please wait loading...
Untitled Document
 
 ปีที่ 14 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนเมษายน-เดือนมิถุนายน 2561 ISSN 1686-5715 อ่าน
1.  ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการกระทำทางปกครอง: กรณีศึกษากฎหมาย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และกฎหมายข้อมูล ข่าวสารของราชการ
Author : รองศาสตราจารย์ สิทธิกร ศักดิ์แสง
Abstract
ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการกระทำทางปกครองของฝ่าย ปกครองโดยองค์กรภายในฝ่ายปกครองที่เป็น “การควบคุมการกระทำทางปกครองแบบแก้ไข” คือ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 จะพบว่าเป็น กฎหมายที่สนับสนุนเกี่ยวพันกับการควบคุมการกระทำทางปกครองของฝ่ายปกครอง ส่งเสริมการ ควบคุมตรวจสอบภายในฝ่ายปกครอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเยียวยาผลกระทบที่เกิดแก่ “คู่กรณี” จึงเป็น กระบวนการที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นวิธีการแก้ไขความเดือดร้อนหรือความเสียหาย ของคู่กรณีได้รวดเร็วกว่ากระบวนการทางศาล และแบ่งเบาภาระในการพิจารณาของศาล ช่วยกลั่นกรอง ข้อพิพาทและจำนวนคดีที่จะขึ้นสู่ศาล เนื่องจากข้อพิพาทอาจระงับลงภายในฝ่ายปกครองได้ไม่จำเป็น ต้องฟ้องต่อศาล ประหยัดเวลาและงบประมาณของรัฐในการดำเนินการให้ความยุติธรรมแก่ประชาชน คำสำคัญ: เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง, การกระทำทางทางปกครองในระบบบริการสาธารณะ, การควบคุม ตรวจสอบการกระทำทางปกครองในระบบบริการสาธารณะ, พระราชบัญญัติว่าด้วย ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่, พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ
28
2.  แนวทางในการเตรียมความพร้อมของตำรวจในการอำนวยความยุติธรรมทางอาญา ด้านการป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรม เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Author : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อุนิษา เลิศโตมรสกุล
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการอำนวย ความยุติธรรมด้านการป้องกันและปราบปราบอาชญากรรม เพื่อสร้างความร่วมมือกับประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน โดยศึกษาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีความรู้ความเข้าใจ มีความสามารถ มีประสบการณ์ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยตรงในงาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตการณ์ การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการเตรียมความพร้อมในแง่ของการมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันและปราบปราบอาชญากรรมดีพอสมควร โดยกำหนดไว้ในรูปของ ยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แผนปฏิบัติราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเฉพาะปีงบประมาณ 2559 มีการกำหนดเป็นกลยุทธ์ แนวทางในการ ดำเนินการ แผนงาน โครงการและกิจกรรม รวมทั้งคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดังนี้ 1. การนำหลักการตาํ รวจชุมชน (community policing) มาใชใ้ นการปอ้ งกันและปราบปราม อาชญากรรมในชุมชน โดยเฉพาะชุมชนของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร 2. การเสริมสร้างศีลธรรมและจริยธรรมหรืออุดมคติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรม ให้ยึดมั่นในหลักมาตรฐานสากล 3. การเสริมสร้างความเต็มใจในการปฏิบัติงาน โดยพยายามสร้างระบบการแต่งตั้ง โยกย้าย การเลื่อนขั้น ปรับเงินเดือน การให้ความดีความชอบ การให้รางวัลตอบแทนต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฝ่ายป้องกันและปราบปรามให้มีความถูกต้องชอบธรรม เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ ผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจยังมีการเตรียมความพร้อมในลักษณะของ การมีความรู้ความเข้าใจ (ความสามารถและทักษะ) ในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม เป็นอย่างดี อย่างไรก็ดี ผู้ทรงคุณวุฒิต่าง ๆ ยังเห็นว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจควรที่จะศึกษาอบรมเพิ่มเติม ในสาขาวิชาที่สำคัญอื่น ๆ อีก เช่น หลักสิทธิมนุษยชน จริยธรรมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตำรวจกับระบอบ ประชาธิปไตย สังคมและวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน หลักอาชญาวิทยาหรือธรรมชาติ อาชญากรรม บุคลิกภาพกับอาชญากรรม (จิตวิทยา) การป้องกันอาชญากรรม (ร่วมสมัย) ให้มีความรู้ ความสามารถที่แข็งแกร่งและดีขึ้นเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คำสำคัญ: ตำรวจไทย, การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม, ประชาคมอาเซียน
13
3.  ระบอบการเมือง ปัจจัยเศรษฐกิจ และการกำหนดนโยบายการเกษตรในประเทศมาเลเซียและไทย
Author : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์
Abstract
นโยบายการเกษตรในมาเลเซียและไทยเปลี่ยนแปลงมาเป็นระยะเวลาหลายทศวรรษท่ามกลาง การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อการกำหนดนโยบายการเกษตรในประเทศมาเลเซียและไทย สมมติฐานในบทความนี้คือ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจนำไปสู่การลดลงของการจัดเก็บภาษีในภาคการเกษตร ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของไทยมีแนวโน้มลดการจัดเก็บภาษีในภาค การเกษตร แต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในมาเลเซียมีแนวโน้มจะจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น ปัจจัยทาง เศรษฐกิจ เช่น อัตราเงินเฟ้อ มีผลกระทบไม่มาก ชี้ให้เห็นว่าการออกแบบทางการเมืองมีผลต่อการ กำหนดนโยบายสาธารณะในระยะยาว คำสำคัญ: ระบอบการเมือง, นโยบายการเกษตร, การกำหนดนโยบาย, มาเลเซีย, ไทย
4
4.  AN EXTENSION OF THE TECHNOLOGY ACCEPTANCE MODEL FOR BUSINESS PERFORMANCE MANAGEMENT (BPM) DESIGN AND IMPLEMENTATION ENVIRONMENT: CONDUCTING IN-DEPTH INTERVIEWS FOR QUALITATIVE ANALYSIS
Author : Asst. Prof. Dr.Settachai Chaisanit
Abstract
This paper presents an extension to the Technology Acceptance Model (TAM) and empirically examines it in Business Performance Management (BPM) implementation environment. Although, BPM has been recognised as having an important role in the effective management of organisations, it has been identified that developing IT support for BPM systems can be difficult. Organisations need a clear idea of the characteristics of BPM and a clear guidelines on how to bring IT support to effective BPM. Using data gathered from the implementation of a BPM system, we showed that both management and project communication influence the shared beliefs that users form about the benefits of the technology and that the shared beliefs influence the perceived usefulness and ease of use of the technology. Thus, empirical and theoretical support for the use of managerial interventions, such as management and communication, was provided to influence the acceptance of technology, since perceived usefulness and ease of use contribute to behavioural intention to use the technology. This paper demonstrates the use of technology acceptance model as a qualitative analysis based on the concept of evolutionary development, data quality, and data warehousing. The feasibility and effectiveness of BPM was evaluated in two participatory case studies at large companies. Keywords: technology acceptance model, business performance management, in-depth interviews, qualitative analysis, evolutionary development approach, business intelligence platform.
20
5.  การพัฒนากระบวนการแต่งเพลงติดหูสำหรับงานโฆษณา
Author : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธันยวิช วิเชียรพันธ์
Abstract
การวิจัยนี้เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะของเพลงติดหูที่เหมาะกับงานโฆษณาในสองด้านคือ ด้าน เนื้อร้องและทำนอง เพื่อพัฒนาแนวทางในการแต่งเพลงโฆษณาที่มีความสามารถแทรกซึมเข้าสู่สมอง ในส่วนความทรงจำได้ง่ายและสามารถอยู่ในความทรงจำได้ โดยรวบรวมเพลงโฆษณาใน Youtube ที่มียอดผู้ชมเกิน 100,000 Views จำนวน 200 เพลง นำไปใช้เก็บข้อมูลแบบบังเอิญ (accidental) เพื่อคัดเลือกเพลงโฆษณาที่กลุ่มตัวอย่าง 300 คน มีความรู้สึกว่าจดจำได้สูงสุด 100 เพลง จากนั้น นัดประชาชน 150 คน มาประชุมร่วมกันแล้วเปิดเพลงโฆษณาให้ฟัง เพื่อเก็บข้อมูลเพลงโฆษณาสินค้า ที่ประชาชนจำได้สูงสุด 20 อันดับ มาวิเคราะห์ตามกรอบการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วย Software ชื่อ PRAAT และ Sound Visualizer ว่าเพลงโฆษณานั้น ๆ ส่วนใหญ่มีองค์ประกอบเป็นรูปแบบ และทิศทางใด จากนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการแต่งเพลงโฆษณา 20 คน ตรวจสอบกระบวนการ แต่งเพลงติดหู สรุปได้ว่า กระบวนการการแต่งเพลงติดหูต้องมีทำนองใกล้เคียงกับเพลงที่ผู้คนคุ้นเคย ทิศทางของทำนองคงที่ ทำนองไม่กระโดดขึ้นสูงหรือลงตํ่ามากเกินไป ความยาวไม่ควรเกิน 40 วินาที ควรเป็นการขับร้องประกอบดนตรีประเภทวง มีการร้องเสียงประสานบ้าง ใช้ความเร็วปานกลาง 120 - 130 จังหวะต่อ 1 นาที ควรใช้เนื้อร้องที่มีจำนวนคำสั้น น่าสนใจ มีความคล้องจอง การร้อง ใช้เทคนิคซีเควนซ์ มีโน้ตอยู่ระหว่าง 6 - 10 ตัว ไม่ควรตํ่ากว่าโน้ตมี (E) สูงสุดไม่เกินโน้ตลา (A) ในช่วงก่อนเริ่มเพลงควรใช้เสียง Effect ที่มีความรื่นหู หรือกระตุ้นเร้าให้สนใจ หลังจากนั้น จึงแต่งเพลงติดหูต้นแบบตามผลที่ได้จากการศึกษา แล้วให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 20 คนตรวจสอบ จากนั้น จึงทดสอบคุณภาพกระบวนการแต่งเพลงโฆษณาเพลงติดหูโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 80 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้ฟังเพลงเนื้อเพลงต้นแบบที่แต่งขึ้น ด้วยการเปิดเพลงต้นแบบให้ฟัง และกลุ่มควบคุมจะได้ฟังเนื้อเพลงต้นแบบด้วยการฟังจากการอ่านปกติ ทดสอบด้วยการเปิดเพลง/อ่าน แล้วให้กลุ่มตัวอย่างเขียนเนื้อความที่ได้ยินทั้งหมด 3 ครั้ง แบ่งออกเป็นการทดสอบครั้งที่ 1 หลังจากได้ยินเนื้อความ 5 นาที การทดสอบครั้งที่ 2 หลังจากได้ยินเนื้อความ 24 ชั่วโมง และการทดสอบครั้งที่ 3 หลังจากได้ยินเนื้อความ 72 ชั่วโมง พบว่ากลุ่มทดลองที่ฟัง เนื้อความด้วยการฟังเพลง ได้คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบครั้งที่ 1 เท่ากับ 20.46 คะแนน ครั้งที่ 2 เท่ากับ 20.21 คะแนน และครั้งที่ 3 เท่ากับ 15.21 คะแนน สรุปแล้วกลุ่มทดลองได้คะแนนเฉลี่ย รวม 18.62 คะแนน ส่วนกลุ่มควบคุมที่ฟังเนื้อความจากการอ่านเนื้อเพลง ได้คะแนนเฉลี่ยจากการ ทดสอบครั้งที่ 1 เท่ากับ 20.04 ครั้งที่ 2 เท่ากับ 14.94 คะแนน และครั้งที่ 3 เท่ากับ 11.6 คะแนน สรุปแล้วกลุ่มควบคุมได้คะแนนเฉลี่ยรวม 15.53 คะแนน เมื่อนำคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบ แต่ละครั้งของทั้ง 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ได้ยินเนื้อความจากการฟังเพลงกับกลุ่มที่ได้ยินจากการอ่าน มาวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับการคงอยู่ของข้อมูลในแต่ละระยะหลังได้ฟังเนื้อความด้วยการ ทดสอบ Mann-Whitney U-test พบว่ากลุ่มทดลองมีระดับการคงอยู่ของข้อมูลในแต่ละระยะหลัง การได้ฟังเนื้อความมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การทดสอบในระยะสุดท้าย เป็นการวัดระดับการยอมรับแบรนด์หลังการฟังเพลงโฆษณา ติดหูกับกลุ่มทดลองที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มตามสภาพจริงที่มีความหลากหลาย โดยนำเพลงไปเปิด ให้กลุ่มตัวอย่าง 100 คน ในสถานประกอบการฟัง แล้ววัดระดับการยอมรับแบรนด์ของกลุ่มตัวอย่าง หลังการฟังเพลงตั้งแต่ครั้งแรกเทียบกับคะแนนการยอมรับแบรนด์ โดยใช้ Wilcoxon Signed Rank ที่วัดเทียบเป็นระยะ ตั้งแต่ก่อนฟังกับหลังฟังแต่ละครั้ง พบว่าคะแนนการยอมรับแบรนด์เพิ่มขึ้นตั้งแต่ ฟังครั้งแรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อวัดระดับการยอมรับแบรนด์กับกลุ่มตัวอย่าง ในแต่ละครั้งในช่วง 3 สัปดาห์ (ครั้งที่ 2 - 13) ที่เปิดเพลงติดหูให้กลุ่มตัวอย่างฟังอย่างต่อเนื่อง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการยอมรับแบรนด์สูงขึ้นเมื่อเทียบกับคะแนนครั้งก่อนหน้า อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 เกือบทุกครั้ง ยกเว้นการวัดระดับในครั้งที่ 4 และครั้งที่ 13 ที่คะแนนการยอมรับ แบรนด์ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการทดสอบการเปิดเพลง ติดหูไปแล้ว 3 สัปดาห์ หรือ 12 ครั้ง ผู้วิจัยวัดระดับการยอมรับแบรนด์ต่ออีก 3 ครั้ง (ครั้งที่ 14 - 16) ในสัปดาห์สุดท้าย เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระดับการยอมรับแบรนด์หลังจากไม่ได้ฟังเพลง ติดหูแล้วเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ พบว่าระดับคะแนนการยอมรับแบรนด์ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หมายความว่า คะแนนที่ลดลงเพียงเล็กน้อยมีความใกล้เคียงกับ ระดับคะแนนที่คงที่นั่นเอง คำสำคัญ: เพลงติดหู, เพลงโฆษณา, การยอมรับแบรนด์, การคงอยู่ของเนื้อความ
22
6.  ความได้เปรียบของคนไทยในการเรียนภาษาจีน
Author : ศิริลาภ เหลืองเจริญลาภ
Abstract
นักภาษาศาสตร์หลายคนให้ความเห็นว่า ภาษาไทยจัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต (Sino- Tibetan) เพราะมีการผันเสียง (tones) คล้ายกับภาษาจีนที่ใช้ทางตอนใต้ของประเทศจีน และ ทั้งสองภาษาต่างก็มีกฎเกณฑ์สมบูรณ์ในหลักภาษาของตนเอง เนื่องจากทั้งสองภาษาอยู่ในตระกูลภาษา เดยี วกนั จึงมีกฎเกณฑใ์ นการใชภ้ าษาบางอยา่ งทีค่ ลา้ ยคลงึ เชน่ พยญั ชนะ สระ วรรณยุกต ์ ลกั ษณะนาม คำพ้องรูป คำพ้องเสียง อีกทั้งภาษาไทยและภาษาจีนต่างก็ไม่มีการเปลี่ยนรูปของคำเหมือนกับ กลุ่มตระกูลภาษาอื่น ๆ จากข้อมูลเหล่านี้ทำให้คนไทยค่อนข้างได้เปรียบต่างชาติซึ่งมีภาษาแม่เป็น ภาษาตระกูลอื่นในการเรียนภาษาจีนทั้งด้านไวยากรณ์และการออกเสียง คำสำคัญ: ภาษาไทย, ภาษาจีน, ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
9
7.  NEGOTIATING MY IDENTITIES AS A SECOND LANGUAGE STUDENT AND TEACHER
Author : Chonthita Phuwarat
Abstract
The purpose of this article is to review studies of second language writers’ identity. It mainly about how and what second language writers choose to write about stems from who they are culturally. The findings of research studies on relationship between language and identity will be presented, including discussion on new identity formation and second language identity as a resource in writing. Keywords: second language writing, writer’s identity, negotiating identity.
8
8.  การสื่อสารกับการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีสำหรับการท่องเที่ยว ในกรุงเทพมหานคร
Author : วิชัย เปรมมณีสกุล
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการสื่อสารโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้สำหรับเส้นทาง การท่องเที่ยว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ร่วมกับการวิจัยแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ ขอ้ มูลเชิงปริมาณดว้ ยสถิติพรรณนา และวิเคราะหข์ อ้ มูลเชิงคุณภาพดว้ ยการวิเคราะหข์ อ้ มูลเชิงเนื้อหา จากการวิจัยพบว่า สาเหตุที่ทำให้การสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวผ่านการใช้เทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์มือถือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้รับความนิยมมากกว่าการสื่อสารผ่านสิ่งพิมพ์ เพราะความ เจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีการใช้อินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากขึ้นทุกวัน มีการ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่ออำนวยความสะดวกสบายในการค้นหาสถานที่ท่องเที่ยว การจองที่พัก ในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ จึงทำให้วิถีชีวิตในการรับสื่อจากสิ่งพิมพ์ วิทยุ จากการคมนาคม ในสมัยโบราณค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนมาเป็นการรับรู้ รับฟัง โดยใช้การสื่อสารผ่านเทคโนโลยีเฉกเช่น ทุกวันนี้ การสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวผ่านสิ่งพิมพ์ในอดีตได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และความ นิยมได้ลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2543 ก็เริ่มมีการพัฒนาปรับปรุงการสื่อสารให้ผ่านทาง เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต และอื่น ๆ เพื่อให้ทุกคนทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างกว้างขวาง ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การนำเทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยในการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยวได้รับความ นิยม สะดวกสบาย รวดเร็วทันใจ มากกว่าการใช้สิ่งพิมพ์มาเป็นตัวช่วยในการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งการใช้สิ่งพิมพ์ทำให้เกิดความล่าช้า ไม่มีภาพ ไม่มีเสียง การติดต่อสื่อสารต่าง ๆ ก็ล่าช้าอีกด้วย คำสำคัญ: การสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีหรือสิ่งพิมพ์, การท่องเที่ยว
40
9.  รูปแบบการจำแนกกลุ่มข้อความภาษาไทยแบบอัตโนมัติ โดยใช้การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ด้วยเทคนิค Unsupervised Learning ร่วมกับการประมวลผล ภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing)
Author : นงเยาว์ สอนจะโปะ
Abstract
แหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตล้วนเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้งานทาง ด้านธุรกิจ การได้มาซึ่งข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงจะต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล ทางสถิติและนำอัลกอริทึมเข้ามาช่วย ผ่านการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นเครื่องมือ ในการค้นพบองค์ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในแหล่งข้อมูล การประมวลผลข้อความภาษาไทยจะมีความยุ่งยาก กว่าภาษาอังกฤษ เพราะโครงสร้างประโยคและไวยากรณ์มีความซับซ้อนมากกว่า บทความนี้นำเสนอ รูปแบบการจำแนกกลุ่มข้อความภาษาไทยแบบอัตโนมัติ โดยใช้การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) ด้วยเทคนิค Unsupervised Learning ร่วมกับการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing) โดยรูปแบบดังกล่าวผ่านการสังเคราะห์และพัฒนากระบวนการทำงานแบ่งออก เป็น 3 มอดูล (modules) คือ 1) มอดูลการประมวลผลภาษาธรรมชาติ เป็นการวิเคราะห์โครงสร้าง ข้อความภาษาไทยให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถนำไปประมวลได้ถูกต้อง 2) มอดูล การเรียนรู้ของเครื่องแบบไม่มีผู้สอน เป็นโมเดลการเรียนรู้สำหรับการจำแนกกลุ่มข้อความภาษาไทย ให้เป็นไปอย่างอัตโนมัติ และ 3) มอดูลเหมืองความรู้ คือแหล่งจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล การเรียนรู้ของเครื่องแบบไม่มีผู้สอนในมอดูลที่ 2 ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในเหมืองความรู้จัดว่าเป็นแหล่ง ขุมทรัพย์ที่มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้งานทางด้านธุรกิจ และด้านอื่น ๆ เพราะเป็นแหล่งข้อมูลที่ถูก รวบรวมมาจากทุกช่องทางบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คำสำคัญ: การจำแนกกลุ่มข้อความภาษาไทยแบบอัตโนมัติ, การประมวลผลภาษาธรรมชาติ, การเรียนรู้ของเครื่อง, การเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอน
7
10.  การร่วมการงาน
Author : สถาพร เพชรประดับ
Abstract
“การร่วมการงาน” หมายถึง “การงานซึ่งบุคคลหรือกิจการตั้งแต่สองหรือมากกว่าสองราย มีการควบคุมร่วมกัน” และ “การควบคุมร่วม” หมายถึง “การร่วมกันควบคุมการงานซึ่งได้ตกลงกันไว้ ในสัญญา ซึ่งการควบคุมร่วมจะมีได้ก็ต่อเมื่อการตัดสินใจใด ๆ เกี่ยวกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องจะต้อง ได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์จากผู้ที่ร่วมกันควบคุมการงานแล้วเท่านั้น” แยกการร่วมการงาน เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ การดำเนินงานร่วมกัน และการร่วมค้า การดำเนินงานร่วมกัน ในทางบัญชีไม่มีการจัดตั้งกิจการแยกต่างหาก จึงไม่ต้องจัดทำบัญชีแยกต่างหาก แต่การร่วมค้าจะต้อง มีการตั้งกิจการแยกต่างหาก และทำบัญชีแยกต่างหากจากผู้ร่วมค้า ทั้งนี้เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี จะต้องจัดทำงบการเงินรวม คำสำคัญ: การร่วมการงาน, การร่วมค้า
5
11.  การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสร้างความเป็นพลเมืองดีโดยประยุกต์ใช้เทคนิคการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Author : สุดหทัย ดาราพงษ์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสร้างความเป็นพลเมืองดี โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 2) เพื่อศึกษา ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมการสร้างความเป็นพลเมืองดี โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การศึกษา ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 สร้างหลักสูตร ขั้นที่ 3 การนำหลักสูตรไปใช้ และขั้นที่ 4 การประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา จังหวัดตราด จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 51 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ แผนการฝึกอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรม แบบวัดคุณลักษณะพลเมืองดี แบบสังเกตพฤติกรรมความเป็นพลเมืองดี แบบประเมินพฤติกรรมตนเอง และแบบประเมินความพึงพอใจในการฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent sample) พบว่า 1) ได้หลักสูตรฝึกอบรมการ สร้างความเป็นพลเมืองดี โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการจัดการความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ สภาพปัญหาและความจำเป็น หลักการ จุดมุ่งหมาย หน่วยการฝึกอบรม กระบวนการฝึกอบรม สื่อการฝึกอบรม การวัดและประเมินผล ซึ่งทุกองค์ประกอบมีความสอดคล้องกัน 2) ผลการการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมหลังการฝึก อบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม และผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมหลังการฝึกอบรมสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณลักษณะพลเมืองดีหลังการฝึกอบรมสูงกว่า ก่อนการฝึกอบรม และคุณลักษณะพลเมืองดีหลังการฝึกอบรมสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าเฉลี่ยคะแนนประเมินพฤติกรรมตนเองหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม และการประเมินพฤติกรรมตนเองหลังการฝึกอบรมสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ค่าเฉลี่ยคะแนนสังเกตพฤติกรรมระหว่างการฝึกอบรมสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และนักเรียน มีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก คำสำคัญ: การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรฝึกอบรม, ความเป็นพลเมืองดี, การจัดการความรู้
26
12.  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเพื่อองค์การสู่ความเป็นเลิศที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงาน และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
Author : สุวิมล ไชยพันธ์พงษ์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ร่างรูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเพื่อ องค์การสู่ความเป็นเลิศที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเพื่อองค์การ สู่ความเป็นเลิศ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน และ 4) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานและความผูกพัน ต่อองค์กรของพนักงาน ขั้นตอนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ร่างรูปแบบจากการศึกษาเอกสารงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงตัวแปรและนิยามศัพท์ ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตรวจสอบสาม เส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล (methodological triangulation) ขั้นตอนการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ภาคส่วนกรุงเทพมหานคร จำนวน 341 คน จากจำนวน ประชากร 2,955 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ค้นพบตัวแปรอิสระ ได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ด้าน ความเป็นมืออาชีพของผู้นำ และตัวแปรตาม ได้แก่ ความพึงพอใจในงานของพนักงาน ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ 2) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง ระดับความพึงพอใจในงานของพนักงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก และระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการทดสอบ สมมติฐาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของพนักงานโดยรวม พบว่ายอมรับสมมติฐาน ซึ่งตัวแปรอิสระ 5 ตัว มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานของพนักงาน โดยรวมในระดับค่อนข้างสูง สามารถอธิบายความผันแปรของระดับความพึงพอใจในงานของพนักงาน โดยรวมได้ 51.2% และ 4) ผลการทดสอบสมมติฐาน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารส่งผล ต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโดยรวม พบว่ายอมรับสมมติฐาน ซึ่งตัวแปรอิสระ 5 ตัว มีความ สัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโดยรวมในระดับค่อนข้างสูง โดยตัวแปรทั้ง 5 ตัว สามารถ อธิบายความผันแปรของระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโดยรวมได้ 36.1% คำสำคัญ: ภาวะผู้นำ, ผู้บริหาร, ความเป็นเลิศ, ความพึงพอใจในงาน, ความผูกพันต่อองค์กร, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
26
13.  รูปแบบการพัฒนาการบริหารสมาคมฟุตบอลจังหวัดชลบุรีสู่ความเป็นเลิศ
Author : สุรีวงษ์ นามวงษ์
Abstract
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และตรวจสอบความเหมาะสมและ ความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารสมาคมฟุตบอลจังหวัดชลบุรีสู่ความเป็นเลิศ กลุ่มตัวอย่างมี 3 กลุ่ม คือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการบริหารในสมาคมฟุตบอลจังหวัดชลบุรี ผู้ฝึกสอน และบุคลากรทางด้านการ กีฬา รวม 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ เครื่องมือมีค่าอำนาจ จำแนก .54 ถึง .88 ครอบคลุม 10 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านระบบโครงสร้างองค์กรกีฬา ด้านระบบ การบริหารจัดการ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก ทางการกีฬา ด้านการกีฬานักกีฬา ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ด้านการพัฒนาระบบการแข่งขัน ด้านกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา ด้านความร่วมมือระหว่างองค์กรกีฬา และการสนับสนุน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า 1. องค์ประกอบ 10 องค์ประกอบ รวม 45 ตัวแปร มีค่านํ้าหนักอยู่ระหว่าง .54-.85 และมีค่า Chi – square = 197.075, p = 1.000, df = 440, GFI = .958, AGFI = .901, CFI = 1.000, SRMR = .032, RMEA = .000 และทุกตัวแปรมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผลการสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาการบริหารสมาคมฟุตบอลจังหวัดชลบุรีสู่ความเป็นเลิศ จากการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 6 คน ได้พิจารณาข้อมูลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบ มีความเห็น และยอมรับครอบคลุมในองค์ประกอบทั้ง 10 องค์ประกอบ รวม 20 ตัวแปร จากเดิมที่มี 45 ตัวแปร 3. ผลจากการนำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยใช้ แบบสอบถามกับผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการบริหารในสมาคมฟุตบอลจังหวัดชลบุรี ผู้ฝึกสอน และ บุคลากรทางด้านการกีฬา พบว่ายอมรับในรูปแบบการพัฒนาการบริหารสมาคมฟุตบอลจังหวัดชลบุรี สู่ความเป็นเลิศ คำสำคัญ: การบริหารจัดการองค์กร, สมาคมฟุตบอลจังหวัดชลบุรี
11
14.  การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
Author : หนูไกร มาเชค
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาและวิเคราะห์ ข้อมูลพื้นฐาน 2) การพัฒนาหลักสูตร 3) การทดลองใช้หลักสูตร และ 4) การประเมินผล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ที่คัดเลือก แบบเจาะจง ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณด้วยโปรแกรม G*Power 3.1.9.2 จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มตัวอย่างต้องใช้หลักสูตรฝึกอบรมซึ่งเป็นการ ศึกษาด้วยตนเองจากคู่มือและเว็บไซต์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น การทดลองใช้เทคนิค Quasi-equivalent Control Group Design สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Samples t-test และ Paired Samples t-test มีการทดสอบและวัดความรู้ เจตคติ และพฤติกรรม ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม ซึ่งแบบวัดทั้งสามเป็นชุดเดียวกันกับการประเมินผลก่อนการทดลอง พบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในผู้บริหารสถานศึกษา ควรมี 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ความไว้วางใจ 2) ความรับผิดชอบ 3) ความเคารพ 4) ความเป็นพลเมืองดี และ 5) ความยุติธรรม 2. ก่อนการฝึกอบรม ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความรู้ความเข้าใจ เจตคติ และ พฤติกรรมภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในผู้บริหารสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน 3. ผลก่อนและหลังการฝึกอบรมของกลุ่มทดลอง พบว่าค่าเฉลี่ยรวมด้านความรู้ความเข้าใจ เจตคติ และพฤติกรรมภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในผู้บริหารสถานศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยรวมหลังการ ฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผลก่อนและหลังการฝึกอบรมของกลุ่มควบคุม พบว่าค่าเฉลี่ยรวมด้านความรู้ความเข้าใจ และเจตคติ มีเพียงด้านความเป็นพลเมืองดีเท่านั้นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกเหนือจากนั้นไม่แตกต่างกัน 5. หลังการฝึกอบรมของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าค่าเฉลี่ยรวมด้านความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ และพฤติกรรมภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในผู้บริหารสถานศึกษาของกลุ่มทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม, การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม, สำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน
21
15.  กลยุทธ์การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของ นักเรียนมัธยมศึกษา
Author : ยุพยง วุ้นวงษ์
Abstract
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษา 2) สรา้ งกลยุทธก์ ารบริหารกิจกรรมพัฒนาผเู้ รียนเพื่อเสริมสรา้ งทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของนักเรียน มัธยมศึกษา และ 3) ประเมินกลยุทธ์การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและ ทักษะอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ศึกษาทักษะ ชีวิตและทักษะอาชีพของนักเรียน โดยศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน สอบถาม นักเรียน 75 คน ครู 14 คน และผู้ปกครอง 71 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ตอนที่ 2 สร้างกลยุทธ์ โดยจัดสนทนากลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ 9 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ตอนที่ 3 ประเมินกลยุทธ์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย การทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว พบว่า 1. ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษา มี 10 ทักษะ ได้แก่ การตัดสินใจและ แก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ การรู้จัก ตนเองและการเข้าใจผู้อื่น การควบคุมอารมณ์และการเอาชนะความกดดัน ความยืดหยุ่นและความ สามารถในการปรับตัว การริเริ่มและการชี้นำตนเอง ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม การมี ผลงานและความรับผิดชอบ ภาวะผู้นำและหน้าที่รับผิดชอบ โดยทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหา กับการริเริ่มและการชี้นำตนเอง มีความสัมพันธ์กันมากที่สุด 2. กลยุทธ์ มี 3 กลยุทธ์หลักคือ 1) การเสริมสร้างความตระหนัก การพัฒนาทักษะการ ตัดสินใจและแก้ปัญหา ทักษะการริเริ่มและการชี้นำตนเองของนักเรียน 2) การเสริมสร้างและพัฒนาการ ยอมรับความเข้าใจในการพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของนักเรียน และ 3) การพัฒนาพฤติกรรม การพัฒนาการตัดสินใจและแก้ปัญหา การริเริ่มและการชี้นำตนเองของนักเรียน 3. กลยุทธ์มีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีประโยชน์อยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ: กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, ทักษะชีวิต, ทักษะอาชีพ, นักเรียนมัธยมศึกษา
28
16.  การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
Author : ชลิดา ศรีสร้อย
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรม การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ที่พัฒนาขึ้น กับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อประมาณค่าผลกระทบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อพฤติกรรมการใช้ อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็น นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี จำนวน 300 คน ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง แบบง่าย (sample random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้น ตามกรอบทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน จำนวน 5 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐานและการ วิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ พบว่าโมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อ การเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัวแปร ได้แก่ เจตคติที่มีต่อพฤติกรรม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุม พฤติกรรม เจตนาเชิงพฤติกรรม และพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ มีความสอดคล้อง กับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากผลการตรวจสอบค่าไค-สแควร์มีค่าเท่ากับ 43.074 ค่า df เท่ากับ 30 ค่า p-value เท่ากับ 0.577 ค่า GFI เท่ากับ 0.981 ค่า AGFI เท่ากับ 0.925 ค่า CFI เท่ากับ 0.998 ค่า SRMR เท่ากับ 0.025 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ เท่ากับ 0.361 แสดงว่า ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรม การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ได้ร้อยละ 36.10 โดยตัวแปรเจตนาเชิงพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อการเรียนรู้ส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ ตัวแปรเจตคติที่มีต่อ พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อการเรียนรู้โดยส่งผ่านตัวแปรเจตนาเชิงพฤติกรรม ตัวแปรการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงไม่มีอิทธิพล ทางอ้อมต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ และตัวแปรการรับรู้ความสามารถในการ ควบคุมพฤติกรรมมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ โดยส่งผ่านตัวแปรเจตนาเชิงพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ คำสำคัญ: โมเดลเชิงสาเหตุ, พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้, มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
27
17.  ปัจจัยด้านการบริการที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคล
Author : เมวดี สวัสดิ์เรียวกุล
Abstract
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้จัดจำหน่าย อุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคล 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์ นิรภัยส่วนบุคคล จำแนกตามลักษณะของธุรกิจ และ 3) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านการ บริการที่มีต่อคุณภาพความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง เป็นพนักงานฝ่ายจัดซื้ออุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคล จำนวน 367 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเลือกเก็บแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐาน จะใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์สมการเส้นถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์นิรภัยส่วน บุคคลโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X = 4.16, SD = 0.38) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อกับ ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคล จำแนกตามลักษณะของธุรกิจ มีความแตกต่างเฉพาะด้านเขต พื้นที่ตั้ง รูปแบบธุรกิจ และยอดการสั่งซื้อต่อเดือน 3) ปัจจัยด้านการบริการมีความสัมพันธ์กับผู้ซื้อ และผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคล ได้แก่ ด้านความถูกต้องครบถ้วนของบริการ ด้านความ น่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ ด้านการดูแลเอาใจใส่ และด้านความรวดเร็วในการให้บริการ คำสำคัญ: ปัจจัยการบริการ, รูปแบบความสัมพันธ์, อุปกรณ์นิรภัย
13
18.  ผลของการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของ นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา
Author : ศุภมาส หวานสนิท
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อความ สามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2558 จำนวน 16 คน คัดเลือกจากนิสิตที่มีคะแนนความสามารถ ในการแก้ปัญหาตํ่ากว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 ลงมา สุ่มกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลอง 8 คน และกลุ่ม ควบคุม 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา และ โปรแกรมการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎี เน้นทางออกระยะสั้น จำนวน 6 ครั้ง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที วัดผลความสามารถในการ แก้ปัญหาเป็น 3 ระยะคือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล พบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นิสิตกลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่านิสิตกลุ่มควบคุมในระยะหลัง การทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตกลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการ แก้ปัญหา ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: ความสามารถในการแก้ปัญหา, การปรึกษากลุ่มทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้น, มหาวิทยาลัยบูรพา
9
19.  การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าของผลิตภัณฑ์ประเภทกระจก
Author : ปรีชาชัย มาลาวิบูลย์
Abstract
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ 1) เพื่อจัดกลุ่มความสำคัญของสินค้าตามอัตราการขายสินค้า โดยใช้วิธีการจัดกลุ่มแบบ ABC Analysis และ 2) เพื่อจัดวางผังสินค้าให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม โดยใช้รูปแบบทางคณิตศาสตร์ของการโปรแกรมเชิงเส้นตรง ผลการวิจัยพบว่า ระยะทางที่ใช้ในการ ขนย้ายสินค้าทั้งหมดลดลง 264 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 14 ระยะเวลาที่ใช้ในการทำงานลดลงทั้งหมด 251 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 9 3) ค่าไฟที่ใช้ในการทำงานทั้งหมดลดลง 240 บาทต่อเดือน และ 4) ค่าแรงคนงานที่ทำงานแล้วไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ลดลง 15,040 บาทต่อเดือน คำสำคัญ: ผลิตภัณฑ์กระจก, การเพิ่มประสิทธิภาพ, คลังสินค้า, linear programming, ABC analysis
14
20.  โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพโรงเรียนกีฬา สังกัดสถาบันการพลศึกษา ในเขตภาคกลาง
Author : อภิรัฐ งามมีฤทธิ์
Abstract
การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา ระดับสุขภาพโรงเรียนกีฬา สังกัดสถาบันการพลศึกษา ในเขตภาคกลาง 2) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพโรงเรียนกีฬา สังกัดสถาบันการพลศึกษา ในเขตภาคกลาง และ 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพโรงเรียนกีฬา สังกัดสถาบันการพลศึกษา ในเขตภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการ พนักงาน ราชการ ครูอัตราจ้าง และเจ้าหน้าที่ จำนวน 304 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 92 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ (skewness) ค่าความโด่ง (kurtosis) และตรวจสอบ ความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างตามทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรม Lisrel 8.72 พบว่า 1) สุขภาพโรงเรียนกีฬา สังกัดสถาบันการพลศึกษา ในเขตภาคกลาง โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพโรงเรียนกีฬา สังกัดสถาบัน การพลศึกษา สูงที่สุดคือ ปัจจัยบรรยากาศองค์กร มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.75 รองลงมาคือ ปัจจัยสภาพแวดล้อม มีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.16 และปัจจัยความทุ่มเทในการทำงานต่อองค์กร มีขนาด อิทธิพลเท่ากับ 0.09 ตามลำดับ 3) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพโรงเรียน กีฬา สังกัดสถาบันการพลศึกษา ในเขตภาคกลาง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ผลการทดสอบไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 91.83 ค่า p-value เท่ากับ 0.0010 ที่องศาอิสระเท่ากับ 54 ค่า χ 2/df = 1.700 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.048 ค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ตัวแปร ตาม (R 2) คือสุขภาพโรงเรียนกีฬา มีค่าเท่ากับ 0.88 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความ แปรปรวนของตัวแปรสุขภาพโรงเรียนกีฬา สังกัดสถาบันการพลศึกษา ในเขตภาคกลาง ได้ร้อยละ 88 คำสำคัญ: สุขภาพองค์กร, โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, โรงเรียนกีฬา, สถาบันการพลศึกษา
25
21.  การจัดผังพื้นที่จัดเก็บในคลังสินค้าประเภทเคมีภัณฑ์
Author : อานนท์ โกญจนาวรรณ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดผังคลังสินค้าที่เหมาะสม และเพื่อเสนอ แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า ซึ่งบริษัทกรณีศึกษามีการจัดสินค้าแบบสุ่ม คือ ไม่มีการจัดระบบช่องวางสินค้า โดยวางสินค้าตามความสะดวกของพนักงาน และไม่มีระเบียบแบบแผน การจัดหมวดหมู่สินค้า จึงทำให้เกิดปัญหาของระยะทางในการเคลื่อนย้ายสินค้าสูง ผู้วิจัยจึงหาแนวทาง ในการแก้ปัญหา โดยทฤษฎีที่นำมาใช้ในการวิจัย คือ เทคนิคการแบ่งกลุ่มสินค้าแบบ ABC Analysis ซึ่งเป็นเครื่องมือในการจัดแบ่งประเภทสินค้า และเลือกวิธีจัดเรียงแบบเคลื่อนไหวเร็ว เคลื่อนไหว ปานกลาง และเคลื่อนไหวช้า ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ ปริมาณการขายตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 - วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบกระบวนการจัดเก็บและการหยิบสินค้าแบบเดิมของบริษัทกรณีศึกษา ระยะทางในกระบวนการจัดเก็บและการหยิบสินค้ารวม 401,420 เมตร สำหรับรายการสินค้าทั้งหมด 56 รายการ เมื่อใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่มสินค้าแบบ ABC Analysis สามารถแบ่งกลุ่มสินค้าออกได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม A สินค้าที่เคลื่อนไหวเร็ว มีจำนวนสินค้า 5 รายการ คิดเป็น 55.54% กลุ่ม B สินค้า ที่เคลื่อนไหวปานกลาง มีจำนวนสินค้า 23 รายการ คิดเป็น 32.65% และกลุ่ม C สินค้าที่เคลื่อนไหว ช้า มีจำนวนสินค้า 28 รายการ คิดเป็น 11.81% หลังจากจัดผังพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า การกำหนด ตำแหน่งการวางสินค้าด้วยแนวทางการจัดเก็บสินค้าที่เคลื่อนไหวเร็วสุดไว้ใกล้ประตูทางออกมากที่สุด เพื่อสร้างความสะดวกในการทำงานสำหรับพนักงาน สามารถคำนวณระยะทางรวมในการเคลื่อนย้าย สินค้าเท่ากับ 392,480 เมตร ระยะทางในการเคลื่อนย้ายสินค้าลดลง 8,940 เมตร คำสำคัญ: คลังสินค้า, เคมีภัณฑ์, การจัดเก็บ
19