please wait loading...
Untitled Document
 
 ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนตุลาคม-เดือนธันวาคม 2562 ISSN 1686-5715 อ่าน
1.  EMPLOYEES’ QUALITY OF WORK LIFE IN BANGKOK, THAILAND
Author : Apiwat Krommuang
Abstract
This research aimed to study the quality of work life of office employees working in Bangkok, classified by the demographic characteristics of employees to understand the various factors that affect the quality of work life of employees. These results can be used in the future to design proper activities or processes that would enhance the quality of work life of employees within the organization. The research used non-probability sampling that is an accidental sampling technique from 400 samples and analyses the results with analysis of variance: ANOVA. It was found that employees with different gender, marital status, educational level and average monthly revenue have different quality of work life. which were statistically significant while the quality of work life of employees with different ages and duration of employment are not different. Keywords: quality management, quality of work life, Thailand office employee.
20
2.  FEMALE PROTAGONIST’S SELF-SEARCH IN THE NOVEL OF SHANGHAI BABY
Author : Aphiradi Suphap
Abstract
This research intends to explore the female protagonist’s self-search. Textual analysis is mostly employed here along with the psyche’s theory of Sigmund Freud. Coco encounters her identity crisis throughout the story. She struggles with so many crises in her life: having sexual problems, lacking self-awareness, losing self-esteem and self-worth, being torn between the Chinese old tradition and the arrival of Western culture. Her self-search process, however, occurs without her realization. First, she turns to masturbation to release her sexual repression. Second, she becomes the materialist and is obsessed with consumer culture. Third, she retreats into her dreams. Fourth, she has the affair with the German man named Mark. Fifth, she visits the psychologist. Sixth, tries to express herself through her writing. Some of her self-search process, however, does not happen respectively but they are the ongoing procedures that overlap with some other self-identification. Apparently, Coco always lets her “id” overcome her “ego” which often leads to too much chaos in her life. The inability to control her mind especially her sexual instinct brings her the sense of shame and guilt which leads her to lose self-esteem and self-worth. Although she attempts various ways to find her identity, it seems like it is a failure since she still asks the same question of who she is at the end of the story. Nevertheless, among her self-search’s process, expressing herself through writing is the best way of all other methods during her journey of self-searching. Yet, her ultimate goal of becoming a famous writer does not come true yet. She is finished her first novel but still does not know its destiny. Keywords: self-search, self-identity, Chinese patriarchal society, Shanghai Baby.
6
3.  อนันต์ เพียรวัฒนะกุลชัย
Author : การประกันสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนโดยองค์กรตุลาการ
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกันสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน โดยองค์กรตุลาการ ซึ่งถือเป็นหน่วยงานที่สำคัญต่อการทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีตามกลไก ที่กำหนดไว้ในกฎหมายวิธีสบัญญัติ (procedural law) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการนำไปสู่การประกัน สิทธิและเสรีภาพที่กำหนดไว้ในกฎหมายสารบัญญัติ (substantive law) เพราะการกระทำของรัฐ จะต้องถูกตรวจสอบได้โดยองค์กรตุลาการตามหลักการที่กำหนดไว้ในหลักนิติรัฐของรัฐที่ปกครอง แบบประชาธิปไตยเสรีนิยม (liberal democracy) องค์กรตุลาการซึ่งประกอบด้วยศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม และศาลปกครอง ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีตามเนื้อหาสาระที่กำหนดไว้ในกฎหมาย จัดตั้ง ซึ่งทำให้การพิจารณาคดีสิทธิและเสรีภาพถูกพิจารณาตามองค์ประกอบความผิดในประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประมวลกฎหมายอาญา พิจารณาลักษณะการกระทำหรือการละเมิด สิทธิของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณา คดีของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 โดยมิได้พิจารณาสาระสำคัญหรือสารถะ (substance) ที่เป็นความผิดเกี่ยวกับสิทธิและ เสรีภาพเป็นการเฉพาะ จึงทำให้คดีสิทธิและเสรีภาพไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นเพื่อสร้างบรรทัดฐานทาง กฎหมายในการทำให้สังคมได้รับรู้ว่ากรณีนี้เป็นการละเมิดสิทธิหรือมิใช่ กรณีข้างต้นย่อมทำให้การ ประกันสิทธิและเสรีภาพไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ คำสำคัญ: การประกัน, สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน, องค์กรตุลาการ
29
4.  ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายอุทธรณ์-ฎีกา ภาคปฏิบัติ
Author : สอาด หอมมณี
Abstract
ระบบอุทธรณ์-ฎีกา เป็นสิทธิของคู่ความหรือบุคคลที่ได้รับผลกระทบสิทธิโดยตรงจากผลแห่ง คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ที่สามารถที่จะอุทธรณ์-ฎีกาคำพิพากษาต่อ ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาได้ และผู้ได้รับผลกระทบสิทธิโดยตรงจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์สามารถ โต้แย้งคำพิพากษาต่อศาลฎีกาได้ เว้นแต่จะถูกตัดสิทธิโดยบทจำกัดตัดสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาบทใด บทหนึ่ง โดยได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้ต้องได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา และเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกา ควรวินิจฉัยด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 (แก้ไขโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2558 มาตรา 5) มาตรา 248 และมาตรา 249 (แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 27) พ.ศ. 2558 มาตรา 6) ซึ่งส่งผลให้คดีในศาลสูงมีจำนวนลดลงมาก ทำให้จำนวนผู้พิพากษา ในศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกามีน้อยตามไปด้วย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี สภาพปัญหาและอุปสรรค โดยศึกษา แนวทางแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอุทธรณ์-ฎีกาที่จะนำมาปฏิบัติได้จริง ส่วนปัญหาที่สำคัญของปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายอุทธรณ์-ฎีกาคือ นักศึกษากฎหมาย และนักกฎหมายที่เพิ่งก้าวเข้าสู่วิชาชีพทางด้านกฎหมาย หรือทนายความ ต้องมีประสบการณ์ และทำให้นักกฎหมายและประชาชนทั่วไปขาดหลักเกณฑ์ทางเทคนิคของกฎหมายสาขานี้ที่มีอยู่สูงมาก ยากจะปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนได้ อีกทั้งจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมาย กำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ (1) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก หรือให้ลงโทษกักขัง แทนโทษจำคุก (2) จำเลยตอ้ งคำพิพากษาใหล้ งโทษจำคุก แตศ่ าลรอการลงโทษไว  (3) ศาลพิพากษาวา่ จำเลยมีความผิด แต่รอการกำหนดโทษไว้ หรือ (4) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกิน หนึ่งพันบาท ทำให้นักศึกษากฎหมายและนักกฎหมายที่เพิ่งก้าวเข้าสู่วิชาชีพทางด้านกฎหมาย ทนายความ หรือประชาชนทั่วไป เกิดความสับสนในการเขียนอุทธรณ์หรือฎีกาได้ คำสำคัญ: อุทธรณ์, ฎีกา
8
5.  การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา
Author : เศรษฐชัย ชัยสนิท
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการการใช้งานแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องกับ การประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกในระดับอุดมศึกษา 2) ออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับ การประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกในระดับอุดมศึกษา และ 3) ประเมินผลการใช้แอปพลิเคชัน สำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกที่สามารถรองรับมาตรฐานและตัวบ่งชี้ตามเกณฑ์ การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ของ สมศ. การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่ออธิบายความหมาย ของการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อสร้างต้นแบบระบบของ สมศ. และนำไปใช้ในการ ประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกในระดับอุดมศึกษา ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ 2) การออกแบบและพัฒนาระบบ 3) การทดสอบ การใช้งานและประเมินผล 4) การปรับปรุงสมรรถนะของระบบ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา กลุ่มที่ 2 ผู้รับผิดชอบและ มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกของ สมศ. กลุ่มที่ 3 ผู้รับผิดชอบ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอกที่เป็นตัวแทนจากมหาวิทยาลัย และกลุ่มที่ 4 ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบไอซีที โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้โปรแกรม ทางสถิติ โดยการแจกแจงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการประกัน คุณภาพการศึกษาภายนอกในระดับอุดมศึกษาเป็นไปตามวัตถุประสงค์ การใช้งานแอปพลิเคชัน ในภาพรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจโดยรวมของการใช้งานอยู่ในระดับมาก ดังนั้น แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้บริการข้อมูลสำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก ในระดับอุดมศึกษาจึงมีฟังก์ชันการใช้งานถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดของการประกันคุณภาพ การศึกษาของ สมศ. สามารถใช้ในการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกระดับอุดมศึกษาได้ และสามารถประยุกต์เพื่อเพิ่มฟังก์ชันและข้อมูลบางอย่างให้สอดคล้องกับการใช้งานของผู้ใช้ทั้งในส่วน ของผู้ประเมินและผู้รับการประเมินตามสภาพจริง คำสำคัญ: แอปพลิเคชัน, การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา
9
6.  การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานของชุมชน
Author : ฐมจารี ปาลอภิไตร
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอแนวคิด เรื่อง “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานของชุมชน” โดยกล่าวถึงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ในปัจจุบันที่ทำให้การท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ จากกระแส ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิม กำลังได้รับความ นิยมจากนักท่องเที่ยวและมีแนวโน้มที่จะเข้ามาทดแทนการท่องเที่ยวเชิงปริมาณมากขึ้น การท่องเที่ยว เชิงทางเลือกอย่างการท่องเที่ยวชุมชนจึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการท่องเที่ยวที่ช่วยส่งเสริมและรักษา สมดุลของเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมใน กระบวนการจัดการ การดำเนินกิจกรรม การกำหนดทิศทางและตัดสินใจ เพื่อส่งเสริมความภาคภูมิใจ ในชุมชนของตน โดยมีการนำนวัตกรรมทางการท่องเที่ยวมาจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดเป็น การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชน ประกอบด้วยสถานที่สร้างสรรค์ งานหรอื กจิ กรรมสรา้ งสรรค ์ และกระบวนการทอ่ งเทีย่ วที่สรา้ งสรรค ์ ใหค้ วามสนใจกบั วฒั นธรรม ใสใ่ จ กับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของชุมชน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีปฏิสัมพันธ์ ทางบวกผ่านประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในพื้นที่ชุมชนแหล่งท่องเที่ยว คำสำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, การท่องเที่ยวชุมชน
22
7.  การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อฝึกทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคกลาง
Author : กิตติศักดิ์ แป้นงาม
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อฝึกทักษะเทคโนโลยี สารสนเทศและสื่อสารการศึกษาในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาค กลาง 2) เพื่อให้ครูภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคกลาง ได้ฝึกทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศจากชุด การเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อฝึกทักษะเทคโนโลยี สารสนเทศและสื่อสารการศึกษาในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาค กลาง ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยตนเอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคกลาง ประกอบด้วยภาคกลางตอนบน 8 จังหวัด และภาคกลางตอนล่าง 8 จังหวัด รวม 16 จังหวัด กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multistage sampling) ดังนี้ 1) สุ่มจังหวัด ในภาคกลางตอนบนและภาคกลางตอนล่าง โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เพื่อให้ได้จังหวัดตัวแทนกลุ่มละ 1 จังหวัด ดังนี้ กลุ่มภาคกลางตอนบนคือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มภาคกลางตอนล่างคือจังหวัดเพชรบุรี 2) สุ่มโรงเรียนจากจังหวัดที่ได้จากการสุ่มในชั้นแรก โดยการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) จังหวัดละ 25 โรงเรียน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่าง 50 โรงเรียน 3) เมื่อได้โรงเรียนจำนวน 50 โรงเรียนแล้ว สุ่มครูภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนละ 1 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) ได้จำนวน 50 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความต้องการฝึกทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร การศึกษา 2) ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคกลาง 3) แบบประเมินคุณภาพชุด การเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษาในศตวรรษที่ 21 สำหรบั ครภู าษาไทยชั้นประถมศึกษาปที ี่ 3 ภาคกลาง และ 4) แบบทดสอบทักษะเทคโนโลยสี ารสนเทศ และสื่อสารการศึกษาในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อฝึกทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร การศึกษาในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคกลาง ประกอบด้วย 1) การใช้ Smart Phone: iOS และ Android เพื่อการสอนสำหรับครู, YouTube เพื่อการสอน สำหรับครู, PowerPoint เพื่อการสอนสำหรับครู 2) ครูภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคกลาง มีระดับทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับดี หรือระดับคะแนนเฉลี่ย 21.82 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ หลังการใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อฝึกทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษาในศตวรรษ ที่ 21 สำหรับครูภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนใช้ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อฝึกทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา, ทักษะ เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษาสำหรับครู, ครูภาษาไทย
9
8.  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว ในพื้นที่เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
Author : รสลิน เพตะกร
Abstract
วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยนี้เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวในพื้นที่ เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยและพัฒนา ซึ่งได้มีการ พัฒนาระบบโดยใช้ภาษา PHP จัดเก็บฐานข้อมูลด้วย MySQL แสดงผลข้อมูลบนแผนที่ออนไลน์โดยใช้ Google Map API กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญประเมินประสิทธิภาพด้านการ ทำงานของระบบ จำนวน 6 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง และผู้ใช้งานระบบ จำนวน 62 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสัมภาษณ์ การสอบถาม แบบประเมินคุณภาพระบบ แบบประเมินความพึงพอใจระบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ในพื้นที่เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนามีสถานที่ ท่องเที่ยว จำนวน 64 สถานที่ สถานที่ทั้งหมดสามารถจัดเส้นทางท่องเที่ยวตามแนวนโยบาย ด้านเศรษฐกิจของเทศบาลได้ 3 เส้นทาง ได้แก่ 1) เส้นทางท่องเที่ยวทั้งหมดในเทศบาลเมืองเมืองแกน พัฒนา 2) เส้นทางแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ (หนาวนี้ที่เมืองแกน) และ 3) เส้นทางท่องเที่ยวทาง ประวัติศาสตร์ ผลการประเมินความพึงพอใจของระบบของผู้ใช้งานอยู่ในระดับพึงพอใจมาก คำสำคัญ: ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, ท่องเที่ยว, เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา
8
9.  การวิเคราะห์ความสมนัยของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวกับการเลือกประเภทที่พักและการสำรองที่พัก ผ่านตัวแทนการท่องเที่ยวออนไลน์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย
Author : ปฤณพร บุญรังสี
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสมนัยของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวกับการเลือก ประเภทที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทย และวิเคราะห์ความสมนัยของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวกับการ สำรองที่พักผ่านตัวแทนการท่องเที่ยวออนไลน์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยว ชาวไทยที่เคยใช้บริการตัวแทนการท่องเที่ยวออนไลน์ (online travel agency) จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ผ่านการวิเคราะห์การสมนัย (correspondence analysis) ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมนักท่องเที่ยว (จำนวนห้องที่จองต่อครั้ง ประเภทห้องพัก และราคาเฉลี่ยห้องพักต่อคืน) มีความสัมพันธ์กับการเลือก ประเภทที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพฤติกรรม นักท่องเที่ยว (จำนวนห้องที่จองต่อครั้ง ประเภทห้องพัก ราคาเฉลี่ยห้องพักต่อคืน และวันที่เข้าพัก) มีความสัมพันธ์กับการสำรองที่พักผ่านตัวแทนการท่องเที่ยวออนไลน์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ระดับ นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: ตัวแทนการท่องเที่ยวออนไลน์, การวิเคราะห์การสมนัย, พฤติกรรมนักท่องเที่ยว
12
10.  พฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคเจนเนอเรชันวายในจังหวัดระยอง
Author : นพพร บัวอินทร์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้า และพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย ในจังหวัดระยอง และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย ในจังหวัดระยอง กับปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอ้างอิง t-test, ANOVA และวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วย Scheffe กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอาชีพเป็นนักเรียน/นักศึกษา มีรายได้ตํ่ากว่า 10,000 บาท ประเภทสินค้าที่ซื้อส่วนใหญ่คือ เสื้อผ้า/เครื่องแต่งกาย เหตุผลที่ซื้อ เพราะความสะดวก รวดเร็ว วิธีการสั่งซื้อคือ ผ่าน Application ต่าง ๆ ระยะเวลาในการสั่งซื้อคือ 1 - 2 ชั่วโมง ความถี่ในการสั่งซื้อคือ 1 ครั้งต่อเดือน ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อ สินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในจังหวัดระยองด้านภาพรวมอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก ผลการวิเคราะห์สถิติเปรียบเทียบของปัจจัยด้านประชากรศาสตร์และปัจจัยที่มีผลต่อการ ซื้อสินค้า พบว่ากลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยกับการซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์อยู่ในระดับมาก สำหรับ การเปรียบเทียบความแตกต่างของความคิดเห็นบุคคลต่อปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรม ผู้บริโภคกับการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคเจนเนอเรชันวาย ในจังหวัดระยอง พบว่าภาพรวมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายด้านพบว่าด้านราคามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านส่งเสริมการขาย ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 คำสำคัญ: สื่อสังคมออนไลน์, พฤติกรรมการซื้อสินค้า, เจนเนอเรชันวาย
12
11.  อิทธิพลกระบวนการจัดการและตัวแบบกลยุทธ์ 7S ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ ในประเทศไทย
Author : อภิรดี คำไล้
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของกระบวนการจัดการที่ส่งผลต่อตัวแบบกลยุทธ์ 7S และความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแบบกลยุทธ์ 7S ที่ส่งผลต่อความสำเร็จธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลตัวแบบกลยุทธ์ 7S ในการเป็นตัวแปรกลางระหว่างการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการจัดการกับความสำเร็จ ของธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 119 คน คือ ผู้ประกอบการธุรกิจ แฟรนไชส์ในประเทศไทย (แฟรนไชส์ซอร์ หรือผู้ขายสิทธิ์) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการจัดการมีอิทธิพลเชิงบวกต่อตัวแบบกลยุทธ์ 7S และความสำเร็จของธุรกิจ และ ตัวแบบกลยุทธ์ 7S มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย สำหรับการ ทดสอบตัวแปรกลางพบว่าตัวแบบกลยุทธ์ 7S เป็นตัวแปรกลางในความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการ จัดการกับความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย คำสำคัญ: กระบวนการจัดการ, ตัวแบบกลยุทธ์ 7S, ความสำเร็จธุรกิจ, ธุรกิจแฟรนไชส์
11
12.  บุคลิกภาพตามแนวคิดจริต 6 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
Author : รัตนากร ยิ้มประเสริฐ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบุคลิกภาพตามแนวคิดจริต 6 ของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา จำแนกตามเพศ คณะ และ ภูมิลำเนา เปน็ การวิจัยเชิงสำรวจ กลมุ่ ตัวอยา่ ง ไดแ้ ก ่ นักศึกษาระดับปรญิ ญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลอีสาน นครราชสีมา จำนวน 363 คน โดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามบุคลิกภาพตามแนวคิดจริต 6 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ one-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลิกภาพตามแนวคิด จริต 6 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยบุคลิกภาพตามแนวคิดจริต 6 ที่อยู่ในระดับมากคือ พุทธจริต รองลงมาคือ ศรัทธาจริต และราคจริต 2) นักศึกษาที่มีสถานภาพทางเพศและคณะต่างกัน มีบุคลิกภาพตามแนวคิด จริต 6 แตกต่างกัน และ 3) นักศึกษาที่มีภูมิลำเนาต่างกัน มีบุคลิกภาพตามแนวคิดจริต 6 ไม่แตกต่างกัน คำสำคัญ: บุคลิกภาพตามแนวคิดจริต 6, นักศึกษาระดับปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อีสาน นครราชสีมา
8
13.  สมรรถนะและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารสำหรับผู้รับผิดชอบหลักสูตร: หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
Author : ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ
Abstract
ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีบทบาทสำคัญในการบริหารหลักสูตรให้เกิดประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร การพัฒนาสมรรถนะในการบริหารหลักสูตรแก่ ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจึงเป็นสิ่งสำคัญ บทความนี้จึงนำเสนอสมรรถนะการบริหารของผู้รับผิดชอบ หลักสูตร ได้แก่ 1) สมรรถนะในการพัฒนาหลักสูตร 2) สมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ 3) สมรรถนะ ในการนเิ ทศการจดั การเรยี นร ู้ 4) สมรรถนะในการประกนั คณุ ภาพ 5) สมรรถนะในการวจิ ยั เพอื่ พฒั นา คุณภาพการจัดการเรียนรู้ และ 6) สมรรถนะในการจัดการเทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร ซึ่งการพัฒนามี 5 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์ความต้องการและประเมินสมรรถนะก่อนการพัฒนา 2) การวางแผนการพัฒนาสมรรถนะ 3) ดำเนินการพัฒนาสมรรถนะ 4) การประเมินผลการ พัฒนาสมรรถนะ และ 5) การประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับการบริหารหลักสูตร โดยวิธีการพัฒนา ได้แก่ 1) การฝึกอบรม 2) การศึกษาดูงาน 3) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 4) การให้ฝึกปฏิบัติจริง 5) การสอนงาน และ 6) การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีสมรรถนะ ในการบริหารหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น คำสำคัญ: ผู้รับผิดชอบหลักสูตร, สมรรถนะการบริหารหลักสูตร, แนวทางพัฒนาสมรรถนะการบริหาร หลักสูตร, หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
9
14.  ผลการใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วย ที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกโรงพยาบาลสิงห์บุรี
Author : ปราณี มีหาญพงษ์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้สื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลของ สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลสิงห์บุรี เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบวัดหลังการทดลอง เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจงคือ บุคคลในครอบครัวของผู้ที่ ผ่าตัดต้อกระจกและใส่เลนส์แก้วตาเทียม จำนวน 60 คน โดยใช้วิธีการแบ่งครึ่งเป็นกลุ่มควบคุมและ กลุ่มทดลอง ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง คือ หลังให้ความรู้ทันทีที่หอผู้ป่วย และหลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ที่ห้องตรวจตางานผู้ป่วยนอก ภายใต้กรอบแนวคิดโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเอง ของโอเร็ม และทฤษฎีการเรียนรู้ของแบนดูร่า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย สื่อวีดิทัศน์ที่มี เนื้อหาประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับโรคต้อกระจก การปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด แบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้เรื่องต้อกระจก และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลของสมาชิกในครอบครัว ผปู้ ว่ ยที่ไดรั้บการผา่ ตัดตอ้ กระจกที่ผวูิ้จัยสรา้ งขึ้น โดยผา่ นการตรวจความตรงของเนื้อหาโดยผเู้ ชี่ยวชาญ และหาค่าความเที่ยงของแบบวัดความรู้ด้วยวิธี KR-20 มีค่าเท่ากับ .85 และแบบวัดพฤติกรรมด้วย วิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค มีค่าเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคต้อกระจกหลังจากการวัดทั้งสองครั้ง กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และคะแนนพฤติกรรมการ ดูแลของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัยที่ได้สามารถนำไปเตรียมความพร้อมในการดูแล ผปู้ ว่ ยทั้งกอ่ นและหลงั ผา่ ตัดตอ้ กระจกและใสเ่ ลนสแ์ กว้ ตาเทียมใหแ้ กส่ มาชิกในครอบครัวของผปู้ ว่ ยได้ คำสำคัญ: การให้ความรู้โดยสื่อวีดิทัศน์, พฤติกรรมการดูแล, ต้อกระจก, โรงพยาบาลสิงห์บุรี
1
15.  การศึกษาความสามารถในการผลิตสื่อการเรียนรู้ของนิสิตฝึกสอนที่ได้รับการอบรมจากงานฝึก ประสบการณ์วิชาชีพครู โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศูนย์วิจัย และพัฒนาการศึกษา
Author : พฤกษา กิ้วสระทรัพย์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการผลิตสื่อการเรียนรู้ของนิสิตฝึกสอน ที่ได้รับการอบรมจากงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนิสิตฝึกสอนของ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มาฝึกสอนที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จำนวน 6 สาขา ได้แก่ สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาพลศึกษา สาขาวิชาสุขศึกษา สาขาวิชาธุรกิจและคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ จำนวน 50 คน และอาจารย์พี่เลี้ยงนิสิตฝึกสอน จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของนิสิตฝึกสอนและอาจารย์พี่เลี้ยง จำนวน 3 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นิสิตส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการอบรมเพิ่มพูนความรู้ทั้ง 4 กิจกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ได้แก่ กิจกรรมมหัศจรรย์งานกระดาษ กิจกรรมเทคนิคการโฮมรูม กิจกรรมการผลิตสื่อและ แผ่นวีดิทัศน์ และกิจกรรมทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 นิสิตส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการ นำความรู้จากการอบรมเพิ่มพูนความรู้ทั้ง 4 กิจกรรมไปใช้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การนำความรู้ไปใช้ในการผลิตสื่อการสอน การจัดป้ายนิเทศ การทำเกมและการจัดกิจกรรมที่กระตุ้น ให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิจารณญาณ และนิสิตส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการผลิตสื่อการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของอาจารย์พี่เลี้ยงต่อการผลิตสื่อการสอนของนิสิตฝึกสอน โดยนิสิตสามารถผลิตสื่อที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น การผลิตสื่อมีวิธีการใช้ง่าย สะดวก คงทน ทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน คำสำคัญ: การผลิตสื่อการเรียนรู้, นิสิตฝึกสอน
6
16.  การพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้นำนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
Author : นพดล บุญภา
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับ ผู้นำนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2) เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้นำนักเรียนระดับ มัธยมศึกษา เป็นการวิจัยแบบประสานวิธี (mixed research method) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้นำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ได้มาจากการ เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือวิทยากรการพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้นำนักเรียนระดับมัธยมศึกษา แบบประเมินภาวะผู้นำ แบบทดสอบภาวะผู้นำ สถิติที่ใช้ในการ วิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที t-test (one sample group) พบว่า 1. องค์ประกอบภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้นำนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทีมงาน การทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ทักษะการสื่อสาร การสร้างแรงจูงใจ คุณธรรมและจริยธรรม ความกล้า และการมองการณ์ไกล ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่าองค์ประกอบภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับ ผู้นำนักเรียนระดับมัธยมศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยองค์ประกอบที่มีความสำคัญ ที่สุดคือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับทีมงาน มีค่านํ้าหนักเท่ากับ 0.903 รองลงมาคือ องค์ประกอบ ด้านทักษะการสื่อสาร มีค่านํ้าหนักเท่ากับ 0.893 2. การพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้นำนักเรียนระดับมัธยมศึกษา พบว่า ด้านความรู้ภายหลังเข้ารับการพัฒนา ผู้นำนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเข้ารับการพัฒนาอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การประเมินภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้นำนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาอยู่ในระดับมาก และผลการนิเทศ ติดตามและประเมินภาวะผู้นำนักเรียนภายหลังการ พัฒนาอยู่ในระดับมาก คำสำคัญ: การพัฒนาภาวะผู้นำ, ผู้นำนักเรียน, ผู้นำในศตวรรษที่ 21
10
17.  หลักสูตรการฝึกอบรมพัฒนาสมรรถนะผู้นำชุมชนของจังหวัดลำปาง
Author : พรนับพัน วงศ์ตระกูล
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินหลักสูตรฝึกอบรมผู้นำชุมชนต้นแบบของ จังหวัดลำปาง ดำเนินการวิจัยในรูปแบบของการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาจาก การคัดเลือกผู้นำชุมชน จำนวน 40 คน แบบเจาะจง ซึ่งมาจาก 4 ชุมชนในจังหวัดลำปางที่ได้รับรางวัล ระดับจังหวัดหรือระดับประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2551-2561 และผู้ที่มีศักยภาพเป็นผู้นำ จำนวน 20 คน โดยผู้วิจัยจัดการสนทนากลุ่มย่อยเพื่อสร้างหลักสูตร จากนั้นจัดการฝึกอบรมให้กับกลุ่ม ตัวอย่างเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้นำชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาและประเมินหลักสูตร ได้แก่ แบบคำถามสำหรับการสนทนากลุ่มย่อย แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรและแบบประเมินผล การจัดอบรม การวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ แบบสอบถาม ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรการฝึก อบรมพัฒนาสมรรถนะผู้นำชุมชนของจังหวัดลำปาง ประกอบด้วยสมรรถนะของผู้นำ 5 ด้าน ได้แก่ 1) องค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน 2) ทักษะผู้นำชุมชน 3) ความสามารถพิเศษของผู้นำ 4) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น และ 5) บุคลิกภาพและการแสดงออกของผู้นำ ผลการ ประเมินหลักสูตรพบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ คิดเป็นค่าเฉลี่ยได้ 4.46 โดยผู้เข้าร่วมอบรมมีองค์ความรู้และความเข้าใจเรื่องภาวะผู้นำและการบริหารจัดการเพิ่มมากขึ้น มีความพึงพอใจในภาพรวมจากการเข้าร่วมฝึกอบรมในระดับมากที่สุด คำสำคัญ: สมรรถนะผู้นำ, หลักสูตรการฝึกอบรม, ผู้นำชุมชน
28
18.  แบบจำลองเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการส่งเสริมด้านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างยั่งยืน ของกองทัพบก
Author : ณัฏฐิพงษ์ เผือกสกนธ์
Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป ปัจจัยด้านนโยบายรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับ พลังงานไฟฟ้าสีเขียว ด้านต้นทุนการผลิต และด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ที่เกี่ยวข้องกับ ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการส่งเสริมด้านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างยั่งยืนของกองทัพบก 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการส่งเสริมด้านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างยั่งยืนของ กองทัพบก และ 3) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบที่เหมาะสมในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้อย่างยั่งยืน ของกองทัพบก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (mixed method research) ศึกษารูปแบบที่เหมาะสม ในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้อย่างยั่งยืนของกองทัพบก โดยใช้การรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ ข้อมูลหลัก กลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์เชิงลึกในการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นตัวแทนจากหน่วยงาน ภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟฟ้าและการบริหารจัดการพลังงานทดแทน และตัวแทนจากกลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่กองทัพบก ผลการวิจัยพบว่า โมเดลสมการโครงสร้างแบบจำลองเชิงสาเหตุ ที่ส่งผลต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างยั่งยืนของกองทัพบกอยู่ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณา จากผลการตรวจสอบคา่ Chi-square (x2) มีคา่ เทา่ กับ 591.49 คา่ df เทา่ กับ 295 คา่ P-value เทา่ กับ 0.060 GFI เท่ากับ 0.98 AGFI เท่ากับ 0.94 CFI เท่ากับ 0.92 RMSEA เท่ากับ 0.042 พลังงานไฟฟ้า สีเขียวเพื่อการส่งเสริมด้านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างยั่งยืนของกองทัพบก ค่า df เท่ากับ 295 ค่า P-value เท่ากับ 0.060 GFI เท่ากับ 0.98 AGFI เท่ากับ 0.94 CFI เท่ากับ 0.92 RMSEA เท่ากับ 0.042 พลังงานไฟฟ้าสีเขียวเพื่อการส่งเสริมด้านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างยั่งยืนของกองทัพบก ที่เหมาะสมคือ รูปแบบของโซล่าร์รูฟทอป ที่ติดตั้งบนหลังคาอาคาร และรูปแบบการส่งเสริมโครงการ โซล่าฟาร์มโดยการจัดสวัสดิการเชิงธุรกิจบนที่ดินราชพัสดุ ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลจะเป็นแนวทาง ในการพัฒนาที่ยั่งยืนของกองทัพบกเพื่อนำไปดำเนินการและพัฒนาให้เป็นประโยชน์ต่อไป คำสำคัญ: การใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างยั่งยืน, กองทัพบก
26
19.  บทบาทของอุตสาหกรรมการบินที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของประเทศไทย
Author : กฤษสกุล เจตนะวิบูลย์
Abstract
ในปัจจุบันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวขยายตัวอย่างมาก มีสายการบินต้นทุนตํ่าให้เลือกเดินทาง มากขึ้น ทำใหนั้กทอ่ งเที่ยวเดินทางไดง้ า่ ย เศรษฐกิจขยายตัวจากอุตสาหกรรมการทอ่ งเที่ยวและบริการ ส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวอย่างหนัก เพื่อให้การอนุรักษ์ทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว มีประสิทธิภาพ และหาแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและ ทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยมีความยั่งยืน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ บทบาทสำคัญของอุตสาหกรรมการบินที่ส่งเสริมให้ประเทศไทยมีศักยภาพทางการท่องเที่ยวและ ความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยว โดยใช้แนวทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และเข้าถึงอัตลักษณ์ของ ประเทศไทย โดยอุตสาหกรรมมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในปัจจุบัน ในประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณี ชุมชน อีกทั้งประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่งดงาม ควรค่าแก่การ อนุรักษ์ โดยนักท่องเที่ยวจะตัดสินใจเลือกการเดินทางโดยเครื่องบินเป็นหลัก เนื่องจากมีความสะดวก สบาย รวดเร็ว และปลอดภัย การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เป็นแนวทางการท่องเที่ยวแนวทางหนึ่งที่ช่วย อนุรักษ์ธรรมชาติและสถาปัตยกรรรมที่งดงามของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน และในการส่งเสริม ความสำเร็จทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของประเทศไทย มีสิ่งสำคัญคือ ต้องวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค เพื่อให้เข้าใจสภาพพื้นฐานทางการท่องเที่ยวของประเทศไทย และนำมากำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เหมาะสมของประเทศไทยต่อไป คำสำคัญ: อุตสาหกรรมการบิน, อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว, สายการบินต้นทุนตํ่า
4