please wait loading...
Untitled Document
 
 ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนตุลาคม-เดือนธันวาคม 2563 ISSN 1686-5715 อ่าน
1.  INFORMATION INTEGRATION WITH COVID-19 TO SUPPORT START UP ENTREPRENEURS IN THAILAND
Author : Thitiya Klobsanthia
Abstract
Information integration is importance for improving start up entrepreneurs in Thailand. Through an empirical study this study aims to identify the key factors that influence financial and non-financial performance through information integration in Thai agricultural start up entrepreneurs. We surveyed start up entrepreneurs operating in Thailand, and analysed data through SPSS. The study findings revealed that information sharing, information technology can positively influence both financial performance and non-financial performance. Overall, this research opens up the unexplored information integration elements, through which the sector can be benefited to improve the start-up entrepreneurs in Thailand as well as improve the business efficiency with COVID-19. Keywords: information integration, financial, non-financial performance, COVID-19, Thailand.
10
2.  ความพึงพอใจและทัศนคติของชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อการจัดโครงการกิจกรรมของฝ่าย ชุมชนสัมพันธ์ของบริษัท อมตะ ซิตี้ จำกัด
Author : วราพร ดำจับ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและศึกษาความพึงพอใจและทัศนคติของชุมชนโดยรอบ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ระยอง ที่มีต่อการดำเนินงานของฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ของบริษัท อมตะซิตี้ จำกัด ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชนตำบลมาบยางพร ตำบลพนานิคม ตำบลปลวกแดง ตำบลบ่อวิน ตำบลเขาไม้แก้ว กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน สุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อการ จัดโครงการกิจกรรมของฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยด้านที่มีความพึงพอใจ มากที่สุดคือ ความเหมาะสมของการสื่อสารประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม และความเหมาะสมของ รูปแบบกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ 4.58 ความต่อเนื่องของการสื่อสารประชาสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ย 4.52 กิจกรรมที่ประชาชนเข้าร่วมมากที่สุดคือ โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ มหกรรมนัดพบแรงงาน และโครงการขยะสร้างสรรค์ สื่อที่สะดวกสำหรับการติดตามข่าวสารคือ สื่อออนไลน์ และการเข้าพบปะ ส่วนช่องทางที่สะดวกในการติดต่อกับฝ่ายชุมชนสัมพันธ์คือ Facebook รองลงมาคือ โทรศัพท์ ทัศนคติของชุมชนโดยรอบต่อการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท อมตะซิตี้ จำกัด ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ พัฒนาชุมชนมีระดับความคิดเห็นที่เห็นด้วยอย่างยิ่งในทุกหัวข้อ โดยหัวข้อที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเศรษฐกิจชุมชน เกิดการจ้างงานมากขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.56 รองลงมาคือ โครงการพัฒนาชุมชน ของอมตะช่วยส่งเสริมความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชุมชน มีค่าเฉลี่ย 4.52 และเกิด การกระจายรายได้เพิ่มขึ้นมีค่าเฉลี่ย 4.50 คำสำคัญ: ความพึงพอใจ, ทัศนคติ, ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้
11
3.  การจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างสร้างสรรค์ในจังหวัดระยองและจันทบุรี
Author : คมพล สุวรรณกูฏ
Abstract
The objective of this research were to study about models and factors of creative agro-tourism management in Ban Talay Noi Community, Thang Kwian Sub-district, Klaeng District, Rayong Province and Bang Sa Kao Community, Bang Sa Kao Sub-district, Laem Sing District, Chantaburi Province. The collects data by using the in-depth interview of 27 key-informants, data analyzed with logical context. The research found that creative agro-tourism management model is a part of cultural-learning experience supporting. Community tourism management is also the leading-way to make creative agro-tourism management by signification factors including with; fertilization of natural resources. The unique of cultural, folkway and life styles, folk wisdom, community skills and experience etc. All of these factors, generate many different kind of travel activity and products such as local foods and community products. Recommendations that people in the community have learning, adapt and prepare to be entrepreneurs, communities should make community business plans for knowing destinations and roles that they want to walk together, the community must develop and increase the value of natural resources and their cultural heritage, promotion and creative of a community tourism network. Keywords: creativity tourism management, agro-tourism, Rayong province, Chanthaburi province.
11
4.  ความสามารถในการสอนโดยใช้แนวทางให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองของครูชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก
Author : กนิษฐา บางภู่ภมร
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างคู่มือแนวทางการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ให้แก่ครู 2) ศึกษาความสามารถในการสอนของครูที่ใช้คู่มือแนวทางการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ด้วยตนเอง 3) ศึกษาความรู้ด้านการสอนของครู ทั้งก่อนและหลังการเรียนรู้คู่มือแนวทางการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้จากการสุ่มหลายขั้นตอน (multi stage sampling) จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือแนวทางการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ด้วยตนเองของครู 2) แบบประเมินความสามารถในการสอนของครู 3) แบบประเมินความรู้ด้านการ สอนของครู โดยสถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) คู่มือแนวทางการสอนของครูให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.48 ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 วางแผน และออกแบบการสอน ขั้นตอนที่ 2 ปฏิบัติการสอน ขั้นตอนที่ 3 ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการสอน ขั้นตอนที่ 4 การแบ่งปัน 2) ครูมีความสามารถในการสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.06 และ 3) ครูมีคะแนนก่อนการเรียนรู้คู่มือแนวทางการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองที่คะแนนเฉลี่ย 21.23 และหลังการใช้คู่มือแนวทางการสอนเพื่อให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 31.80 ตามลำดับ โดยเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและ หลังการใช้คู่มือแนวทางการสอนของครูเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง พบว่าคะแนนหลังการใช้ คู่มือแนวการสอนของครูสูงกว่าก่อนการใช้คู่มือแนวทางการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: การเรียนรู้ด้วยตนเอง, คู่มือแนวทางการสอนของครู, ความสามารถในการสอน, สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก
2
5.  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการพัฒนาองค์กรในยุคดิจิทัล (กรณีศึกษา องค์กรภาอุตสาหกรรม ในกลุ่มเป้าหมาย 10 กลุ่ม)
Author : สุปราณี วรรณรุณ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการพัฒนาองค์กร ในยุคดิจิทัล (กรณีศึกษา องค์กรภาคอุตสาหกรรมในกลุ่มเป้าหมาย 10 กลุ่ม) ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research methodology) โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นไปตามโอกาสทางสถิติ (non-probability sampling) และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 450 ชุด กับ หัวหน้าส่วน/แผนก ระดับผู้จัดการแผนก ผู้จัดการฝ่ายขององค์กร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความ สัมพันธ์โดยการทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. สำหรับปัจจัยทั้ง 4 ปัจจัย (ตัวแปรอิสระ) ได้แก่ 1) ด้านผู้นำเชิงนวัตกรรม 2) ด้านวัฒนธรรม องค์กรปรับเปลี่ยน 3) ด้านการบริหารจัดการคนเก่ง และ 4) ด้านวัฒนธรรมดิจิทัล มีความสัมพันธ์กับ ปัจจัยสู่ความสำเร็จ (การดำเนินงานขององค์กร) ในภาพรวม โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัย สู่ความสำเร็จ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเป็น 0.666 และสามารถร่วมพยากรณ์ปัจจัย สู่ความสำเร็จในภาพรวมได้ร้อยละ 0.444 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ในการพยากรณ์เท่ากับ +.135 จากการทดสอบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ต่อปัจจัยสู่ความสำเร็จ (การดำเนินงานขององค์กร) มากที่สุดคือ ด้านการบริหารจัดการคนเก่ง เนื่องจากมีค่า Beta มากที่สุด (0.430) มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกและเป็นจุดแข็งในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน 2. สำหรับปัจจัยสู่ความสำเร็จ (การดำเนินงานขององค์กร) ประกอบด้วย 7 ปัจจัย ได้แก่ 1) ด้านทรัพยากรมนุษย์ 2) ด้านผลิตภัณฑ์ 3) ด้านการเงิน 4) ด้านการตลาด 5) ความสัมพันธ์กับลูกค้า 6) ด้านเทคโนโลยี และ 7) การสร้างแบรนด์ โดยตัวแปรด้านความสัมพันธ์กับลูกค้ามีความสัมพันธ์กับ ปัจจัยสู่ความสำเร็จ (การดำเนินงานขององค์กร) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: รูปแบบการพัฒนาองค์กร, อุตสาหกรรมในกลุ่มเป้าหมาย 10 กลุ่ม
10
6.  คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุพรรณบุรี
Author : ปฐมพงค์ กุกแก้ว
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยคุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจของ ผู้ใช้บริการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุพรรณบุรี และเพื่อศึกษาปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่ส่งผล ต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นต่อ ปัจจัยคุณภาพการให้บริการ และระดับความคิดเห็นต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก และปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านความเชื่อถือไว้วางใจ ได ้ ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า ด้านการรู้จักและเข้าใจลูกค้า มีระดับ นัยสำคัญทางสถิติที่ .05 คำสำคัญ: คุณภาพการให้บริการ, ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
29
7.  แนวทางพัฒนาสมรรถนะของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครปฐม
Author : ชัยวัฒน์ ประสงค์สร้าง และคณะ
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครปฐม และเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาสมรรถนะของครู โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครปฐม เก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐานเขต 1 จำนวน 246 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยว กับสมรรถนะหลัก 5 ด้าน และประสิทธิผล 4 ด้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่ออธิบายระดับสมรรถนะหลักของครูและระดับประสิทธิผลของ โรงเรียนประถมศึกษา ด้วยสถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนที่ 2 การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ อดีตครูหรืออดีตผู้บริหารโรงเรียนที่มีความรู้และประสบการณ์ โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับแนวทางพัฒนาสมรรถนะของครูโรงเรียน ประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครปฐม ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครปฐม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ได้แก่ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ในการปฏิบัติงาน การบริการที่ดี การพัฒนาตนเอง การทำงานเป็นทีม การยึดมั่นในจริยธรรมและ จรรยาบรรณวิชาชีพครู โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.20 ถึง 4.58 และมีค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย ของสมรรถนะหลักของครูทั้ง 5 ด้าน อยู่ระหว่าง 0.096 ถึง 0.122 ส่วนแนวทางการพัฒนา สมรรถนะหลัก 6 ด้านนั้น ผลการวิจัยพบว่า ด้านที่ 1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติ โรงเรียนต้องจัด โครงการเตรียมความพร้อมของครูก่อนเข้าปฏิบัติงานจริง อย่างน้อย 2 โครงการ ต่อ 1 ปีการศึกษา ได้แก่ โครงการพัฒนาความรู้ด้านหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21 คือ การอบรมพัฒนาครู ก่อนเปิดภาคเรียนทุก ๆ ภาคเรียน และควรมีโครงการพัฒนาศักยภาพการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านที่ 2 การบริการที่ดี มีแนวทางการดำเนินการคือ โรงเรียนร่วมสร้างจิตสำนึกและการปลูกฝัง วัฒนธรรมองค์การด้านการบริการแก่ครูทุกคนผ่านการอบรมและการประชุมร่วมกันอย่างสมํ่าเสมอ รวมทั้งการสร้างระบบครูรุ่นพี่ดูแลครูรุ่นน้อง เพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมองค์การและรักองค์การ เพื่อปลูกฝัง การบริการที่ดีแกผ่ ปู้ กครอง นักเรียน และบุคคลภายนอก เปน็ ตน้ ดา้ นที่ 3 การพัฒนาตนเอง มีแนวทาง การดำเนินการคือ นโยบายของโรงเรียนในการสนับสนุนให้ครูสามารถไปอบรมกับหน่วยงานภายนอก ได้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และสนับสนุนให้ครูทุกคนสามารถไปศึกษาต่อได้ทั้งในเวลาราชการและ นอกเวลาราชการ ด้านที่ 4 การทำงานเป็นทีม มีแนวทางการดำเนินการคือ โครงการสร้างครูทำงาน เป็นทีม และการสร้างระบบครูพี่เลี้ยง ด้านที่ 5 การยึดมั่นในจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีแนวทางการดำเนินการคือ นโยบายส่งเสริมการอบรมปลูกฝังยึดมั่นจรรยาบรรณวิชาชีพครูอย่าง เคร่งครัด และมีรางวัลสำหรับครูดีเด่นด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู ด้านที่ 6 การบริหารข้อมูลและสารสนเทศเป็นฐาน โดยเน้นการนำมาใช้ปฏิบัติงานจริง เช่น การวัดและ การประเมินผลการทำงานของครูและการเรียนการสอน คำสำคัญ: แนวทางพัฒนาสมรรถนะ, สมรรถนะของครู
31
8.  การเรียบเรียงและการถ่ายทอดทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงแป๊ะ สามชั้
Author : พรรณระพี บุญเปลี่ยน
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเรียบเรียงและถ่ายทอดทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงแป๊ะ สามชั้น แก่นักศึกษาสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงแป๊ะ สามชั้น 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงแป๊ะ สามชั้น และ 3) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของผู้เรียนที่ร่วมถ่ายทอดทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงแป๊ะ สามชั้น ผู้วิจัยได้ออกแบบงาน วิจัยเป็น 2 ระยะ คือ การวิจัยเชิงสร้างสรรค์ และการวิจัยเชิงทดลอง ผลการวิจัยพบว่า ทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงแป๊ะ สามชั้น เรียบเรียงขึ้นจากง่ายไปยากและ ไม่บรรเลงซํ้า บันทึกโน้ตในระดับเสียงเพียงออ ความยาว 14 จังหวะ หรือ 28 บรรทัด ถ่ายทอด ทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่โดยการสร้างแบบฝึกทักษะ ใช้วิธีการบรรเลง 7 วิธี ได้แก่ 1) เฉี่ยว 2) สะบัด 3) การไขว้มือ 4) การกดหนึบ-หนับ 5) กระทบคู่ 6) การกวาด และ 7) กรอ การประเมินประสิทธิภาพ แบบฝึกทักษะโดยผู้เชี่ยวชาญได้ค่าความสอดคล้อง (IOC) 1.00 และนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 มีทักษะ ทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงแป๊ะ สามชั้น ในระดับ 5.29 และ 6.52 ตามลำดับ ความพึงพอใจโดยรวม ของนักศึกษาที่ร่วมถ่ายทอดทางเดี่ยวฆ้องวงใหญ่เพลงแป๊ะ สามชั้น อยู่ในระดับ 4.66 แบ่งเป็น ด้านการถ่ายทอด 4.68 และด้านแบบฝึกทักษะ 4.64 คำสำคัญ: ทางเดี่ยว, ฆ้องวงใหญ่, เพลงแป๊ะสามชั้น
11
9.  กระบวนการพัฒนาผู้เรียนสู่การประกอบอาชีพ กรณีศึกษา: เมืองพัทยา
Author : ชนันธร บัวสุข
Abstract
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการศึกษาด้านอาชีพในระดับชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียน สังกัดเมืองพัทยา และเพื่อหากระบวนการพัฒนาผู้เรียนสู่การประกอบอาชีพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย และพัฒนา (R&D) ประเมินผลกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (professional learning community: PLC) และควบคุมคุณภาพโดยใช้กระบวนการ PDCA ผลการ วิจัยพบว่า 1. การจัดการศึกษาด้านอาชีพในระดับชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยา ประกอบ ด้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น มีรายวิชาที่ใช้ในการเรียน การสอนดังนี้ รายวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย การประกอบอาหาร การปลูกพืช ในท้องถิ่น โดยใช้โครงงานเป็นฐาน 2. กระบวนการพัฒนาผู้เรียนสู่การประกอบอาชีพ พบว่ามีองค์ประกอบดังนี้ 1) การวางแผน (plan) บูรณาการหน่วยงานจัดการศึกษาโดยลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) การจัดการเรียนรู้ ด้านอาชีพ และบูรณาการหลักสูตรข้ามสาระเนื้อหา (STEM education) 2) ดำเนินกิจกรรม การเรียนรู้ (do) อบรมหลักสูตรอาชีพระยะสั้น 3) พัฒนาบทเรียนร่วมกัน (check & reflect) การวัดและ ประเมินผลก่อนและหลังการเรียนรู้ ประเมินคุณภาพผู้เรียนด้านทักษะวิชาช่างพื้นฐาน และด้านเจตคติ 4) การประเมินกระบวนการพัฒนาผู้เรียนสู่การประกอบอาชีพ (act) โดยผ่านความเห็นชอบจาก คณะผู้บริหารเมืองพัทยา ผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคพัทยา คิดเป็นร้อยละ 90.00 นำไปใช้โดยบรรจุ เข้าแผนพัฒนาเมือง 5 ปี ตลอดถึงเป็นโครงการดีเด่นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ต่อไป คำสำคัญ: กระบวนการพัฒนาผู้เรียน, การประกอบอาชีพ, เมืองพัทยา
9
10.  ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงของ มหาวิทยาลัยบูรพา
Author : สิตากาญจน์ วงษ์สุวรรณ์
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้รับบริการที่มีต่อประสิทธิภาพของ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงของมหาวิทยาลัยบูรพา และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ ประสิทธิภาพของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงของมหาวิทยาลัยบูรพา ประชากร คือ ผู้รับบริการ (บุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา) โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 348 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสนับสนุนจากองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพของกระบวนการจัดซื้อ จัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงของมหาวิทยาลัยบูรพา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก การวางแผนบริหารงานพัสดุ มีความสำคัญเป็นอันดับที่หนึ่ง รองลงมาคือ ระบบสารสนเทศ การบริการของเจ้าหน้าที่ และความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อ ประสิทธิภาพของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงของมหาวิทยาลัยบูรพา ภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ได้แก่ ความโปร่งใส ซึ่งมีหลักฐานการดำเนินงานชัดเจน การตรวจสอบได้ ซึ่งมีการปฏิบัติงาน ที่เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และประกาศตา่ ง ๆ อยา่ งมรี ะบบครบทุกขัน้ ตอน ความคมุ้ คา่ ซึ่งมกี ารจดั ซื้อจดั จา้ งในราคา ที่เหมาะสม ยึดหลักราคากลางหรือมีการเทียบราคา และความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งมี การวางแผนการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุล่วงหน้าเพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปอย่างต่อเนื่อง คำสำคัญ: กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง, วิธีเฉพาะเจาะจง, มหาวิทยาลัยบูรพา
1
11.  รูปแบบการดูแลรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ซอง ในจังหวัดจันทบุรีและตราด
Author : ปริศนา กาญจนกันทร
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลรักษาสุขภาพ แบบพื้นบ้าน การสืบทอดองค์ความรู้จากการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ซอง ชุมชน บ้านตะเคียนทอง ตำบลคลองพลู อำเภอเขาคิชกูฏ จังหวัดจันทบุรี และชุมชนบ้านช้างทูล ตำบลช้างทูล อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ซึ่งทั้งสองชุมชนมีวัฒนธรรมที่โดดเด่น มีอัตลักษณ์เฉพาะ ท้องถิ่น อีกทั้งในท้องถิ่นยังมีวิธีการดูแลรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้านโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มาจาก ศาสตร์โบราณ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพและเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ จำนวน 27 คน และนำมาวิเคราะห์โดยอาศัยหลักตรรกะควบคู่บริบท พบว่ารูปแบบการดูแลรักษาสุขภาพแบบ พื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ซอง มีปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขสำคัญ ได้แก่ วิถีชีวิตที่ดำรงอยู่กับธรรมชาติ ความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น การปรับตัว และความสามัคคีในชุมชน ที่ก่อให้เกิด การพัฒนาและต่อยอดวิธีการดูรักษาสุขภาพแบบองค์รวม เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพ ในรูปแบบต่าง ๆ ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ในชุมชนได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา โดยผ่านการ พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น นอกจากนี้ชุมชนควรพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมร่วมกับ การพัฒนาทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้เป็นสินค้าและบริการที่ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น ก่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจของคนในชุมชน ตลอดจนการสนับสนุนในเชิงนโยบาย จากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการประสานงานเพื่อให้การพัฒนาต่อยอด ภูมิปัญญาการดูแลรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้านเป็นไปอย่างเป็นรูปธรรม คำสำคัญ: การแพทยช์ าติพันธ,์ุ การดูแลรักษาสุขภาพแบบพื้นบา้ น, ภูมิปญั ญาทอ้ งถิ่น, กลมุ่ ชาติพันธซ์ุ อง
36
12.  วัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานไทยในบริษัทผู้ผลิต ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี
Author : ชัยวิชิต พรมมงคล
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพัน ในองค์กรของพนักงานไทยในบริษัทผู้ผลิตในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี และเพื่อศึกษาอิทธิพล ของวัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นที่มีต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานไทยในบริษัทผู้ผลิต ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานไทยในบริษัทผู้ผลิตสัญชาติญี่ปุ่น ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันในองค์กรโดยรวมและรายด้าน ของพนักงานไทยในบริษัทผู้ผลิตในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี อยู่ในระดับมาก และอิทธิพล ของวัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นที่มีต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานไทยในบริษัทผู้ผลิต ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ได้แก่ การจ้างงานระยะยาว การมีส่วนร่วมต่อความรับผิดชอบ การเน้นความสามารถที่รอบด้าน และการให้ความสำคัญกับพนักงาน ตามลำดับ คำสำคัญ: วัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่น, ความผูกพันในองค์กร, นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้
34
13.  ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่อง การติดตั้งระบบแสงสว่าง ในอาคารระดับ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนิคมวิทยา จังหวัดระยอง
Author : พงษ์ศักดิ์ แดงตุ้ย
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เรื่อง การติดตั้งระบบแสงสว่างในอาคารระดับ 1 2) ศึกษาทักษะปฏิบัติของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิด ของเดวีส์ เรื่อง การติดตั้งระบบแสงสว่างในอาคารระดับ 1 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนิคมวิทยา จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบ วัดความรู้ความเข้าใจเรื่อง การติดตั้งระบบแสงสว่างในอาคารระดับ 1 แบบประเมินทักษะปฏิบัติและ แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการประเมินทักษะปฏิบัติ โดยรวมอยู่ในระดับ ดีมาก และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก คำสำคัญ: รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของเดวีส์, ทักษะปฏิบัติ, ระบบแสงสว่าง, มัธยมศึกษา, โรงเรียน นิคมวิทยา
21
14.  ปัจจัยในการจัดการคลังสินค้าที่ส่งผลต่อทัศนคติในการเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้า
Author : ประมวล พรมไพร
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการคลังสินค้า ทัศนคติในการเพิ่มประสิทธิภาพ คลังสินค้า และการจัดการคลังสินค้าที่ส่งผลต่อทัศนคติในการเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้า กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยพนักงานระดับปฏิบัติงาน ผู้บริหารระดับกลางและผู้บริหารระดับสูง จำนวน 225 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ทดสอบค่าความเชื่อมั่นด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาครอนบาคได้ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้สถิติเชิงอนุมานด้วยการสร้างโมเดลสมการ โครงสร้าง ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 พบว่า 1) การจัดการคลังสินค้า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ WMS) อยู่ในระดับมาก ที่สุด รองลงมาคือ ด้านระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้านการจัดการพื้นที่ ด้านระบบ การควบคุมด้วยสายตา ด้านระบบการรับสินค้าและส่งออกของสินค้า และด้านการวางแผนผังพื้นที่ ในคลังสินค้า ตามลำดับ และ 2) ทัศนคติในการเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความรวดเร็วในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านลดปัญหาการผิดพลาดจากการหยิบสินค้า และปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติในการ เพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้า พบว่าการจัดการพื้นที่ ระบบการรับสินค้าและส่งออกของสินค้า ระบบการ แลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการควบคุมด้วยสายตา และการวางแผนผังพื้นที่ในคลังสินค้ามีผลเชิงบวกต่อความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน และการลดปัญหาการผิดพลาดจากการหยิบสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 คำสำคัญ: การจัดการคลังสินค้า, การเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้า
6
15.  นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี ปีการศึกษา 2563 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารบนเครื่องบินสำหรับพนักงานต้อนรับ บนเครื่องบิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
Author : รณิดา นนท์ชยากร
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ทดลองใช้ และศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตร ฝึกอบรมภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารบนเครื่องบินสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประชากร ได้แก่ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการอบรม และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรฝึกอบรมภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารบนเครื่องบินสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม สื่อ และการประเมินผล ผลการทดลองใช้หลักสูตรพบว่า หลังการอบรมผู้เข้าอบรม มีผลสัมฤทธิ์ทางการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม และผู้เข้าอบรมมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรฝึกอบรม ในระดับมาก คำสำคัญ: ภาษาฝรั่งเศส, หลักสูตรฝึกอบรม, การสื่อสารบนเครื่องบิน, พนักงานต้อนรับ, บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
16
16.  ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
Author : กฤตวิทย์ แก้วกำพล
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน จำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน ประชากรคือ พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอ กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำนวน 83 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบลำดับขั้น ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานที่มีอายุแตกต่างกัน มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านคุณภาพงานแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ด้านความกล้าเสี่ยง ด้านความรับผิดชอบ ต่อตนเอง ด้านการวางแผน และด้านความมีเอกลักษณ์ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรดังกล่าวสามารถทำนายประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้ ร้อยละ 68.20 มีสมการทำนายคือ Y = 1.018 + 0.227 (X3) + 0.551 (X4) + 0.175 (X5) – 0.179 (X6) คำสำคัญ: แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
40
17.  POTENTIAL DESTINATION FOR GASTRONOMIC TOURISM IN THAILAND
Author : Yupaporn Kithwang
Abstract
This research aims to explore the strength of Thailand for being a gastronomic destination using the qualitative study including a literature review and document analysis. The study found three aspects that impel Thailand to be one of the gastronomic destinations, for example, food authenticity, street foods, and local products. Since gastronomy tourism has expanded in Thailand for decades and is one way that generates income for our country. This study found that Thailand has a deep root in authentic delicacies and cooking classes that visitors can indulge in more than flavors. We also comprise an array of street food but food hygiene is what people concern the most. Finally, local products with strong government support are not only generating income but also increasing employment opportunities to the communities. Keywords: gastronomic destination, food authenticity, street foods.
8
18.  ปัญหาทางกฎหมายในความรับผิดทางอาญาฐานรับขนส่งยาเสพติดให้โทษ
Author : สอาด หอมมณี
Abstract
เมื่อพิจารณาจากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แล้ว พบว่ามีคำนิยามในเรื่อง ผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก และจากบทกำหนดโทษในหมวด 12 กำหนดข้อห้ามและระบุโทษ ในประเด็นเรื่อง การผลิต นำเข้า ส่งออก, การผลิต นำเข้า ส่งออกเพื่อการค้า, แบ่งบรรจุ รวมบรรจุ, แบ่งบรรจุ รวมบรรจุเพื่อการค้า, จำหน่าย มีไว้เพื่อจำหน่าย, ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษโดย ไม่ได้รับอนุญาต แต่ไม่ปรากฏบทบัญญัติในเรื่องความรับผิดฐานขนส่งหรือลำเลียงยาเสพติดให้โทษ โดยการขนส่ง รับขนส่งหรือลำเลียงยาเสพติดให้โทษ ผู้รับจ้างจะคำนึงแต่เรื่องค่าจ้างที่มีราคาสูงเท่านั้น แต่ไม่คำนึงถึงอันตรายในสินค้าซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษว่าจะส่งผลอย่างไรต่อสังคม การที่รัฐแจ้งข้อหา แก่ผู้รับจ้างขนส่งยาเสพติดให้โทษว่ามีไว้ในครอบครอง หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเท่านั้น จึงน่าจะไม่ตรงกับความผิดที่บุคคลนั้นได้กระทำขึ้น ดังนั้น การที่พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มิได้บัญญตั ิคาํ นิยามและบทลงโทษเกี่ยวกับความผดิ ฐานเป็นผ้ขู นส่งยาเสพตดิ ให้โทษจงึ ยัง ไม่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษและอนุสัญญาขององค์การ สหประชาชาติเพื่อต่อต้านการค้ายาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่ไทย เป็นรัฐภาคี เมื่อเปรียบเทียบกับ The Narcotic and Psychotropics Control Law มาตรา 66-4ของญี่ปุ่นแล้ว เห็นว่าควรแก้ไขกฎหมายดังกล่าวให้ตรงตามการกระทำและเจตนารมณ์ของกฎหมาย ว่าด้วยยาเสพติดให้โทษต่อไป โดยให้แก้ไขเพิ่มเติมคำนิยามในส่วนการขนส่ง ลำเลียงยาเสพติดให้โทษ ว่าหมายถึง การลำเลียงอันเป็นการกระทำที่ต้องการให้ยาเสพติดให้โทษเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง โดยผู้ขนส่งทราบว่าสิ่งนั้นเป็นยาเสพติดให้โทษ ไม่ว่าการขนส่งจะมีสินจ้างหรือไม่ และผู้ขนส่งได้รับ ค่าจ้างแล้วหรือไม่ และเพิ่มฐานความรับผิดทางอาญาในมาตรา 88/1 ว่า ผู้ใดรับจ้างในการขนส่ง ลำเลียง ยาเสพติดให้โทษหรือสารที่คล้ายคลึง รวมทั้งสารตั้งต้นของยาเสพติดให้โทษนั้น ไม่ว่าจะมี ปริมาณเพียงใดก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต คำสำคัญ: ความรับผิดทางอาญา, รับขนส่งยาเสพติดให้โทษ
36
19.  แนวทางการวิเคราะห์ทางสถิติกับการตรวจสอบความตรงของเครื่องมือ สำหรับการวิจัยเชิงสำรวจ ในอุตสาหกรรมบริการในประเทศไทย
Author : อนุรักษ์ ทองขาว
Abstract
บทความนี้เสนอแนวทางการวิเคราะห์ทางสถิติในการตรวจสอบความตรงของเครื่องมือสำหรับ การวิจัยเชิงสำรวจในอุตสาหกรรมบริการในประเทศไทย เพื่อให้งานวิจัยในประเทศไทยมีคุณภาพและ น่าเชื่อถือมากขึ้น โดยพิจารณาจากลักษณะของข้อมูล ระดับการวัดของข้อมูล รวมไปถึงกระบวนการ ที่ถูกต้องเหมาะสมของการใช้สถิติในการตรวจสอบความตรงของเครื่องมืองานวิจัย บทความนี้นำเสนอ แนวทางการวิเคราะห์ทางสถิติในการตรวจสอบความตรงของเครื่องมือสำหรับการวิจัยเชิงสำรวจ ในอุตสาหกรรมบริการ 3 หัวข้อ ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ทางสถิติในการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา 2) การวิเคราะห์ทางสถิติในการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง และ 3) การวิเคราะห์ทางสถิติในการ ตรวจสอบความตรงแบบลู่เข้าและการตรวจสอบความตรงแบบจำแนก โดยได้ข้อสรุปคือ การตรวจสอบ ความตรงเชิงเนื้อหา ควรมีการคำนวณค่าสัดส่วนและค่ามัธยฐานด้วยวิธีบูตสแตรป การตรวจสอบ ความตรงเชิงโครงสร้าง ควรวิเคราะห์ความสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับระดับการวัดของเครื่องมือการวิจัย รวมทั้งควรตรวจสอบโมเดลการวัดก่อนการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และสุดท้ายควรใช้การ ตรวจสอบความตรงแบบลู่เข้าและการตรวจสอบความตรงแบบจำแนกสำหรับการวิจัยเชิงสำรวจ ในสาขาอุตสาหกรรมบริการ โดยคำนึงถึงระดับการวัดของเครื่องมือการวิจัยในการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์เทียบกับเครื่องมือการวิจัยมาตรฐาน คำสำคัญ: ความตรงเชิงเนื้อหา, ความตรงเชิงโครงสร้าง, ความตรงแบบลู่เข้า, ความตรงแบบจำแนก
5
20.  แนวทางในการประยุกต์ใช้แนวคิดทางดนตรีของโคดายในการพัฒนาความสามารถทางการขับร้อง และการประพันธ์เพลงเด็กปฐมวัยของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย
Author : วิมลรัตน์ ศาสตร์สุภาพ
Abstract
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายนำเสนอแนวทางในการประยุกต์ใช้แนวคิดทางดนตรีของโคดายในการ พัฒนาความสามารถทางการขับร้องและการประพันธ์เพลงเด็กปฐมวัยของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษา ปฐมวัยใน 2 แนวทาง ได้แก่ 1) แนวทางสำหรับผู้สอนนักศึกษา และ 2) แนวทางสำหรับผู้เรียน แนวทางสำหรับผู้สอนนักศึกษามีดังนี้ ขั้นเตรียมการ ได้แก่ 1) ผู้สอนควรศึกษาวิธีการสอน ดนตรีตามแนวคิดของโคดายอย่างลึกซึ้ง จัดเตรียมเอกสาร สื่อ อุปกรณ์ โน้ตเพลง บทเพลงต่าง ๆ ให้มี ความครอบคลุมกับสาระทางดนตรี และสามารถนำไปจัดประสบการณก์ ารเรียนรใู้ นชั้นเรียนเด็กปฐมวัยได้ และ 2) ผู้สอนควรศึกษาภูมิหลังในเรื่องความสามารถทางการขับร้องและการประพันธ์เพลงของ นักศึกษาก่อนเริ่มออกแบบกิจกรรม เพื่อจัดทำเป็นแผนและคู่มือในการพัฒนาความสามารถทางการ ขับร้องและการประพันธ์เพลงของนักศึกษา ขั้นสอน ได้แก่ 1) ผู้สอนควรออกแบบกิจกรรมการสอน ให้บรรยากาศในชั้นเรียนมีความอบอุ่น สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ผ่านการร้อยเรียงกิจกรรม ตามแนวคิดของโคดาย 2) ผู้สอนเน้นการสอนขับร้องให้นักศึกษาให้ดีก่อนการสอนการประพันธ์เพลง เนื่องจากโคดายเน้นการสอนเรื่องง่ายไปหาเรื่องยาก 3) ผู้สอนควรมีขอบเขตและระยะเวลาในการฝึกใน แต่ละกิจกรรมอย่างชัดเจน และ 4) โคดายเน้นการนำเพลงพื้นบ้านในวัฒนธรรมของตนมาใช้ในการสอน ดนตรี ดังนั้นผู้สอนควรคัดสรรบทเพลงพื้นบ้านของไทยที่มีความเหมาะสมกับเด็กปฐมวัยมาใช้ในการ จัดกิจกรรมก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงใช้บทเพลงพื้นบ้านของประเทศอื่น ๆ ตามความเหมาะสม แนวทางสำหรับผู้เรียนมีดังนี้ ขั้นเตรียมการ ได้แก่ นักศึกษาควรศึกษาวิธีการสอนดนตรี ตามแนวคิดของโคดาย ทบทวนบทเพลงเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย ขั้นฝึกปฏิบัติ ได้แก่ 1) นักศึกษาควรศึกษาวิธีการสอนดนตรีตามแนวคิดของโคดายอย่างลึกซึ้ง หมั่นฝึกซ้อมการขับร้อง และทบทวนบทเพลงต่าง ๆ สาระทางดนตรี การสร้างสรรค์ทางดนตรี และการประพันธ์เพลง จนสามารถนำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในชั้นเรียนเด็กปฐมวัยได้ และ 2) เมื่อนักศึกษาพบปัญหาในการทำกิจกรรม ควรรีบปรึกษาผู้สอนเพื่อรับคำแนะนำในการแก้ปัญหา คำสำคัญ: โคดาย, การขับร้อง, การประพันธ์เพลง, การศึกษาปฐมวัย
2