please wait loading...
Untitled Document
 
 ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนกรกฎาคม-เดือนกันยายน 2563 ISSN 1686-5715 อ่าน
1.  การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับครู ระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3
Author : ศักดิ์ศรี สืบสิงห์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดฝึกสะเต็มศึกษาที่เน้นทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้ชุดฝึกสะเต็มศึกษา ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการ เรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกสะเต็มศึกษาที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับครูระดับประถม ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูระดับ ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ปีการศึกษา 2562 ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) จำนวน 100 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับครูระดับประถมศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยใช้ชุดฝึก มีประสิทธิภาพ 89.90/86.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภายหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ สำหรับครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 3 มีคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก เสริมทักษะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: สะเต็มศึกษา, ทกั ษะกระบวนการทางวทิ ยาศาสตร, ชดุ ฝกึ ทักษะ, ประถมศึกษา, สาํ นักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3
8
2.  ผลของค่าความนิยมต่อมูลค่ากิจการผ่านผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย
Author : รองเอก วรรณพฤกษ์
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ของค่าความนิยมผ่านผลการดำเนินงานที่ส่งผลต่อมูลค่ากิจการ ประชากรเป็นบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET 100) จำนวน 100 บริษัท ผู้วิจัยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล จากงบการเงินระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ปี พ.ศ. 2556-2560 รวมระยะเวลา 5 ปี การวิเคราะห์ ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ โดยแสดงในรูปตารางแจกแจงความถี่และค่าเฉลี่ย และใช้สถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (path analysis) ของค่าความนิยมต่อ มูลค่ากิจการผ่านผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ ระดับนัยสำคัญที่ .01 ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าความนิยมส่งผลต่ออัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมในเชิงบวก 2) ค่าความนิยมส่งผลต่อมูลค่ากิจการในเชิงบวก 3) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมส่งผลต่อ มูลค่ากิจการในเชิงบวก และ 4) ค่าความนิยมส่งผลต่อมูลค่ากิจการผ่านอัตราส่วนผลตอบแทนต่อ สินทรัพย์รวมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ: ค่าความนิยม, อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม, มูลค่ากิจการ
50
3.  การพัฒนาระบบขออบรมสัมมนาออนไลน์สำหรับมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
Author : นรินทร์ พนาวาส
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบขออบรมสัมมนาออนไลน์ สำหรับมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ที่พัฒนาขึ้นในรูปของเว็บแอปพลิเคชัน เพื่อให้ระบบทำงานได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น โดยเก็บข้อมูลในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้สนับสนุนการทำงานด้านการขอเข้าอบรมสัมมนา ของบุคลากรได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และผู้ขออนุมัติไปอบรมสัมมนาสามารถ รับทราบสถานะขั้นตอนการขออนุมัติว่าอยู่ในขั้นตอนใด ทราบว่างบประมาณพัฒนาบุคลากรของตนเอง เหลือเท่าไร โดยสำนักงานบุคคลสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ดูแลและควบคุม การใช้จ่ายงบประมาณพัฒนาบุคลากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยังสามารถสร้างระบบคลังความรู้ ของมหาวิทยาลัยเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับบุคลากรและนักศึกษาต่อไป ซึ่งครอบคลุมภาระงาน ด้านงานเอกสาร 8 องค์ประกอบ ได้แก่ ฟังก์ชันขออบรมสัมมนา ฟังก์ชันกำหนดสิทธิ์การอนุมัติ ผู้บังคับบัญชา ฟังก์ชันกำหนดข้อมูลการหักงบประมาณอบรมสัมมนา ฟังก์ชันบันทึกเวลาอบรมสัมมนา ฟังก์ชันส่งสรุปอบรมสัมมนา ฟังก์ชันกรอกแบบประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบ ฟังก์ชัน ผลการประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบ และฟังก์ชันรายงานสรุปอบรมสัมมนา โดยผู้ใช้งานทั่วไป และผู้ดูแลระบบสามารถใช้งานระบบได้ตามมาตรฐานการพัฒนาระบบสารสนเทศ (SDLC: system development life cycle) ใช้ภาษา PHP และ JavaScript โดยใช้โปรแกรม MySQL จัดเก็บฐาน ข้อมูล ในการทดสอบระบบนั้น ผู้วิจัยใช้แบบประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน และ ผู้ใช้งานระบบทั่วไป จำนวน 124 คน ใช้สถิติในการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพของระบบคือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญได้ค่าเฉลี่ยรวม 4.29 และส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน 0.59 และผลการประเมินจากผู้ใช้งานระบบได้ค่าเฉลี่ยรวม 4.35 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.61 ซึ่งผลจากการประเมินคุณภาพของกลุ่มตัวอย่างสามารถสรุปได้ว่า ระบบขออบรม สัมมนาออนไลน์ สำหรับมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี มีคุณภาพอยู่ในระดับดี และสามารถ นำไปประยุกต์ใช้งานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำสำคัญ: อบรมสัมมนา, เว็บแอปพลิเคชัน, ระบบสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
8
4.  การประเมินนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมธุรกิจ SMEs ของประเทศไทย ศึกษาเปรียบเทียบแบ่ง ตามรายภูมิภาคและรายประเภท
Author : ศรีสุดา จงสิทธิผล
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความเหมาะสมของการ ดำเนินงานตามนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย เปรียบเทียบผลของนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามพื้นที่ 6 ภาค เปรียบเทียบผลการดำเนินการตามนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมตามพื้นที่ 6 ภาค จำแนกตาม 3 ประเภทภาคการผลิต ภาคการบริการ ภาคการค้าส่งและ การค้าปลีก โดยเปรียบเทียบการเข้าถึงการสนับสนุนจากภาครัฐที่ส่งผลต่อการพัฒนาตามพื้นที่ 6 ภาค และเปรียบเทียบการเข้าถึงการสนับสนุนจากภาครัฐที่ส่งผลต่อการพัฒนาที่มีความแตกต่างกันในด้าน การประกอบธุรกิจ จำแนกตามขนาดและประเภทของธุรกิจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคการผลิต ภาคการบริการ ภาคการค้าส่งและการค้าปลีก ตามพื้นที่ 6 ภาค จำนวน 2,400 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้วิเคราะห์แบบสอบถาม ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่มย่อย และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม รวมจำนวน 147 ราย ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า
19
5.  ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการมาเยือนธารนํ้าร้อนบ่อคลึง จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
Author : ญานิกา ชื่นตะโก
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อ การมาเยือนธารนํ้าร้อนบ่อคลึง จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความ พึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการมาเยือนธารนํ้าร้อนบ่อคลึง จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผล ได้แก่ ร้อยละและความถี่ พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเยือนธารนํ้าร้อนบ่อคลึง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่า เพศชาย อายุ 21-30 ปี มีสถานะโสด ประกอบอาชีพรับจ้างโดยมีรายได้ 15,001-30,000 บาท พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเยือนธารนํ้าร้อนบ่อคลึง จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย พบว่าลักษณะการเดินทางมาท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เดินทางมากับครอบครัว จำนวนครั้ง ที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรี 1-2 ครั้ง ช่องทางที่รู้จักหรือทราบข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวธารนํ้าร้อน บ่อคลึง จังหวัดราชบุรี คือ อินเทอร์เน็ต และกิจกรรมที่ทำในแหล่งท่องเที่ยวคือ แช่นํ้าร้อน ส่วนปัจจัย ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในภาพรวม พบว่าทรัพยากรธรรมชาติของแหล่งท่องเที่ยว เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางมาเยือนธารนํ้าร้อนบ่อคลึง จังหวัดราชบุรี คำสำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, พฤติกรรมนักท่องเที่ยว, ความพึงพอใจ
29
6.  การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อเว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Author : นันทิดา โอฐกรรม
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างด้านบุคคล ได้แก่ เพศ ชั้นปี และคณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่มีต่อการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อ เว็บไซตม์ หาวทิ ยาลยั ราชภัฏสวนสุนันทา เปน็ การวจิ ยั เชิงปรมิ าณ กล่มุ ตัวอยา่ งมาจากการสมุ่ อยา่ งงา่ ย จำนวน 300 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้สถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (one-way analysis of variance) และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) พบว่านักศึกษาใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ ในระดับปานกลาง และมีความพึงพอใจต่อเว็บไซต์โดยภาพรวมในระดับปานกลาง โดยนักศึกษาที่มี เพศต่างกันมีการใช้ประโยชน์และมีความพึงพอใจต่อเว็บไซต์แตกต่างกัน และการใช้ประโยชน์จาก เว็บไซต์มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อเว็บไซต์ คำสำคัญ: การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ, เว็บไซต์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
19
7.  การวิเคราะห์ปัจจัยการจัดการพิพิธภัณฑ์เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการรับรู้ ประสบการณ์ทางการท่องเที่ยว
Author : รุจิภาส บุญสำเร็จ
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการจัดการพิพิธภัณฑ์ เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการรับรู้ประสบการณ์ทางการท่องเที่ยว โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในพิพิธภัณฑ์ เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมบริเวณเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน และใช้การวิเคราะห์ สมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณในการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าด้านเจ้าหน้าที่/บุคลากร เป็นปัจจัยที่มี อิทธิพลสูงสุดต่อการรับรู้ประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยว ในพิพิธภัณฑ์เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม รองลงมาคือ ด้านการเรียนรู้ ด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรม และด้านการจัดการแสดง/นิทรรศการ คำสำคัญ: พิพิธภัณฑ์เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม, การรับรู้, ประสบการณ์ทางการท่องเที่ยว
30
8.  รูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลแบบออนไลน์ด้วยการเรียนรู้แบบเชิงรุกสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0
Author : ชมภูนุช พุฒิเนตร
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู 2) ศึกษาความ ต้องการในการพัฒนาทักษะดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู 3) สังเคราะห์และพัฒนารูปแบบการฝึก ทักษะดิจิทัลแบบออนไลน์ด้วยการเรียนรู้แบบเชิงรุกสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู และ 4) ประเมินความ เหมาะสมของรูปแบบการฝึกทักษะดิจิทัลแบบออนไลน์ด้วยการเรียนรู้แบบเชิงรุกสำหรับนักศึกษา วิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาวิชาชีพครูระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ สถาบัน การจัดการปัญญาภิวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏ กาญจนบุรี ปีการศึกษา 2561 ชั้นปีที่ 1-5 จำนวน 700 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และผู้ให้ ข้อมูลสำคัญคือ ผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานเกี่ยวกับการศึกษา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีประสบการณ์ทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี จำนวน 7 คน ใช้วิธีการ เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะดิจิทัลและ ความต้องการในการพัฒนาทักษะดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ในประเด็นที่เกี่ยวกับทักษะดิจิทัลและรูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลแบบออนไลน์ด้วยการเรียนรู้ แบบเชิงรุก และ 3) แบบประเมินผลความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัลแบบออนไลน์ ด้วยการเรียนรู้แบบเชิงรุกสำหรับผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับ คือ 1) ด้านการสอนและการเรียนรู้ 2) ด้านการสร้างนวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ 3) ด้านการค้นหาข้อมูล และการใช้งานที่มีคุณภาพ 4) ด้านการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่มีอยู่ 5) ด้านการปกป้องข้อมูล ตัวเองและป้องกันข้อมูลของผู้อื่น และ 6) ด้านการสื่อสารและความร่วมมือ 2. ความต้องการในการพัฒนาทักษะดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครูคือ ทักษะดิจิทัลในด้านรู้ สร้างสรรค์เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านรู้ใช้ และด้านรู้เข้าใจ 3. รูปแบบการฝึกทักษะดิจิทัลแบบออนไลน์ด้วยการเรียนรู้แบบเชิงรุกสำหรับนักศึกษาวิชาชีพ ครูที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) การทดสอบก่อนเรียน 2) การเรียนรู้เนื้อหาบทเรียน ครอบคลุม 3 มิติคือ รู้ใช้ รู้เข้าใจ และรู้สร้างสรรค์ และ 3) การทดสอบหลังเรียน 4. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการฝึกทักษะดิจิทัลแบบออนไลน์ด้วยการเรียนรู้ แบบเชิงรุกสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่าอยู่ในระดับมากในด้านวัตถุประสงค์ การเรียน ด้านการวัดประเมินผล ด้านรูปแบบการพัฒนาทักษะดิจิทัล และด้านเนื้อหาบทเรียน และ ความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลางคือ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ คำสำคัญ: รูปแบบการฝึก, ทักษะดิจิทัล, ไทยแลนด์ 4.0, การเรียนรู้แบบเชิงรุก
4
9.  การศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้บริการสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบกับส่วนประสมทางการตลาด ในเส้นทางบินระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังท่าอากาศยานกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน
Author : บวรลักษณ์ เกื้อสุวรรณ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ พฤติกรรมการใช้บริการของ ผู้ใช้บริการ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อผู้ใช้บริการในเส้นทางการบินระหว่าง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังท่าอากาศยานกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นการวิจัยพื้นฐาน ทางสังคมศาสตร์ โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน พบว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 54.80 อายุระหว่าง 31-40 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีอาชีพข้าราชการ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-30,000 บาท วัตถุประสงค์ในการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว ระดับ ความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ได้แก่ ด้าน ผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ย 4.50 ด้านราคา มีค่าเฉลี่ย 4.55 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีค่าเฉลี่ย 4.52 ด้านการส่งเสริมการตลาด มีค่าเฉลี่ย 4.45 ด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ย 4.59 ด้านกระบวนการมีค่าเฉลี่ย 4.61 และด้านลักษณะทางกายภาพ มีค่าเฉลี่ย 4.04 ผลที่ได้จากการวิจัยจะนำไปเป็น แนวทางในการวางแผนและปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาดของสายการบินในการสร้างความพึงพอใจ ให้กับผู้ใช้บริการอย่างยั่งยืน คำสำคัญ: พฤติกรรม, สายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบ, ส่วนประสมทางการตลาด, ท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ, ท่าอากาศยานกวางโจว
2
10.  ปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสวนอนันต์
Author : ดวงเดือน ศาสตรภัทร และคณะ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับคะแนน IQ, CQ, EQ, SQ, AQ และ MQ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2) ศึกษาปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อ GPA ของนักเรียน และหาสมการทำนาย 3) ศึกษาตัวแปรเชิงคุณภาพที่ทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จ ในการเรียน เป็นการศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากรคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาโรงเรียน สวนอนันต์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 349 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 157 คน สุ่มแบบ แบ่งชั้นที่สัดส่วนไม่เท่ากันจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 จำนวน 30, 36, 37, 31, 12 และ11 คน ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 6 ชุดคือ 1) แบบวัด IQ 2) แบบวัด CQ 3) แบบวัด EQ 4) แบบวัด SQ 5) แบบวัด AQ และ 6) แบบวัด MQ มีการทำ Focus Group เพื่อศึกษาตัวแปรในเชิงคุณภาพที่ทำให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการเรียน พบว่าในเทอมต้น และเทอมปลาย GPA สัมพันธ์กับ IQ, EQ และ AQ ปัจจัยที่เข้าไปทำนาย GPA ในเทอมต้นคือ IQ และในเทอมปลายคือ IQ และ AQ ผลการวิจัยในเชิงคุณภาพพบว่า ความสำเร็จในการเรียนประกอบด้วย IQ, AQ และวิธีเรียนแบบ Active Learning ตั้งคลินิกรักษานักเรียนที่ไม่เข้าใจคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ และมีสติในขณะเรียน คำสำคัญ: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (GPA), IQ, CQ, EQ, SQ, AQ, MQ, โรงเรียนสวนอนันต์
7
11.  การพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แสดงผลการตรวจวัดคุณภาพนํ้าในพื้นที่เทศบาลเมือง เมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
Author : จุฬาวลี มณีเลิศ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพนํ้าของแหล่งนํ้าในพื้นที่เทศบาลเมือง เมืองแกนพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แสดงผลการตรวจวัด คณุ ภาพนา้ํ ในชมุ ชน 3) เพอื่ ประเมนิ ผลการใชร้ ะบบสารสนเทศภมู ศิ าสตร ์ โดยกลมุ่ ตวั อยา่ งทใี่ ชใ้ นการ วิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญที่ให้ข้อมูลการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จำนวน 5 คน ได้มาโดย การคัดเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างทดลองใช้ระบบ จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินประสิทธิภาพ และแบบสอบถามความ พึงพอใจ ทดสอบการทำงานด้วยวิธีแบบ Black Box Testing และวิธี White Box Testing วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพนํ้าผิวดินของจุดเก็บตัวอย่างนํ้า 7 จุด จัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพแหล่งนํ้าผิวดินประเภทที่ 3 ค่าอุณหภูมินํ้า ความขุ่น พีเอช และออกซิเจนละลายนํ้า โดยภาพรวมคุณภาพนํ้าอยู่ในเกณฑ์ดี 2) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แสดงผลการตรวจวัดคุณภาพนํ้า ที่พัฒนาขึ้น สามารถแสดงตำแหน่งของจุดเก็บตัวอย่างบนแผนที่ และนำเสนอผลคุณภาพนํ้าในรูปแบบของตารางและกราฟ ผู้ใช้งานระบบสามารถสืบค้นข้อมูลและเข้าถึงข้อมูลรายงานคุณภาพนํ้าของ แหล่งนํ้าในพื้นที่ได้สะดวก 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีมาก ( X = 4.55) และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( X = 3.92) คำสำคัญ: ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, คุณภาพนํ้า, การตรวจวัดคุณภาพนํ้า
4
12.  การมีส่วนร่วมของชุมชนในการลดค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ ของบ้านร่องปลาค้าว ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
Author : ณรงค์ เจนใจ
Abstract
การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน บ้านร่องปลาค้าว ในการลดค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ ชุมชน แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ประเด็นการสนทนากลุ่ม และแบบการสังเกต ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน พระสงฆ์ และผู้สูงอายุ จำนวน 25 คน/รูป ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงเนื้อหา พบว่าการมีส่วนร่วมของชุมชนในการลดค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับชุมชนมีส่วนร่วมในการมีกฎ กติกา และแนวทางปฏิบัติร่วมกัน โดยยึดถือประเพณีของ ชุมชน และการมีส่วนร่วมในการลดค่าใช้จ่าย และ 2) ระดับกลุ่มและบุคคล โดยการมีส่วนร่วมของกลุ่ม ต่าง ๆ ในชุมชนที่มีการรวมกลุ่มกันขึ้น ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกัน แบบเฉพาะกิจ หรือการจัดตั้งกลุ่มเพื่อการสาธารณประโยชน์ในชุมชน เพื่อช่วยเหลือเจ้าภาพงานศพ ทั้งในด้านแรงงานและทุนทรัพย์ คำสำคัญ: การมีส่วนร่วม, การจัดงานศพ, การลดค่าใช้จ่าย
3
13.  การรับรู้และภาพลักษณ์สถาบันพระบรมราชชนกและวิทยาลัยในสังกัดของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Author : นภชา สิงห์วีรธรรม และคณะ
Abstract
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้เพื่อศึกษาความสนใจการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาด้านสาขาวิชา สาธารณสุขและการพยาบาล การรับรู้และภาพลักษณ์เกี่ยวกับสถาบันพระบรมราชชนก และแนวทาง การส่งเสริมการรับรู้สถาบันพระบรมราชชนกและวิทยาลัยในสังกัด ตามการรับรู้ของนักเรียนในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 96 คน เลือกแบบเจาะจงจากโรงเรียนในระดับจังหวัดและระดับอำเภอที่เรียนสายวิทยาศาสตร์ เก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่มและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา พบว่า 1. เหตุผลของความสนใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาด้านสาขาวิชาสาธารณสุขและ การพยาบาลของนักเรียน ได้แก่ ความมั่นคงในชีวิต อิทธิพลของครอบครัว อาชีพแห่งการทำความดี และต้องการดูแลคนในครอบครัว 2. นักเรียนรับรู้เกี่ยวกับสถาบันพระบรมราชชนก ในประเด็นว่ายังไม่เป็นที่รู้จักอย่างชัดเจน ชื่อสถาบันไม่สะท้อนพันธกิจ และขาดการประชาสัมพันธ์ชื่อสถาบัน 3. ข้อได้เปรียบและสิ่งที่สะท้อนถึงภาพลักษณ์ของสถาบันพระบรมราชชนกและวิทยาลัยใน สังกัด ได้แก่ การเป็นสถาบันของพระมหากษัตริย์ สถาบันอันเป็นที่ยอมรับเกี่ยวข้องกับแพทย์ พยาบาล และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 4. แนวทางการส่งเสริมการรับรู้สถาบันพระบรมราชชนกและวิทยาลัยในสังกัด ได้แก่ นิยาม การเป็นสถาบันพระบรมราชชนก จัดทำข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนสามารถเข้าถึงได้ สร้างแรงจูงใจให้ สมัครเรียน และจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เชิงรุก ข้อเสนอแนะคือ ควรจัดประชาสัมพันธ์เชิงรุกผ่านสื่อออนไลน์ จัดค่ายให้นักเรียนที่สนใจเข้ามา เรียนรู้ก่อนตัดสินใจเลือกเรียน และจัดอบรมครูแนะแนวในโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อให้ความชัดเจนของ หลักสูตรที่เปิดสอน คำสำคัญ: การรับรู้, ภาพลักษณ์, สถาบันพระบรมราชชนก, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
14
14.  การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อถอดบทเรียนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การทำขนมไทยในเทศกาลและงานมงคล กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Author : กานต์สิรี ชูทอง
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาการจัดการ เรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วม มือ และ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อถอดบทเรียนหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเรื่อง การทำขนมไทยในเทศกาลและงานมงคล กลุ่มสาระการเรียนรู้การ งานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล 1 (สังขวิทย์) จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 31 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมรูปแบบ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียนที่แสดงออกบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และแบบสอบถาม ความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test (dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาการจัดการ เรียนรู้ ฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็นทำเป็นอย่างมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในด้านต่าง ๆ โดยการดำเนินกิจกรรม ต้องนำไปสู่ความยั่งยืนของผล โดยที่ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำไปเผยแพร่สู่ครอบครัวและชุมชน 2) ผลการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อถอด บทเรียนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเรื่อง การทำขนมไทยในเทศกาลและงานมงคล กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ใช้รูปแบบ PPCC Model ประกอบด้วย 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นการวางแผน ขั้นนำเสนอ ขั้นกิจกรรมกลุ่ม และขั้นสรุปและประเมินผล 3) ผลการ ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างได้ค่าประสิทธิภาพ 83.18/83.87 4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อถอดบทเรียน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเรื่อง การทำขนมไทยในเทศกาลและงานมงคล กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และหลังเรียนพบวา่ คะแนนเฉลี่ยกอ่ นเรียนเทา่ กับ 10.84 และหลังเรียนเทา่ กับ 25.16 มีความแตกตา่ ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการประเมินพฤติกรรมนักเรียนที่แสดงออกบนหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อถอดบทเรียนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเรื่อง การทำ ขนมไทยในเทศกาลและงานมงคล กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ขนมไทย
46
15.  การพัฒนาบทเรียน Mobile Learning เรื่อง เครื่องมือภูมิศาสตร์บูรณาการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น โคราชจีโอพาร์ค ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Author : ธัญญารัตน์ แก้วตะพาน
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนด้วยบทเรียน Mobile Learning เรื่อง เครื่องมือภูมิศาสตร์บูรณาการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นโคราชจีโอพาร์ค ร่วมกับการเรียนรู้แบบ โครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนาบทเรียน Mobile Learning เรื่อง เครื่องมือภูมิศาสตร์บูรณาการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นโคราชจีโอพาร์ค ร่วมกับ การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้ได้ ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป 3) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียน Mobile Learning เรื่อง เครื่องมือภูมิศาสตร์บูรณาการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นโคราชจีโอพาร์ค ร่วมกับการเรียนรู้แบบ โครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อเปรียบเทียบ ความสามารถทางภูมิศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียน Mobile Learning เรื่อง เครื่องมือภูมิศาสตร์บูรณาการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นโคราชจีโอพาร์ค ร่วมกับการเรียนรู้ แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 5) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียน Mobile Learning เรื่อง เครื่องมือภูมิศาสตร์บูรณาการ สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นโคราชจีโอพาร์ค ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความ สามารถทางภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 6) เพื่อประเมินคุณภาพโครงงานของผู้เรียนหลังเรียนด้วยบทเรียน Mobile Learning เรื่อง เครื่องมือภูมิศาสตร์บูรณาการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น โคราชจีโอพาร์ค ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/12 โรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา” อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 30 คน ที่กำลัง ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ดำเนินการวิจัยในลักษณะการวิจัยและพัฒนา (research and development: R & D) แบบผสมผสานวิธี (mixed methods research) ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest - Posttest Design หาคุณภาพของบทเรียน Mobile Learning ตามเกณฑ์ค่าความตรงตามเนื้อหา สร้างแบบทดสอบเน้นความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ค่าความยากง่าย (P) ค่าอำนาจจำแนก (r) และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ โดยการหาค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยการทดสอบ t-test แบบ Dependent Samples และการวิเคราะห์ เนื้อหา พบว่าบทเรียน Mobile Learning เรื่อง เครื่องมือภูมิศาสตร์บูรณาการสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น โคราชจีโอพาร์ค ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.27/81.83 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (EI) เท่ากับ 0.78 หมายความว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 78.00 และมีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความสามารถทาง ภูมิศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อ บทเรียน Mobile Learning อยู่ในระดับมากที่สุด และคุณภาพโครงงานของผู้เรียนหลังจากเรียนด้วย บทเรียน Mobile Learning อยู่ในระดับดีมาก คำสำคัญ: บทเรียน mobile learning, การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
27
16.  การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาล
Author : กัลยรักษ์ วิริยมาโน
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรโรงพยาบาล 2) ศึกษา พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาล และ 3) ศึกษาการทำงานเป็นทีม ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาล โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรโรงพยาบาลในเครือวิชัยเวชอินเตอร์เนชั่นแนล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ทดสอบค่าความเชื่อมั่นโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอบบาคทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการสร้างโมเดล สมการโครงสร้าง (structural equation modeling: SEM) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .001 พบว่า 1) การทำงานเป็นทีมของบุคลากร ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นเป็นลำดับแรกคือ ด้านการตัดสินใจร่วมกัน รองลงมาคือ ด้านการกำหนดภารกิจ และเป้าหมายของทีมงาน และลำดับสุดท้ายคือ ด้านการกระจายความเป็นผู้นำ 2) พฤติกรรมการเป็น สมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากร ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นเป็นลำดับแรกคือ พฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่น รองลงมาคือ พฤติกรรมการให้ความ ช่วยเหลือ และลำดับสุดท้ายคือ พฤติกรรมความอดทน อดกลั้น และ 3) การทำงานเป็นทีมส่งผลต่อ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาล มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 คำสำคัญ: การทำงานเป็นทีม, พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ, โรงพยาบาล
27
17.  ปัญหาความรับผิดของแพทย์จากการกระทำละเมิดทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและร่างกาย
Author : เพชรลัญจ์ รองงาม
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิด ของแพทย์ทางละเมิดในความเสียหายเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความรับผิดของแพทย์จากการกระทำละเมิด ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและร่างกายของ ต่างประเทศและประเทศไทย และวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับความรับผิดของแพทย์ทาง ละเมิดในความเสียหายเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย เพื่อเสนอแนะแนวทางปรับปรุงเกี่ยวกับความรับผิด ของแพทย์ทางละเมิดในความเสียหายเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย พบว่า 1) การกำหนดภาระการพิสูจน์ ข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ตามมาตรา 29 ซึ่งเป็นระบบ กึ่งไต่ส่วน ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในคดีบริการทางการแพทย์ ควรให้การพิสูจน์พยานหลักฐานเป็น ระบบไต่สวนโดยแท้จริง และศาลมีอำนาจในการค้นหาความจริงไม่ใช่ผลักภาระการพิสูจน์ไปยังฝ่าย ผู้ถูกฟ้อง 2) บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 บัญญัติ ให้นำการกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้บังคับ ไม่เหมาะสมในคดีทางการแพทย์ เพื่อให้การกำหนด ค่าเสียหายในคดีบริการทางการแพทย์เป็นไปโดยเหมาะสมและเป็นธรรม จึงควรให้อำนาจศาลวินิจฉัย ค่าสินไหมทดแทนอันพึงใช้ โดยสถานใด เพียงใดนั้น ตามสมควรแก่ความพิการและความร้ายแรง แห่งละเมิดนั้น โดยไม่นำการกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษมาบังคับใช้ในคดีบริการทางการแพทย์ 3) ศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ไม่เหมาะสม จึงควรตั้งศาลชำนัญพิเศษสำหรับพิจารณาคดีทางการแพทย์โดยเฉพาะทั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรแก้ไขข้อความบางส่วนในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 และพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 คำสำคัญ: ความรับผิดของแพทย์, การกระทำละเมิด, ความเสียหายต่อชีวิตและร่างกาย
37
18.  การบริหารจัดการโครงการวิจัยให้สัมฤทธิ์ผล
Author : พิชิต ฤทธิ์จรูญ
Abstract
การบริหารจัดการโครงการวิจัยเป็นบทบาทสำคัญของนักวิจัยที่ต้องดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการวิจัยภายใต้กรอบของงบประมาณ บุคลากร และเวลาที่กำหนด หลักการสำคัญในการบริหารจัดการคือ 1) การกำหนดเป้าหมายของการบริหาร 2) การวิเคราะห์ โครงการวิจัย 3) การวางแผนและการดำเนินงานตามแผน 4) การประสานความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้อง 5) การสร้างทีมงานวิจัยให้เข้มแข็ง 6) การกำกับตนเองของนักวิจัย และ 7) การรายงานความก้าวหน้า ของการดำเนินงานต่อผู้เกี่ยวข้อง สำหรับกระบวนการบริหารจัดการที่สำคัญมี 3 ขั้นตอนคือ การวางแผนโครงการวิจัย การดำเนินโครงการวิจัย และการประเมินโครงการวิจัย อย่างไรก็ตาม เทคนิคการบริหารจัดการให้โครงการวิจัยประสบความสำเร็จควรดำเนินการ 5 เรื่องคือ การบริหารจัดการ กิจกรรมการวิจัย การบริหารจัดการตนเองของนักวิจัย การบริหารจัดการทีมงานวิจัย การบริหารจัดการ งบประมาณการวิจัย และการบริหารจัดการเวลา คำสำคัญ: โครงการวิจัย, การบริหารโครงการ, การบริหารจัดการโครงการวิจัย
7
19.  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการพัฒนาองค์กรในยุคดิจิทัล
Author : สุปราณี วรรณรุณ
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการพัฒนาองค์กรในยุคดิจิทัล โดยเป็นการศึกษาและทบทวนวรรณกรรมถึงตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการพัฒนาองค์กรในยุคดิจิทัล จากการทบทวนวรรณกรรมและผลงานวิจัยทำให้พบว่า มีตัวแปรหลักสำคัญ 4 ตัวแปร ได้แก่ 1) ด้าน ผู้นำเชิงนวัตกรรม 2) ด้านวัฒนธรรมองค์กรปรับเปลี่ยน 3) ด้านการบริหารจัดการคนเก่ง และ 4) ด้าน วัฒนธรรมดิจิทัล ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร โดยตัวแปรทั้ง 4 ด้านนี้ องค์กรสามารถนำไปประยุกต์ ใช้เพื่อพัฒนาองค์กรและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน สร้างจุดแข็ง สร้างความได้เปรียบ และ สร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กรได้ในระยะยาว คำสำคัญ: รูปแบบการพัฒนาองค์กร, องค์กรในยุคดิจิทัล
28