please wait loading...
Untitled Document
 
 ปีที่ 15 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนเมษายน-เดือนมิถุนายน 2562 ISSN 1686-5715 อ่าน
1.  VIDEO PRODUCTION FOR PUBLIC RELATIONS DEPARTMENT OF MASS COMMUNICATION, FACULTY OF LETTERS, NATIONAL UNIVERSITY OF LAOS
Author : Maneerat Peangyoy
Abstract
This is a study of media production for The Department of Mass Communication public relations within 10-15 minutes. The purpose of this study was to create knowledge and understanding in the role of mass media for current and prospective students in The Department of Mass Communication and Faculty of Letters National University of Laos. There were 3 steps for this video production. First, it is a pre-production; seeking for ideas, defining objectives and targeting audiences to write scripts with storyboard, and creating a narrative script. Second, it is a production; using original videos and recording interviews with a Canon DSLR 100D camera with two types of lens which are 18-55mm lens, and 18-200mm telephoto lens-type of shot was used in The Medium Shot and Close Up was used as a shooting technique. Third, it is a post-production; using video editing in Non-Linear editing software, Adobe Premiere Pro CC, and Adobe After Effect CS6. Considering the limitation of working space and equipment, this production took longer to complete than expected. Keywords: video production, public relations.
19
2.  THE STUDY OF THAI SELF- DRIVING TOURISTS’ MOTIVATION, TRAVEL PLANNING BEHAVIOR AND SPATIAL FACTOR EFFECT ON PLANNING BEHAVIOR AND EXPERIENCE FOR TOURISM LOGISTICS DEVELOPMENT: A CASE STUDY OF THE NORTHERN THAILAND ROUTES
Author : Siripen Yiamjanya
Abstract
This study explored self-drive tourists’ motivations, travel planning behavior, and investigated relationship of the spatial factors of self-drive tourism that influenced their planning behavior and experience. The samples were Thai self-drive tourists during their travel on Thailand’s northern route. The purpose was to provide recommendations on how to develop and improve the tourism logistics of the Northern Thailand touring routes to support Thailand’s self-drive tourism market. The study employed quantitative approach using self-administrated questionnaire with a total of 222 self-drive tourists. The analysis adopted the statistics including descriptive analysis, mean and standard deviation to rank importance level of the respondents’ motivations, and degree of attractiveness of spatial factors. Exploratory Factor Analysis (EFA) was also used to identify the relationship between the observed variables, whereas Path Analysis was used for explaining the relationship between spatial factors and planning behavior and experience. The findings revealed spending time together with family and friends, privacy, car space sharing, freedom in moving at own pace were the most important motivations of self- driving tourists. The result of travel planning behavior was grouped into pre-trip and in situ trip planning for the explanation. The socio-cultural character was perceived as the most attractive character, followed by the natural one. The Path Analysis revealed that facilities and infrastructures along the route showed significant relationship with planning behavior and driving experience, whereas spending and recreational points and socio-cultural character had significant relationship with driving experience. Some recommendations involving the tourism physical and information logistics flow development for the Northern Thailand touring routes were also contributed in this study. Keywords: Northern Thailand route, self-drive tourism, tourism logistics development.
18
3.  AN EVALUATION OF A WORLD CLASS STANDARD SCHOOL PROJECT: A MULTI SITE EVALUATION
Author : Prayoonsri Vorachaipitak
Abstract
The purpose of this research was to evaluate a World Class Standard School Project of the Office of Basic Education Commission during 2014-2016 by implementing CIPP evaluation model. CIPP is an evaluation model that requires the evaluation of context, input, process and product in judging a program’s value. This is a mixed method research. A quantitative data collection took place in 11 World Class Standard Schools (WCSSs) in Chonburi. A qualitative data were from Chonkanyanukul School and Phothisamphanphitthayakhan. The samples consisted of 11 administrators, 22 teachers, 169 students, 169 parents and 11 school committees. The research instrument for a quantitative study was a five-rating-scale questionnaire and frequency, percentage, mean, and standard deviation were used for data analysis. A qualitative study was conducted by an in-depth interview and focus groups with students and teachers, observation and documents. The data was analyzed by using content analysis. The research findings were as follows: 1. The overall aspects of the context area were eminent. The mean of the school policy aspect was significance, followed by the economics aspect, the society aspect and the politic aspect respectively. 2. The overall aspects of the input area were distinctive. The mean of the quality of the administrators was significance, followed by the quality of the basic factors, and the quality of the teachers respectively. 3. The overall aspects in the process area were at a good level. The mean of the practices following the policy of development in WCSS was at the highest level, followed by the mean of Total Quality Management and the instructional management comparing it with the world-class standard respectively. 4. In the product area, the results revealed; that the overall aspects of the product area were at a good level. The mean of advanced thinking was at the highest level, followed by the mean of communication with two language, the mean of academic excellence, the mean of being responsible for global society and the mean of producing work creatively respectively. 5. The mean of impact area was prominent. Keywords: world class standard school, CIPPI model.
12
4.  อัตลักษณ์ศิลปะไทยสู่แอนิเมชัน
Author : ชินวัฒน์ ประยูรรัตน์
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวคิดอัตลักษณ์ศิลปะไทยสู่การพัฒนาแอนิเมชันไทย ซึ่งการพัฒนาแนวคิดการออกแบบแอนิเมชัน ควรคำนึงถึงอัตลักษณ์ไทยให้ครบทั้ง 4 องค์ประกอบของ แอนิเมชัน ได้แก่ 1) เนื้อเรื่อง ควรหาอัตลักษณ์ไทยจากวรรณศิลป์ไทย และอื่น ๆ ที่บ่งบอกได้ถึงการ เล่าเรื่องแบบไทย เช่น ศิลปะ ประเพณี วิถีชีวิต และบุคลิกของตัวละครแบบไทย เป็นต้น 2) ตัวละคร และฉาก ควรหาอัตลักษณ์ไทยจากทัศนศิลป์ไทย ซึ่งมีทั้งรูปร่าง รูปทรง สี ของตัวละคร จากจิตรกรรม และประติมากรรมไทย ลักษณะของฉาก จากสถาปัตยกรรมไทย และอื่น ๆ 3) การเคลื่อนไหว ควรหา อัตลักษณ์ไทยจากนาฏศิลป์ไทย เช่น ท่ารัก ท่าโกรธ ท่าเดิน ท่านั่ง เป็นต้น หรือการเก็บข้อมูล โดยการสังเกตความแตกต่างระหว่างอัตลักษณ์การเคลื่อนไหวของคนไทยกับคนต่างประเทศ 4) เสียง ควรหาอัตลักษณ์ไทยจากดุริยางคศิลป์ไทย ซึ่งเป็นการใช้เครื่องดนตรีไทยเข้ามาผสมผสานกับดนตรีสากล ใหเ้ กิดเปน็ ผลงานรว่ มสมยั ในปจั จุบนั ผเู้ ขยี นเชือ่ วา่ คุณคา่ ทางศิลปวฒั นธรรม และความงามทางศิลปะ ไทยเป็นที่ตื่นตาตื่นใจของคนทั่วโลก ดังนั้น หากมีผลงานแอนิเมชันลักษณะไทยจำนวนมากขึ้นและ ถูกเผยแพร่ออกไปทั่วโลกอย่างต่อเนื่องแล้ว คิดว่าอุตสาหกรรมแอนิเมชันไทยจะสามารถก้าวข้าม ขีดจำกัด และสามารถขยายตัวไปยังตลาดทั่วโลกได้มากขึ้น คำสำคัญ: แอนิเมชัน, ศิลปะไทย, อัตลักษณ์
5
5.  การจัดการความรู้เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับสมุนไพรไทยในตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Author : นินธนา เอี่ยมสะอาด
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการความรู้ด้านสมุนไพรไทยในตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อจัดหมวดหมู่ ผสานความรู้ บันทึกและถ่ายทอดองค์ความรู้ จากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรในตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เป็นระบบ และเพื่อพัฒนาการแปรรูปสมุนไพรให้เป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ผู้นำชุมชนหมู่บ้าน จำนวน 13 ราย ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 13 ราย และตัวแทนชุมชน จำนวน 39 ราย ใช้การสุ่มแบบเจาะจง โดยศึกษาข้อมูลทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ มีแบบสอบถามและแบบ สัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเนื้อหาและการใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่าสภาพการจัดการความรู้ด้านสมุนไพรในพื้นที่ตำบลดอนสัก มีแพทย์แผนไทยที่รักษาด้วยสมุนไพรที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกันไป การถ่ายทอด ความรู้มีทั้งการสืบทอดจากบรรพบุรุษและส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น และถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจทั่วไป พืชสมุนไพรในพื้นที่ตำบลดอนสักมีทั้งพืชสมุนไพรที่เกิดตามธรรมชาติบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง และพืชสมุนไพรที่ปลูกขึ้น ในการจัดหมวดหมู่ ผสานความรู้ บันทึกและถ่ายทอดองค์ความรู้จาก ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพร ได้จัดหมวดหมู่พืชสมุนไพรที่เกิดตามธรรมชาติบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง โดยจำแนกประเภทตามโรคที่ใช้สมุนไพรรักษา ได้แก่ 1) ท้องร่วง บิด อาเจียน ใช้โกงกางใบเล็ก นํ้าจากเปลือกใช้กิน โกงกางใบใหญ่ นำเปลือกมาต้มนํ้ารับประทาน ตะบูนขาว นำเปลือกและเมล็ด มาต้ม ตะบูนดำ ใช้ผลต้มกับนํ้าดื่ม โปรงขาว นำเปลือกมาต้ม 2) การชะล้างแผล ห้ามเลือด สมานแผล ใช้โกงกางใบเล็ก นำเปลือกมาตำให้ละเอียด โกงกางใบใหญ่ นำเปลือกมาต้มนํ้าล้างบาดแผล ตะบูนขาว นำเปลือกและเมล็ดมาต้ม ตะบูนดำ ใช้เปลือกและผลต้ม แล้วนำมาตำให้ละเอียด ขี้เหล็กย่าน ใช้ใบตำพอกตามบาดแผล 3) ขับลม ฟอกเลือด ขับเลือดเสีย ใช้ตาตุ่มทะเล แก่นไม้ใช้เป็นส่วนผสม ในการปรุงยา แสมขาว แก่นมีรสเค็มเฝื่อน ใช้ต้มกับนํ้าแก้ลมในกระดูก 4) ถอนพิษ ขับสารพิษ ใชร้ างจืด นำใบสดมาคั้นผสมกบั น้ำซาวขา้ ว กรองเอาแตน่ ้ำดื่ม ผักบงุ้ ตน้ สดหรือตม้ นำน้ำมาดื่มขบั สารพิษ 5) หัวใจพกิ าร ใชเ้ ตา่ รา้ งแดง นาํ หัวและรากมาตม้ กบั น้ำ ดื่มเปน็ ยาแกตั้บทรุด ชว่ ยดบั พษิ ที่ตบั และปอด 6) นิ่ว ริดสีดวง ใช้ขลู่ นำใบสดมาคั้นนํ้าดื่ม 7) ตับอักเสบ ใช้รังไก่ รากเป็นยาดับพิษไข้ รักษาอาการ ไอเป็นโลหิต และตับอักเสบ ส่วนการแปรรูปสมุนไพรท้องถิ่นให้เป็นนํ้าสมุนไพร ได้แก่ นํ้ากระเจี๊ยบ นํ้าอัญชัน นํ้าตะไคร้ นํ้ามะม่วงหาวมะนาวโห่ นํ้ารางจืด สามารถรับประทานได้ทุกเพศทุกวัย เหมาะสมให้เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน คำสำคัญ: การจัดการความรู้, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, สมุนไพรไทย, จังหวัดสุราษฎร์ธานี
11
6.  ทัศนคติของผู้บริโภคต่อนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของโรงแรมสีเขียวในกรุงเทพมหานคร
Author : กัญญาพิไล กุญชรศิริมงคล
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้เข้าพักและปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติที่เกี่ยวข้อง กับนโยบายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของโรงแรมสีเขียว (green hotel) ในกรุงเทพมหานคร โดยใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเฉพาะคนไทย จำนวน 385 คน ที่เป็นผู้ที่เข้าพักหรือเคยใช้บริการของโรงแรมสีเขียว จำนวน 19 โรงแรม ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่าทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวกับนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของโรงแรมสีเขียว ในภาพรวมอยใู่ นระดับมาก ใหค้ วามสำคัญกับความสะอาด ระบบบำบัดน้ำเสีย และการกำจัดขยะมูลฝอย ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติต่อนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของโรงแรม สีเขียวคือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและที่พักสามารถนำผล วิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีความ สนใจและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมให้มาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น คำสำคัญ: ทัศนคติ, โรงแรมสีเขียว, นโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
25
7.  การจัดผังพื้นที่จัดเก็บในคลังสินค้า: กรณีศึกษาโรงงานผลิตยางรถยนต์
Author : จิราวรรณ เนียมสกุล
Abstract
โรงงานกรณีศึกษาประสบปัญหาพื้นที่การจัดวางสินค้า ทำให้การใช้พื้นที่ในคลังสินค้าและ ระยะทางการขนถา่ ยสินคา้ ไมเ่ หมาะสม และใชเ้ วลานานในการคน้ หาสนิ คา้ การวจิ ัยนี้จงึ มวี ตั ถปุ ระสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่และการขนถ่ายภายในคลังสินค้า โดยการจัดพื้นที่ตำแหน่งการจัดเก็บ สินค้าภายในคลังสินค้า ด้วยทฤษฎีการแบ่งกลุ่มสินค้าตามลำดับความสำคัญ ABC Analysis ร่วมกับ ทฤษฎี SLP (systematic layout planning) พบว่าการจัดผังแบบใหม่ทำให้ระยะทางในการขนถ่าย สินค้าลดลงร้อยละ 48.35 และเวลาในการค้นหาสินค้าลดลงร้อยละ 14.54 มีพื้นที่ในการจัดเตรียม สินค้าเพิ่มขึ้น และสามารถวางซ้อนบนชั้นวาง (rack) เพิ่มจาก 5 ชั้น เป็น 6 ชั้น คิดเป็นสัดส่วนพื้นที่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.00 คำสำคัญ: การจัดผัง, ABC analysis, อุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์
4
8.  ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในการ ปฏิบัติงาน: องค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคใต้
Author : ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ และคณะ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ ซินโดรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด แห่งหนึ่งในภาคใต้ จำนวน 140 คน คัดเลือกด้วยการสุ่มอย่างง่ายแบบจับสลากไม่คืนที่ เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการป้องกันกลุ่ม อาการคอมพิวเตอร์ซินโดรม ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ได้ค่า CVI .80 ขึ้นไป วิเคราะห์ค่าความเที่ยงแบบสอบถามความรู้ การได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ ที่เหมาะสม และนโยบายของหน่วยงาน ด้วยสูตร KR-20 ได้ค่า .61, .56 และ .55 ตามลำดับ แบบสอบถามทัศนคติความปลอดภัยในการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรม ใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค ได้ค่า .80, .78 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบทีละขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยนำ ได้แก่ ระยะเวลาการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ต่อวัน และระยะเวลา การปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ต่อสัปดาห์ ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ที่เหมาะสม และปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับคำชมเชย/คำเตือนจากผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนร่วมงาน สามารถ ร่วมทำนายพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติ งาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ได้ร้อยละ 36.80 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า หน่วยงานจะต้องสนับสนุนอุปกรณ์ที่เหมาะสมให้บุคลากรที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน กำหนดระยะเวลา การปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ทั้งต่อวันและต่อสัปดาห์ ตลอดจนให้ผู้บังคับบัญชาหรือเพื่อนร่วมงานชมเชย หรือตักเตือน จะทำให้บุคลากรมีพฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมที่ดี คำสำคัญ: ปัจจัยนำ, ปัจจัยเอื้อ, ปัจจัยเสริม, พฤติกรรมการป้องกันกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรม, กลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรม
33
9.  การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี โดยใช้หลักการ RESPONSIVE WEB DESIGN
Author : นงเยาว์ สอนจะโปะ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ โดยใช้หลักการ Responsive Web Design 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี โดยใช้หลักการ Responsive Web Design และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกโดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 35 คน ได้แก่ ผู้ประกอบการ ผู้ใช้งานทั่วไป และผู้ดูแลระบบ ดำเนินการวิจัยเชิงระบบ (system approach) และทดสอบระบบแบบ Black Box Testing เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เว็บไซต์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี โดยใช้หลักการ Responsive Web Design และแบบประเมินความพึงพอใจการใช้งานเว็บไซต์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว ในจังหวัดชลบุรี เว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นมีฟังก์ชันการทำงานแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ บริการผู้ประกอบการ บริการผู้ใช้งานทั่วไป และผู้ดูแลระบบ พบว่าการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว ในจังหวัดชลบุรี โดยใช้หลักการ Responsive Web Design สามารถแสดงข้อมูลผ่านเว็บไซต์ โดยใช้ URL เดียวกันได้อย่างเหมาะสมบนอุปกรณ์ที่มีหน้าจอแตกต่างกัน และมีผลประเมินความ พึงพอใจของผปู้ ระกอบการในภาพรวมอย่ใู นระดบั ดี ผใู้ ชทั้่วไปมคี วามพึงพอใจในภาพรวมอยใู่ นระดับดี และผู้ดูแลระบบมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับดี คำสำคัญ: ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์, เว็บไซต์แนะนำการท่องเที่ยว, จังหวัดชลบุรี, RWD
10
10.  การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของทีมงานกลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์: การวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงสำรวจ
Author : นาฏยา สุวรรณศิลป์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเ์ พื่อวิเคราะหอ์ งคป์ ระกอบการทำงานเปน็ ทีมที่สง่ ผลตอ่ ประสิทธิภาพ ของทีมงาน ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของบุคลากรโรงพยาบาลจุฬารัตน์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัด การทำงานเป็นทีมที่คณะวิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิดและทฤษฎีการทำงานเป็นทีม ผ่านการวิเคราะห์ ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในตามสูตรการหาสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค และการ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่าองค์ประกอบการทำงานเป็นทีมที่มีผลต่อประสิทธิภาพของ ทีมงานสามารถแบ่งออกเป็น 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การสื่อสารแบบเปิด ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของเป้าหมาย ความไว้เนื้อเชื่อใจ การมีมนุษยสัมพันธ์ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน และการมี ส่วนร่วมในการทำงาน ซึ่งทุกองค์ประกอบสามารถร่วมกันอธิบายการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ได้ 79.569% คำสำคัญ: การทำงานเป็นทีม, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ, องค์ประกอบการทำงานเป็นทีม, โรงพยาบาลจุฬารัตน์
6
11.  การจัดการการสืบทอดธุรกิจครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่นให้ประสบความสำเร็จ
Author : นิคม หมูหล้า
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัว และเพื่อศึกษา กระบวนการบริหารจัดการการสืบทอดกิจการจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่ง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ประกอบด้วย การทบทวนวรรณกรรมและศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (literature review) การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) โดยสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เป็น ทายาทนักธุรกิจในจังหวัดระยอง จำนวน 22 คน (กลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่: YEC) พบว่า แนวทางการบริหาร จัดการธุรกิจครอบครัวใหก้ ารสืบทอดธุรกิจครอบครัวจากรนุ่ หนึ่งสรู่ นุ่ ทายาทมีความราบรื่นและสมบูรณ์ จำเป็นต้องประยุกต์ศาสตร์การบริหารและการจัดการ ร่วมกับการศึกษาและการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ต่าง ๆ สำหรับธุรกิจครอบครัวของไทยจะแบ่งเป็น 7 ช่วงเวลา ให้ทายาทธุรกิจรุ่นต่อไปมีโอกาสศึกษา และเรียนรู้การดำเนินงานของธุรกิจครอบครัว ได้แก่ ระยะที่ 1 ระยะก่อนการเข้าสู่ธุรกิจครอบครัว ระยะที่ 2 ระยะการแนะนำ ทำความรู้จัก ระยะที่ 3 ระยะการฝึกงานในธุรกิจครอบครัว ระยะที่ 4 ระยะการปฏิบัติงาน ระยะที่ 5 ระยะการบรหิ ารงานในธรุ กจิ ครอบครวั ระยะที่ 6 ระยะการสง่ มอบงาน บริหารเบื้องต้น และระยะที่ 7 ระยะการส่งมอบการบริหารที่สมบูรณ์ กระบวนการบริหารจัดการการสืบทอดธุรกิจครอบครัวจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่งในประเทศไทย มีการส่งต่อธุรกิจจากรุ่นแรกไปสู่รุ่นที่ 2 มีจำนวนมาก และในขณะเดียวกันก็มีบ้างสำหรับรุ่นที่ 2 ส่งต่อธุรกิจไปสู่รุ่นที่ 3 ดังนั้น ผู้ก่อตั้ง (รุ่นที่หนึ่ง) จึงควรให้ความสำคัญกับยุคของรุ่นทายาทที่กำลัง เข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนผ่านระหว่างรุ่น ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญมากที่สุดและถือเป็นความท้าทายของผู้ก่อตั้ง หรือสมาชิกครอบครัวในรุ่นต่อมาว่าจะสามารถผ่านจุดถ่ายโอนธุรกิจไปได้หรือไม่ การที่ธุรกิจครอบครัว ไม่สามารถถ่ายโอนธุรกิจไปสู่ทายาทรุ่นต่อไปให้สืบทอดธุรกิจต่อไปได้ อาจจะเนื่องมาจากการวางแผน ด้านกระบวนการสืบทอดไม่มีประสิทธิภาพ คำสำคัญ: ธุรกิจครอบครัว, การสืบทอดธุรกิจครอบครัว
11
12.  ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินต้นทุนตํ่าในเส้นทางบินระหว่างท่าอากาศยานดอนเมือง ไปเมืองกวางโจว ฉางซา และฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
Author : บวรลักษณ์ เกื้อสุวรรณ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการ สายการบินต้นทุนตํ่าในเส้นทางบินระหว่างท่าอากาศยานดอนเมืองไปเมืองกวางโจว ฉางซา และฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน และเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาการให้บริการของสายการบิน ต้นทุนตํ่า ประชากรคือผู้โดยสารคนไทยที่ใช้บริการสายการบินต้นทุนตํ่าของสายการบินไทยแอร์เอเชีย กับสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ใช้สูตรในการคำนวณจากสูตรไม่ทราบ ขนาดประชากรของ Cochran สุ่มตัวอย่างแบบโควต้า แบ่งเป็นผู้ใช้บริการสายการบินไทยแอร์เอเซีย จำนวน 200 คน และผู้ใช้บริการสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม พบว่าปัจจัยที่ผู้ใช้บริการตัดสินใจเลือกใช้สายการบินต้นทุนตํ่าในเส้นทางบินระหว่าง ท่าอากาศยานดอนเมือง ไปเมืองกวางโจว ฉางซา และฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้ง 7 ด้านคือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ เป็นปัจจัยที่ผู้ใช้บริการตัดสินใจเลือกใช้ในระดับ มากที่สุด ผลจากการวิจัยได้แนวทางในการวางแผนพัฒนาการให้บริการของสายการบินต้นทุนตํ่า ดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ การตัดสินใจเลือกใช้บริการเรื่องความปลอดภัยอยใู่ นระดับต่ำ ดังนั้น ควรประชาสัมพันธ์ และให้ความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ด้านราคา การตัดสินใจเลือกใช้บริการ คงที่ ควรกำหนดเป็นกลยุทธ์ปรับค่าบริการที่เป็นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมเมื่อเทียบกับ คู่แข่ง ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย การตัดสินใจเลือกใช้บริการด้วยช่องทางในการจำหน่ายบัตรโดยสาร มีให้เลือกหลายช่องทาง กลยุทธ์การทำการตลาด ควรให้ความสำคัญและติดตามผล ด้านการส่งเสริม การตลาด การตัดสินใจเลือกใช้บริการที่การมีโปรโมชันส่วนลดค่าตั๋วโดยสาร ด้านบุคลากร พนักงาน ต้อนรับภาคพื้นดินและบนเครื่องบินมีความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ และเข้าใจในบริการของ สายการบินอย่างดี สามารถอธิบายให้ผู้ใช้บริการทราบได้เป็นอย่างดี ควรทดสอบพนักงานให้มี บุคลิกภาพดีอย่างสมํ่าเสมอ ด้านกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการ ในเรื่องของขั้นตอนการซื้อและ จองบัตรโดยสารควรปรับปรุงขั้นตอนในการซื้อ จองบัตร และชำระเงิน ให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น หรือเพิ่มช่องให้มากขึ้น และด้านลักษณะทางกายภาพ การตัดสินใจเลือกใช้บริการในเรื่องของ ห้องโดยสารบนเครื่องบินมีความสะอาด และอุปกรณ์และเครื่องใช้ภายในเครื่องบินมีมาตรฐานอยู่ใน สภาพที่ดี ดังนั้นควรมีการตรวจสอบอุปกรณ์ที่ให้ความปลอดภัยให้สามารถใช้งานได้อยู่เสมอ คำสำคัญ: การตัดสินใจเลือกใช้บริการ, สายการบินต้นทุนตํ่า
22
13.  การประเมินความสุขจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนแหล่งท่องเที่ยว
Author : มนรัตน์ ใจเอื้อ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสุขจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชน แหล่งท่องเที่ยว โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อยู่ในชุมชนแหล่งท่องเที่ยว จำนวน 10 ชุมชน ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง 2,262 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของชุมชนต่อความสุขจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้เกณฑ์การวัดความสุข อ้างอิงตามมาตรฐานการวัดความสุขมวลรวมประชาชาติ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test พบว่าประชาชนในพื้นที่ชุมชนแหล่งท่องเที่ยว โดยภาพรวมทั้งหมดมีความสุขอยู่ในระดับ มาก (ค่าเฉลี่ยความสุขเท่ากับ 7.47) โดยมีความสุขภาพรวมเชิงอัตวิสัย (SWB) และความสุขภาพรวม เชิงภาวะวิสัย (OWB) อยู่ในระดับมาก (SWB = 7.59, OWB = 7.24) หากพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประชาชนในชุมชนแหล่งท่องเที่ยวมีความสุขจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านธรรมาภิบาล (ค่าเฉลี่ยความสุขเท่ากับ 7.84) และมีความสุขจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในระดับมีความสุขน้อย ในด้านความสมดุลในการใช้เวลา (ค่าเฉลี่ยความสุขเท่ากับ 6.64) สำหรับผล การเปรียบเทียบความสุขจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 10 พื้นที่ชุมชน พบว่าชุมชนที่มีความสุขจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนมากที่สุดคือ ชุมชนเกาะพิทักษ์ จังหวัดชุมพร (ค่าเฉลี่ยความสุขเท่ากับ 8.73) และชุมชนที่มีความสุขจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนน้อยที่สุดคือ ชุมชนบ้านถํ้าเสือ จังหวัดเพชรบุรี (ค่าเฉลี่ยความสุขเท่ากับ 6.49) คำสำคัญ: การประเมินความสุข, การท่องเที่ยวโดยชุมชน, ชุมชนแหล่งท่องเที่ยว
3
14.  การธุรกิจระหว่างไทยและสิงคโปร์
Author : พลกฤษณ์ ไพรสานฑ์วณิชกุล
Abstract
สิงคโปร์เป็นประเทศที่เข้าสู่ประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศนี้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้าน ธุรกิจ นวัตกรรม เทคโนโลยี ทรัพยากรมนุษย์ มีการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จากผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ณ ราคาปัจจุบัน (GDP current prices) ในปี พ.ศ. 2560 เติบโต อยู่ที่ 300.95 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.5 จากปี พ.ศ. 2559 มีสินค้าส่งออกสำคัญ 3 อันดับ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้าและวงจรรวม นํ้ามันปิโตรเลียม และเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนสินค้า นำเข้าสำคัญ 3 อันดับ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า นํ้ามันปิโตรเลียม และนํ้ามันดิบ สิงคโปร์ยังเป็นหนึ่งในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยในการพัฒนาประเทศนั้นมอง ถึงตลาดสินค้าและบริการเป็นหลัก เน้นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าบริการ ช่องทางในการซื้อขายสินค้า และบริการ โดยประเทศไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่มีธุรกิจกับสิงคโปร์ สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ด้านเกษตร ได้แก่ ทุเรียน ลำไย เงาะ มะม่วง มังคุด เป็นต้น ด้านอุตสาหกรรม ได้แก่ อัญมณีและ เครื่องประดับ นํ้ามันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า ความร่วมมือระหว่างไทยและสิงคโปร์ ในภาครัฐมีการพัฒนาธุรกิจ 7 สาขา ได้แก่ เกษตร และอาหาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การลงทุน การอำนวยความสะดวกทางการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา การท่องเที่ยว และการบิน อีกทั้งความร่วมมือทางด้านความมั่นคง และความตกลง ว่าด้วยการยกเลิกภาษีซ้อน ส่วนภาคเอกชนจะมุ่งเน้นที่การส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการลงทุน ระหว่างกันและร่วมกันในประเทศที่สาม คำสำคัญ: ประเทศพัฒนาแล้ว, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, ภาษีซ้อน
28
15.  แนวทางส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา ในสาระศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม ของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี
Author : พัชรินทร์ รุจิรานุกูล
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา ในสาระ ศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม และหาแนวทางส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา ในสาระศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม ของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 47 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก รายข้ออยู่ระหว่าง .58 - .95 และค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .95 กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 และเขต 2 จำนวน 348 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน ใช้วิธีการสนทนากลุ่มและวิเคราะห์เนื้อหา ตามกรอบสนทนากลุ่มเพื่อหาแนวทางส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา ในสาระศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม สำหรับครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการจัดการเรียนรสูั้งคมศึกษา ในสาระศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม ของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน จากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล ด้านครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านแหล่งเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัญหาการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา ในสาระศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม ของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณา รายด้านจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านแหล่งเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก 2) ด้าน กิจกรรมการเรียนการสอน อยู่ในระดับปานกลาง 3) ด้านครูผู้สอน อยู่ในระดับน้อย และ 4) ด้านการ วัดและประเมินผล อยู่ในระดับน้อย 3. กลไกสำคัญในการจัดการเรียนรู้คือ ครูผู้สอนต้องให้ความสำคัญทั้งกิจกรรมการเรียน การสอน แหล่งเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสามารถ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน โดยแนวทางส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา ในสาระศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม ได้แก่ 1) ส่งเสริมและพัฒนาครูผู้สอนให้มีความรู้และมีทักษะ สำคัญอย่างต่อเนื่อง 2) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เอื้อต่อการเรียนรู้ของ ผู้เรียน ไม่เน้นการท่องจำมากเกินไป 3) พัฒนาการผลิตสื่อและออกแบบสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมทั้งสง่ เสริมการใชแ้ หลง่ เรียนร้นู อกหอ้ งเรียน 4) พัฒนาความรดู้ า้ นการวัดและประเมนิ ผลการเรียนรู้ แก่ครูผู้สอน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดวิธีการวัดผล คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา, สาระศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม, สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี
2
16.  การพัฒนาทักษะการโต้แย้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องพลังงาน นิวเคลียร์ โดยจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์
Author : ภูษณิศา สุวรรณศิลป์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการโต้แย้งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องพลังงานนิวเคลียร์ จัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับ วิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 33 คน ที่กำลังศึกษา วิชาวิทยาศาสตร์ 1 (ฟิสิกส์) ในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในเขตภาคกลาง โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดทักษะการโต้แย้ง เป็นคำถามปลายเปิด ประกอบด้วย ข้อความแสดงความคิดเห็นที่เป็นประเด็นทางสังคมเกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ประเด็น เรื่องเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์ ประกอบด้วยคำถาม 4 ข้อ ที่สอดคล้องกับองค์ประกอบของทักษะ การโต้แย้ง 4 องค์ประกอบคือ ข้อกล่าวอ้างและเหตุผลสนับสนุน หลักฐานสนับสนุน ข้อกล่าวอ้าง ที่ต่างออกไป และข้อโต้แย้งกลับ และแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องพลังงานนิวเคลียร์ จำนวน 3 แผน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย (แบบมาตราส่วนประเมินค่า 4 ระดับ) ความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่านักเรียนมีทักษะการโต้แย้งที่ดีขึ้น จากก่อนการจัดการเรียนรู้ที่มีทักษะการโต้แย้งในภาพรวมทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับควรปรับปรุง พัฒนาเป็นระดับดีมาก ดี และพอใช้ โดยองค์ประกอบข้อกล่าวอ้างและเหตุผลสนับสนุนอยู่ในระดับ สูงสุดคือดีมาก มีค่าเฉลี่ย 3.27 ส่วนองค์ประกอบข้อกล่าวอ้างที่ต่างออกไป และข้อโต้แย้งกลับอยู่ใน ระดับดี มีค่าเฉลี่ย 3.09 และ 2.58 ตามลำดับ ส่วนองค์ประกอบหลักฐานสนับสนุนอยู่ในระดับพอใช้ มีค่าเฉลี่ย 2.48 คำสำคัญ: ทักษะการโต้แย้ง, ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์, พลังงานนิวเคลียร์
14
17.  ข้อควรรู้ก่อนการใช้อากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก
Author : รพีพร ตันจ้อย
Abstract
ภาพถ่ายในมุมหลากหลายทำให้ได้ภาพที่สวยงามแปลกตา โดยเฉพาะภาพโฆษณาซึ่งเห็นกัน ได้ทั่วไปในสื่อทุกประเภท ส่งผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภค อุปกรณ์ที่เข้ามามีบทบาทในการผลิตภาพ เหล่านั้นคงหนีไม่พ้นอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก หรือโดรน (drone) หรือ UAV (unmanned aerial vehicle) ซึ่งเดิมพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในทางทหาร แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาโดรน ให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้หลากหลายด้านมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานโฆษณา เกษตรกรรม งานข่าว การค้า เป็นต้น โดรนเข้ามาในประเทศไทยหลายปีพอสมควร ในช่วงแรกยังไม่มีข้อบังคับ การใช้งานอย่างจริงจัง จนกระทั่งมีกฎหมายควบคุมการใช้งานเพื่อให้ประชาชนทั่วไปรับทราบและ ปฏิบัติตามเมื่อปี พ.ศ. 2558 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันของผู้ใช้งาน เพราะบางพื้นที่มีการควบคุม ห้ามใช้โดรนเข้าไปในพื้นที่โดยเด็ดขาด เช่น รัศมี 9 กิโลเมตรของสนามบินหรือสถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ ดังนั้น ผู้ใช้ควรศึกษา ข้อมูลการใช้โดรนอย่างละเอียด เพื่อป้องกันการถูกโจมตีจาก Anti-Drone รวมทั้งไม่ให้ถูกดำเนินคดี ด้านความมั่นคงโดยกองทัพอากาศด้วย คำสำคัญ: โดรน, กฎการบินโดรน, UAV
10
18.  การศึกษาองค์ประกอบพฤติกรรมความใส่ใจของนักศึกษาวิชาชีพครู
Author : ศิริภิญญา ตระกูลรัมย์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบพฤติกรรมความเอาใจใส่ของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินการวิจัยโดยใช้หลักการวิจัยและพัฒนา เพื่อ ศึกษาองค์ประกอบพฤติกรรมความใส่ใจ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 530 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามองค์ประกอบพฤติกรรมสร้างสรรค์ สังคมและแบบสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามองค์ประกอบพฤติกรรม สร้างสรรค์สังคม ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง (the second confirmatory factory analysis: CFA) เพื่อ ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบพฤติกรรมสร้างสรรค์สังคมของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าองค์ประกอบพฤติกรรมความใส่ใจมี 4 ด้าน ได้แก่ การเข้าใจผู้อื่น การส่งเสริมผู้อื่น การรู้จักให้โอกาสผู้อื่น และการตระหนักถึงทัศนะของกลุ่ม คำสำคัญ: ความใส่ใจ, พฤติกรรม, นักศึกษาวิชาชีพครู
23
19.  บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และการสื่อสารเพื่อการพัฒนา พื้นที่พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ 4.0
Author : สุทธิดา นาคเจริญ
Abstract
การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่าง ประเทศ (FDI) เพิ่มขีดความสามารถของประเทศ กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ลดความเหลื่อมลํ้า ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และแก้ปัญหาความมั่นคง โดยใช้กลยุทธ์สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ สนับสนุนพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน สนับสนุน SMEs และการลงทุนต่อเนื่อง และจัดระเบียบพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน โดยใช้รูปแบบการสื่อสารผ่านสื่อมวลชนเพื่อให้ประชาชน มีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจในยุค 4.0 ดังนั้น ในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุ โทรทัศน์ควรพัฒนารูปแบบการผลิตรายการให้มีความสอดคล้องกับสภาพการพัฒนาเศรษฐกิจ และ เน้นการสื่อสารเพื่อการพัฒนาใน 5 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการเกษตร พัฒนาชลประทาน การสื่อสาร ในงานสาธารณสุข การสื่อสารในการวางแผนครอบครัว และการสื่อสารกับการรู้หนังสือ โดยยึดบทบาท หน้าที่ของสื่อมวลชนเป็นหลักในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คำสำคัญ: เขตเศรษฐกิจพิเศษ, วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์, สื่อมวลชน
17
20.  รูปแบบการบริหารตามแนวทาง EdPEx สำหรับหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุของโรงเรียนเอกชนนอกระบบ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
Author : สุภาวดี ดวงศิริ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวการณ์การบริหารโรงเรียนเอกชนนอกระบบ หลักสูตร การดูแลผู้สูงอายุ เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารตามแนวทาง EdPEx สำหรับหลักสูตรการดูแล ผู้สูงอายุ และเพื่อตรวจสอบการยอมรับรูปแบบการบริหารตามแนวทาง EdPEx สำหรับหลักสูตร การดแู ลผสู้ งู อายุ โดยศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณแ์ บบมโี ครงสรา้ ง โดยสมั ภาษณผ์ ทู้ รงคณุ วุฒิ 17 คน ใช้แบบสอบถามแบบ Rating Scale 5 ระดับ เพื่อสอบถามผู้บริหารโรงเรียน 128 โรงเรียน ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ 15 คน รวมทั้งการสนทนากลุ่ม (focus group discussion) เพื่อตรวจสอบ การยอมรับรูปแบบการบริหารตามแนวทาง EdPEx สำหรับหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาวการณ์การบริหารโรงเรียนเอกชนนอกระบบหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ของโรงเรียน เอกชนนอกระบบ ตามเนื้อหาของเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ EdPEx 7 ด้าน ได้แก่ 1) การนำองค์กร 2) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ 3) การมุ่งเน้นผู้เรียน 4) การวัด การวิเคราะห์ และ การจัดการความรู้ 5) การมุ่งเน้นบุคลากร 6) การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ และ 7) ผลลัพธ์ 2. รูปแบบการบริหารตามแนวทาง EdPEx สำหรับหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุของโรงเรียน เอกชนนอกระบบคือ คู่มือและเครื่องมือเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ EdPEx ที่มีความถูกต้อง เหมาะสม และเป็นประโยชน์ 3. ผลการตรวจสอบการยอมรับคู่มือและเครื่องมือเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการ ที่เป็นเลิศ EdPEx พบว่าคู่มือและเกณฑ์ตัวบ่งชี้ KPI คุณภาพการศึกษา เพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ EdPEx สำหรับหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก คำสำคัญ: รูปแบบการบริหาร, แนวทาง EdPEx, หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ, โรงเรียนเอกชนนอก ระบบ, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
3
21.  การพัฒนาเครื่องมือวัดภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของหัวหน้างานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
Author : รชวีย์ หล่อศรีศุภชัย
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของหัวหน้างาน ในภาควิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่หนึ่ง สังเคราะห์ แนวคิด ทฤษฎีภาวะผู้นำ 4 แบบ ได้แก่ ภาวะผู้นำเชิงบารมี ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำ เชิงกลยุทธ์ และภาวะผู้นำแบบทีม เพื่อเป็นฐานโดยมุ่งหวังว่าจะได้คำนิยามและองค์ประกอบของ ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำนวน 3 คน ตามองค์ประกอบทั้ง 5 เพื่อให้ได้เนื้อหาที่ครอบคลุมและตรงกับบริบทของ SMEs ระยะที่สอง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากหัวหน้า จำนวน 700 คน แล้วใช้เทคนิคการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยันเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบจากข้อมูลเชิงประจักษ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL พบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) มุ่งสู่วิสัยทัศน์และทันต่อการ เปลี่ยนแปลง 2) ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม 3) ลงมือปฏิบัติอย่างรวดเร็ว 4) สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และ 5) เป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจ 2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่าแบบจำลองการวัดภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่ กำหนดให้องค์ประกอบทั้ง 5 ด้าน วัดตัวแปรแฝงร่วมกันกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( χ2 = 3887.47, df = 734, RMSEA = .078, SRMR = .041, CFI = .96, TLI = .96) คำสำคัญ: ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
7
22.  การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยกระบวนการ เผชิญสถานการณ์ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์
Author : วรรณษา ชลอยบุญ
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนรู้โดยกระบวนการเผชิญสถานการณ์ร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับ การสอนตามปกติ 3) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการจัดการเรียนการสอนโดยกระบวนการเผชิญสถานการณ์ ร่วมกับการใช้สื่อออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสุรศักดิ์วิทยาคม จำนวน 2 ห้องเรียน ซึ่งได้จากการ สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้กระบวนการเผชิญ สถานการณ์ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนแบบปกติ และใช้การทดสอบค่าทีเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยกระบวนการสอนแบบเผชิญสถานการณ์ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการสอนแบบเผชิญสถานการณ์ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ สูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) เจตคติต่อการเรียน การสอนโดยกระบวนการสอนแบบเผชิญสถานการณ์ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ในวิชาภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับมาก คำสำคัญ: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ, กระบวนการเผชิญสถานการณ์, สื่อสังคมออนไลน์
4
23.  แนวทางในการพัฒนาบุคลากรของบริษัท ABC หลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Author : ลลิตา คุปตวนิชเจริญ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาบุคลากรในองค์กรเพื่อการเป็นประชาคม อาเซียน ของบริษัท ABC ในจังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้เชี่ยวชาญผู้มีอำนาจตัดสินใจซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อจัดหาและ จัดสรรงบประมาณในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่น ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ผู้จัดการแผนก สรรหาและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ผู้จัดการบริหารลูกค้าสัมพันธ์และการจัดการคุณภาพ ผู้จัดการ บริหารการผลิต ผู้จัดการฝ่ายคุณภาพสินค้า และผู้จัดการแผนก ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรเพื่อการเป็นประชาคมอาเซียน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลคือ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน ปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์ มีความสำคัญในเรื่องการใช้ทุนมนุษย์ การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และความยั่งยืน ปัจจัย ด้านคุณภาพทรัพยากรมนุษย์คือ การมีทัศนคติที่ดีกับงานและเพื่อนร่วมงาน การพัฒนาความรู้และ ทักษะการใช้เทคโนโลยี รวมถึงการมีคุณธรรมจริยธรรม ปัจจัยด้านภาวะผู้นำคือ การเป็นผู้นำที่มี คุณธรรม มีการสื่อสารกับพนักงาน กำหนดวิสัยทัศน์องค์กรอย่างชัดเจน ปัจจัยด้านองค์กรคือ การเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมพัฒนาความรู้ในทุกด้านให้กับพนักงาน ซึ่งปัจจัยทุกด้านล้วนมีอิทธิพล กับการพัฒนาองค์กรเพื่อการเป็นประชาคมอาเซียน จากผลการวิจัยสามารถนำไปกำหนดแนวทางการพัฒนาส่งเสริมบุคลากรในองค์กรให้มี ศักยภาพ เติบโตและแข็งแกร่ง โดยการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ด้านวัฒนธรรมอาเซียนให้แก่พนักงาน เสริมทักษะด้านภาษาอังกฤษ ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง นำเทคโนโลยี เข้ามาช่วยในการปฏิบัติงานและมีการฝึกอบรมก่อนใช้งาน รวมถึงสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ คำสำคัญ: การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, ประชาคมอาเซียน
30