสารการสอนและตำรา 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (input: I) อยู่ในระดับมาก ประเมินความ พร้อมด้านบุคลากรเป็นหลักเพราะถือเป็นปัจจัยหลัก เพื่อหาข้อแก้ไขด้านศักยภาพอาจารย์ผู้สอน 3) ด้านกระบวนการ (process: P) อยู่ในระดับมาก ประเมินการดำเนินกิจกรรมตามแผนด้าน ความร่วมมือ คะแนนแต่ละข้อมีความใกล้เคียงกันมาก สะท้อนให้เห็นว่าการใช้เอกสารการสอน เหนี่ยวนำความรู้ให้เกิดทักษะตามจุดประสงค์ของแผนการสอน (มคอ.3) ได้ 4) ด้านผลิตผล(product: P) อยู่ในระดับมาก ประเมินผลผลิตและผลสัมฤทธิ์โครงการฯ พิจารณาจากผลประโยชน์ ที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาเป็นหลัก สะท้อนให้เห็นว่าเอกสารการสอนนำไปสู่ประสิทธิภาพที่ดีต่อการเรียน การสอนวิชาภาษาไทยสำหรับครู นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างสอดคล้องกับ เป้าหมายของธรรมชาติวิชาต่าง ๆ ทำให้นักศึกษามีความสนใจต่อการเรียน มีความคิดสร้างสรรค์ ในการนำเสนองานอย่างชัดเจน คำสำคัญ: เอกสารประกอบการสอน, วิชาภาษาไทย, ครู, รูปแบบ CIPP
12
8.  ALIGNMENT EFFECT VERSUS ENTRENCHMENT EFFECT: THE IMPACTS OF CONTROLLING SHAREHOLDER CHARACTERISTICS ON ACCOUNTING QUALITY
Author : Ausanee Ratsamewongjan
Abstract
This research examines the association between the controlling shareholders and accounting quality of listed firms in the Stock Exchange of Thailand (SET) during 2008-2012. Accounting quality measurement is based on four accruals models from Dechow and Dichev (2002), Dechow, Sloan and Sweeney (1995), Yoon, Miller and Jiraporn (2006), and the adjusted accruals model proposed by this research. The results support both entrenchment and alignment effects. The entrenchment effect is presented when the controlling shareholders do not have comprehensive power in the firm’s activities whereas the alignment effect is confirmed when the controlling shareholders have the sufficient absolute power to manage or block the firm’s importance activities. Keywords: alignment effect, entrenchment effect, controlling shareholders, accounting quality.
7
9.  สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย COMPETENCIES’ AFFECTING OF TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP CHARACTERISTICS OF HIGHER EDUCATION ADMINISTRATORS IN THE LOWER NORTHERN REGION OF THAILAND
Author : กฤษณ์ ภูรีพงศ์
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะ 2) ศึกษาระดับภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลง และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหาร คณาจารย์ และ เจ้าหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 11 แห่ง รวม 3,475 คน ได้กลุ่ม ตัวอย่าง 359 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.6-1 และมีค่าความเชื่อมั่น .741 และแบบสัมภาษณ์อธิการบดีและ/หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมาย รวม 15 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน พบว่าผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในเขต ภาคเหนือตอนล่างมีระดับสมรรถนะและระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ปัจจัยต่าง ๆ ภายใต้สมรรถนะการบริหารในภาพรวมส่งผลต่อภาวะผู้นำทางบวก อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สมรรถนะการใช้อิทธิพลส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ในระดับสูงสุด ส่วนสมรรถนะการรับรู้ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในระดับตํ่าสุด คำสำคัญ: สมรรถนะของผู้บริหาร, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในเขต ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย
38
10.  การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษารัสเซียขั้นพื้นฐานสำหรับพยาบาลวิชาชีพ กรณีศึกษา: โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา จังหวัดชลบุรี THE DEVELOPMENT OF BASIC RUSSIAN TRAINING COURSE FOR REGISTERED NURSE: CASE STUDY BANGKOK PATTAYA HOSPITAL IN CHONBURI PROVINCE
Author : ภาณุภัค ผ่องอำพันธ์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษารัสเซียขั้นพื้นฐานสำหรับพยาบาล วิชาชีพ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมภาษารัสเซียขั้นพื้นฐานสำหรับพยาบาลวิชาชีพ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมภาษารัสเซียขั้นพื้นฐาน สำหรับพยาบาล ดำเนินการตามรูปแบบการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มี 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างหลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร และ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาล กรุงเทพพัทยา จังหวัดชลบุรี จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คู่มือประกอบ การฝึกอบรม แผนการสอน แบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้ภาษารัสเซีย เพื่อการสื่อสารด้าน ทักษะการฟัง-พูด และแบบวัดความพึงพอใจ ใช้การวิจัยแบบ One Group Pretest-Posttest Design โดยใช้การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนการทดสอบวัดความสามารถในการใช้ภาษารัสเซีย เพื่อการสื่อสารด้านทักษะการฟัง-พูด ก่อนและหลังการฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent samples) พบว่า 1. ได้หลักสูตรฝึกอบรมที่ประกอบด้วย หลักการและเหตุผลของหลักสูตรฝึกอบรม วัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม เนื้อหาสาระที่นำมาอบรม กิจกรรมการฝึกอบรม สื่อการฝึกอบรม และการวัดและประเมินผลการฝึกอบรม โดยหลักสูตรฝึกอบรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนทดสอบของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลังฝึกอบรม โดยรวม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมภาษารัสเซียขั้นพื้นฐานสำหรับ พยาบาลวิชาชีพที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก คำสำคัญ: หลักสูตรฝึกอบรม, ภาษารัสเซีย, พยาบาลวิชาชีพ, โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา
17
11.  กลยุทธ์การบริหารจัดการตราสินค้าสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปผักและผลไม้ไทย BRAND MANAGEMENT STRATEGY FOR THE THAI FRUIT AND VEGETABLE PROCESSING INDUSTRY
Author : ฐิติมนต์ ธนกิติเอื้ออังกูร
Abstract
ความศรัทธา เชื่อมั่น ไว้วางใจจนนำไปสู่การตัดสินใจเป็นผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินค้าในอุตสาหกรรม อย่างต่อเนื่อง เป็นผลสืบเนื่องมาจากความสามารถในการบริหารจัดการตราสินค้าที่มีความสอดคล้องกับ ความคาดหวังและความต้องการของผู้บริโภคที่จะได้รับจากการเป็นผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินค้าในอุตสาหกรรม การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากลยุทธ์การบริหารจัดการตราสินค้าสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูป ผักและผลไม้ไทย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้ประเด็นคำถาม ในรูปแบบกึ่งมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลหลักสำคัญ 4 กลุ่มคือ เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการตราสินค้า ผู้ประกอบการ รวมถึงผู้ใช้สินค้าใน อุตสาหกรรม ตรวจสอบความถูกต้องเพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือโดยใช้หลักการ Data Triangulation ประเมินผลการวิจัยโดยสนทนากลุ่ม คัดเลือกผู้เข้าร่วมสนทนาจากผู้มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับ การบริหารจัดการตราสินค้า ไดแก่ หน่วยงานภาครัฐนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการ ตราสินค้า ผู้ประกอบการและผู้บริโภคสินค้าในอุตสาหกรรม พบว่ากลยุทธ์การบริหารจัดการ ตราสินค้าสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปผักและผลไม้ไทยที่สำคัญคือ กลยุทธ์การบริหารจัดการตาม กรอบยุทธศาสตร์การสร้างตราสินค้าที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการแต่ละด้านโดยใช้หลัก 6 ประการ ดังนี้ Safety: การมุ่งเน้นในการพัฒนาสินค้าโดยยึดหลักความปลอดภัย Satisfaction: การมุ่งเน้นในการ กำหนดราคาโดยยึดหลักความคุ้มค่าที่ผู้บริโภคยินดีจา่ ่าคจะได้รับจากการแสวงหาสินค้าทั้งในด้านเวลา และสถานที่ Story: การมุ่งเน้นการสร้างการรับรู้ด้วยรูปแบบการบอกเล่าเรื่องราวผ่านวิถีธรรมชาติหรือวัฒนธรรมพื้นฐานของผู้บริโภค Substitute: การมุ่งเน้นบุคลากรที่สามารถทำหน้าที่เป็นตัวแทน ในการสะท้อนความเป็นตราสินค้าให้กับองค์กรได้ และ Standard: การมุ่งเน้นกระบวนการผลิตที่ดี มีมาตรฐาน นำไปสคู่ วามสามารถในการตอบสนองความพึงพอใจไดต้ ามความคาดหวังและความตอ้ งการ ของผู้บริโภคในทุกครั้งที่ตัดสินใจเป็นผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินค้าในอุตสาหกรรมนั้นอย่างสมํ่าเสมอ คำสำคัญ: ตราสินค้า, การบริหารจัดการตราสินค้า, อุตสาหกรรมแปรรูปผักและผลไม้ไทย
44
12.  กระบวนการจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทย LOGISTICS MANAGEMENT PROCESS FOR HEALTH TOURISM IN THAI TRADITIONAL MEDICINE PROMOTING HOSPITALS
Author : ยงยุทธ แก้วอุดม
Abstract
บทความนี้เป็นการศึกษากระบวนการจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่อง “รูปแบบ การจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์ แผนไทยในประเทศไทย” โดยลักษณะสำคัญของกระบวนการจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทย คือ การจัดการและการประสานงาน ระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงพยาบาล ได้แก่ การจัดการการไหลทางกายภาพ การจัดการการไหล ของสารสนเทศ การจัดการการไหลทางการเงิน และการจัดการการไหลของการบริการ เพื่อทำให้ การเคลื่อนที่ของผู้รับบริการหรือนักท่องเที่ยวจากต้นทางไปสู่ปลายทางเป็นไปอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และไม่เกิดความผิดพลาดในระหว่างการดำเนินการ ส่งผลให้ผู้รับบริการหรือนักท่องเที่ยวได้รับความ พึงพอใจสูงสุด ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้เป็นตัวแปรสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างรูปแบบการจัดการ โลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยใน ประเทศไทยต่อไป คำสำคัญ: โลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, โรงพยาบาลส่งเสริมและ สนับสนุนการแพทย์แผนไทย
35
13.  การสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีการช่วยเสริมศักยภาพทางการเรียน ตามการเรียนรู้แบบ VARK A SYNTHESIS OF A MODEL OF PROJECT-BASED LEARNING VIA COMPUTER NETWORK WITH SCAFFOLDING OF VARK LEARNING STYLE
Author : วีณา คงพิษ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีการช่วยเสริมศักยภาพทางการเรียนตามการเรียนรู้แบบ VARK โดยใช้ กระบวนการสนทนากลุ่มจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 13 คน ผลการสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีการช่วยเสริม ศักยภาพทางการเรียนตามการเรียนรู้แบบ VARK (project-based learning via computer network with scaffolding of VARK learning style: PjBLS-VARK) ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) โมดูลผู้เรียน 2) โมดูลจำแนกรูปแบบตามการเรียนรู้ของผู้เรียนแบบ VARK 3) การจัดกลุ่มผู้เรียน 4) โมดูลผู้สอน 5) โมดูลเนื้อหาแบบ VARK 6) โมดูลการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานผ่านเครือข่าย คอมพิวเตอร์ 7) โมดูลเสริมศักยภาพทางการเรียน 8) สื่อสังคมออนไลน์ 9) โครงงาน และ 10) โมดูล ประเมินผลแบบรูบริค ผลการประเมินความเหมาะสมรูปแบบการเรียนการสอนพบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้การ ยอมรับรูปแบบการเรียนการสอนที่นำเสนอในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.70 สรุปได้ว่าสามารถนำรูปแบบดังกล่าวไปใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนารูปแบบการเรียน การสอน PjBLS-VARK ต่อไป คำสำคัญ: การเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน, รูปแบบการเรียนการสอน, การเรียนรู้แบบ VARK, การสอนแบบ scaffolding
29
14.  การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ THE DEVELOPMENT OF INSTRUCTIONAL MODEL FOR THE ENHANCEMENT OF ANALYTICAL THINKING ABILITY FOR SEVENTH GRADE STUDENTS IN SCIENCE
Author : ลือศักดิ์ มาตรพรหม
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อ เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยสร้างรูปแบบการเรียนการสอน จากข้อมูลพื้นฐาน เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องผู้วิจัยได้นำรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นไป ทดลองใช้กับนักเรียนโรงเรียนแสงอรุณ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน โดยสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการ เรียนรู้ตามรูปแบบ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 3) แบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ได้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่มีคุณภาพ โดยมีผลการประเมิน ความเหมาะสมของรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือ1) ทฤษฎี 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนการสอน มี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นสร้างบรรยากาศ การเรียนรู้ ขั้นวินิจฉัยความต้องการ ขั้นวางแผนการเรียนรู้ ขั้นฝึกการคิดวิเคราะห์ โดยแบ่งเป็นฝึก การคิดรายบุคคลและฝึกการคิดกลุ่มย่อย ขั้นสะท้อนความคิด ขั้นสรุปและประเมินผล และ 4) ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจากการเรียนตามรูปแบบ และรูปแบบมีคุณภาพเหมาะสมตามความเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญ 2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนโดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนโดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. ผลการเปรียบเทียบเจตคติทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนโดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์, นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
15
15.  ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 INSTRUCTIONAL LEADERSHIP FACTORS AFFECTING SCHOOLS EFFECTIVENESS UNDER SUPHANBURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 3
Author : จริยาภรณ์ พรหมมิ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 จำนวน 284 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะ ผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และประสิทธิผลของโรงเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณ ค่า 5 ระดับ จำนวน 54 ข้อ แบบสอบถามด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่า อำนาจจำแนกระหว่าง 0.30 ถึง 0.88 ค่าความเชื่อมั่น 0.97 และแบบสอบถามด้านประสิทธิผลของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.45 ถึง 0.83 ค่าความเชื่อมั่น 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเชิงพหุคูณ (multiple regression analysis) พบว่า 1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และประสิทธิผลของโรงเรียน จำแนกตาม เพศและประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และจำแนกตาม วุฒิทางการศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ใน ระดับสูงกับประสิทธิผลของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05และมีความสามารถในการพยากรณ์ร้อยละ 62.10 โดยมีสมการพยากรณ์ในรูปสมการคะแนนดิบหรือ คะแนนมาตรฐานดังนี้ Ý = 0.384 + 0.222(X1) + 0.202(X11) + 0.150(X4) + 0.140(X9) + 0.123(X5) ŹY = 0.250(ZX1) + 0.236(ZX11) + 0.174(ZX4) + 0.157(ZX9) + 0.141(ZX5) คำสำคัญ: ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ประสิทธิผลของโรงเรียน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรี เขต 3
5
16.  การให้การปรึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน: การวิเคราะห์อภิมาน COUNSELING FOR STUDENT’S DEVELOPMENT: META ANALYSIS
Author : นพดล วรพันธนายุต
Abstract
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการสังเคราะห์งานวิจัยด้านการให้การปรึกษาเพื่อพัฒนานักเรียน ด้วยการวิเคราะห์อภิมาน งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์เป็นงานวิจัยที่ได้จากฐานข้อมูลโครงการเครือข่าย ห้องสมุดในประเทศไทย จำนวน 71 เรื่อง เป็นงานวิจัยที่พิมพ์เผยแพร่ระหว่างปีการศึกษา 2545-2556 และใช้ทฤษฎีการให้การปรึกษาอย่างน้อย 1 ทฤษฎีต่อไปนี้ ได้แก่ ทฤษฎีบุคคลเป็นศูนย์กลาง ทฤษฎี พิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม และทฤษฎีเผชิญความจริง เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยที่เกี่ยวกับการให้การปรึกษานักเรียน และแบบ บันทึกคุณลักษณะงานวิจัย หาขนาดอิทธิพลด้วยวิธีของกลาส จากนั้นวิเคราะห์หาความแตกต่างของ ค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลด้วยการทดสอบของแมน-วิทนีย์ หรือด้วยการทดสอบของครัสคาล-วอลลิส เมื่อพบความแตกต่างทำการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีทดสอบของแมน-วิทนีย์ โดยควบคุมค่าความ คลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ตัวแปรต่อเนื่องกับขนาดอิทธิพลด้วย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิเคราะห์พบว่า มหาวิทยาลัยมหาสารคามผลิตงานวิจัยมากที่สุด การให้การปรึกษา ในนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลายใช้ทฤษฎีบุคคลเป็นศูนย์กลางมากที่สุด ส่วนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นใช้ทฤษฎีเผชิญความจริงมากที่สุด ค่าขนาดอิทธิพลทั้งสิ้น 88 ค่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.554 ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยที่มีค่าเฉลี่ยขนาดอิทธิพลแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ สถาบันที่ผลิตงานวิจัย สาขาที่ผลิตงานวิจัย เพศผู้วิจัย และ คุณภาพงานวิจัย การเปรียบเทียบขนาดอิทธิพลตามทฤษฎีและระดับการศึกษาไม่พบความแตกต่าง กัน มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับตํ่าระหว่างจำนวนตัวอย่างในงานวิจัยกับค่าขนาดอิทธิพล อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ: การให้การปรึกษา, การวิเคราะห์อภิมาน, นักเรียน
16
17.  ระดับสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม: กรณีศึกษา บริษัท ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) COMPETENCY LEVEL OF MACHINE OPERATORS IN INDUSTRIAL FACTORY: A CASE STUDY OF S.KHONKAEN FOODS PUBLIC COMPANY LIMITED
Author : วารุณี ปันทะนะ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับสมรรถนะของพนักงานที่ปฏิบัติงาน ด้านเครื่องจักรของบริษัท ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงาน ควบคุมเครื่องจักร จำนวน 160 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One way Anova พบว่าระดับสมรรถนะของพนักงานควบคุมเครื่องจักร ด้านความรู้อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.17 ด้านทักษะอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.95 และด้านคุณลักษณะ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 ส่วนผลการเปรียบเทียบระดับสมรรถนะของพนักงานควบคุม เครื่องจักรในภาพรวม ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะ พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และตำแหน่งงานแตกต่างกัน มีระดับสมรรถนะที่แตกต่างกัน ส่วนอายุการทำงานและประเภท เครื่องจักรที่รับผิดชอบไม่แตกต่างกัน คำสำคัญ: สมรรถนะ, พนักงานควบคุมเครื่องจักร, บริษัท ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน)
45
18.  การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมความจริงเสมือน เรื่องบทสวดมนต์ ผ่านไอแพด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 DEVELOPMENT OF AUGMENTED REALITY SUPPLEMENTARY BOOK ON PRAYER VIA IPAD FOR MATHAYOMSUKSA 1 STUDENTS
Author : ธนัชพร ท่าใหญ่
Abstract
การวิจยัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหนังสืออ่านเพิ่ม เติมความจริงเสมือน เรื่องบทสวดมนต์ ผ่านไอแพด ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมความจริงเสมือน เรื่องบทสวดมนต์ผ่านไอแพด 3) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนจากหนังสืออ่านเพิ่มเติมความจริงเสมือนเรื่องบทสวดมนต์ ผ่านไอแพด 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมความจริงเสมือน เรื่องบทสวดมนต์ ผ่านไอแพด กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวนทั้งสิ้น 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หนังสืออ่านเพิ่มเติมความจริงเสมือน เรื่องบทสวดมนต์ ผ่านไอแพด แบบประเมินคุณภาพสื่อสำหรับผู้เชี่ยวชาญ แบบทดสอบก่อนเรียนและ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสืออ่านเพิ่มเติมความจริงเสมือน เรื่องบทสวดมนต์ ผ่านไอแพด มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.33/84.67 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมความจริงเสมือน เรื่องบท สวดมนต์ ผ่านไอแพด สูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ .70 4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมความจริงเสมือน เรื่องบทสวดมนต์ ผ่านไอแพด อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( X = 4.56, SD = 0.59) คำสำคัญ: ความจริงเสมือน, บทสวดมนต์, ไอแพด
25
19.  ผลของโปรแกรมการฝึกจินตภาพที่มีต่อระดับความเชื่อมั่นและความแม่นยำ ในการยิงประตูฮอกกี้ THE EFFECT OF THE IMAGERY TRAINING PROGRAMS ON THE LEVEL OF CONFIDENCE AND THE ACCURACY OF GOAL SHOOTING IN HOCKEY
Author : พิชญา กัณหา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกจินตภาพที่มีต่อระดับความเชื่อมั่น และความแม่นยำในการยิงประตูฮอกกี้ กลุ่มตัวอย่างคือ นักกีฬาฮอกกี้ทีมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 36 คน นำเข้ากลุ่มแบบสุ่ม แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มควบคุม ฝึกทักษะการยิงประตูฮอกกี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกจินตภาพแบบฟังเทปเสียงและฝึกทักษะการยิงประตูฮอกกี้ กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกจินตภาพแบบดูวิดีโอและฝึกทักษะการยิงประตูฮอกกี้ ระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน โดยสอบถามความเชื่อมั่นก่อนทดสอบความแม่นยำในการยิงประตูฮอกกี้ ทั้งก่อนการฝึก ภายหลัง การฝึกสัปดาห์ที่ 4 และภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเชื่อมั่น และความแม่นยำในการยิงประตูฮอกกี้ ผลการวิจัยพบว่า การฝึกจินตภาพควบคู่กับการฝึกทักษะการ ยิงประตูฮอกกี้ช่วยเพิ่มความแม่นยำได้ดีกว่าการฝึกทักษะการยิงประตูฮอกกี้เพียงอย่างเดียว โดยการฝึกจินตภาพแบบฟังเทปเสียงจะส่งผลต่อระดับความเชื่อมั่นในการยิงประตูฮอกกี้หลังจากการฝึกเป็น เวลา8 สัปดาห์ และส่งผลต่อความแม่นยำในการยิงประตูฮอกกี้หลังจากการฝึกเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนการฝึกจินตภาพแบบดูวิดีโอช่วยเพิ่มความแม่นยำในการยิงประตูฮอกกี้หลังจากการฝึกเป็นเวลา 8 สัปดาห์และระดับความเชื่อมั่นในการยิงประตูฮอกกี้ไม่มีความสัมพันธ์กับความแม่นยำในการยิงประตูฮอกกี้ คำสำคัญ: การจินตภาพ, ความเชื่อมั่นในการยิงประตู, ความแม่นยำ, การยิงประตูฮอกกี้
4
20.  ชุดการเรียนรู้ฝึกทักษะอาชีพ วิชาการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน THE LEARNING PACKAGE OF OCCUPATIONAL SKILL ON BASIC OCCUPATION AND TECHNOLOGY SUBJECTS FOR HEARING IMPAIRED CHILDREN OF MATHAYOMSUKSA 5 STUDENTS
Author : ลนา นพรัตน์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้ฝึกทักษะอาชีพ วิชาการงาน พื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้บกพร่องทางการได้ยินที่เรียนจากชุดการเรียนรู้ฝึกทักษะอาชีพ วิชาการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บกพร่องทางการได้ยินที่มีต่อชุดการเรียนรู้ฝึกทักษะอาชีพ วิชาการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สำหรับผู้บกพร่อง ทางการได้ยิน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดนนทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ที่เรียนรายวิชาการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยีจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการเรียนรู้ฝึกทักษะอาชีพ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้จากชุดการเรียนรู้ฝึกทักษะอาชีพ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ (t-test for dependent sample) พบว่าชุดการเรียนรู้ฝึกทักษะอาชีพ วิชาการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 81.25/80.56 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของผู้บกพร่องทางการได้ยินที่มีต่อชุดการเรียนรู้ฝึกทักษะอาชีพ อยู่ในระดับมากที่สุด คำสำคัญ: ชุดการเรียนรู้, ทักษะอาชีพ, วิชาการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี, ผู้บกพร่องทาง การได้ยิน
10
21.  ความคิดเห็น ความคาดหวัง และการใช้ประโยชน์ต่อการเรียนในหลักสูตร วิทยาศาสตร์การกีฬาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก STUDY OF THE ATTITUDES EXPECTATIONS AND UTILIZATION IN LEARNING A SPORT SCIENCE PROGRAM OF UNDERGRADUATE STUDENTS
Author : มนบดี รินอินทร์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็น ความคาดหวัง และการใช้ประโยชน์ต่อ การเรียนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วย t-test และ F-test (one-way ANOVA) พบว่า 1. ความคิดเห็นต่อการเรียนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก พบว่าด้านหลักสูตร อยู่ในระดับมาก ด้านเนื้อหารายวิชา อยู่ในระดับมาก ด้านกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด 2. ความคาดหวังต่อการเรียนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก พบว่าด้านหลักสูตร อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านเนื้อหารายวิชา อยู่ในระดับ มากที่สุด ด้านกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านเทคนิคการสอน อยู่ในระดับ มากที่สุด และด้านอาชีพและการศึกษาต่อ อยู่ในระดับมากที่สุด 3. การใช้ประโยชน์ต่อการเรียนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬาของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการใช้ประโยชน์ในการเรียนหลักสูตร วิทยาศาสตร์การกีฬา อยู่ในระดับมากที่สุด คำสำคัญ: หลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา, นักศึกษาระดับปริญญาตรี, การใช้ประโยชน์ในการเรียน
34
22.  การคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ ตามกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ THE LEGAL PROBLEMS AND OBSTACLES OF ELDERLY RIGHTS AND PROTECTION THROUGH NATIONAL HEALTHCARE FUNDING PROGRAM
Author : สุภกฤช อรรคเลิศลาภ
Abstract
งานวิจัยเรื่อง ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ ตามกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ ศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค เปรียบเทียบการคุ้มครองสิทธิ และการจัดสวัสดิการให้กับผู้สูงอายุของประเทศญี่ปุ่นและราชอาณาจักรสวีเดน พบว่าผู้สูงอายุของ ประเทศไทย พระราชบัญญัติผู้สูงอายุแห่งชาติไม่สามารถเข้าถึงบริการที่ภาครัฐจัดให้ การให้บริการ ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึงและมีความไม่เท่าเทียม ในส่วนของการขับเคลื่อนนโยบายไปปฏิบัติยังไม่ถูกต้อง ไม่เป็นไปตามระเบียบที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้นภาครัฐควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจให้ผู้สูงอายุได้ทราบถึงการใช้สิทธิและการเข้าถึงบริการของรัฐตามกฎหมายได้ พัฒนาการ ให้บริการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยรัฐควรจัดให้มีศูนย์สุขภาพและ โรงพยาบาลประจำเขตเทศบาลกระจายอยู่ทั่วประเทศ ควรปรับระบบบริการสุขภาพให้ทันกับการ เปลี่ยนแปลงของสังคม และควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการสังคม การสร้างมาตรการ ในการออมเงินสำหรับประชาชนวัยทำงาน โดยครอบคลุมไปถึงผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระด้วย เพื่อ เตรียมตัวสร้างหลักประกันไว้ใช้ในยามเกษียณ และควรให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเปิดโอกาสให้ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในการพัฒนางานผู้สูงอายุได้อย่างยั่งยืน ในส่วนของการ ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามนโยบายการจัดสวัสดิการตามกองทุนที่ผู้สูงอายุควรจะได้ ควรปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรม สามารถตรวจสอบผลการดำเนินงานได้จริง และควรจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมในการ พัฒนาเจ้าหน้าที่ที่ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่บ้านและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และที่สำคัญที่สุดภาครัฐ ควรเปิดโอกาสให้บุคคลที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายเพื่อวางแผนในการพัฒนาสวัสดิการ สำหรับการดูแลผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน คำสำคัญ: การคุ้มครองสิทธิ, ผู้สูงอายุ, กองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ
59
23.  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก สำหรับเด็กดาวน์ซินโดรม ศูนย์การศึกษาพิเศษมหาจักรีสิรินธร ประจำจังหวัดนครนายก SELF-LEARNING PACKAGE IN FINE MOTOR DEVELOPMENT FOR DOWN SYNDROME CHILDREN IN MAHA CHAKRI SIRINDHORN SPECIAL EDUCATION CENTER, NAKHON NAYOK
Author : ณัฐณิชา ภูมิรัตนไพศาล
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการ พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กดาวน์ซินโดรม 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กดาวน์ซินโดรม ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองฯ และ 3) เพื่อหาความพึงพอใจของเด็กดาวน์ซินโดรมที่ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองฯ ประชากรที่ใช้ ในการวิจัยเป็นเด็กดาวน์ซินโดรม ศูนย์การศึกษาพิเศษมหาจักรีสิรินธรประจำจังหวัดนครนายก ปีการศึกษา 2559 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยตนเองด้านการพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก แบบวัดทักษะความสามารถด้านการใช้กล้ามเนื้อ มัดเล็กก่อนเรียนและหลังเรียน แบบสังเกตความพึงพอใจของเด็กดาวน์ซินโดรมที่มีต่อชุดกิจกรรม การเรียนรู้ด้วยตนเองฯ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ (t-test for dependent sample) พบว่า 1) ชุด กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กสำหรับเด็กดาวน์ซินโดรม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.78/76.51 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 68.86 ส่วนเบี่ยงมาตรฐานเท่ากับ 2.73 สูงกว่าก่อนเรียนที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 55.14 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.72 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของเด็กดาวน์ซินโดรมที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านการพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.57 คำสำคัญ: ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง, เด็กดาวน์ซินโดรม, การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
4
24.  TRAINING AND MANAGEMENT DEVELOPMENT OF MNES ON IHRM PRACTICES
Author : Thitiya Klobsanthia*, Saichon Pinmanee**
Abstract
ABSTRACT Currently, training and management development is a key significant management skill for Multinational Enterprises (MNEs) to succeed in the global competition. MNEs need to train expatriates and their spouses effectively in host-country nationals (HCN) and third-country nationals (TCNs) and develop the international human resource management (IHRM) team. The quality of training programs concern employees to help the expatriate’s operational performance to achieve MNEs’ goals. Coaches, executives and organisations should enable to understand the international training and development clearly. Thus, this paper is a literature review is to study the international training and development in MNEs. It reveals the training and development on IHRM practices in countries. The findings of this paper represent the countries that provide international training and management development effective. In addition, there are some recommendations for trainers, MNE’s human resource manager to prepare the higher quality of training programs in the last section. Keywords: Training, International human resource management, Multinational enterprises, international management development
32