please wait loading...
Untitled Document
 
 ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนกรกฎาคม-เดือนกันยายน 2561 ISSN 1686-5715 อ่าน
1.  การออกแบบตราสินค้าและเว็บไซต์อย่างมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจ ดิจิทัลอย่างยั่งยืน
Author : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จรุงยศ อรัณยะนาค
Abstract
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (participatory action research: PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลัง ออกแบบตราสินค้าและเว็บไซต์ให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ รวมถึงการบูรณาการกระบวนการการเรียนการสอนด้วยกระบวนการวิจัย การบริการวิชาการเพื่อสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพ จากผมูี้สว่ นรว่ ม 6 กลมุ่ คือ ผเู้ ชีย่ วชาญการออกแบบ นกั วิชาการการออกแบบ นักศกึ ษา ผปู้ ระกอบการ ลูกค้า และพัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเปรียบเทียบ (paired t-test) พบว่า 1) ผู้ประกอบการมีความต้องการพัฒนาตราสินค้าและ เว็บไซต์เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์และโอกาสทางการค้า โดยจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของ ผลิตภัณฑ์คือ จุดแข็ง: มีคุณภาพดี ใช้วัตถุดิบท้องถิ่น จุดอ่อน: ไม่มีอัตลักษณ์ที่จดจำง่าย โอกาส: หน่วยงานรัฐสนับสนุน อุปสรรค: เศรษฐกิจตกตํ่า 2) ความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วมต่อการออกแบบ ตราสินค้าอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนเว็บไซต์อยู่ในระดับมาก และ 3) การบูรณาการการเรียนการสอน ด้วยกระบวนการวิจัย การบริการวิชาการเพื่อสังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทำให้นักศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงหลังการเรียนรู้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งความรู้ด้านการวิจัย การเรียนการสอน การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คำสำคัญ: ตราสินค้า, เว็บไซต์, ผลิตภัณฑ์ชุมชน, การออกแบบอย่างมีส่วนร่วม, เศรษฐกิจดิจิทัล
17
2.  ผลของการใช้การลุก-นั่ง 60 วินาที ที่มีผลต่อการพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
Author : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กรรชิต บุญสุวรรณ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้การลุก-นั่ง 60 วินาที ที่มีต่อการพัฒนา สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มประชากรเป็นนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จำนวน 200 คน ก่อนทดสอบและหลังทดสอบสมรรถภาพทางกายจะวัดระดับมาตรฐานสมรรถภาพ ทางกายของนักเรียน 5 ด้าน พบว่านักเรียนชายและหญิงมีสมรรถภาพทางกายอยู่ในเกณฑ์ดีมาก จำนวน 167 คน คิดเป็นร้อยละ 83.50 รองลงมาอยู่ในเกณฑ์ดี จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 8.50 อยู่ในเกณฑ์ตํ่า จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 4.00 และอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 3.00 ในภาพรวมนักเรียน จำนวน 184 คน คิดเป็นร้อยละ 92.00 มีสมรรถภาพ ทางกายอยู่ในระดับดีถึงดีมาก คำสำคัญ: สมรรถภาพทางกาย, สุขภาพ, นักเรียน, การลุก-นั่ง 60 วินาที, โรงเรียนสาธิตแห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
12
3.  ปัจจัยที่กำหนดความสุขจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน
Author : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประภัสสร คำสวัสดิ์
Abstract
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความไม่สมดุลกันของผลประโยชน์ระหว่างนักท่องเที่ยวกับชุมชนเจ้าของ พื้นที่ ส่งผลให้จำเป็นจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับความสุขที่ชุมชนและนักท่องเที่ยวควรจะได้รับจาก การท่องเที่ยวโดยชุมชน กล่าวคือปัจจัยใดบ้างที่เป็นตัวกำหนดความสุขที่จะเกิดขึ้นทั้งในส่วนของคน ในชุมชนแหล่งท่องเที่ยว และความสุขที่นักท่องเที่ยวพึงจะได้รับจากการท่องเที่ยวในชุมชน จากการ พิจารณาแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า ปัจจัยที่กำหนดความสุขของคนในชุมชนแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ สุขภาวะ (ทั้งทางกายและใจ เช่น ผลกระทบทางอารมณ์ทั้งเชิงบวกและลบ) สภาพเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศธรรมชาติ สภาพสังคมและวัฒนธรรม ความเข้มแข็งของชุมชน ความ สมดุลของการใช้เวลา การศึกษาและสติปัญญา ชีวิตครอบครัว ธรรมาภิบาล คุณภาพชีวิต ทรัพยากร มนุษย์ การให้บริการและความปลอดภัย เป็นต้น ส่วนปัจจัยที่กำหนดความสุขของนักท่องเที่ยว ได้แก่ พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ความพึงพอใจในชีวิตของนักท่องเที่ยว ความสุขของนักท่องเที่ยว เชิงอัตวิสัย ได้แก่ การมีสุขภาวะ สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยา สภาพทางสังคมและวัฒนธรรม การได้รับบริการและความปลอดภัย ความสุขของนักท่องเที่ยวเชิงภาวะวิสัย ได้แก่ ด้านการเดินทาง และสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และการเรียนรู้ คำสำคัญ: ความสุขจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน
9
4.  การศึกษาผลกระทบทางการท่องเที่ยวทางสังคมและวัฒนธรรมในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
Author : ดร. คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ทั่วไป ศักยภาพการท่องเที่ยว และผลกระทบ ทางการท่องเที่ยวทางสังคมและวัฒนธรรมในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ใช้ระเบียบวิธีการวิจัย เชิงคุณภาพ (qualitative research) วิธีดำเนินการวิจัยคือ การศึกษาข้อมูลเอกสาร การสัมมนา ประชุมกลุ่มย่อย และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากจากการ ท่องเที่ยว 3 กลุ่มคือ ผู้รู้ (key informants) ผู้ปฏิบัติ (casual informants) และผู้ใช้ข้อมูลทั่วไป (generals) พบว่าอำเภอแม่สอดมีการเจริญเติบโตของเมืองขึ้นอย่างมากตามนโยบายการพัฒนาของ ภาครัฐและความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศเมียนมาร์ และอำเภอแม่สอดมีจุดแข็งที่ส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการท่องเที่ยวเพื่อการจับจ่ายใช้สอย สำหรับ ผลกระทบทางการท่องเที่ยวทางสังคมและวัฒนธรรมในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีทั้งทางบวก และทางลบ แนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นคือ ควรส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวโดยเน้น การมีส่วนร่วม สร้างความเข้มแข็งให้ท้องถิ่น และรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมของท้องถิ่น คำสำคัญ: ผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม, การท่องเที่ยว, อำเภอแม่สอด, จังหวัดตาก
22
5.  รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบ STEM สำหรับนักศึกษาครู
Author : ดร. ทิพวัลย์ ขันธมะ
Abstract
สมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบ STEM ของนักศึกษาครูที่ได้จากการศึกษาประกอบด้วย 4 หน่วยสมรรถนะ คือ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ 2) การออกแบบ การเรียนรู้แบบ STEM 3) การจัดการเรียนรู้แบบ STEM และ 4) วัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นจุดสำคัญในการออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัด การเรียนรู้แบบ STEM ทำให้นักศึกษาครูซึ่งเป็นต้นกล้าสำคัญในการจัดการศึกษา สามารถออกแบบ กิจกรรมและจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STEM ได้อย่างมีคุณภาพ การสังเคราะห์หลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ แบบ STEM สำหรับนักศึกษาครู พบว่าการออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบการจัด การเรียนรู้แบบ STEM สำหรับนักศึกษาครู ควรนำหลักการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) มาใช้ เป็นส่วนสำคัญในการจัดการเรียนรู้ 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ 1) ผู้เรียนได้รับความรู้และโอกาสการเรียนรู้ ของตนเองผ่านการทำกิจกรรมและมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนรู้ (touch) 2) ผู้เรียนพัฒนา ทักษะการคิดขั้นสูงผ่านการทำงานเป็นกลุ่ม เน้นให้ผู้เรียนเป็นเจ้าของความคิดของตนเอง (think) และ 3) การให้โอกาสผู้เรียนได้สะท้อนความคิดผ่านกลยุทธ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย (talk) ซึ่งแต่ละ หน่วยสมรรถนะจะใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ที่มีลักษณะเหมาะสม ได้แก่ การเรียนรู้แบบสืบเสาะ การเรียนรู้ จากประสบการณ์ การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา และการเรียนรู้แบบเน้นทักษะกระบวนการคิด คำสำคัญ: สมรรถนะ, รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEM, นักศึกษาครู
6
6.  THAI SENTIMENT ANALYSIS ON SOCIAL MEDIA USING MAJORITY VOTING-BASED ENSEMBLE METHOD
Author : Narin Panawas
Abstract
In this paper, we proposed Thai sentiment analysis on social media using majority voting-based ensemble classifier focusing on various term weighting schemes and multiple learning algorithms. We found majority voting-based ensemble method most effective in our experiments when comparison with single classifier such as naive Bayes, K-nearest neighbor and decision tree algorithm. We also discovered that the majority voting-based ensemble classifier is suitable for combination with the various term weighting on Thai sentiment analysis dataset. The majority voting-based ensemble method yielded the best performance with the accuracy over all traditional algorithms. Based on our experiments, the majority voting-based ensemble method with Boolean weighting yielded the best performance with the accuracy of 76.04%. Our experimental results also reveal that ensemble method have a positive effect on the Thai sentiment analysis based on social media framework. Keywords: Thai sentiment analysis, ensemble classifier, term weighting.
22
7.  แบบจำลองการสร้างสรรค์นวัตกรรมของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย
Author : วรเชษฐ์ สิงห์ลอ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของนวัตกรรมของผู้ประกอบการ SMEs ในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัย ที่มีผลต่อความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของผู้ประกอบการ SMEs ในประเทศไทย และ 3) เพื่อสร้างแบบจำลองความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของผู้ประกอบการ SMEs ใน ประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานด้วยวิธี Explanatory Research ซึ่งผู้วิจัยได้ทบทวน แนวคิดและทฤษฎีเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดและสร้างแบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ตามการจัดกลุ่มผู้ประกอบการ จำนวน 500 ราย ตัวแปรที่ศึกษามี 5 ตัวแปร ได้แก่ ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม การเรียนรู้ขององค์กร การมุ่งเน้นการตลาด สภาพแวดล้อมภายนอก และประสิทธิภาพของนวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย เทคนิคการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง (structural equation modeling: SEM) โดยใช้ โปรแกรม AMOS นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาสรุปเป็นแบบจำลองทางสถิติ และใช้การ สัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) เพื่อยืนยันผลการวิจัย คำสำคัญ: ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม, การเรียนรู้ขององค์กร, การมุ่งเน้นการตลาด, สภาพแวดล้อมภายนอก, ประสิทธิภาพของนวัตกรรม
19
8.  แนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ด้านสมรรถนะของหัวหน้างานในธุรกิจโรงแรมในจังหวัดจันทบุรี เพื่อรองรับมาตรฐานวิชาชีพท่องเที่ยวอาเซียน
Author : นภดล แสงแข
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาวการณ์ปัจจุบันของทุนมนุษย์ด้านสมรรถนะ ของหัวหน้างานธุรกิจโรงแรมในจังหวัดจันทบุรี และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ด้าน สมรรถนะของหัวหน้างานธุรกิจโรงแรมในจังหวัดจันทบุรี เพื่อรองรับมาตรฐานวิชาชีพท่องเที่ยวอาเซียน (ACCSTP) โดยการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยกลุ่มหัวหน้างาน จำนวน 36 คน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจโรงแรมจังหวัดจันทบุรี จำนวน 12 คน และกลุ่มผู้ใช้บริการ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การประชุมกลุ่มย่อย และการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบกึ่งมีโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งเครื่องมือมีค่าดัชนีความสอดคล้องในภาพรวม เฉลี่ยเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาวการณ์ปัจจุบัน การรับรู้สมรรถนะในมุมมองของหัวหน้างานและ มุมมองของผู้ใช้บริการไปในทิศทางเดียวกัน โดยแผนกอาหารและเครื่องดื่ม และแผนกแม่บ้าน มีค่าคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่าแผนกส่วนหน้า และแผนกการผลิตอาหาร 2) แนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ด้านสมรรถนะของหัวหน้างาน ต้องตระหนักถึงความสำคัญในการยกระดับ ACCSTP โดยเฉพาะ แผนกอาหารและเครื่องดื่ม และแผนกแม่บ้าน ควรพัฒนาและฝึกอบรมทักษะการเป็นผู้นำ ทักษะ สอนงาน การบริหารความขัดแย้งและการจัดการบุคลากร ความรู้ทางด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร (ภาษาอังกฤษและกัมพูชา) และจิตวิทยาการบริการ คำสำคัญ: ทุนมนุษย์, ธุรกิจโรงแรม, สมรรถนะ, มาตรฐานวิชาชีพท่องเที่ยวอาเซียน
24
9.  ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมกับผลประกอบการทางการเงินของบริษัทจดทะเบียน ไทยในโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว
Author : วิไลวรรณ โพนศิริ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมกับ ผลประกอบการทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนไทยในโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว เป็นการวิจัย เชิงปริมาณ โดยมีจำนวนบริษัทที่ศึกษา 123 บริษัท เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามในตัวแปร ความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กร 4 ด้าน ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อพนักงาน ความรับผิดชอบต่อ ลูกค้า ความรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้และซัพพลายเออร์ และความรับผิดชอบต่อภาครัฐ ใช้แหล่งข้อมูล ทุติยภูมิจากฐานข้อมูล SETSMART เพื่อเก็บข้อมูลตัวแปรผลประกอบการทางการเงินขององค์กร เป็นข้อมูลรายปีใน พ.ศ. 2559 ได้แก่ อัตราส่วนกำไรต่อส่วนผู้ถือหุ้น อัตราส่วนกำไรต่อสินทรัพย์รวม และอัตรากำไรสุทธิ ใช้การวิเคราะห์สถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการวิเคราะห์ทางสถิติ พื้นฐานพบว่า โดยภาพรวมระดับความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนไทยที่ดำเนินงานตาม โครงการอุตสาหกรรมสีเขียวอยู่ในระดับสูงมาก ค่าเฉลี่ยของผลประกอบการทางการเงินของบริษัท ที่ศึกษาอยู่ในระดับดีและมีค่าเป็นบวก สำหรับผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์พบว่า ความรับผิดชอบต่อ สังคมขององค์กรทั้งสี่ด้านไม่มีความสัมพันธ์กับผลประกอบการทางการเงินขององค์กรทั้งสามตัวแปร คำสำคัญ: ความรับผิดชอบต่อสังคม, ผลประกอบการทางการเงิน, อุตสาหกรรมสีเขียว
49
10.  การศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าบางปะกง
Author : ฐมจารี ปาลอภิไตร
Abstract
การวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีขอบเขตพื้นที่ในรัศมี 5 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้าบางปะกง ประกอบด้วย 13 ตำบล ในเขตจังหวัดชลบุรีและฉะเชิงเทรา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสร้างรูปแบบในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วม ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยว และเพื่อสร้างรูปแบบการประชาสัมพันธ์ทางการท่องเที่ยว รวมทั้งเสนอเส้นทางท่องเที่ยวและแนวทางในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เกี่ยวข้อง ด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเลือกเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อยู่ใน เขตพื้นที่ 13 ตำบล การดำเนินงานวิจัยแบ่งเป็น 5 ระยะ ได้แก่ การศึกษาและสำรวจศักยภาพของ แหล่งท่องเที่ยว การสร้างรูปแบบ (model) การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว การสร้างรูปแบบสื่อ ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาชุดสื่อประชาสัมพันธ์ การพัฒนาโปรแกรมท่องเที่ยวและ จัดกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ โดยวิธีการสนทนาและสัมภาษณ์กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจทรัพยากรชุมชน แบบประเมินความเป็นไปได้ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ การวิเคราะห์เนื้อหาและค่าร้อยละ พบว่าพื้นที่ในรัศมี 5 กิโลเมตร รอบโรงไฟฟ้าบางปะกงประกอบด้วยทรัพยากรการท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม และวิถีชีวิต แต่ยังไม่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว รวมทั้ง ควรปรับปรุงในเรื่องการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะป้ายบอกทาง การจัดเตรียมสิ่งอำนวย ความสะดวกเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้มีความต่อเนื่อง การพัฒนา สื่อประชาสัมพันธ์ทางการท่องเที่ยวได้จัดสื่อ 3 รูปแบบ ได้แก่ สื่อวีดิทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และ สื่อวิทยุ พบว่าสื่อทั้ง 3 รูปแบบ มีความเหมาะสมในการใช้ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว นอกจากนี้ ยังได้เสนอเส้นทางท่องเที่ยว 5 เส้นทาง และ 1 โปรแกรมท่องเที่ยวแบบไปเช้า-เย็นกลับ และมีการหาแนวทางในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าบางปะกงแบบมีส่วนร่วมในด้านพื้นที่ ด้านการจัดการ ด้านกิจกรรม และด้านการมีส่วนร่วม คำสำคัญ: โรงไฟฟ้าบางปะกง, ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว
16
11.  ปัญหาเกี่ยวกับความผิดตามมาตรา 38 พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535
Author : พันตำรวจเอก ดร. คมสัน สุขมาก
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎี และบทบัญญัติของกฎหมายที่ เกี่ยวข้องในส่วนของการตีความกฎหมาย ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย หลักการใช้อำนาจทางปกครองของ กฎหมายมหาชน และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอาชญากรรม เพื่อนำมาวิเคราะห์ในการตีความ พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง และแนวทางปฏิบัติในการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผลการวิจัยพบว่า คำว่า “ผู้ใด” ในวรรคหนึ่งของ มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 หมายความถึงประชาชนโดยทั่วไป มิอาจตีความ รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและพระราชบัญญัติ ตำรวจแหง่ ชาติ พ.ศ. 2547 เพราะการตคี วามกฎหมายจะตอ้ งตคี วามตามตวั อกั ษรและตามเจตนารมณ์ ของกฎหมายแต่ละฉบับประกอบกัน ดังนั้นจึงมิอาจนำบทบัญญัติที่ห้ามบุคคลทั่วไปดำเนินการสิ่งใด ในกฎหมายฉบับหนึ่งมาตีความให้เป็นผลลบล้างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ของ รัฐในกฎหมายอีกฉบับหนึ่งได้ ข้อเสนอแนะคือ เสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 มาตรา 38 โดยเพิ่มเติมวรรคท้ายว่า “บทบัญญัติในมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับกรณีเป็นการกระทำของ เจ้าหน้าที่ของรัฐตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายอื่นได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ” ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดประเด็น ปัญหาการตีความกฎหมาย นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการปรับปรุงมาตรการการปฏิบัติในการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามหนังสือ ตร. ด่วนที่สุด ที่ 0025.23/3779 ลง 13 มี.ค. 2540 โดยเพิ่มเติมดังนี้ ข้อ 2.1.2 “จุดตรวจ การตั้งจุดตรวจจะต้องได้รับอนุมัติจาก ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ชั้น ผบก. ขึ้นไป โดยพิจารณาว่าเป็นกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นอย่างยิ่งและมิได้ เป็นการสร้างภาระให้แก่ประชาชนจนเกินควร และต้องมีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง” ข้อ 3.1 “การปฏิบัติหน้าที่ ณ ด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัดจะต้องมีนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรเป็นหัวหน้า และจะต้องแต่งเครื่องแบบในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว โดยก่อนเริ่มปฏิบัติหน้าที่ให้นายตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้เป็นหัวหน้าชี้แจงแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้วยว่าการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ หรือจุดสกัด ในภารกิจนั้นปฏิบัติไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด และเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของกฎหมายใด” ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามหลักในการใช้อำนาจทางปกครองของกฎหมายมหาชน และทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ มีความรู้ความเข้าใจในอำนาจหน้าที่ของตนเองมากยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่การลดความขัดแย้งระหว่าง ประชาชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติงาน คำสำคัญ: ทางหลวง, การตีความกฎหมาย, พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535
19
12.  กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการดำเนินคดีแพ่งทางสิ่งแวดล้อมแบบกลุ่ม
Author : สุระทิน ชัยทองคำ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการดำเนินคดีแพ่งทางสิ่งแวดล้อม แบบกลุ่ม จากปัญหา ข้อจำกัด อุปสรรค และความไม่เหมาะสมของกระบวนพิจารณาคดีแบบกลุ่มตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หมวด 4 การดำเนินคดีแบบกลุ่ม และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร (documentary research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) และ การสัมมนารับฟังความคิดเห็น (hearing) ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมแบบกลุ่มตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความแพ่ง หมวด 4 การดำเนินคดีแบบกลุ่ม มีปัญหาและไม่เหมาะสมที่จะใช้ในการฟ้องคดีสิ่งแวดล้อม แบบกลุ่ม จึงได้จัดทำร่างปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... โดยเพิ่มเติมหมวด 6 ความรับผิดทางแพ่ง เป็นหมวด 6/1 การดำเนินคดี แบบกลุ่ม แยกออกเป็น 6 ส่วน จำนวน 20 มาตรา ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 บททั่วไป ส่วนที่ 2 การฟ้องคดี ส่วนที่ 3 การพิจารณาคดี ส่วนที่ 4 คำพิพากษาหรือคำสั่ง ส่วนที่ 5 อุทธรณ์และฎีกา และ ส่วนที่ 6 บังคับคดี การวิจัยมีข้อเสนอแนะคือ ให้นำร่างปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... เข้าสู่กระบวนการทางนิติบัญญัติเพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม เพื่อให้เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับสำหรับการฟ้องคดีสิ่งแวดล้อมแบบกลุ่ม ที่มีประสิทธิภาพสำหรับประชาชนและองค์กรศาลในการพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป และควรวิจัย ในประเด็นการจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อมและการจัดทำกฎหมายวิธีพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อม คำสำคัญ: สิ่งแวดล้อม, การดำเนินคดีแบบกลุ่ม, กฎหมายต้นแบบ, ค่าเสียหาย
18
13.  การจัดการเชิงกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในการส่งออกข้าวไทยสู่ประชาคมอาเซียน
Author : กิจเสริม เวศย์ไกรศรี
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบทาง การแข่งขันในการส่งออกข้าวไทยสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อทราบถึงปัจจัยที่สร้างความได้เปรียบทาง การแข่งขันในการส่งออกข้าวไทยสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อทราบถึงคุณลักษณะของผู้ประกอบการ ที่สร้างความได้เปรียบในการดำเนินการส่งออกข้าวไทยสู่ประชาคมอาเซียน และเพื่อทราบแนวทาง หรือข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเชิงกลยุทธ์การสร้าง ความได้เปรียบทางการแข่งขันในการส่งออกข้าวไทยสู่ประชาคมอาเซียน ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการส่งออกข้าวไทย จำนวน 12 คน ผลการวิจัยพบว่า การที่ ผู้ส่งออกจะได้เปรียบทางการแข่งขันต้องนำทฤษฎีความร่วมมือมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการส่งออก เนื่องจากต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้ส่งออกและภาครัฐ โดยที่รัฐบาลให้การสนับสนุนการ ส่งออกข้าวไทยสู่ประชาคมอาเซียน และพัฒนาปรับปรุงนโยบายสาธารณะในการส่งออกข้าวไทย ตลอดจนนำแนวคิดเกี่ยวกับ SWOT มาใช้ในการส่งออกข้าวไทย และนำทฤษฎีระบบเปิดมาใช้ ในการตลาดเพื่อจัดการองค์การให้มีความทันสมัย ต้องนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในการ พัฒนาระบบการส่งออกข้าวไทยให้มีประสิทธิภาพและความได้เปรียบทางการแข่งขันในการส่งออก มากขึน้ ประเด็นปญั หาที่ทำใหค้ วามไดเ้ ปรียบทางการแขง่ ขันในการสง่ ออกขา้ วไทยสปู่ ระชาคมอาเซียน ลดลงประกอบด้วย ปัญหาต้นทุนการผลิตต่อไร่สูงแต่ผลผลิตต่อไร่ตํ่า ระบบชลประทานในพื้นที่เพาะปลูก มีจำกัด งบประมาณการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการผลิตข้าวน้อยเกินไป ราคาส่งออกข้าวไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ขาดการประชาสัมพันธ์ในการสร้างตราสินค้าข้าวไทยในตลาดอาเซียนและตลาดโลก ระบบและต้นทุนขนส่งข้าวของไทยอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะ ประเทศเวียดนาม และไม่มีนโยบายและยุทธศาสตร์ข้าวที่ชัดเจนภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดังนั้นหากต้องการเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขันในการส่งออกข้าวไทยสู่ประชาคมอาเซียน ผู้ประกอบการส่งออกข้าวไทยต้องร่วมมือกับรัฐบาลไทยให้มากขึ้น และรัฐบาลไทยจะต้องให้การ สนับสนุนการส่งออกข้าวไทยสู่ประชาคมอาเซียน โดยต้องพัฒนาและปรับปรุงนโยบายสาธารณะ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกข้าวไทยสู่ประชาคมอาเซียนให้มีความชัดเจน คำสำคัญ: การจัดการเชิงกลยุทธ์, การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน, การส่งออกข้าวไทย, ประชาคมอาเซียน
14
14.  การพัฒนากระบวนการฝึกเทศน์แหล่มหาชาติสำหรับพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
Author : พระกิตติเอก ปาณิญา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเทศน์แหล่มหาชาติของพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อการพัฒนากระบวนการฝึกเทศน์แหล่มหาชาติสำหรับพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนา เก็บรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสาร บทความ ตำรา การสัมภาษณ์ เชิงลึกพระนักเทศน์แหล่มหาชาติที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการเทศน์แหล่มหาชาติ จำนวน 20 รูป แล้วจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมและคู่มือการฝึกอบรมการเทศน์แหล่มหาชาติ จัดอบรม ให้พระภิกษุ จำนวน 17 รูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) แบบตีความ (interpretivism) สรุปข้อมูลสำคัญจากบทสนทนา พบว่า 1. กระบวนการเทศน์แหล่มหาชาติของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ด้านสภาพลักษณะของ การเทศน์แหล่มหาชาติมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ด้านสภาพทำนอง การเทศน์แหล่มหาชาติ ต้องเรียนรู้ทำนองหลวง ทำนองราษฎร์ และทำนองประจำกัณฑ์ ด้านสภาพ การเรียนรู้การเทศน์แหล่มหาชาติ พระภิกษุสามเณรต้องมีความสนใจแบบจริงจัง และด้านสภาพ การสืบสานการเทศน์แหล่มหาชาติ ควรฟื้นฟูการเทศน์มหาชาติแบบโบราณที่กำลังสูญหาย ปัจจุบัน จัดเทศน์กันตามประเพณี พระนักเทศน์จึงต้องประยุกต์พอให้เข้าใจและรู้เรื่องทั้ง 13 กัณฑ์ 2. การพัฒนากระบวนการฝึกเทศน์แหล่มหาชาติสำหรับพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เป็นการฝึกอบรมที่มีหลักสูตรฝึกอบรมและคู่มือการฝึกอบรม ประกอบด้วยบทเรียนที่ให้ความรู้ พื้นฐานการเทศน์แหล่และฝึกการเทศน์แหล่มหาชาติครบทุกกัณฑ์ จำนวน 15 บทเรียน ใช้เวลา ฝึกอบรมตลอดหลักสูตรอย่างน้อย 258 ชั่วโมง โดยปฏิบัติเทศน์ในสนามจริง ประเมินผลในระหว่าง การฝึกอบรมและหลังการฝึกอบรม ในภาพรวมพระภิกษุทุกรูปสามารถเทศน์ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของการฝึกอบรม โดยพระภิกษุแต่ละรูปมีความถนัดในการเทศน์แหล่แต่ละกัณฑ์แตกต่างกันตาม พื้นฐานของการออกเสียงเฉพาะราย คำสำคัญ: กระบวนการเทศน์, เทศน์แหล่มหาชาติ, พระภิกษุ, พระพุทธศาสนา
12
15.  แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
Author : จิตติณชุลี บุญช่วย
Abstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัย ได้แก่ 1) เพื่อตรวจสอบทรัพยากรท่องเที่ยวด้านสุขภาพ กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการพัฒนาการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยเครื่องมือวิจัยดังนี้ แบบรายงานการศึกษาชุมชน แบบตรวจสอบทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย มีกลุ่มตัวอย่างจากภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และนักท่องเที่ยว จำนวน 40 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจข้อมูลทั่วไปและแหล่งท่องเที่ยว การสัมภาษณ์เชิงลึก สังเกตแบบมีส่วนร่วม และการประชุมกลุ่มย่อย ผลการวิจัยพบว่า ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่โดดเด่นของกรุงเทพมหานคร คือ แม่นํ้าเจ้าพระยา สวนสันติชัยปราการ ปลานํ้าจืด นก คลองโอ่งอ่างบางลำพู วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จารึกแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์ อาหารจีนเยาวราช อาหารมุสลิม ร้านขายยาแผนไทย-แผนจีน ประเพณีสงกรานต์ เทศกาลตรุษจีน มหกรรมอาหารริมทาง (street food) มหกรรมสมุนไพร ขี่จักรยาน โยคะ ลานกีฬา ไหว้พระทำบุญตักบาตร นวดสปา อบสมุนไพร ฝึกสมาธิ สวดมนต์ ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยว โรงแรมแมนดาริน โรงแรมโอเรียนเต็ล โรงแรมอิมพีเรียล โรงแรมควีนส์ปาร์ค โรงแรมดุสิตธานี รถประจำทาง รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร การวิเคราะห์หาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในกรุงเทพมหานคร พบว่า จุดแข็งคือ ที่ตั้งอยู่ศูนย์กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก มีทรัพยากรท่องเที่ยวแพทย์ทางเลือกที่โดดเด่น การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนจีน อายุรเวทอินเดีย มีการรักษาสุขภาพแบบองค์รวมโดยเน้นการส่งเสริมสุขภาพ จุดอ่อนคือ ขาดแผนยุทธศาสตร์ เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ขาดคณะกรรมการการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ขาดแผนการตลาดดิจิทัลและนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โอกาสคือ กระแสโลกด้านการ ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพทางอาหาร จิตใจ และสำหรับผู้สูงอายุ เป็นศูนย์กลางของสถานส่งเสริมสุขภาพ แบบฮาลาล มกี ารใชเ้ ทคโนโลยอี คี อมเมริ ซ์ สือ่ ออนไลนอ์ ยา่ งแพรห่ ลาย อปุ สรรคคอื ไมม่ กี ารสนับสนนุ เครือข่ายดิจิทัลให้ครอบคลุมทั่วประเทศ มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของคู่แข่งโดยรอบประเทศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติและภัยจากมนุษย์ บั่นทอนสุขภาพกาย-ใจของประชากรโลก ผู้วิจัยนำเสนอผลการสังเคราะห์ TOWS Matrix เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในกรุงเทพมหานคร โดยนำจุดแข็งด้านสุขภาพมาบูรณาการกับ โอกาสต่าง ๆ ที่กรุงเทพมหานครมี เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์เชิงรุก ได้แก่ การสร้างแบรนด์ด้านสินค้า และบริการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในกรุงเทพมหานครและประเทศไทยโดยภาพรวม นำจุดอ่อนมาผนวกกับโอกาสด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในกรุงเทพมหานครเพื่อกำหนด ยุทธศาสตร์เชิงแก้ไข ได้แก่ สร้างแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างเป็นรูปธรรม นำ จุดแข็งมาเลี่ยงอุปสรรคด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในกรุงเทพมหานครเพื่อกำหนด ยุทธศาสตร์เชิงป้องกัน ได้แก่ สร้างศูนย์กลางการท่องเที่ยวการแพทย์ทางเลือกแห่งโลก และนำจุดอ่อน มาเลี่ยงอุปสรรคด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในกรุงเทพมหานครเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ เชิงรับ ได้แก่ ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คำสำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, การแพทย์ทางเลือก, การท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน
4
16.  รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสุขภาวะของโรงแรมไทย
Author : นิพาภรณ์ แสงสว่าง
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสุขภาวะที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงาน ผู้ปฏิบัติงานในโรงแรมไทย และเป็นสมาชิกสมาคมโรงแรมไทย (THA) ในระดับ 4 ดาว เขตภาคใต้ ฝั่งอันดามัน จำนวน 690 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL พบว่าโมเดลความสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อองค์กรสุขภาวะประกอบด้วย ปัจจัยด้านการรับรู้ในการสนับสนุนขององค์กร ด้านวัฒนธรรมองค์กร และด้านภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลง ส่งผลต่อองค์กรสุขภาวะและผลการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมไทย สอดคล้อง กับข้อมูลเชิงประจักษ์ และตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลการปฏิบัติงาน ของพนักงานได้ร้อยละ 85 สรุปได้ว่าผลการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยส่งผลต่อสุขภาวะ ในองค์กรของโรงแรมไทย โดยพบว่าปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กรเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อองค์กรสุขภาวะ มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังพบว่า องค์กรสุขภาวะเป็นปัจจัย ที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านวัฒนธรรมองค์กร และ ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง คำสำคัญ: องค์กรสุขภาวะ, การสนับสนุนขององค์กร, วัฒนธรรมองค์กร, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผลการปฏิบัติงาน
7
17.  THE FACTORS INFLUENCING CONSUMERS INTENTION TO PURCHASE PTT COOKING GAS (LPG)
Author : Rattaporn Srinok
Abstract
This research examines the factors that influence consumer’s satisfaction and product quality towards purchase intention of PTT Cooking Gas (LPG) in Bangkok, and to make a comparison with marketing responses to PTT product of the consumers with different demographic and understanding levels to intention to purchase PTT product brand. Furthermore, it is intended to apprise why PTT Public Company Limited became the number one whole sale distributor of Cooking Gas (LPG) in Bangkok. Keywords: consumer’s satisfaction, demographic, product quality, purchase intentions.
19
18.  อิทธิพลของคุณลักษณะบุคลิกภาพ บรรยากาศองค์กร ความพึงพอใจในงานที่มีต่อการปรับตัว ในการทำงานของครูต่างชาติในเครือโรงเรียนสองภาษา
Author : วรางคณา ซับซ้อน
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสัมพันธ์และอิทธิพลของปัจจัยบุคลิกภาพ บรรยากาศองค์กร และความพึงพอใจในงานที่มีต่อการปรับตัวในการทำงานของครูต่างชาติในเครือ โรงเรียนสองภาษา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูต่างชาติในเครือโรงเรียนสารสาสน์ เขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 208 คน ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของทุกปัจจัยอยู่ในระดับสูง ส่วนความสัมพันธ์ของปัจจัยพบว่า ทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง มีค่าอยู่ระหว่าง 0.378 ถึง 0.606 นอกจากนั้นยังพบว่า ปัจจัยบุคลิกภาพแบบแสดงตัวและบุคลิกภาพแบบปรับรับ สถานการณ์มีอิทธิพลต่อการปรับตัวในการทำงาน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 0.215 และ 0.304 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยบรรยากาศองค์กรเกือบทุกตัวแปรมีอิทธิพลต่อการปรับตัวในการทำงานโดย β = 0.272, 0.376 และ 0.179, p = .05 ตลอดจนปัจจัยความพึงพอใจในงานมีตัวแปรคือ ความชอบในงานที่ปฏิบัติในปัจจุบัน และความชอบปฏิบัติงานกับโรงเรียน มีอิทธิพลต่อการปรับตัว ในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ β = 0.352 และ 0.166, p >.05 คำสำคัญ: ลักษณะบุคลิกภาพ, บรรยากาศองค์กร, ความพึงพอใจในงาน, การปรับตัวในการทำงาน, ครูต่างชาติ, โรงเรียนสองภาษา
25
19.  การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เรื่อง การใช้โปรแกรม Photoshop เพื่อผลิตสื่อการสอน สำหรับครูระดับประถมศึกษา
Author : วารุณี คงวิมล
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เรื่องการใช้โปรแกรม Photoshop เพื่อผลิตสื่อการสอน สำหรับครูระดับประถมศึกษา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 และเพื่อเปรียบเทียบคะแนนจากการทดสอบก่อนและหลังการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เรื่องการใช้โปรแกรม Photoshop เพื่อผลิตสื่อการสอน สำหรับครูระดับประถมศึกษา ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูระดับประถมศึกษา โรงเรียนเซนต์หลุยส์ ฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูระดับประถมศึกษา ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) แบบทดสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเนื้อหา สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการ ทดสอบค่าที (t-test dependent sample) ผลการวิจัยพบว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เรื่องการใช้โปรแกรม Photoshop เพื่อผลิตสื่อการสอน สำหรับครูระดับประถมศึกษา มีประสิทธิภาพ 91.17/90.00 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ที่ตั้งไว้ และมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อน เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, สื่อการสอน, โปรแกรม Photoshop, ครูประถมศึกษา
12
20.  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ตามแนวคิดทฤษฎีการกำกับตนเอง วิชากระบวนการพิมพ์ สำหรับ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Author : สุดารัตน์ พันธานนท์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ ตามแนวคิดทฤษฎีการกำกับตนเอง วิชากระบวนการพิมพ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ ตามแนวคิดทฤษฎีการกำกับตนเอง วิชากระบวนการพิมพ์ 3) เพื่อหาความพึงพอใจของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ตามแนวคิดทฤษฎีการกำกับ ตนเอง วิชากระบวนการพิมพ ์ กลมุ่ ตวั อยา่ งคอื นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จำนวน 30 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยประกอบด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ตามแนวคิดทฤษฎีการกำกับตนเอง วิชากระบวน การพิมพ์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t-test แบบ Dependent พบว่า 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ตามแนวคิด ทฤษฎีการกำกับตนเอง วิชากระบวนการพิมพ์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่ออยู่ในระดับมาก คำสำคัญ: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, ทฤษฏีการกำกับตนเอง, กระบวนการพิมพ์
12
21.  ผลการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีทางเลือกต่อพฤติกรรมความรับผิดชอบของเด็กในสถานสงเคราะห์
Author : สุนันท์ โอสถานนท์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีทางเลือกต่อพฤติกรรม ความรับผิดชอบของเด็กในสถานสงเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นเด็กในสถานสงเคราะห์ เด็กชายบ้านบางละมุง จังหวัดชลบุรี คัดเลือกโดยให้เด็กทำแบบวัดพฤติกรรมความรับผิดชอบของเด็ก แล้วนำคะแนนมาเรียงลำดับจากน้อยที่สุดขึ้นไป และสอบถามความสมัครใจ จำนวน 20 คน จับฉลากเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 10 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดพฤติกรรมความรับผิดชอบและโปรแกรมการปรึกษากลุ่มทฤษฎีทางเลือก การเก็บข้อมูลดำเนินการตั้งแต่เริ่มวัดผลในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะ ติดตามผล จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซํ้าประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่ม และหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลา การทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เด็กที่ได้รับวิธีการปรึกษากลุ่มทฤษฎีทางเลือก มีคะแนนเฉลี่ยความรับผิดชอบในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่คะแนนความรับผิดชอบของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกัน คำสำคัญ: สถานสงเคราะห์, การให้คำปรึกษากลุ่ม, ทฤษฎีทางเลือก, ความรับผิดชอบ
18
22.  การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจรวมถึงความคาดหวังของผู้บกพร่องทางการมองเห็นที่มีต่อเฟซบุ๊ก (Facebook) ในฐานะสื่อสังคมออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร
Author : บัญจรัตน์ สังข์น้อย
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก (facebook) 2) ศึกษาถึงการใช้ประโยชน์ ความพึงพอใจ ความคาดหวังที่มีต่อสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ประโยชน์ ความพึงพอใจ ความคาดหวังที่มีต่อสื่อสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊กกับพฤติกรรมการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูล ด้วยวิธีการสำรวจ เพื่อวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎี ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากผู้บกพร่อง ทางการมองเห็นที่ใช้เฟซบุ๊กในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามธรรมดาและ แบบสอบถามที่เป็นอักษรเบลล์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวน การทดสอบ t-test รวมทั้งการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน พบว่าผู้บกพร่องทางการมองเห็นเป็นเพศชาย จำนวน 192 คน คิดเป็นร้อยละ 48.0 เพศหญิง จำนวน 208 คน คิดเป็นร้อยละ 52.0 มีอายุระหว่าง 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 51.8 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 144 คน คิดเป็นร้อยละ 36.0 อาศัยอยู่ร่วมกันกับคนปกติ จำนวน 183 คน คิดเป็นร้อยละ 45.8 และมีความบกพร่องทางการมองเห็นมาตั้งแต่กำเนิด คิดเป็น ร้อยละ 65.00 ด้านการใช้ประโยชน์ พบว่าผู้บกพร่องทางการมองเห็นสามารถนำข้อมูลข่าวสารไปช่วย ในการตัดสินใจ มีค่าเฉลี่ย 3.79 ด้านความพึงพอใจ พบว่าผู้บกพร่องทางการมองเห็นสามารถติดต่อสื่อสารกับเพื่อนและคนอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีค่าเฉลี่ย 3.49 ผู้บกพร่องทางการมองเห็นมีความ คาดหวังต่อเฟซบุ๊กโดยต้องการหากิจกรรมทำยามว่าง มีค่าเฉลี่ย 3.84 ด้านความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การสื่อสารในเฟซบุ๊ก พบว่าผู้บกพร่องทางการมองเห็นมีความคาดหวังหลังจากการใช้เฟซบุ๊กว่า ไม่ใช่เพียงการสื่อสารที่ดีขึ้นและการรับข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วน ชัดเจน และทันต่อเหตุการณ์เท่านั้น แต่สิ่งที่ผู้บกพร่องทางการมองเห็นคาดหวังแท้จริงคือ ต้องการให้เฟซบุ๊กพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วย ผู้บกพร่องทางการมองเห็นให้เข้าถึงการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กให้ดียิ่งขึ้นด้วยการพัฒนา โปรแกรมช่วยในการอ่านออกเสียงให้มีความชัดเจน ใช้งานง่ายและรวดเร็ว เพื่อให้ผู้บกพร่องทางการ มองเห็นมีการใช้งานเฟซบุ๊กได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง คำสำคัญ: ผู้บกพร่องทางการมองเห็น, สื่อสังคมออนไลน์, เครือข่ายสังคมออนไลน์, เฟซบุ๊ก
17
23.  การจัดการองค์กรสู่ความยั่งยืน ยุทธศาสตร์ 2020 เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ AEC บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด
Author : ปณิธาน ลีนะกิตติ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการองค์กรสู่ความยั่งยืน ยุทธศาสตร์ 2020 เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ AEC บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด โดยสุ่มตัวอย่าง อย่างง่ายจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงาน บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และสอบถามความสามารถหลักขององค์กร ความคล่องตัวขององค์กร และความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์กร โดยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความเห็นว่า แนวทางการพัฒนาการ จัดการองค์กรสู่ความยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ 2020 ให้ความสำคัญกับความสามารถหลักขององค์กร ความได้เปรียบทางการแข่งขัน และความคล่องตัวขององค์กร อย่างมีนัยสำคัญตามลำดับ โดย การพัฒนาการจัดการองค์กรสู่ความยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ 2020 ได้รับอิทธิพลทางตรงจากความ สามารถหลักขององค์กรที่ 0.59 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความคล่องตัวขององค์กร ที่ 0.32 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ 0.53 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแปรแฝงองค์กร สู่ความยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ 2020 ที่เกิดจากตัวแปรที่สังเกตได้ของบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด พบว่า เกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ อย่างมีนัยสำคัญตามลำดับ คำสำคัญ: การพัฒนาการจัดการองค์กรสู่ความยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ 2020, ความสามารถหลัก ขององค์กร, ความคล่องตัวขององค์กร, ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด
24
24.  คุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26
Author : กำชัย เสนากิจ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะคุณภาพชีวิต การทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ทั้งโดยรวมและรายด้าน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู 313 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และผู้บริหารสถานศึกษา 4 คน โดยเลือก แบบเจาะจงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบมาตราสว่ นประมาณคา่ 5 ระดบั จำนวน 60 ขอ้ และแบบสัมภาษณผ์ บู้ ริหารสถานศกึ ษา วเิ คราะห์ ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F–test (one-way ANOVA) และ t-test พบว่า 1. คุณภาพชีวิตการทำงานของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปหาน้อยคือ ด้านจิตวิญญาณ ด้านการทำงาน ด้านชีวิตส่วนตัว ด้านสังคม ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ 2. เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของครูจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานของครูด้านชีวิตส่วนตัวและด้านเศรษฐกิจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามตำแหน่งพบว่า ด้านสุขภาพ ด้านจิตวิญญาณ ด้านชีวิตส่วนตัว ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการทำงานไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดสถานศึกษาพบว่า ด้านจิตวิญญาณ ด้านชีวิตส่วนตัว ด้านการทำงาน ด้านสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านสุขภาพและด้านเศรษฐกิจไม่แตกต่างกัน 3. ข้อเสนอแนะ พบว่าครูต้องการเงินเดือนและค่าตอบแทนที่เหมาะสมมากขึ้น ต้องการ ความเท่าเทียมในการปฏิบัติงาน และต้องการขวัญกำลังใจจากสถานศึกษามากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาที่ให้ความสำคัญกับบุคลากรของสถานศึกษาในด้านต่าง ๆ คำสำคัญ: คุณภาพชีวิตการทำงาน, การทำงานของครู, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26
15